เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๘ ความว่า
“เด็กๆ คงเคยได้ยินคำว่า “อิทธิฤทธิ์” และใฝ่ฝันจะมีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลสรรพสิ่งให้สำเร็จได้ดังใจปรารถนากันมาแล้วทุกคน อันที่จริงแล้วคำว่า “อิทธิ” กับ “ฤทธิ” นั้นเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แปลว่า ความสำเร็จ ถ้าจะกล่าวในทางพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์จะประสบความสำเร็จในกิจใด ตั้งแต่ในชั้นต้นทางโลก เช่น เรียนเก่ง ร่ำรวย เฉลียวฉลาด มีตำแหน่งหน้าที่การงานตามที่ปรารถนา กระทั่งถึงชั้นที่ยากยิ่งขึ้นไปในทางธรรมะ เช่น การมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ได้มรรคผลเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับ จำเป็นต้องอบรมเจริญคุณธรรมที่เรียกว่า “อิทธิบาท ๔” ด้วยกันทั้งสิ้น อิทธิบาททั้ง ๔ ข้อนั้นประกอบด้วย ฉันทะ คือความพอใจรักที่จะทำสิ่งนั้น, วิริยะ คือความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่ท้อถอย, จิตตะ คือการตั้งจิตจดจ่อในสิ่งที่ทำ และ วิมังสา คือปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล รู้เท่าทัน เห็นข้อยิ่งข้อหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น รู้จักวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงเสมอ
ขอจงสังเกตให้เห็นชัดว่าในอิทธิบาท ๔ นั้น ไม่มีคำว่าร้องขอ อ้อนวอน เบื่อหน่าย เกียจคร้าน ท้อถอย เลื่อนลอย ไม่มีสมาธิ สะเพร่า และไม่รอบคอบ เพราะฉะนั้น ขอให้เด็ก ๆ จงพัฒนาตนให้เป็นผู้ประกอบฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อย่างสมดุลในทุกการคิด การพูด และการกระทำ อย่าเป็นคนมักง่าย ใจเร็ว ด่วนได้ อย่ามุ่งคว้าเอาแต่ผลได้ โดยไม่คำนึงถึงการสร้างเหตุดีที่ชอบธรรม ขอให้มั่นในอิทธิบาท อันมีพลังอานุภาพวิเศษ ช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในสิ่งดีงามได้สมดังใจปรารถนา
ขออำนวยพรให้เด็กและเยาวชนทุกคน เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ในสุจริตธรรม เพราะการครองอิทธิบาท ๔ โดยครบถ้วนสมบูรณ์ ขอจงรักษาเพิ่มพูนคุณลักษณะความเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่ออนาคตของตน และของสังคมไทยที่รักของเราทุกคน.”
“เด็กๆ คงเคยได้ยินคำว่า “อิทธิฤทธิ์” และใฝ่ฝันจะมีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลสรรพสิ่งให้สำเร็จได้ดังใจปรารถนากันมาแล้วทุกคน อันที่จริงแล้วคำว่า “อิทธิ” กับ “ฤทธิ” นั้นเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แปลว่า ความสำเร็จ ถ้าจะกล่าวในทางพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์จะประสบความสำเร็จในกิจใด ตั้งแต่ในชั้นต้นทางโลก เช่น เรียนเก่ง ร่ำรวย เฉลียวฉลาด มีตำแหน่งหน้าที่การงานตามที่ปรารถนา กระทั่งถึงชั้นที่ยากยิ่งขึ้นไปในทางธรรมะ เช่น การมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ได้มรรคผลเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับ จำเป็นต้องอบรมเจริญคุณธรรมที่เรียกว่า “อิทธิบาท ๔” ด้วยกันทั้งสิ้น อิทธิบาททั้ง ๔ ข้อนั้นประกอบด้วย ฉันทะ คือความพอใจรักที่จะทำสิ่งนั้น, วิริยะ คือความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่ท้อถอย, จิตตะ คือการตั้งจิตจดจ่อในสิ่งที่ทำ และ วิมังสา คือปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล รู้เท่าทัน เห็นข้อยิ่งข้อหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น รู้จักวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงเสมอ
