• พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1854 มุมมอง 0 รีวิว
  • เช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียประท้วงการถูกกีดกันจากประชุมปารีส

    สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้นำยุโรปที่ปารีส

    แหล่งข่าวจากรัฐบาลเช็กระบุว่าไม่มีประเทศยุโรปใดรับผู้ลี้ภัยยูเครนต่อประชากรมากกว่าเช็ก พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการส่งกำลังบำรุงอาวุธให้ยูเครน โดยเฉพาะการจัดหากระสุนให้เคียฟ "นอกจากโปแลนด์แล้ว ไม่มีประเทศใดใกล้ชิดสงครามมากกว่าเช็ก" เจ้าหน้าที่กล่าว พร้อมวิจารณ์ "ความหยิ่งยโส" ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ที่กีดกันพวกเขา

    ด้าน Cristian Diaconescu ที่ปรึกษาด้านกลาโหมและความมั่นคงของโรมาเนียแสดงความผิดหวังที่ถูกกีดกัน "แม้จะทุ่มเทช่วยเหลือมาตลอด" แต่ยืนยันว่าหากมีการประชุมต่อเนื่อง พวกเขาก็พร้อมจะมีส่วนร่วม

    ประธานาธิบดี Nataša Pirc Musar แห่งสโลวีเนียวิจารณ์การเลือกเชิญว่าส่งสัญญาณว่า "สมาชิก EU ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม" และเสริมว่า "นี่ไม่ใช่ยุโรปที่จะเป็นพันธมิตรที่คู่ควรกับสหรัฐฯ"
    เช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียประท้วงการถูกกีดกันจากประชุมปารีส สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้นำยุโรปที่ปารีส แหล่งข่าวจากรัฐบาลเช็กระบุว่าไม่มีประเทศยุโรปใดรับผู้ลี้ภัยยูเครนต่อประชากรมากกว่าเช็ก พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการส่งกำลังบำรุงอาวุธให้ยูเครน โดยเฉพาะการจัดหากระสุนให้เคียฟ "นอกจากโปแลนด์แล้ว ไม่มีประเทศใดใกล้ชิดสงครามมากกว่าเช็ก" เจ้าหน้าที่กล่าว พร้อมวิจารณ์ "ความหยิ่งยโส" ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ที่กีดกันพวกเขา ด้าน Cristian Diaconescu ที่ปรึกษาด้านกลาโหมและความมั่นคงของโรมาเนียแสดงความผิดหวังที่ถูกกีดกัน "แม้จะทุ่มเทช่วยเหลือมาตลอด" แต่ยืนยันว่าหากมีการประชุมต่อเนื่อง พวกเขาก็พร้อมจะมีส่วนร่วม ประธานาธิบดี Nataša Pirc Musar แห่งสโลวีเนียวิจารณ์การเลือกเชิญว่าส่งสัญญาณว่า "สมาชิก EU ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม" และเสริมว่า "นี่ไม่ใช่ยุโรปที่จะเป็นพันธมิตรที่คู่ควรกับสหรัฐฯ"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 197 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป
    .
    ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว
    .
    ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014
    .
    ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด"
    .
    คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย
    .
    ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ"
    .
    เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา"
    .
    ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน"
    .
    ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน
    .
    เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป . ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว . ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014 . ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด" . คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย . ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ" . เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา" . ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน" . ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน . เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1497 มุมมอง 1 รีวิว
  • ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
    .
    ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
    .
    ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
    .
    ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
    .
    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
    .
    ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
    .
    รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
    .
    ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
    .
    ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    .
    การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
    .
    เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
    .
    ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
    .
    นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
    .
    กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
    ..............
    Sondhi X
    ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้ . ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ . ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย . ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง . ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ . ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ . รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น” . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน . ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป . ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง . การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน . เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม . ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน . นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต . กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1235 มุมมอง 0 รีวิว
  • Larry Ellison ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Oracle ที่มีแผนใหญ่ในการรวบรวมข้อมูลของทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาไว้ในระบบเดียว รวมถึงข้อมูล DNA ของประชาชน เพื่อใช้ศึกษาและปรับปรุงการบริการสาธารณะต่าง ๆ

    Ellison เชื่อว่าการรวมข้อมูลของทั้งประเทศจะช่วยให้การบริการด้านสุขภาพดีขึ้น การบริการสังคมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับปรุงได้ด้วย AI โดยเขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยศูนย์ข้อมูลควรตั้งอยู่ภายในประเทศที่มีข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด

    ในงาน AI Action Summit ที่ปารีส Ellison ได้พูดถึงแผนนี้พร้อมกับ Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ โดยเสนอให้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดใส่ในฐานข้อมูลที่ AI สามารถใช้วิเคราะห์และตอบคำถามต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ Oracle ก็พร้อมที่จะช่วยรัฐบาลในการสร้างระบบใหญ่โตนี้

    การรวมข้อมูลทั้งหมดนี้จะมีข้อดีหลายประการ เช่น การรักษาพยาบาลที่เป็นเฉพาะบุคคล การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยการวิเคราะห์ที่ดินและพืช และการป้องกันการทุจริตในบริการสังคม นอกจากนี้ Ellison ยังกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ของ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) จากความต้องการ AI ในระดับสูง

    https://www.techradar.com/pro/oracle-cto-wants-to-put-all-americas-data-into-one-big-system-to-study-including-dna
    Larry Ellison ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Oracle ที่มีแผนใหญ่ในการรวบรวมข้อมูลของทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาไว้ในระบบเดียว รวมถึงข้อมูล DNA ของประชาชน เพื่อใช้ศึกษาและปรับปรุงการบริการสาธารณะต่าง ๆ Ellison เชื่อว่าการรวมข้อมูลของทั้งประเทศจะช่วยให้การบริการด้านสุขภาพดีขึ้น การบริการสังคมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับปรุงได้ด้วย AI โดยเขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยศูนย์ข้อมูลควรตั้งอยู่ภายในประเทศที่มีข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด ในงาน AI Action Summit ที่ปารีส Ellison ได้พูดถึงแผนนี้พร้อมกับ Tony Blair อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ โดยเสนอให้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดใส่ในฐานข้อมูลที่ AI สามารถใช้วิเคราะห์และตอบคำถามต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ Oracle ก็พร้อมที่จะช่วยรัฐบาลในการสร้างระบบใหญ่โตนี้ การรวมข้อมูลทั้งหมดนี้จะมีข้อดีหลายประการ เช่น การรักษาพยาบาลที่เป็นเฉพาะบุคคล การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยการวิเคราะห์ที่ดินและพืช และการป้องกันการทุจริตในบริการสังคม นอกจากนี้ Ellison ยังกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ของ Oracle Cloud Infrastructure (OCI) จากความต้องการ AI ในระดับสูง https://www.techradar.com/pro/oracle-cto-wants-to-put-all-americas-data-into-one-big-system-to-study-including-dna
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 158 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยุโรปก้าวเข้าสู่การแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์ด้วยแผน InvestAI มูลค่า 207 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลใหม่ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในการสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่จีนก็ได้เปิดตัวบอทแชท DeepSeek ที่เป็นที่ฮือฮาในหมู่บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ตอนนี้ยุโรปก็เข้าร่วมแข่งขันด้วยแผน InvestAI ที่จะระเบิดฟองสบู่ AI

