วิเคราะห์หนังสือในมือ
เล่มล่าสุดที่เพิ่งอ่านจบครับ เป็นหนังสือที่เพิ่งเห็นในห้องสมุดไม่นานนี้ ก่อนหน้าได้เคยอ่านบ้านวิกลคนประหลาดเล่มแรกไปเมื่อหลายเดือนก่อน รู้สึกว่าผลงานนักเขียนคนนี้จะค่อนข้างมีกระแสแรงทั้งสองด้าน คนที่ชอบก็จะชอบมาก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็ไม่ชอบมากถึงขั้นเกลียดก็มี ที่จะอยู่ตรงกลางไม่ค่อยเห็น ผมสนใจอ่านผลงานของเขาด้วยเหตุผล 2 ประการ
1. อยากอ่านจริง ๆ เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกทั้งการนำเสนอที่มีอะไรให้เล่นสนุกได้นอกเหนือไปจากตัวอักษรล้วน ปกติชอบหนังสือประเภทมีภาพประกอบให้ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์อยู่แล้ว
2 อยากทราบว่าทำไมผลงานของเขาถึงก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการนักอ่านได้อย่างรุนแรงชนิดที่เป็นขั้วตรงข้ามขนาดนั้น
อ่านแล้วได้ข้อสรุปกับตัวเองคือ ผมชอบนะ แต่ไม่ได้ถึงขนาดชอบมาก ชอบในการสร้างสรรค์งานเขียนที่สร้างจุดแปลกให้แตกต่าง อาจจะไม่ได้เป็นครั้งแรก คนแรก ที่ใช้กลวิธีนำเสนอภาพกับเนื้อหาให้สอดคล้องกันไปกับเรื่องที่ต้องการเล่า ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้คนเขียนได้ออกกำลังทางความคิด ไปจนถึงความขัดแย้งทางความเห็นได้มากกว่างานเขียนอื่นที่ปรากฏสู่สายตานักอ่านในช่วงเดียวกันในเมืองไทย
ไม่ว่าอ่านแล้ว จะมีทั้งคนชอบหรือคนไม่ชอบ ไปจนถึงรักหรือเกลียดในผลงาน หรืออาจพาไปถึงเกลียดคนเขียนด้วยหรือไม่นั้น ผมถือว่าเขาทำสำเร็จแล้วในแง่ของนักเขียนผู้สร้างปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการ อย่างน้อยที่สุดการที่ได้มีการโต้แย้งทางความเห็นที่ไม่ไหลไปในทางเดียวกันทั้งหมด คือมีทั้งคนที่ชี้ข้อดี และข้อเสีย ก็น่าเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความตื่นตัวต่อแวดวงคนอ่าน จะได้ไม่ซบเซาเหงาหงอยเกินไป
ส่วนความเห็น ไม่ว่าจะฝั่งไหน ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าหรือสาระที่มีอยู่ในหนังสือเล่มใดให้มากขึ้น หรือลดลง เนื่องจากความเห็นยังไม่เที่ยงแท้และไม่ใช่ความจริง ด้วยขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมายในแต่ละบุคคล ไม่ได้หมายความว่าความเห็นของคนที่ชอบจะต้องถูก หรือความเห็นของคนที่ไม่ชอบจะต้องผิด
แม้แต่ความเห็นของเราเองยังเชื่อใจไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ไม่แน่ว่ากาลเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่งในวันข้างหน้า ที่เราเติบโตขึ้นต่างไปจากความรู้สึกในปัจจุบัน มุมมองความเห็นเราอาจกลายเป็นตรงข้ามกับตัวเองในตอนนี้ก็ยังได้ นั่นต่างหากคือความจริง
