• ☆เศียรพระพุทธรูปในรากไม้
    》》เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่แตกหักจากองค์พระ แล้ว ถูกรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างแบน และกว้าง พระขนงูและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ พระโอษฐ์กว้างเป็นแนวตรง ขอบพระโอษฐ์ยกเป็นสันขึ้น เล็กน้อย เป็นรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21
    》》คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา จนเลื่องลือกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของวัดมหาธาตุ โด่งดังไปทั่วโลก《《
    ☆ค่าเข้าชม
    ชาวไทย 10 บาท
    ชาวต่างชาติ 50 บาท
    ■■■■■■■■■■■
    #วัดมหาธาตุ#อยุธยา#เศียร พระพุทธรูปในรากไม้​ #มะนาวก้าวเดิน
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    ☆เศียรพระพุทธรูปในรากไม้ 》》เศียรพระพุทธรูปหินทรายที่แตกหักจากองค์พระ แล้ว ถูกรากต้นโพธิ์ขึ้นปกคลุม ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างแบน และกว้าง พระขนงูและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ พระโอษฐ์กว้างเป็นแนวตรง ขอบพระโอษฐ์ยกเป็นสันขึ้น เล็กน้อย เป็นรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนกลาง กำหนดอายุได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 》》คาดว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา จนเลื่องลือกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทำให้ชื่อเสียงของวัดมหาธาตุ โด่งดังไปทั่วโลก《《 ☆ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท ■■■■■■■■■■■ #วัดมหาธาตุ​ #อยุธยา​ #เศียร พระพุทธรูปในรากไม้​ #มะนาวก้าวเดิน​ #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 518 มุมมอง 415 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,515
    วันพฤหัสบดี: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ (12 September 2024)

    Photo Album 1/5
    โอนเงินทำบุญ 48 วัด เป็นเงิน 960 บาท
    01. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    02. วัดศรีลังกา(วัดต้นโชค) อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    03. วัดเขาน้อยคงคาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    04. วัดหนองปลาขอ อ.เมือง จ.ลำพูน
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    05. วัดโนนเชียงคูณ อ.สระใคร จ.หนองคาย
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    06. วัดป่ายางสบยาบ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    07. วัดอินทาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    08. วัดขวางใหม่หนองเงิน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    09. วัดปูเลย อ.เมือง จ.ลำพูน
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    10. วัดท่าสูง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๕๓ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,515 วันพฤหัสบดี: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ (12 September 2024) Photo Album 1/5 โอนเงินทำบุญ 48 วัด เป็นเงิน 960 บาท 01. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 02. วัดศรีลังกา(วัดต้นโชค) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 03. วัดเขาน้อยคงคาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 04. วัดหนองปลาขอ อ.เมือง จ.ลำพูน (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 05. วัดโนนเชียงคูณ อ.สระใคร จ.หนองคาย (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 06. วัดป่ายางสบยาบ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 07. วัดอินทาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 08. วัดขวางใหม่หนองเงิน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 09. วัดปูเลย อ.เมือง จ.ลำพูน (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 10. วัดท่าสูง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๕๓ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,515
    วันพฤหัสบดี: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ (12 September 2024)

    Photo Album 1/5
    โอนเงินทำบุญ 48 วัด เป็นเงิน 960 บาท
    01. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    02. วัดศรีลังกา(วัดต้นโชค) อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    03. วัดเขาน้อยคงคาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    04. วัดหนองปลาขอ อ.เมือง จ.ลำพูน
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    05. วัดโนนเชียงคูณ อ.สระใคร จ.หนองคาย
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    06. วัดป่ายางสบยาบ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    07. วัดอินทาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    08. วัดขวางใหม่หนองเงิน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    09. วัดปูเลย อ.เมือง จ.ลำพูน
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    10. วัดท่าสูง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๕๓ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,515 วันพฤหัสบดี: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๗ (12 September 2024) Photo Album 1/5 โอนเงินทำบุญ 48 วัด เป็นเงิน 960 บาท 01. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 02. วัดศรีลังกา(วัดต้นโชค) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 03. วัดเขาน้อยคงคาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 04. วัดหนองปลาขอ อ.เมือง จ.ลำพูน (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 05. วัดโนนเชียงคูณ อ.สระใคร จ.หนองคาย (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 06. วัดป่ายางสบยาบ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 07. วัดอินทาราม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 08. วัดขวางใหม่หนองเงิน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 09. วัดปูเลย อ.เมือง จ.ลำพูน (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) 10. วัดท่าสูง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช (ชำระหนี้สงฆ์ ประจำเดือน ก.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๕๓ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 191 มุมมอง 0 รีวิว
  • #จุดกำเนิดการซื้อขายพระเครื่อง#
    "บาร์มหาผัน"