    ในงาน AI Action Summit ที่ปารีส ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป Ursula von der Leyen ได้ประกาศแผน InvestAI โดยคาดว่าทางการยุโรปจะจัดสรรหรือ "ระดมทุน" สูงสุดถึง 207 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI และแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องที่เน้นไปทางสหภาพยุโรป เธอยังเน้นว่าบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ เร่งความเร็วในการวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และเสริมความแข็งแกร่งในการแข่งขันในระดับโลกของยุโรป

    แผนนี้จะใช้โมเดลความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่คล้ายกับที่สร้าง CERN ซึ่งเป็นสถานที่กำเนิดของ World Wide Web และการสร้าง "โรงงาน AI ขนาดใหญ่" ทั่วทวีปยุโรป ที่แต่ละแห่งจะมี AI accelerators ที่ล้ำสมัยถึง 100,000 ชิ้นซึ่งเกือบสี่เท่าของจำนวนชิป AI ที่ใช้ในโรงงาน AI ปัจจุบัน

    อีกทั้ง Brussels ยังสนับสนุนนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในหลายภาคส่วน เช่น หุ่นยนต์ การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศผ่านโครงการ GenAI4EU

    https://www.techspot.com/news/106756-europe-funding-200-billion-initiative-build-world-most.html
    ยุโรปก้าวเข้าสู่การแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์ด้วยแผน InvestAI มูลค่า 207 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลใหม่ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในการสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่จีนก็ได้เปิดตัวบอทแชท DeepSeek ที่เป็นที่ฮือฮาในหมู่บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 ตอนนี้ยุโรปก็เข้าร่วมแข่งขันด้วยแผน InvestAI ที่จะระเบิดฟองสบู่ AI ในงาน AI Action Summit ที่ปารีส ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป Ursula von der Leyen ได้ประกาศแผน InvestAI โดยคาดว่าทางการยุโรปจะจัดสรรหรือ "ระดมทุน" สูงสุดถึง 207 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI และแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องที่เน้นไปทางสหภาพยุโรป เธอยังเน้นว่าบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ เร่งความเร็วในการวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และเสริมความแข็งแกร่งในการแข่งขันในระดับโลกของยุโรป แผนนี้จะใช้โมเดลความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่คล้ายกับที่สร้าง CERN ซึ่งเป็นสถานที่กำเนิดของ World Wide Web และการสร้าง "โรงงาน AI ขนาดใหญ่" ทั่วทวีปยุโรป ที่แต่ละแห่งจะมี AI accelerators ที่ล้ำสมัยถึง 100,000 ชิ้นซึ่งเกือบสี่เท่าของจำนวนชิป AI ที่ใช้ในโรงงาน AI ปัจจุบัน อีกทั้ง Brussels ยังสนับสนุนนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในหลายภาคส่วน เช่น หุ่นยนต์ การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศผ่านโครงการ GenAI4EU https://www.techspot.com/news/106756-europe-funding-200-billion-initiative-build-world-most.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Europe enters the AI race with $207 billion InvestAI initiative
    Europe has its own "Stargate" program aimed at developing significantly more powerful AI capabilities in the coming years. At the AI Action Summit in Paris, European Commission...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยุโรปจะมีการขยายตัวของศูนย์ข้อมูลที่มีความจุสูงสุดในปี 2025 ตามรายงานของ CBRE Group ซึ่งการขยายตัวนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลข้อมูลบนคลาวด์ ความต้องการสำหรับศูนย์ข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทต่างๆ พยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ในการดำเนินธุรกิจของพวกเขา

    คาดว่าตลาดยุโรปจะมีศูนย์ข้อมูลที่มีความจุไฟฟ้า 937 เมกะวัตต์เข้ามาในปี 2025 ซึ่งจะสร้างสถิติใหม่สำหรับภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นการกระโดดขึ้นถึง 282 เมกะวัตต์ หรือ 43% จากความจุ 655 เมกะวัตต์ที่มีในปี 2024 การเติบโตนี้ได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมของพลังงาน ที่ดินที่เหมาะสม และแรงจูงใจจากรัฐบาล

    ตลาดศูนย์ข้อมูลหลักในยุโรป เช่น แฟรงก์เฟิร์ต ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม ปารีส และดับลิน จะเห็นการเพิ่มขึ้นของความจุสูงสุด คิดเป็น 57% ของความจุใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีการเติบโตแบบสองหลักในตลาดรองในยุโรปห้าจากสิบแห่งที่ติดตามโดย CBRE