#ภาพวาดปริศนากับการตามหาฆาตกร
สนพ.Prism
ฉบับพิมพ์ครั้ง4 ม.ค.2567
อุเก็ตสึ เขียน
ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล
335 บาท 274 หน้า
เนื้อหาอย่างคร่าว
เริ่มต้นบทนำด้วยหญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้ศึกษามาทางด้านจิตวิเคราะห์ นำภาพวาดของเด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เคยเป็นคนในความดูแลของตนช่วงเวลาหนึ่งมาฉายให้นักศึกษาที่เข้าฟังบรรยายชม และบอกว่าเด็กหญิงฆ่าแม่ตัวเองตาย เธออธิบายความหมายเบื้องหลังภาพนั้น ก่อนจะลงท้ายว่าเด็กหญิงเคยถูกแม่ทารุณกรรม แต่มีแนวโน้มพอจะเยียวยาได้ ปัจจุบันมีข่าวว่าเธอเป็นแม่คนแล้ว
บทที่1ภาพวาดผู้หญิงยืนกลางสายลม
เข้าสู่เรื่องราวของความแปลกด้วยการที่ นักศีกษาชมรมเรื่องลี้ลับชายคนหนึ่ง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดสนใจในการเข้าไปอ่านในบล็อก ที่ผู้เขียนไม่เปิดเผยตัวตน แต่พิมพ์เล่าเรื่องราวในชีวิตตนเองคล้ายไดอารีให้คนที่เข้ามาอ่านทราบความเป็นไปของเขา ซึ่งมีอะไรที่ชวนฉงน อีกทั้งเจ้าของบล็อกลงรูปภาพหลายภาพ ที่ชวนให้รู้สึกว่าเรื่องราวที่เขาเล่ามีอะไรที่ไม่ปกติซ่อนเร้นอยู่ ยิ่งสุดท้ายมีการระบุว่าเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับคนในครอบครัว และจะไม่อัปบล็อกอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านั้นจึงค้างคาในใจของรุ่นน้อง แล้วพลอยส่งต่อความรู้สึกมายังรุ่นพี่ให้อยากรู้ตาม จนนอนไม่หลับ ใคร่จะไขปริศนาให้จงได้ จบตอน
บทที่2 ภาพวาดหมอกปกคลุมห้อง
กล่าวถึงหญิงคนหนึ่งที่ถูกเรียกหาว่า หม่าม้า จากลูกชายวัย 6 ขวบ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตามลำพังในแมนชั่นแห่งหนึ่ง แม่ทำงานเป็นพนักงานในซูเปอร์มาร์เก็ต ลูกชายนั้นเรียนที่โรงเรียนใกล้ที่พัก ระยะนี้คนเป็นแม่รู้สึกได้ว่าถูกใครสักคนลอบดูและแอบติดตามขณะเธอและลูกออกนอกแมนชั่น โดยเฉพาะช่วงเวลากลับจากรับลูกที่โรงเรียน จนมีความเครียดและกังวล ในขณะคุณครูที่ดูแลเด็กนักเรียนห้องที่ลูกชายของเธอเรียนอยู่นั้น ก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาพวาดของเขามาหารือ เป็นภาพที่มีหัวข้อเกี่ยวกับแม่ แต่มีอะไรบางอย่างในภาพนั้นที่รบกวนใจของครูอย่างแปลกประหลาด จนภายหลังเมื่อค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์คำพูดของเพื่อนครูคนอื่น รวมถึงคำบอกเล่าของเด็กหญิงที่เป็นเพื่อนสนิทกันของเด็กชาย ดูเหมือนจะมีความลับที่น่าตกใจซ่อนอยู่ เกี่ยวกับแม่ลูกคู่นี้
