• Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ

    ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ)

    การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖)

    จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย

    ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ
    - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า;
    - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า;
    - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์;
    - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม;
    - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม;
    - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ
    - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้

    แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน

    จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน

    เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317
    https://kknews.cc/history/4lyoojx.html
    https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96

    #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ) การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖) จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า; - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า; - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์; - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม; - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม; - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้ แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317 https://kknews.cc/history/4lyoojx.html https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96 #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    TODAY.LINE.ME
    鍾漢良、譚松韻《錦心似玉》開播倒數,「庶女逆襲」超勵志,老夫少妻寵溺甜炸! | Bella儂儂 | LINE TODAY
    2020年許多陸劇都已就定位,目前正被排在待播的佇列,最近由鍾漢良、譚松韻主演的《錦心似玉》就已經邁入開播倒數,不過男主角從原本的宋威龍換角成鍾漢良,與女主角譚松韻配對卻被大家吐槽沒有CP感?大家就來看看這部戲還有什麼精彩亮點吧! 延伸閱讀:2020網友熱議6部陸劇推薦!甜寵神劇、懸疑推理、都市溫馨,每部讓人想一看再看 「庶女逆襲」劇情設定 source:#锦心似玉#-weibo 《錦心似玉》改編自紅遍中國網路的吱吱小說《庶女攻略》,「庶女逆襲」的安排,與唐嫣主演的《錦繡未央》、趙麗穎的《知否知否應是綠肥紅瘦》,劇情設定相同,女主角不再是天真無害的甜白傻,而是一步一步晉級打怪的「庶女逆襲」
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 78 มุมมอง 0 รีวิว