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/14/europe-set-to-see-record-data-centre-capacity-roll-out-in-2025-cbre-says
    ยุโรปจะมีการขยายตัวของศูนย์ข้อมูลที่มีความจุสูงสุดในปี 2025 ตามรายงานของ CBRE Group ซึ่งการขยายตัวนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมปัญญาประดิษฐ์และการประมวลผลข้อมูลบนคลาวด์ ความต้องการสำหรับศูนย์ข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทต่างๆ พยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ในการดำเนินธุรกิจของพวกเขา คาดว่าตลาดยุโรปจะมีศูนย์ข้อมูลที่มีความจุไฟฟ้า 937 เมกะวัตต์เข้ามาในปี 2025 ซึ่งจะสร้างสถิติใหม่สำหรับภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นการกระโดดขึ้นถึง 282 เมกะวัตต์ หรือ 43% จากความจุ 655 เมกะวัตต์ที่มีในปี 2024 การเติบโตนี้ได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความพร้อมของพลังงาน ที่ดินที่เหมาะสม และแรงจูงใจจากรัฐบาล ตลาดศูนย์ข้อมูลหลักในยุโรป เช่น แฟรงก์เฟิร์ต ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม ปารีส และดับลิน จะเห็นการเพิ่มขึ้นของความจุสูงสุด คิดเป็น 57% ของความจุใหม่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีการเติบโตแบบสองหลักในตลาดรองในยุโรปห้าจากสิบแห่งที่ติดตามโดย CBRE https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/14/europe-set-to-see-record-data-centre-capacity-roll-out-in-2025-cbre-says
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Europe set to see record data centre capacity roll-out in 2025, CBRE says
    LONDON (Reuters) - Europe could see a record level of new data centres this year, according to research released on Wednesday by CBRE Group, as companies expand their artificial intelligence and cloud computing activities.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 111 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขย่าวงการรถยนต์ไฟฟ้าจนร้อนไปทั่วเมื่อหุ้น BYD พุ่งทะยานวันพุธ (12) หลังค่ายรถอีวีชื่อดังจีน BYD ประกาศจับมือบริษัท AI จีนชื่อดัง DeepSeek ให้เอาสมองกล AI ใส่ในรถ BYD ส่วนผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) ไม่เดินทางร่วมการประชุม AI Summit ที่กรุงปารีสซึ่งมีการประชุม 2 วันถึงแม้จะได้รับเชิญ หนังสือพิมพ์เซาท์มอร์นิ่งไชนาโพสต์ชี้ ไม่จำเป็นเพราะจีนได้ปักธงเป็นผู้ชนะสมรภูมิรบปัญญาประดิษฐ์ระดับโลกไปแล้วเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ กำลังวุ่นวายประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ สัปดาห์ที่แล้วสั่งระงับชั่วคราวโครงการสถานีชาร์เจอร์ของรถอีวีทั่วสหรัฐฯ 5 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง อีลอน มัสก์ เจ้าของเทสลากำลังยุ่งกับการยกเลิกหน่วยงานรัฐไล่เจ้าหน้าที่รัฐออก
    .
    ยูโรนิวส์รายงานวันพุธ (12 ก.พ.) ว่า หุ้น BYD พุ่งทะยานสูงสุดวันพุธ (12) หลังค่าย BYD ยักษ์ใหญ่อีวีของจีนประกาศจับมือร่วมกันกับบริษัท DeepSeek เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จีนเมื่อต้นสัปดาห์นี้
    .
    BYD คู่แข่งสำคัญของค่ายเทสลาจากสหรัฐฯ แถลงว่า จะติดตั้งระบบขับขี่อัตโนมัติในรถทุกรุ่นของตัวเอง ตั้งแต่รุ่นที่ราคาต่ำสู่รุ่นระดับเอ็กซ์คลูซีฟ
    .
    ผู้ก่อตั้ง BYD Wang Chuanfu กล่าวในวันจันทร์ (10) ว่า บริษัท BYD ตั้งใจจะทำให้การขับขี่อัตโนมัติมีความหรูหราน้อยลงและฟีเจอร์ความปลอดภัยมากขึ้น
    .
    เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านี้ถูกเรียกว่า “ดวงตาแห่งพระเจ้า” (God's Eye) จะได้รับการติดตั้งในรถที่มีราคาต่ำสุดตั้งแต่ 69,800 หยวน หรือ ราว 325,712.21 บาท อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันพุธ (12)
    .
    BYD เปิดเผยว่า ทางบริษัทจะติดตั้งซอฟต์แวร์ AI ของ DeepSeek เข้าไปในบางรุ่นของระบบการขับขี่ของตัวเอง
    .
    ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาชี้ว่า DeepSeek จะทำให้ระบบเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติของ BYD มีความชาญฉลาดมากขึ้นทางด้านระบบเสียงสั่งการ และเพิ่มความสามารถการขับขี่อัตโนมัติ
    .
    การประกาศจับมือร่วมกันของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ชื่อดังจากแดนมังกรทำเอาเทสลาของอีลอน มัสก์ตกที่นั่งลำบาก สื่อ city.am ของอังกฤษออกมาชี้ว่า ผลการประกาศจับมือร่วมกันระหว่าง BYD และ DeepSeek ส่งผลสะเทือนต่อหุ้นเทสลาในวันพุธ (12) ที่ตกลง 5 วันติดต่อกัน
    .
    เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักลงทุนต่างเริ่มวิตกถึงซีอีโอใหญ่ อีลอน มัสก์ ในการใช้เวลาของเขา แมตต์ บริตซแมน (Matt Britzman) จาก Hargreaves Lansdown
    .
    นอกเหนือจากที่เขาต้องวุ่นกับแพลตฟอร์ม X ที่ปรากฏการทวีตของมัสก์บนแพลตฟอร์มบ่อยครั้ง มัสก์ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำสำนักงานประสิทธิภาพรัฐ DOGE และยังเปิดข้อเสนอ 97 พันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ OpenAI ของ แซม อัลต์แมน ทำให้วิตกว่า อีลอน จะไม่สนใจบริหาร Tesla อย่างมีประสิทธิภาพ
    .
    “แบรนด์ Tesla ตอนนี้พังแล้ว” รอส เกอร์เบอร์ (Ross Gerber) ซีอีโอบริหารประจำ Gerber Kawasaki แถลง
    .
    ขณะที่ผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) มีรายงานไม่บินเข้าร่วมการประชุม AI โลก 2 วันจัดขึ้นที่กรุงปารีส ถึงแม้จะถูกเชิญก็ตาม หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานวานนี้ (11) แสดงความเห็นว่า จากการที่จีนกลายเป็นแชมป์ด้าน AI ในระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    .
    หนังสือฮ่องกงรายงานว่า แต่ทว่ามีปรากฏภาพซีอีโอบริษัท OpenAI ของสหรัฐฯ แซม อัลต์แมน เข้าร่วมงานในการประชุมนอกรอบในวันอังคาร (11)
    .
    งานซัมมิต AI โลกนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานุเอล มาครง อ้างอิงจากเดอะการ์เดียนวันจันทร์ (10) ได้ออกมาประกาศว่า “หากเป็นเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แล้วขอให้เลือกยุโรปและฝรั่งเศส”
    .
    ฝรั่งเศสและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จับมือร่วมกันตั้งศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ AI 1 กิกะวัตต์ของบริษัท Mistral AI ที่ฝรั่งเศสมูลค่าถึง 50 พันล้านยูโร
    .
    ทั้งนี้ Mistral AI SAS เป็นสตาร์ทอัปด้านปัญญาประดิษฐ์จากฝรั่งเศส มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส มีความเชี่ยวชาญในโมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบเปิดน้ำหนัก ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2023 โดยวิศวกรที่เคยทำงานโดย Google DeepMind และ Meta Platforms
    .
    ขณะเดียวกันในสหรัฐฯ ประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นทั้งรถไฟฟ้าและเทคโนโลยี AI เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันศุกร์ (7) เป็นที่น่าตกตะลึงเมื่อ รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ที่มี “อีลอน มัสก์” ทำงานร่วม ออกคำสั่งภายในวันพฤหัสบดี (6) ให้บรรดาผู้อำนวยการคมนาคมมลรัฐ และสำนักงานบริหารทางหลวงสหรัฐฯ FHWA
    .
