• สุริยะยืนกราน ที่ดินเขากระโดงเป็นของ รฟท. ไม่รู้สนามฟุตบอล-แข่งรถครอบคลุมหรือไม่
    (19/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ที่ดินเขากระโดง #รฟท. #กรมที่ดิน #ฟ้องร้องที่ดินเขากระโดง
    สุริยะยืนกราน ที่ดินเขากระโดงเป็นของ รฟท. ไม่รู้สนามฟุตบอล-แข่งรถครอบคลุมหรือไม่ (19/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ที่ดินเขากระโดง #รฟท. #กรมที่ดิน #ฟ้องร้องที่ดินเขากระโดง
    Like
    Haha
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 353 มุมมอง 91 0 รีวิว
  • อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan

    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”

    กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย

    แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ

    อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง

    เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน

    และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร

    ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม

    แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว

    มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา

    ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย

    และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้

    วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้

    แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง

    อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม

    วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง

    วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น


    ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483

    #Thaitimes
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้ วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้ แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 452 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ

    ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร

    เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

    เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน

    เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว

    ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน

    ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้

    เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ

    ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว

    ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป

    เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้

    "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว.

    ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/

    #Thaitimes
    เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้ เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้ "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว. ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    มท.ปัดเอื้อที่ดินเขากระโดง ‘สุริยะ’ลั่นรฟท.ไม่ยอมแน่!
    "อนุทิน" ยัน “คดีเขากระโดง” ไม่มีแทรกแซง ไม่มีช่วยเพื่อน ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 343 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ กรมที่ดิน หน่วยงานในสังกัด เสี่ยหนู มท.1 ทำหนังสือแจ้ง รฟท. ไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดง เพราะไม่มีหลักฐานยันว่าเป็นที่การรถไฟฯ ส่งผลให้ประชาชนรอบที่ดินเขากระโดง ครอบครัวชิดชอบ และธุรกิจในเครือ หลุดรอดจากการบุกรุกที่ดิน
    #7ดอกจิก
    ♣️ กรมที่ดิน หน่วยงานในสังกัด เสี่ยหนู มท.1 ทำหนังสือแจ้ง รฟท. ไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดง เพราะไม่มีหลักฐานยันว่าเป็นที่การรถไฟฯ ส่งผลให้ประชาชนรอบที่ดินเขากระโดง ครอบครัวชิดชอบ และธุรกิจในเครือ หลุดรอดจากการบุกรุกที่ดิน #7ดอกจิก
    Angry
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 255 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยืดเยื้อต่อเนื่อง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เลื่อนเสนอ ครม.เคาะแก้สัญญา
    .
    เริ่มส่งสัญญาณส่อเค้ายืดเยื้ออีกแล้วสำหรับการเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศอย่างมั่นใจว่าการแก้ไขสัญญากับเอกชนจะจบและเสนอให้คณะรัฐมนตรีเคาะได้ภายในเดือนตุลาคม ปรากฎว่าต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดอีกครั้ง
    .
    โดยนายสุริยะ ยอมรับว่า สัปดาห์นี้เรื่องดังกล่าวยังไม่เข้าที่ประชุม ครม. เพราะต้องไปดูรายระเอียดอีกรอบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งไปที่คณะกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดูแลอยู่
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานว่าประเด็นที่กระทรวงคมนาคมต้องนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง คือ การแก้ไขสัญญาใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่
    .
    1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน จากเดิมเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง รัฐจะแบ่งจ่าย 149,650 ล้านบาท ปรับเป็นลักษณะสร้างไปจ่ายไป
    .
    2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่ากัน
    .
    3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนหากอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลง จนทำให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้
    .
    4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน และ
    .
    5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

    ขณะเดียวกัน เริ่มมีเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว ทั้งๆที่ฝ่ายรัฐกับเอกชนได้ลงนามไปแล้วแต่ไม่อาจเดินหน้าโครงการได้ เนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายเอกชนอ้างเหตุผลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
    .............
    Sondhi X
    ยืดเยื้อต่อเนื่อง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เลื่อนเสนอ ครม.เคาะแก้สัญญา . เริ่มส่งสัญญาณส่อเค้ายืดเยื้ออีกแล้วสำหรับการเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศอย่างมั่นใจว่าการแก้ไขสัญญากับเอกชนจะจบและเสนอให้คณะรัฐมนตรีเคาะได้ภายในเดือนตุลาคม ปรากฎว่าต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดอีกครั้ง . โดยนายสุริยะ ยอมรับว่า สัปดาห์นี้เรื่องดังกล่าวยังไม่เข้าที่ประชุม ครม. เพราะต้องไปดูรายระเอียดอีกรอบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งไปที่คณะกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดูแลอยู่ . ทั้งนี้ มีรายงานว่าประเด็นที่กระทรวงคมนาคมต้องนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง คือ การแก้ไขสัญญาใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ . 1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน จากเดิมเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง รัฐจะแบ่งจ่าย 149,650 ล้านบาท ปรับเป็นลักษณะสร้างไปจ่ายไป . 2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่ากัน . 3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนหากอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลง จนทำให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ . 4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน และ . 5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น ขณะเดียวกัน เริ่มมีเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว ทั้งๆที่ฝ่ายรัฐกับเอกชนได้ลงนามไปแล้วแต่ไม่อาจเดินหน้าโครงการได้ เนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายเอกชนอ้างเหตุผลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ............. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 667 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ สุรพงศ์ รมช.คมนาคม คนจากเจ้่าสัวคีรี เตรียมของคลัง-สำนักงบ แฮร์คัทหนี้ รฟท. 3 แสนล้าน พร้อมขอรัฐบาลเพิ่มเงินชดเชยบริการเชิงสังคมเพิ่ม ถ้าคนมาเป็น รมต.แก้ปัญหาแบบนี้ใครก็เป็นได้
    #7ดอกจิก
    #ยังไม่อิ่ม
    ♣ สุรพงศ์ รมช.คมนาคม คนจากเจ้่าสัวคีรี เตรียมของคลัง-สำนักงบ แฮร์คัทหนี้ รฟท. 3 แสนล้าน พร้อมขอรัฐบาลเพิ่มเงินชดเชยบริการเชิงสังคมเพิ่ม ถ้าคนมาเป็น รมต.แก้ปัญหาแบบนี้ใครก็เป็นได้ #7ดอกจิก #ยังไม่อิ่ม
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 412 มุมมอง 0 รีวิว
  • “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 975 มุมมอง 0 รีวิว
  • บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1014 มุมมอง 0 รีวิว