    ในวงการพระเครื่องสมัยก่อน จะรู้ดีว่า
    นี่คือตลาดพระเครื่องยุคต้นของชาวกรุง

    บาร์มหาผัน เป็นชื่อเรียกกันเล่นๆ ของร้านกาแฟใต้ถุนศาลอาญาสนามหลวง ที่มี นายผัน เป็นเจ้าของ ในยุค 249กว่า นั้น บรรดานักส่องพระจะมานั่งจิบกาแฟ พูดคุยแลกเปลี่ยน เช่าหา พระเครื่องกันที่ร้านนี้ ว่ากันว่า
    การตั้งราคาเช่าพระ เป็นเงินๆ ทองๆ ก็เริ่มกันช่วงนี้ เป็นที่รวมของ คหบดี ข้าราชการ บุคคลทั่วไปที่มีกำลังเช่าหา
    จากใต้ถุนศาลอาญา สนามหลวง บาร์มหาผันก็ย้ายไปที่ข้างวัดบุรณศิริฯ ตรงโรงแรมรัตนโกสินทร์ จากนั้นนั้นตลาดพระเครื่องก็ย้ายไป ข้างวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นยุคที่ได้รับความนิยมขยายตัวมากในวงกว้าง และมีไปอยู่ที่แถววัดราชนัดดา อยู่ช่วงนึง
    จนมาเปิดแบบเป็นกิจลักษณะที่ท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซียนน้อยใหญ่จำนวนมาก ที่เริ่มต้นจากที่นี่ ต่อมาเริ่มแออัด คุณพยัพ กับคุณต้อย จึงนำพระเครื่องขึ้นห้างครั้งแรก ที่ห้างพันทิพย์ประตูน้ำ คุณต้อย มาที่เดอะมอลล์ งาม และกลายมาเป็นพันทิพย์งามวงศ์วานจนถึงปัจจุบัน
    #จุดกำเนิดการซื้อขายพระเครื่อง# "บาร์มหาผัน" ในวงการพระเครื่องสมัยก่อน จะรู้ดีว่า นี่คือตลาดพระเครื่องยุคต้นของชาวกรุง บาร์มหาผัน เป็นชื่อเรียกกันเล่นๆ ของร้านกาแฟใต้ถุนศาลอาญาสนามหลวง ที่มี นายผัน เป็นเจ้าของ ในยุค 249กว่า นั้น บรรดานักส่องพระจะมานั่งจิบกาแฟ พูดคุยแลกเปลี่ยน เช่าหา พระเครื่องกันที่ร้านนี้ ว่ากันว่า การตั้งราคาเช่าพระ เป็นเงินๆ ทองๆ ก็เริ่มกันช่วงนี้ เป็นที่รวมของ คหบดี ข้าราชการ บุคคลทั่วไปที่มีกำลังเช่าหา จากใต้ถุนศาลอาญา สนามหลวง บาร์มหาผันก็ย้ายไปที่ข้างวัดบุรณศิริฯ ตรงโรงแรมรัตนโกสินทร์ จากนั้นนั้นตลาดพระเครื่องก็ย้ายไป ข้างวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นยุคที่ได้รับความนิยมขยายตัวมากในวงกว้าง และมีไปอยู่ที่แถววัดราชนัดดา อยู่ช่วงนึง จนมาเปิดแบบเป็นกิจลักษณะที่ท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นที่รวมของเซียนน้อยใหญ่จำนวนมาก ที่เริ่มต้นจากที่นี่ ต่อมาเริ่มแออัด คุณพยัพ กับคุณต้อย จึงนำพระเครื่องขึ้นห้างครั้งแรก ที่ห้างพันทิพย์ประตูน้ำ คุณต้อย มาที่เดอะมอลล์ งาม และกลายมาเป็นพันทิพย์งามวงศ์วานจนถึงปัจจุบัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก

    ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2567 มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้น อย่างน้อย 2 เรื่องใหญ่ คือ พระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พระราชาคณะและรองสมเด็จ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและเข้าสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่สอบบาลีได้จากที่เคยถูกปิดกั้นมานาน
    พระบรมราชานุญาตนี้ทำให้การศึกษาภาษาบาลีคึกคักขึ้นทันที โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี(สมชาย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม จบเปรียญธรรม 8 ประโยค เมื่อพ.ศ 2516 ได้สมัครเข้าเรียน ชั้นประโยค ป.ธ.9 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ โดยมีพระราชาคณะสมัครเข้าเรียนร่วมชั้น หลายรูป
    พระพรหมเสนาบดี หรือเจ้าคุณพิมพ์ พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 7 กรรมการมหาเถรสมาคม เปรียญธรรม 7 ปรระโยค (พ.ศ.2532) สมัครเรียนชั้น ป.ธ.8 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ และวัดสามพระยา
    ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อกรรมการมหาเถรสมาคม 2 รูป พร้อมใจกันลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2567 เพื่อเปิดทางให้พระเถระที่เคยครองตำแหน่งนี้ได้กลับมาครองตำแหน่งเดิม หลังจากถูกถอดจาก มส. ปี พ.ศ. 2561
    กรรมการ มส. ที่ลาออก
    1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    กรรมการ มส. ที่ลาออก
    1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567
    การลาออกจาก มส. ของพระเถระทั้ง 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น (นอกจากถูกปลดออก ถูกถอด ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นต่อหลังจากหมดวาระ 2 ปี และตาย)
    สาเหตุที่ลาออก ตามข่าวที่ประมวลได้นั้น ท่านว่า เพื่อเปิดโอกาสให้พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาส วัดสามพระยา (สดๆร้อนๆ) จะได้ดำรงรงตำแหน่งนี้แทน
    ทั้งนี้พระพรหมดิลก เคยครองตำแหน่งนี้ แต่ถูกถอดถอนเพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดหลายเรื่องเช่น เรื่องเงินทอนวัด เป็นต้น (เหตุเกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2561) ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด และพระเจ้าอยู่หัวโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม รวมทั้งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาตามเดิมด้วย