    ห้ามมลรัฐต่างๆ ใช้เงินใดๆที่ส่งไปให้ภายใต้โครงการโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จเจอร์อีวี NEVI ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่ต้องการขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์รถอีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมของไบเดน
    .
    เดอะการ์เดียนชี้ว่า ปัจจุบันในสหรัฐฯ พบว่า 14 มลรัฐทั่วอเมริกามีสถานีชาร์จเจอร์ไม่ต่ำกว่า 1 แห่งเปิดบริการ และมาจนถึงพฤศจิกายนล่าสุด มีจุดชาร์จไฟสาธารณะร่วม 126 เปิดทั่วสถานีชาร์จเจอร์รัฐ NEVI 31 แห่งใน 9 รัฐ เพิ่มขึ้น 83% ในการเปิดนับตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว
    .
    ทรัมป์เคยออกมาประณามการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของไบเดนว่าจะเป็นการนำความหายนะมาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014306
    ..............
    Sondhi X
    เขย่าวงการรถยนต์ไฟฟ้าจนร้อนไปทั่วเมื่อหุ้น BYD พุ่งทะยานวันพุธ (12) หลังค่ายรถอีวีชื่อดังจีน BYD ประกาศจับมือบริษัท AI จีนชื่อดัง DeepSeek ให้เอาสมองกล AI ใส่ในรถ BYD ส่วนผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) ไม่เดินทางร่วมการประชุม AI Summit ที่กรุงปารีสซึ่งมีการประชุม 2 วันถึงแม้จะได้รับเชิญ หนังสือพิมพ์เซาท์มอร์นิ่งไชนาโพสต์ชี้ ไม่จำเป็นเพราะจีนได้ปักธงเป็นผู้ชนะสมรภูมิรบปัญญาประดิษฐ์ระดับโลกไปแล้วเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สหรัฐฯ กำลังวุ่นวายประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ สัปดาห์ที่แล้วสั่งระงับชั่วคราวโครงการสถานีชาร์เจอร์ของรถอีวีทั่วสหรัฐฯ 5 พันล้านดอลลาร์ระหว่าง อีลอน มัสก์ เจ้าของเทสลากำลังยุ่งกับการยกเลิกหน่วยงานรัฐไล่เจ้าหน้าที่รัฐออก . ยูโรนิวส์รายงานวันพุธ (12 ก.พ.) ว่า หุ้น BYD พุ่งทะยานสูงสุดวันพุธ (12) หลังค่าย BYD ยักษ์ใหญ่อีวีของจีนประกาศจับมือร่วมกันกับบริษัท DeepSeek เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จีนเมื่อต้นสัปดาห์นี้ . BYD คู่แข่งสำคัญของค่ายเทสลาจากสหรัฐฯ แถลงว่า จะติดตั้งระบบขับขี่อัตโนมัติในรถทุกรุ่นของตัวเอง ตั้งแต่รุ่นที่ราคาต่ำสู่รุ่นระดับเอ็กซ์คลูซีฟ . ผู้ก่อตั้ง BYD Wang Chuanfu กล่าวในวันจันทร์ (10) ว่า บริษัท BYD ตั้งใจจะทำให้การขับขี่อัตโนมัติมีความหรูหราน้อยลงและฟีเจอร์ความปลอดภัยมากขึ้น . เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านี้ถูกเรียกว่า “ดวงตาแห่งพระเจ้า” (God's Eye) จะได้รับการติดตั้งในรถที่มีราคาต่ำสุดตั้งแต่ 69,800 หยวน หรือ ราว 325,712.21 บาท อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันพุธ (12) . BYD เปิดเผยว่า ทางบริษัทจะติดตั้งซอฟต์แวร์ AI ของ DeepSeek เข้าไปในบางรุ่นของระบบการขับขี่ของตัวเอง . ผู้เชี่ยวชาญต่างออกมาชี้ว่า DeepSeek จะทำให้ระบบเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติของ BYD มีความชาญฉลาดมากขึ้นทางด้านระบบเสียงสั่งการ และเพิ่มความสามารถการขับขี่อัตโนมัติ . การประกาศจับมือร่วมกันของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ชื่อดังจากแดนมังกรทำเอาเทสลาของอีลอน มัสก์ตกที่นั่งลำบาก สื่อ city.am ของอังกฤษออกมาชี้ว่า ผลการประกาศจับมือร่วมกันระหว่าง BYD และ DeepSeek ส่งผลสะเทือนต่อหุ้นเทสลาในวันพุธ (12) ที่ตกลง 5 วันติดต่อกัน . เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักลงทุนต่างเริ่มวิตกถึงซีอีโอใหญ่ อีลอน มัสก์ ในการใช้เวลาของเขา แมตต์ บริตซแมน (Matt Britzman) จาก Hargreaves Lansdown . นอกเหนือจากที่เขาต้องวุ่นกับแพลตฟอร์ม X ที่ปรากฏการทวีตของมัสก์บนแพลตฟอร์มบ่อยครั้ง มัสก์ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้นำสำนักงานประสิทธิภาพรัฐ DOGE และยังเปิดข้อเสนอ 97 พันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ OpenAI ของ แซม อัลต์แมน ทำให้วิตกว่า อีลอน จะไม่สนใจบริหาร Tesla อย่างมีประสิทธิภาพ . “แบรนด์ Tesla ตอนนี้พังแล้ว” รอส เกอร์เบอร์ (Ross Gerber) ซีอีโอบริหารประจำ Gerber Kawasaki แถลง . ขณะที่ผู้ก่อตั้ง DeepSeek เหลียง เหวินเฟิง (Liang Wenfeng) มีรายงานไม่บินเข้าร่วมการประชุม AI โลก 2 วันจัดขึ้นที่กรุงปารีส ถึงแม้จะถูกเชิญก็ตาม หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์รายงานวานนี้ (11) แสดงความเห็นว่า จากการที่จีนกลายเป็นแชมป์ด้าน AI ในระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว . หนังสือฮ่องกงรายงานว่า แต่ทว่ามีปรากฏภาพซีอีโอบริษัท OpenAI ของสหรัฐฯ แซม อัลต์แมน เข้าร่วมงานในการประชุมนอกรอบในวันอังคาร (11) . งานซัมมิต AI โลกนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานุเอล มาครง อ้างอิงจากเดอะการ์เดียนวันจันทร์ (10) ได้ออกมาประกาศว่า “หากเป็นเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แล้วขอให้เลือกยุโรปและฝรั่งเศส” . ฝรั่งเศสและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จับมือร่วมกันตั้งศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ AI 1 กิกะวัตต์ของบริษัท Mistral AI ที่ฝรั่งเศสมูลค่าถึง 50 พันล้านยูโร . ทั้งนี้ Mistral AI SAS เป็นสตาร์ทอัปด้านปัญญาประดิษฐ์จากฝรั่งเศส มีสำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส มีความเชี่ยวชาญในโมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบเปิดน้ำหนัก ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2023 โดยวิศวกรที่เคยทำงานโดย Google DeepMind และ Meta Platforms . ขณะเดียวกันในสหรัฐฯ ประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นทั้งรถไฟฟ้าและเทคโนโลยี AI เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานวันศุกร์ (7) เป็นที่น่าตกตะลึงเมื่อ รัฐบาลประธานาธิบดีทรัมป์ที่มี “อีลอน มัสก์” ทำงานร่วม ออกคำสั่งภายในวันพฤหัสบดี (6) ให้บรรดาผู้อำนวยการคมนาคมมลรัฐ และสำนักงานบริหารทางหลวงสหรัฐฯ FHWA . ห้ามมลรัฐต่างๆ ใช้เงินใดๆที่ส่งไปให้ภายใต้โครงการโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จเจอร์อีวี NEVI ของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ที่ต้องการขยายสถานีซูเปอร์ชาร์จเจอร์รถอีวีให้ครอบคลุมทั่วประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมของไบเดน . เดอะการ์เดียนชี้ว่า ปัจจุบันในสหรัฐฯ พบว่า 14 มลรัฐทั่วอเมริกามีสถานีชาร์จเจอร์ไม่ต่ำกว่า 1 แห่งเปิดบริการ และมาจนถึงพฤศจิกายนล่าสุด มีจุดชาร์จไฟสาธารณะร่วม 126 เปิดทั่วสถานีชาร์จเจอร์รัฐ NEVI 31 แห่งใน 9 รัฐ เพิ่มขึ้น 83% ในการเปิดนับตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว . ทรัมป์เคยออกมาประณามการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าของไบเดนว่าจะเป็นการนำความหายนะมาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014306 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2137 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้กล่าวในงานประชุมสุดยอดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ Grand Palais ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2025 เขาประกาศว่าฝรั่งเศสกำลังเข้าสู่การแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์และเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานให้เลือกยุโรปสำหรับความต้องการทางธุรกิจของพวกเขา