บทที่3 ภาพวาดในวาระสุดท้ายของครูสอนศิลปะ
ครูหนุ่มใหญ่ซึ่งสอนในชมรมศิลปะของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นคนค่อนข้างตรง และอุปนิสัยแข็งกร้าว เขามีน้ำใจชอบช่วยลูกศิษย์ และกับเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันในอดีต ชื่นชอบการวาดรูปกับปีนเขา เรื่องเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่เขาขึ้นไปวาดรูปบนยอดเขาแล้วถูกพบเป็นศพในวันต่อมา สภาพศพน่าอเนจอนาถ คดีนี้มีผู้ได้รับการสอบถามจากนักข่าว 4 รายคือพนักงานที่คอยดูแลตรวจตราสภาพของภูเขา ,เมียผู้ตาย ซึ่งมีลูกชายวัยประถม ,เพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาที่ปัจจุบันทำงานพิเศษเป็นครูอยู่โรงเรียนเดียวกับผู้ตาย และนักเรียนชมรมศิลปะที่ผู้ตายสอน แต่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้าย ต่อมาหนุ่มนักศึกษาที่เคยเป็นลูกศิษย์ของผู้ตาย ที่หลังจบม.ปลายได้เข้าทำงานกับบริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขารักครูผู้ตายที่เคยช่วยเหลือตนสมัยเรียน จึงอยากสืบหาความจริง จากเบาะแสภาพวาดที่ทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิต ทว่าเรื่องราวช่างซับซ้อนซ่อนกล และแฝงไว้ซึ่งความจริงอันน่าตื่นตระหนก
บทที่4 ภาพวาดต้นไม้ปกป้องนกกระจอกชวา
บทสุดท้ายที่จะขมวดทุกเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเข้าสู่เรื่องยาวของชีวิต ๆ หนึ่ง ที่ย้อนกลับสู่บทนำในภาพแรกที่นักจิตวิเคราะห์ได้นำเสนอ โดยเล่าถึงชีวิตที่น่าสงสารและเห็นใจของเด็กหญิงที่บอกเล่าที่มาซึ่งทำให้เธอกลายเป็นฆาตกรฆ่าแม่ และเรื่องราวหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่จะไปเชื่อมต่อกับเนื้อหาในบทที่ 1 2 3 ตามลำดับ เพื่อจะได้ทราบความจริงที่ถูกซ้อนทับด้วยคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตหลายคดีด้วยกัน ทั้งหมดล้วนมีต้อตอมาจากคนคนเดียว
เป็นใคร และทำไม ไปตามต่อได้ในเล่มครับ
🖋หลังอ่านจบ
ชอบในความอ่านง่าย ยิ่งมีภาพประกอบสลับเป็นช่วง ทำให้ได้พักสายตา จะขอไม่กล่าวถึงในแง่ต่าง ๆ ที่ทั้งคนชอบและไม่ชอบต่างวิจารณ์กันไปเยอะแล้ว แต่อยากพูดถึงในแง่ว่า ผู้เขียนฉลาดนักในการตัดสินใจเล่าอย่างตรงไปตรงมา ไม่อธิบายบรรยายฉากหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์อย่างละเอียดมาก บางฉากถึงกับใช้วิธีที่ง่าย สั้น และตรง ๆ ทื่อ ๆ เลยด้วยซ้ำ
ซึ่งมันกลับได้ผล ทรงพลัง เมื่อเราได้จินตนาการไปตามตัวอักษรเหล่านั้น เช่น
ปั้กกก
แล้วก็
ปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกก...