ขอจงสังเกตให้เห็นชัดว่าในอิทธิบาท ๔ นั้น ไม่มีคำว่าร้องขอ อ้อนวอน เบื่อหน่าย เกียจคร้าน ท้อถอย เลื่อนลอย ไม่มีสมาธิ สะเพร่า และไม่รอบคอบ เพราะฉะนั้น ขอให้เด็ก ๆ จงพัฒนาตนให้เป็นผู้ประกอบฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อย่างสมดุลในทุกการคิด การพูด และการกระทำ อย่าเป็นคนมักง่าย ใจเร็ว ด่วนได้ อย่ามุ่งคว้าเอาแต่ผลได้ โดยไม่คำนึงถึงการสร้างเหตุดีที่ชอบธรรม ขอให้มั่นในอิทธิบาท อันมีพลังอานุภาพวิเศษ ช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในสิ่งดีงามได้สมดังใจปรารถนา
ขออำนวยพรให้เด็กและเยาวชนทุกคน เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ในสุจริตธรรม เพราะการครองอิทธิบาท ๔ โดยครบถ้วนสมบูรณ์ ขอจงรักษาเพิ่มพูนคุณลักษณะความเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่ออนาคตของตน และของสังคมไทยที่รักของเราทุกคน.”
เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๘ ความว่า
“เด็กๆ คงเคยได้ยินคำว่า “อิทธิฤทธิ์” และใฝ่ฝันจะมีอิทธิฤทธิ์ดลบันดาลสรรพสิ่งให้สำเร็จได้ดังใจปรารถนากันมาแล้วทุกคน อันที่จริงแล้วคำว่า “อิทธิ” กับ “ฤทธิ” นั้นเป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน แปลว่า ความสำเร็จ ถ้าจะกล่าวในทางพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์จะประสบความสำเร็จในกิจใด ตั้งแต่ในชั้นต้นทางโลก เช่น เรียนเก่ง ร่ำรวย เฉลียวฉลาด มีตำแหน่งหน้าที่การงานตามที่ปรารถนา กระทั่งถึงชั้นที่ยากยิ่งขึ้นไปในทางธรรมะ เช่น การมีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ได้มรรคผลเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับ จำเป็นต้องอบรมเจริญคุณธรรมที่เรียกว่า “อิทธิบาท ๔” ด้วยกันทั้งสิ้น อิทธิบาททั้ง ๔ ข้อนั้นประกอบด้วย ฉันทะ คือความพอใจรักที่จะทำสิ่งนั้น, วิริยะ คือความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่ท้อถอย, จิตตะ คือการตั้งจิตจดจ่อในสิ่งที่ทำ และ วิมังสา คือปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล รู้เท่าทัน เห็นข้อยิ่งข้อหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น รู้จักวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุงเสมอ
ขอจงสังเกตให้เห็นชัดว่าในอิทธิบาท ๔ นั้น ไม่มีคำว่าร้องขอ อ้อนวอน เบื่อหน่าย เกียจคร้าน ท้อถอย เลื่อนลอย ไม่มีสมาธิ สะเพร่า และไม่รอบคอบ เพราะฉะนั้น ขอให้เด็ก ๆ จงพัฒนาตนให้เป็นผู้ประกอบฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อย่างสมดุลในทุกการคิด การพูด และการกระทำ อย่าเป็นคนมักง่าย ใจเร็ว ด่วนได้ อย่ามุ่งคว้าเอาแต่ผลได้ โดยไม่คำนึงถึงการสร้างเหตุดีที่ชอบธรรม ขอให้มั่นในอิทธิบาท อันมีพลังอานุภาพวิเศษ ช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในสิ่งดีงามได้สมดังใจปรารถนา
ขออำนวยพรให้เด็กและเยาวชนทุกคน เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ในสุจริตธรรม เพราะการครองอิทธิบาท ๔ โดยครบถ้วนสมบูรณ์ ขอจงรักษาเพิ่มพูนคุณลักษณะความเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่ออนาคตของตน และของสังคมไทยที่รักของเราทุกคน.”