    จุดเด่นของฝรั่งเศสที่ Macron เน้นคือการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดเพื่อตอบสนองการใช้พลังงานที่มากมายของ AI เขากล่าวว่า "ที่นี่ไม่มีความจำเป็นต้องขุดเจาะ เพียงแค่เสียบปลั๊ก"

    ปัจจุบันนี้ การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในวงการเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดในฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีและความยั่งยืนมาผสมผสานกัน

    สรุปได้ว่า ประธานาธิบดี Macron กำลังส่งเสริมให้ฝรั่งเศสเป็นผู้นำในด้าน AI ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดและเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเลือกยุโรปสำหรับธุรกิจของพวกเขา เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/11/macron-promotes-france039s-electric-powered-ai
    ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้กล่าวในงานประชุมสุดยอดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ Grand Palais ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2025 เขาประกาศว่าฝรั่งเศสกำลังเข้าสู่การแข่งขันด้านปัญญาประดิษฐ์และเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานให้เลือกยุโรปสำหรับความต้องการทางธุรกิจของพวกเขา จุดเด่นของฝรั่งเศสที่ Macron เน้นคือการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดเพื่อตอบสนองการใช้พลังงานที่มากมายของ AI เขากล่าวว่า "ที่นี่ไม่มีความจำเป็นต้องขุดเจาะ เพียงแค่เสียบปลั๊ก" ปัจจุบันนี้ การใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและสะอาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในวงการเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดในฝรั่งเศสเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีและความยั่งยืนมาผสมผสานกัน สรุปได้ว่า ประธานาธิบดี Macron กำลังส่งเสริมให้ฝรั่งเศสเป็นผู้นำในด้าน AI ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าสะอาดและเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเลือกยุโรปสำหรับธุรกิจของพวกเขา เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/11/macron-promotes-france039s-electric-powered-ai
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Macron promotes France's electric-powered AI
    PARIS (Reuters) - French President Emmanuel Macron declared on Monday that France was in the race for artificial intelligence and called on attendees at the AI Action Summit in Paris to choose Europe for their business needs.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 96 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ปวิน” สับนโยบายผบิตนางแบบไทยสู่เวทีโลก หลอกลวง ไม่มีแต่แรก แต่ “ทักษิณ” พ่วงเข้ามาเพื่อสร้างภาพฝันซอฟต์พาวเวอร์ ปลุกยอมรับความจริงเรื่องแฟชั่นเมืองไทยไม่มีทางสู้มิลาน-ปารีส ทำได้แค่สร้างสีสัน ประชาชนไม่ได้อะไร แต่ “นาโอมิ” ได้ตั๋วเฟิสต์คลาสมาเที่ยวไทยฟรี แถมเงินขวัญถุงหลายล้าน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000013455

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ปวิน” สับนโยบายผบิตนางแบบไทยสู่เวทีโลก หลอกลวง ไม่มีแต่แรก แต่ “ทักษิณ” พ่วงเข้ามาเพื่อสร้างภาพฝันซอฟต์พาวเวอร์ ปลุกยอมรับความจริงเรื่องแฟชั่นเมืองไทยไม่มีทางสู้มิลาน-ปารีส ทำได้แค่สร้างสีสัน ประชาชนไม่ได้อะไร แต่ “นาโอมิ” ได้ตั๋วเฟิสต์คลาสมาเที่ยวไทยฟรี แถมเงินขวัญถุงหลายล้าน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000013455 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 916 มุมมอง 1 รีวิว
  • คณะผู้แทนของสหรัฐฯ ที่จะไปร่วมการประชุมสุดยอดด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ปารีสในสัปดาห์หน้า จะไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคจากสถาบันความปลอดภัยของ AI ของประเทศ การประชุมนี้มีเป้าหมายที่จะรวบรวมประมาณ 100 ประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับศักยภาพของ AI ในวันที่ 10 และ 11 กุมภาพันธ์ โดยที่รองประธานาธิบดี JD Vance จะเป็นผู้นำคณะผู้แทนของสหรัฐฯ ในครั้งนี้

    ถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทำเนียบขาวเข้าร่วม เช่น รองผู้อำนวยการหลัก Lynne Parker และที่ปรึกษาอาวุโสด้านปัญญาประดิษฐ์ Sriram Krishnan แต่การที่ไม่มีตัวแทนจากสถาบันความปลอดภัยของ AI นั้น สร้างความกังวลว่าการหารือในเรื่องความปลอดภัยและการควบคุมการใช้งาน AI จะไม่ครบถ้วน

    สิ่งที่น่าสนใจคือ การประชุมนี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้นำระดับโลกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนา AI โดยที่สหรัฐฯ จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการพัฒนาที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/07/exclusive-trump039s-paris-ai-summit-delegation-to-not-include-ai-safety-institute-staff-sources-say
    คณะผู้แทนของสหรัฐฯ ที่จะไปร่วมการประชุมสุดยอดด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ปารีสในสัปดาห์หน้า จะไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคจากสถาบันความปลอดภัยของ AI ของประเทศ การประชุมนี้มีเป้าหมายที่จะรวบรวมประมาณ 100 ประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับศักยภาพของ AI ในวันที่ 10 และ 11 กุมภาพันธ์ โดยที่รองประธานาธิบดี JD Vance จะเป็นผู้นำคณะผู้แทนของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทำเนียบขาวเข้าร่วม เช่น รองผู้อำนวยการหลัก Lynne Parker และที่ปรึกษาอาวุโสด้านปัญญาประดิษฐ์ Sriram Krishnan แต่การที่ไม่มีตัวแทนจากสถาบันความปลอดภัยของ AI นั้น สร้างความกังวลว่าการหารือในเรื่องความปลอดภัยและการควบคุมการใช้งาน AI จะไม่ครบถ้วน สิ่งที่น่าสนใจคือ การประชุมนี้ยังเป็นโอกาสให้ผู้นำระดับโลกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนา AI โดยที่สหรัฐฯ จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการพัฒนาที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/07/exclusive-trump039s-paris-ai-summit-delegation-to-not-include-ai-safety-institute-staff-sources-say
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Exclusive-Trump's Paris AI summit delegation to not include AI Safety Institute staff, sources say
    (Reuters) - The U.S. delegation to a major artificial intelligence summit in Paris next week will not include technical staff from the country's AI Safety Institute, two people close to Washington's plans for the event and a third source briefed on the matter told Reuters.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำเอาแฟนๆกรี๊ดเก้อกันเลยทีเดียวกับภาพขอแต่งงานหน้าหอไอเฟลของ “แทคยอน” จากวง “2PM” ที่ล่าสุดต้นสังกัดออกมาชี้แจงแล้วว่าไม่เป็นความจริง บอกว่าเป็นแค่การให้ของขวัญแฟนสาวเท่านั้น

    51k ต้นสังกัดของแทคยอน ได้ออกมาเปิดเผยว่า “ข่าวลือเรื่องการแต่งงานไม่เป็นความจริง เขาแค่ถ่ายรูปธรรมดาทั่วไปกับแฟนสาวในวันเกิดของเธอ เนื่องจากเธอไม่ใช่คนในวงการบันเทิง เราเองก็ตกใจกับภาพที่หลุดออกมานี้ด้วย”

    ก่อนหน้านี้ได้มีภาพของ แทคยอน คุกเข่ากน้าหอไอเฟลมอบแหวนให้แหวนให้แฟนสาวจนเข้าใจว่าเป็นการขอแต่งงานถูกปล่อยออกมา พร้อมข่าวลือว่าเขาแอบแต่งงานเงียบๆตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ถูกอัปโหลดโดยช่างภาพในปารีส

    ชาวเน็ตได้ชี้ให้เห็นว่าภาพดังกล่าวโพสต์ไว้ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2023 ทำให้ลือกันว่าเขาน่าจะแต่งงานตั้งแต่ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ช่างภาพที่เป็นโพสต์ต้นทางของภาพนี้ก็ได้ลบโพสต์ดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000011788

    #MGROnline #แทคยอน2PM #ของขวัญ #แฟนสาว
    ทำเอาแฟนๆกรี๊ดเก้อกันเลยทีเดียวกับภาพขอแต่งงานหน้าหอไอเฟลของ “แทคยอน” จากวง “2PM” ที่ล่าสุดต้นสังกัดออกมาชี้แจงแล้วว่าไม่เป็นความจริง บอกว่าเป็นแค่การให้ของขวัญแฟนสาวเท่านั้น • 51k ต้นสังกัดของแทคยอน ได้ออกมาเปิดเผยว่า “ข่าวลือเรื่องการแต่งงานไม่เป็นความจริง เขาแค่ถ่ายรูปธรรมดาทั่วไปกับแฟนสาวในวันเกิดของเธอ เนื่องจากเธอไม่ใช่คนในวงการบันเทิง เราเองก็ตกใจกับภาพที่หลุดออกมานี้ด้วย” • ก่อนหน้านี้ได้มีภาพของ แทคยอน คุกเข่ากน้าหอไอเฟลมอบแหวนให้แหวนให้แฟนสาวจนเข้าใจว่าเป็นการขอแต่งงานถูกปล่อยออกมา พร้อมข่าวลือว่าเขาแอบแต่งงานเงียบๆตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ถูกอัปโหลดโดยช่างภาพในปารีส • ชาวเน็ตได้ชี้ให้เห็นว่าภาพดังกล่าวโพสต์ไว้ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2023 ทำให้ลือกันว่าเขาน่าจะแต่งงานตั้งแต่ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ช่างภาพที่เป็นโพสต์ต้นทางของภาพนี้ก็ได้ลบโพสต์ดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000011788 • #MGROnline #แทคยอน2PM #ของขวัญ #แฟนสาว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 237 มุมมอง 0 รีวิว
  • ที่นี่ปารีส