แค่ตอนที่อ่านถึงตรงบรรทัดนี้ ความรู้สึกเวลาหลับตานึกถึงกิริยาที่ก่อให้เกิดเสียง กับอาการที่เกิดขึ้นอันเป็นผลลัพธ์ ก็ทำเอาใจคอไม่เป็นปกติแล้ว
เสียงชนิดเดียวที่ดังต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีกชั่วระยะเวลาที่แม้นไม่นานนัก แต่น่าจะยาวนานที่สุดในชีวิตสำหรับความรู้สึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์
เพียงแค่ฉากนี้ฉากเดียว สามารถสื่อถึงความวิปริตผิดปกติของจิตใจคนคนนั้นได้อย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เห็นถึงสภาพคนที่มีความเก็บกด อดกลั้น ย้ำคิดย้ำทำ กังวลและเครียด ไม่สามารถจะควบคุมหรือยับยั้งความคิดหรืออารมณ์ที่ผุดพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พอปล่อยให้มันแสดงออกตามสบาย จึงล้นทะลักราวทำนบทลาย
ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่ได้ปรากฏขึ้นแค่เฉพาะฉากนี้เท่านั้น
นี่คือความน่ากลัว และน่าขนลุกอย่างแท้จริง
อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสังคมไทยในปัจจุบัน เด็กหญิงชายจำนวนมากมาย ที่เติบโตขึ้นมาอย่างผู้ถูกกระทำจากคนใกล้ชิดในครอบครัว แม้บางส่วนถูกช่วยเหลือออกมาได้ และเข้าสู่ขั้นตอนช่วยเหลือเยียวยา
ทว่า..เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเด็ก ๆ ได้รับการสะสางชำระล้างไปจนหมดสิ้น แล้วจะไม่กลายร่างเป็นดังเช่นคนร้ายที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
เด็กทั้งหลาย เขาได้เติบโตขึ้นมาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม โดยที่เหมือนมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่ในตัว รอวันที่จะถูกสิ่งใดมากระตุ้นโดนจุดอ่อนนั้นให้เกิดเป็นเรื่องราวบทใหม่หรือไม่
เป็นไปได้ว่าสักวันเหยื่อเหมือนในหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นใครบางคนที่เรารักหรือรักเรา แม้กระทั่งตัวเราเองก็เป็นได้ ใครจะรู้?!
#บทความ #บทวิจารณ์ #หนังสือน่าอ่าน #ฆาตกรรม #จิตวิทยา #หนังสือแปล #นิยายแปล #ความรุนแรงในครอบครีว #พ่อแม่รังแกฉัน #ปริศนา #ภาพวาด #thaitimes #อุเก็ตสึ วิเคราะห์หนังสือในมือ
เล่มล่าสุดที่เพิ่งอ่านจบครับ เป็นหนังสือที่เพิ่งเห็นในห้องสมุดไม่นานนี้ ก่อนหน้าได้เคยอ่านบ้านวิกลคนประหลาดเล่มแรกไปเมื่อหลายเดือนก่อน รู้สึกว่าผลงานนักเขียนคนนี้จะค่อนข้างมีกระแสแรงทั้งสองด้าน คนที่ชอบก็จะชอบมาก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็ไม่ชอบมากถึงขั้นเกลียดก็มี ที่จะอยู่ตรงกลางไม่ค่อยเห็น ผมสนใจอ่านผลงานของเขาด้วยเหตุผล 2 ประการ
1. อยากอ่านจริง ๆ เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกทั้งการนำเสนอที่มีอะไรให้เล่นสนุกได้นอกเหนือไปจากตัวอักษรล้วน ปกติชอบหนังสือประเภทมีภาพประกอบให้ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์อยู่แล้ว
2 อยากทราบว่าทำไมผลงานของเขาถึงก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการนักอ่านได้อย่างรุนแรงชนิดที่เป็นขั้วตรงข้ามขนาดนั้น