    ส่วนพระพรหมวัชรเมธี (โกวิท) ที่ลาออก ก็เป็นการเปิดทางให้พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เข้ามาดำรงตำแหน่งตามเดิม ทั้งนี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ถูกถอดจากตำแหน่ง ในข้อหาคล้ายกับ พระพรหมดิลก ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด พระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม ส่วนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศนั้น อยู่ในขั้นตอนเนินการ
    อนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 นั้น มีกรรมการมหาเถรสมาคมสามรูป ถูกถอดจากตำแหน่ง 2 รูปแรก คือพระพรหมดิลกและพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคมอีกรูปหนึ่งที่ถูกถอดจาก มส. เช่นกัน คือ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราช แต่ท่านหนีไปลี้ภัยที่ที่ประเทศเยอรมนี หลังจากถูกออกหมายจับ ข้อหาเดียวกับพระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ
    ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย คอลัมน์ สังฆานุสติ โดย บาสก ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2567 มีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของคณะสงฆ์ไทย เกิดขึ้น อย่างน้อย 2 เรื่องใหญ่ คือ พระราชาคณะ ชั้นผู้ใหญ่ ระดับสมเด็จ พระราชาคณะและรองสมเด็จ ได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลีและเข้าสอบได้จนถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีบรมราชานุญาตให้พระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่สอบบาลีได้จากที่เคยถูกปิดกั้นมานาน พระบรมราชานุญาตนี้ทำให้การศึกษาภาษาบาลีคึกคักขึ้นทันที โดยสมเด็จพระธีรญาณมุนี(สมชาย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กรรมการมหาเถรสมาคม จบเปรียญธรรม 8 ประโยค เมื่อพ.ศ 2516 ได้สมัครเข้าเรียน ชั้นประโยค ป.ธ.9 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ โดยมีพระราชาคณะสมัครเข้าเรียนร่วมชั้น หลายรูป พระพรหมเสนาบดี หรือเจ้าคุณพิมพ์ พระราชาคณะระดับรองสมเด็จ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา เจ้าคณะภาค 7 กรรมการมหาเถรสมาคม เปรียญธรรม 7 ปรระโยค (พ.ศ.2532) สมัครเรียนชั้น ป.ธ.8 ที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุ และวัดสามพระยา ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อกรรมการมหาเถรสมาคม 2 รูป พร้อมใจกันลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ 2567 เพื่อเปิดทางให้พระเถระที่เคยครองตำแหน่งนี้ได้กลับมาครองตำแหน่งเดิม หลังจากถูกถอดจาก มส. ปี พ.ศ. 2561 กรรมการ มส. ที่ลาออก 1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567 กรรมการ มส. ที่ลาออก 1. พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ธมฺมธโร ป.ธ.7) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 2. พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ลาออกวันที่ 30 สิงหาคม 2567 การลาออกจาก มส. ของพระเถระทั้ง 2 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น (นอกจากถูกปลดออก ถูกถอด ไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นต่อหลังจากหมดวาระ 2 ปี และตาย) สาเหตุที่ลาออก ตามข่าวที่ประมวลได้นั้น ท่านว่า เพื่อเปิดโอกาสให้พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธัมโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาส วัดสามพระยา (สดๆร้อนๆ) จะได้ดำรงรงตำแหน่งนี้แทน ทั้งนี้พระพรหมดิลก เคยครองตำแหน่งนี้ แต่ถูกถอดถอนเพราะถูกกล่าวหาว่าทำผิดหลายเรื่องเช่น เรื่องเงินทอนวัด เป็นต้น (เหตุเกิดเมื่อเดือน พฤษภาคม 2561) ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด และพระเจ้าอยู่หัวโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม รวมทั้งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสามพระยาตามเดิมด้วย ส่วนพระพรหมวัชรเมธี (โกวิท) ที่ลาออก ก็เป็นการเปิดทางให้พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เข้ามาดำรงตำแหน่งตามเดิม ทั้งนี้ท่านเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว แต่ถูกถอดจากตำแหน่ง ในข้อหาคล้ายกับ พระพรหมดิลก ต่อมาศาลตัดสินว่าไม่มีความผิด พระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดสถาปนาให้ดำรงสมณศักดิ์เดิม ส่วนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศนั้น อยู่ในขั้นตอนเนินการ อนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 นั้น มีกรรมการมหาเถรสมาคมสามรูป ถูกถอดจากตำแหน่ง 2 รูปแรก คือพระพรหมดิลกและพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคมอีกรูปหนึ่งที่ถูกถอดจาก มส. เช่นกัน คือ พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสัมพันธวงศ์ เยาวราช แต่ท่านหนีไปลี้ภัยที่ที่ประเทศเยอรมนี หลังจากถูกออกหมายจับ ข้อหาเดียวกับพระพรหมดิลก และพระพรหมสิทธิ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 186 มุมมอง 0 รีวิว
  • “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” อีกหนึ่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย

    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมี ลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่

    ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
    เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาด เชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู ได้อย่างดีด้วย จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800) เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18, พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏ ในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงไม่สุภาพงออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัย มีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์ ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781) ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมือง ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้ เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่ กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรี อยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้ง ขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอ สวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัย โบราณไว้ด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533

    โบราณสถานที่สำคัญ
    เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
    -โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิต ภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น
    -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ

    บทความหน้า เพจเทพชวนเที่ยว จะพาไปเที่ยวที่ไหน กดติดตาม กดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ
    “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย” อีกหนึ่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ไม่สุภาพงจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมี ลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์😍 เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาด เชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู ได้อย่างดีด้วย จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800) เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18, พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏ ในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงไม่สุภาพงออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัย มีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์ ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781) ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมือง ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้ เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่ กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรี อยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้ง ขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอ สวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัย โบราณไว้ด้วย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 โบราณสถานที่สำคัญ😇 เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้ -โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิต ภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น -โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ บทความหน้า เพจเทพชวนเที่ยว จะพาไปเที่ยวที่ไหน กดติดตาม กดไลค์กดแชร์เป็นกำลังใจให้แอดมินด้วยนะครับ🥰
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 378 มุมมอง 0 รีวิว
  • พิธีพุทธาภิเษก เหรียญขรัวฉิม วัดมหาธาตุ 3 พย. พ.ศ. 2565
    พิธีพุทธาภิเษก เหรียญขรัวฉิม วัดมหาธาตุ 3 พย. พ.ศ. 2565
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 0 รีวิว