    Paris 2025 "City of Love"
    ที่นี่ปารีส Paris 2025 "City of Love"
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 332 มุมมอง 27 0 รีวิว
  • Part 2 : จาก “ไอ้ขี้ยา” ถึง “มื้อกลางวันที่เปลือยเปล่า”
    .
    การฆ่าคนสักคนโดยที่คนเราจะตั้งใจไม่หรือไม่ตั้งใจก็ตาม หากคนผู้นั้นมีจิตสำนึก ชีวิตอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับ วิลเลี่ยม “บิล” เอส. เบอร์โรส์ ที่ชักปืนมายิงเปรี้ยงพลาดเข้ากางหน้าผากโวมเมอร์ ภรรยาโดยพฤตินัยนั้น อย่างแรกที่เขาเลือกที่จะทำคือการโทรหาทนายความหัวหมอคนนั้นอีก ซึ่งแน่นอน เขารอดคุกเป็นครั้งที่ 2 จากการใช้ช่องโหว่ทางจดหมาย แต่ไม่นานเท่าไหร่ ทนายเองก็มีปัญหาส่วนตัวกับกฏหมายบ้านเมือง ทางออกที่ดีที่สุดคือ บิลต้องเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้ง คราวนี้ต้องไปให้ไกลกว่าเดิม ลึกกว่าเดิม เขาไปใช้ชีวิตในแถบอเมริกาใต้อยู่ครึ่งปี และกลายเป็นคนแรกในกลุ่มบีทส์ ที่ได้เสพ อายาวัสกาอย่างบ้าคลั่ง ในปี 1953 บิลกลับมาที่แม็กซิโก และ เดินทางออกจากที่นั่น กลับไปที่้ นิวยอร์ค เพื่อพบกับอัลแลน ซึ่งได้แนะนำเส้นสายในวงการโรงพิมพ์ให้เขารู้จัก หนึ่งในนั้นคือ คาร์ล โซโลมอน ซึ่งเป็นบรรณาธิการของ เอสบุ๊ค ผู้รับหนังสือเล่มแรกของบิลตีพิมพ์ออกสู่ตลาดในวงกว้าง "ไอ้ขี้ยา" - Junkie บิลได้เงินจากการขายสิทธิ์ในการตีพิมพ์เป็นเงิน 800 เหรียญ หนังสือเล่มนี้ "ไอ้ขี้ยา" - Junkie ขายไม่ค่อยดีเท่าไรนักในเวลานั้น เนื่องจากมันเป็นการรวมประสบการณ์ส่วนตัวที่ดิบและเถื่อนของบิลเองในฐานะผู้เสพยาเสพติดหลากหลายชนิด แต่หากมองในมุมมองของโลกบุคปัจจุบันซึ่งผ่านมาแล้วกว่า 70 ปี หนังสือเล่มนี้เปิดโลกอีกใบของสังคมอเมริกาในยุค mid-century ที่คนภายนอก หรือคนในปัจจุบัน มองว่าทุกอย่างนั้นเป็นระเบียบแบบแผน มีสีสัน มีความล้ำสมัย มีความเป็นอเมริกาน่าแบบไม่ตกยุค "ไอ้ขี้ยา" - Junkie จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในจำนวนที่น้อยมากๆ ที่สะท้อนสังคมอเมริกันในยุคนั้น อย่างลึกซึ้ง
    .
    อันที่จริง บิล ตกหลุมรัก อัลแลน แบบจริงจัง แบบหัวปักหัวปำ โดยออกปากว่าอยากความสัมพันธ์ทางเพศแบบชายรักชายกับเขา แต่เมื่อ อัลแลนปฏิเสธเขา บิลรู้สึกอกหัก และเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้งสู่ แทนเจียร์ ประเทศโมร็อกโก ซึ่งขึ้นชื่ออยู่แล้วว่า เป็นตลาดใหญ่ของ โสเภณีชาย และ ยาเสพติดทุกประเภทในโลก และมันก็ไม่เกินความคาดเดา บิลเสพยาหนักขึ้นอีก ยาที่เขาเลือกใช้บ่อยที่สุดในช่วงนั้นคือ ยูคาโดล ซึ่งก็คือชื่้อทางการตลาดของยาระงับประสาท ออกซิโคโดน นั่นเอง เขาติดแบบงอมแงมซะเขาต้องเลือกที่จะบากหน้ากลับไปหาแม่ ในเดือนกันยายน ปี 1956 เพื่อขอยืมเงิน 500 เหรียญเพื่อไปบำบัด ซึ่งเขาได้พบกับ ดร. จอห์น ยาเบอร์รี่ ซึ่งเป็นหนึ่งใน แพทย์สายบำบัด ที่เก่งที่สุดในโลก โดยให้ อโปมอร์ฟีน กับบิลแทน นั่นก็ทำให้บิลหยุดอาการอยากยา ได้ขณะหนึ่ง แต่ไม่รู้เหตุอันใด บิล รีบเดินทางกลับไปที่แทนเจียร์เลยทันที
    .
    แทนเจียร์ สภาพที่คุ้นเคย สถานที่ที่บิลจัดหาทุกอย่างเพื่อสนองความต้องของตัวเองได้ทุกเวลา บิลเริ่มมีความมุ่งมั่นในการผลิตงานเขียนอย่างจริงๆจังๆ ก็ที่นี่ ที่ผลงานชั้นครูในโลกของวรรณกรรมนอกกระแส "มื้อกลางวันที่เปลือยเปล่า" - Naked Lunch บิลเขียนจดหมายถึงอัลแลนเล่าว่า "นายรู้หรือเปล่า? วิธีเขียนหนังสือยาวๆแบบฉัน ฉันนี่ดูดกัญชาไปเรื่อยๆ พิมพ์ไปด้วยความสูงสุดเท่าที่จะพิมพ์ได้ วันละ หกชั่วโมงติดต่อกันเท่านั้นเป็นเลิกกัน" อันที่จริงแล้วชื่อวรรณกรรมเล่มนี้มาด้วยความบังเอิญสุดๆ คือตอนที่จะให้ชื่อกับวรรณกรรมดังกล่าว ก่อนหน้านี้ที่บิลนั้นเดินทางไปเยี่ยมพรรคพวกที่ ม.โคลัมเบีย ซึ่งกลุ่มบีทส์ นำโดย แจ็ค กับ อัลแลน จะฝึกวิชาเขียนบทกันอย่างหนักหน่วงมาก โดยจะผลัดกับเขียนเรื่องสั้น เรียกว่า รูทีน และเอาพวกคนในกลุ่มผลัดกันมาเล่นละครแล้วก็วิจารณ์กันเองอย่างดุเดือด อัลแลนอ่านประโยค "ความใคร่อันเปลือยเปล่า" - Naked Lust ผิดเป็น Naked Lunch ซึ่งบิลชื่นชอบคำนี้มาก และจำมาเขียนเป็นชื่อวรรณกรรมของเขาเอง ในปี 1957 แจ็คเดินทางไปแทนเจียร์และพบว่า ต้นฉบับของ Naked Lunch นั้นปลิวกระจายไปทั่วห้อง แจ็คถึงกลับต้องเอามานั่งเรียบเรียงและพิมพ์ดีดลงกระดาษให้เรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม เดือนถัดมา แจ็คก็ยังรู้สึกไม่พอใจ จึงกลับไปที่แทนเจียร์อีกรอบพร้อมกับชายคนรักคนใหม่ของเขา ปีเตอร์ ออลอฟสกี้ และสองคนนี้ก็ไปช่วยกันเรียบเรียงให้ต้นฉบับนี้สมบูรณ์และพร้อมตีพิมพ์ในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่ออัลแลนได้อ่านต้นฉบับถึงกลับเขียนจดหมายไปหา ลูเชี่ยน คารร์ เล่าว่า "ผลงานของบิลนี้โคตรเจ๋ง การที่บิลเขาทุ่มเทกับมันใช้ความรู้และศิลปะในการใช้ภาษาที่เขามี และ ยังมีพวกเราที่มาขัดเกลามันขึ้นอีก!"