อ่านแล้วได้ข้อสรุปกับตัวเองคือ ผมชอบนะ แต่ไม่ได้ถึงขนาดชอบมาก ชอบในการสร้างสรรค์งานเขียนที่สร้างจุดแปลกให้แตกต่าง อาจจะไม่ได้เป็นครั้งแรก คนแรก ที่ใช้กลวิธีนำเสนอภาพกับเนื้อหาให้สอดคล้องกันไปกับเรื่องที่ต้องการเล่า ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้คนเขียนได้ออกกำลังทางความคิด ไปจนถึงความขัดแย้งทางความเห็นได้มากกว่างานเขียนอื่นที่ปรากฏสู่สายตานักอ่านในช่วงเดียวกันในเมืองไทย
ไม่ว่าอ่านแล้ว จะมีทั้งคนชอบหรือคนไม่ชอบ ไปจนถึงรักหรือเกลียดในผลงาน หรืออาจพาไปถึงเกลียดคนเขียนด้วยหรือไม่นั้น ผมถือว่าเขาทำสำเร็จแล้วในแง่ของนักเขียนผู้สร้างปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการ อย่างน้อยที่สุดการที่ได้มีการโต้แย้งทางความเห็นที่ไม่ไหลไปในทางเดียวกันทั้งหมด คือมีทั้งคนที่ชี้ข้อดี และข้อเสีย ก็น่าเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความตื่นตัวต่อแวดวงคนอ่าน จะได้ไม่ซบเซาเหงาหงอยเกินไป
ส่วนความเห็น ไม่ว่าจะฝั่งไหน ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าหรือสาระที่มีอยู่ในหนังสือเล่มใดให้มากขึ้น หรือลดลง เนื่องจากความเห็นยังไม่เที่ยงแท้และไม่ใช่ความจริง ด้วยขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมายในแต่ละบุคคล ไม่ได้หมายความว่าความเห็นของคนที่ชอบจะต้องถูก หรือความเห็นของคนที่ไม่ชอบจะต้องผิด
แม้แต่ความเห็นของเราเองยังเชื่อใจไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ไม่แน่ว่ากาลเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่งในวันข้างหน้า ที่เราเติบโตขึ้นต่างไปจากความรู้สึกในปัจจุบัน มุมมองความเห็นเราอาจกลายเป็นตรงข้ามกับตัวเองในตอนนี้ก็ยังได้ นั่นต่างหากคือความจริง
#ภาพวาดปริศนากับการตามหาฆาตกร
สนพ.Prism
ฉบับพิมพ์ครั้ง4 ม.ค.2567
อุเก็ตสึ เขียน
ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล
335 บาท 274 หน้า
เนื้อหาอย่างคร่าว
เริ่มต้นบทนำด้วยหญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้ศึกษามาทางด้านจิตวิเคราะห์ นำภาพวาดของเด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เคยเป็นคนในความดูแลของตนช่วงเวลาหนึ่งมาฉายให้นักศึกษาที่เข้าฟังบรรยายชม และบอกว่าเด็กหญิงฆ่าแม่ตัวเองตาย เธออธิบายความหมายเบื้องหลังภาพนั้น ก่อนจะลงท้ายว่าเด็กหญิงเคยถูกแม่ทารุณกรรม แต่มีแนวโน้มพอจะเยียวยาได้ ปัจจุบันมีข่าวว่าเธอเป็นแม่คนแล้ว
บทที่1ภาพวาดผู้หญิงยืนกลางสายลม
เข้าสู่เรื่องราวของความแปลกด้วยการที่ นักศีกษาชมรมเรื่องลี้ลับชายคนหนึ่ง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดสนใจในการเข้าไปอ่านในบล็อก ที่ผู้เขียนไม่เปิดเผยตัวตน แต่พิมพ์เล่าเรื่องราวในชีวิตตนเองคล้ายไดอารีให้คนที่เข้ามาอ่านทราบความเป็นไปของเขา ซึ่งมีอะไรที่ชวนฉงน อีกทั้งเจ้าของบล็อกลงรูปภาพหลายภาพ ที่ชวนให้รู้สึกว่าเรื่องราวที่เขาเล่ามีอะไรที่ไม่ปกติซ่อนเร้นอยู่ ยิ่งสุดท้ายมีการระบุว่าเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับคนในครอบครัว และจะไม่อัปบล็อกอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านั้นจึงค้างคาในใจของรุ่นน้อง แล้วพลอยส่งต่อความรู้สึกมายังรุ่นพี่ให้อยากรู้ตาม จนนอนไม่หลับ ใคร่จะไขปริศนาให้จงได้ จบตอน
บทที่2 ภาพวาดหมอกปกคลุมห้อง
กล่าวถึงหญิงคนหนึ่งที่ถูกเรียกหาว่า หม่าม้า จากลูกชายวัย 6 ขวบ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตามลำพังในแมนชั่นแห่งหนึ่ง แม่ทำงานเป็นพนักงานในซูเปอร์มาร์เก็ต ลูกชายนั้นเรียนที่โรงเรียนใกล้ที่พัก ระยะนี้คนเป็นแม่รู้สึกได้ว่าถูกใครสักคนลอบดูและแอบติดตามขณะเธอและลูกออกนอกแมนชั่น โดยเฉพาะช่วงเวลากลับจากรับลูกที่โรงเรียน จนมีความเครียดและกังวล ในขณะคุณครูที่ดูแลเด็กนักเรียนห้องที่ลูกชายของเธอเรียนอยู่นั้น ก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาพวาดของเขามาหารือ เป็นภาพที่มีหัวข้อเกี่ยวกับแม่ แต่มีอะไรบางอย่างในภาพนั้นที่รบกวนใจของครูอย่างแปลกประหลาด จนภายหลังเมื่อค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์คำพูดของเพื่อนครูคนอื่น รวมถึงคำบอกเล่าของเด็กหญิงที่เป็นเพื่อนสนิทกันของเด็กชาย ดูเหมือนจะมีความลับที่น่าตกใจซ่อนอยู่ เกี่ยวกับแม่ลูกคู่นี้
บทที่3 ภาพวาดในวาระสุดท้ายของครูสอนศิลปะ
ครูหนุ่มใหญ่ซึ่งสอนในชมรมศิลปะของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นคนค่อนข้างตรง และอุปนิสัยแข็งกร้าว เขามีน้ำใจชอบช่วยลูกศิษย์ และกับเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันในอดีต ชื่นชอบการวาดรูปกับปีนเขา เรื่องเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่เขาขึ้นไปวาดรูปบนยอดเขาแล้วถูกพบเป็นศพในวันต่อมา สภาพศพน่าอเนจอนาถ คดีนี้มีผู้ได้รับการสอบถามจากนักข่าว 4 รายคือพนักงานที่คอยดูแลตรวจตราสภาพของภูเขา ,เมียผู้ตาย ซึ่งมีลูกชายวัยประถม ,เพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาที่ปัจจุบันทำงานพิเศษเป็นครูอยู่โรงเรียนเดียวกับผู้ตาย และนักเรียนชมรมศิลปะที่ผู้ตายสอน แต่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้าย ต่อมาหนุ่มนักศึกษาที่เคยเป็นลูกศิษย์ของผู้ตาย ที่หลังจบม.ปลายได้เข้าทำงานกับบริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขารักครูผู้ตายที่เคยช่วยเหลือตนสมัยเรียน จึงอยากสืบหาความจริง จากเบาะแสภาพวาดที่ทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิต ทว่าเรื่องราวช่างซับซ้อนซ่อนกล และแฝงไว้ซึ่งความจริงอันน่าตื่นตระหนก
บทที่4 ภาพวาดต้นไม้ปกป้องนกกระจอกชวา
บทสุดท้ายที่จะขมวดทุกเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเข้าสู่เรื่องยาวของชีวิต ๆ หนึ่ง ที่ย้อนกลับสู่บทนำในภาพแรกที่นักจิตวิเคราะห์ได้นำเสนอ โดยเล่าถึงชีวิตที่น่าสงสารและเห็นใจของเด็กหญิงที่บอกเล่าที่มาซึ่งทำให้เธอกลายเป็นฆาตกรฆ่าแม่ และเรื่องราวหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่จะไปเชื่อมต่อกับเนื้อหาในบทที่ 1 2 3 ตามลำดับ เพื่อจะได้ทราบความจริงที่ถูกซ้อนทับด้วยคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตหลายคดีด้วยกัน ทั้งหมดล้วนมีต้อตอมาจากคนคนเดียว
เป็นใคร และทำไม ไปตามต่อได้ในเล่มครับ
🖋หลังอ่านจบ
ชอบในความอ่านง่าย ยิ่งมีภาพประกอบสลับเป็นช่วง ทำให้ได้พักสายตา จะขอไม่กล่าวถึงในแง่ต่าง ๆ ที่ทั้งคนชอบและไม่ชอบต่างวิจารณ์กันไปเยอะแล้ว แต่อยากพูดถึงในแง่ว่า ผู้เขียนฉลาดนักในการตัดสินใจเล่าอย่างตรงไปตรงมา ไม่อธิบายบรรยายฉากหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์อย่างละเอียดมาก บางฉากถึงกับใช้วิธีที่ง่าย สั้น และตรง ๆ ทื่อ ๆ เลยด้วยซ้ำ
ซึ่งมันกลับได้ผล ทรงพลัง เมื่อเราได้จินตนาการไปตามตัวอักษรเหล่านั้น เช่น
ปั้กกก
แล้วก็
ปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกก...
แค่ตอนที่อ่านถึงตรงบรรทัดนี้ ความรู้สึกเวลาหลับตานึกถึงกิริยาที่ก่อให้เกิดเสียง กับอาการที่เกิดขึ้นอันเป็นผลลัพธ์ ก็ทำเอาใจคอไม่เป็นปกติแล้ว
เสียงชนิดเดียวที่ดังต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีกชั่วระยะเวลาที่แม้นไม่นานนัก แต่น่าจะยาวนานที่สุดในชีวิตสำหรับความรู้สึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์
เพียงแค่ฉากนี้ฉากเดียว สามารถสื่อถึงความวิปริตผิดปกติของจิตใจคนคนนั้นได้อย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เห็นถึงสภาพคนที่มีความเก็บกด อดกลั้น ย้ำคิดย้ำทำ กังวลและเครียด ไม่สามารถจะควบคุมหรือยับยั้งความคิดหรืออารมณ์ที่ผุดพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พอปล่อยให้มันแสดงออกตามสบาย จึงล้นทะลักราวทำนบทลาย
ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่ได้ปรากฏขึ้นแค่เฉพาะฉากนี้เท่านั้น
นี่คือความน่ากลัว และน่าขนลุกอย่างแท้จริง
อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสังคมไทยในปัจจุบัน เด็กหญิงชายจำนวนมากมาย ที่เติบโตขึ้นมาอย่างผู้ถูกกระทำจากคนใกล้ชิดในครอบครัว แม้บางส่วนถูกช่วยเหลือออกมาได้ และเข้าสู่ขั้นตอนช่วยเหลือเยียวยา
ทว่า..เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเด็ก ๆ ได้รับการสะสางชำระล้างไปจนหมดสิ้น แล้วจะไม่กลายร่างเป็นดังเช่นคนร้ายที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
เด็กทั้งหลาย เขาได้เติบโตขึ้นมาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม โดยที่เหมือนมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่ในตัว รอวันที่จะถูกสิ่งใดมากระตุ้นโดนจุดอ่อนนั้นให้เกิดเป็นเรื่องราวบทใหม่หรือไม่
เป็นไปได้ว่าสักวันเหยื่อเหมือนในหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นใครบางคนที่เรารักหรือรักเรา แม้กระทั่งตัวเราเองก็เป็นได้ ใครจะรู้?!
#บทความ
#บทวิจารณ์
#หนังสือน่าอ่าน
#ฆาตกรรม
#จิตวิทยา
#หนังสือแปล
#นิยายแปล
#ความรุนแรงในครอบครีว
#พ่อแม่รังแกฉัน
#ปริศนา
#ภาพวาด
#thaitimes
#อุเก็ตสึ