    .
    บิลกับอัลแลนเดินทางไปปารีสในเดือนมกราคมปี 1958 และขายสิทธิ์ในการตีพิมพ์งานชิ้นเอกของเขาให้กับ สำนักพิมพ์โอลิมเปีย และต่อมา ในปี 1962 ผลงานนี้จึงถูกนำเข้ามาตีพิมพ์ในอเมริกาโดย สำนักพิมพ์โกว์ฟ แต่ขายได้ไม่นานก็ถูกสั่งโดยรัฐบาลกลางให้เลิกขายโดยทันทีเนื่องจากมีเนื้อหาที่ลามกหยาบโลนเกินไปสำหรับนักอ่านในอเมริกา กว่าหนังสือเล่มนี้จะได้ขายในตลาดหนังสืออเมริกาก็ปาเข้าไปปี 1966 ซึ่งบิลนั้นยินดีมากที่หนังสือเขาจะไม่ถูกหาว่าเป็นหนังสือต้องห้าม ในเวลาต่อมาเมื่อมีการเสวนากันโดยสื่อมวลชนถึง คุณค่าและความเป็นวรรณกรรมของหนังสือดังกล่าว นอแมน เมลเลอร์ กล่าวว่า "ก็ด้วยความที่มันสุดขอบในเรื่องเซ็กซ์ ความใคร่ ความกระสันในความรุนแรงแบบน่าสยดสยอง แบบดิบๆ ที่เราเจอได้ในหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมชื่นชม คุณ เบอร์โรส์ มากๆ เพราะเขาเข้าถึงเรื่องอย่างว่าได้ลึกกว่านักเขียนคนใดในโลกตะวันตกในยุคนี้"
    .
    วิลเลี่ยม เอส. เบอร์โรส์ ก็ใช่่จะไม่เจอปัญหาที่ในชีวิตที่ดูเหมือนจะไม่แคร์โลกไม่แคร์สังคมของเขา นั่นก็คือลูกชายเขา - บิลจูเนียร์ นั่นเอง บิลจูเนียร์ติดยาเสพติดอย่างงอมแงม ตามไลฟสไตล์ที่เขาเห็นพ่อ และ แม่ผู้ล่วงลับใช้ชีวิตกันแบบนั้นมาตลอด บิลเดินทางออกจากแทนเจียร์อีกครั้ง มาอเมริกาเพื่อเอาลูกชายตัวเอง เข้าสถานบำบัดเอกชน เล็กซิงตั้น มีเรื่้องเล่าอยู่ว่า วันที่ สองคนเดินทางไปถึง พยาบาลถึงกลับงงและถามว่า "หนึ่งในสองคนนี้ คนไหนกันคะที่จะเข้ารับการบำบัด?" บิลจูเนียร์ มีชีวิตที่น่าสงสาร เป็นโรคไตวาย เปลี่ยนไตใหม่ไปหนึ่งครั้ง และก็จบชีวิตที่แสนสั้นของเขาที่ฟลอริดา บิลจูเนียร์เขียนจดหมายลาพ่อของเขา ลงท้ายจดหมาย "จาก บุตรที่โดนสาปแช่งตั้งแต่เกิดของท่านเอง"
    .
    .
    to be continued...
    .
    .
    Part 2 : จาก “ไอ้ขี้ยา” ถึง “มื้อกลางวันที่เปลือยเปล่า” . การฆ่าคนสักคนโดยที่คนเราจะตั้งใจไม่หรือไม่ตั้งใจก็ตาม หากคนผู้นั้นมีจิตสำนึก ชีวิตอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับ วิลเลี่ยม “บิล” เอส. เบอร์โรส์ ที่ชักปืนมายิงเปรี้ยงพลาดเข้ากางหน้าผากโวมเมอร์ ภรรยาโดยพฤตินัยนั้น อย่างแรกที่เขาเลือกที่จะทำคือการโทรหาทนายความหัวหมอคนนั้นอีก ซึ่งแน่นอน เขารอดคุกเป็นครั้งที่ 2 จากการใช้ช่องโหว่ทางจดหมาย แต่ไม่นานเท่าไหร่ ทนายเองก็มีปัญหาส่วนตัวกับกฏหมายบ้านเมือง ทางออกที่ดีที่สุดคือ บิลต้องเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้ง คราวนี้ต้องไปให้ไกลกว่าเดิม ลึกกว่าเดิม เขาไปใช้ชีวิตในแถบอเมริกาใต้อยู่ครึ่งปี และกลายเป็นคนแรกในกลุ่มบีทส์ ที่ได้เสพ อายาวัสกาอย่างบ้าคลั่ง ในปี 1953 บิลกลับมาที่แม็กซิโก และ เดินทางออกจากที่นั่น กลับไปที่้ นิวยอร์ค เพื่อพบกับอัลแลน ซึ่งได้แนะนำเส้นสายในวงการโรงพิมพ์ให้เขารู้จัก หนึ่งในนั้นคือ คาร์ล โซโลมอน ซึ่งเป็นบรรณาธิการของ เอสบุ๊ค ผู้รับหนังสือเล่มแรกของบิลตีพิมพ์ออกสู่ตลาดในวงกว้าง "ไอ้ขี้ยา" - Junkie บิลได้เงินจากการขายสิทธิ์ในการตีพิมพ์เป็นเงิน 800 เหรียญ หนังสือเล่มนี้ "ไอ้ขี้ยา" - Junkie ขายไม่ค่อยดีเท่าไรนักในเวลานั้น เนื่องจากมันเป็นการรวมประสบการณ์ส่วนตัวที่ดิบและเถื่อนของบิลเองในฐานะผู้เสพยาเสพติดหลากหลายชนิด แต่หากมองในมุมมองของโลกบุคปัจจุบันซึ่งผ่านมาแล้วกว่า 70 ปี หนังสือเล่มนี้เปิดโลกอีกใบของสังคมอเมริกาในยุค mid-century ที่คนภายนอก หรือคนในปัจจุบัน มองว่าทุกอย่างนั้นเป็นระเบียบแบบแผน มีสีสัน มีความล้ำสมัย มีความเป็นอเมริกาน่าแบบไม่ตกยุค "ไอ้ขี้ยา" - Junkie จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในจำนวนที่น้อยมากๆ ที่สะท้อนสังคมอเมริกันในยุคนั้น อย่างลึกซึ้ง . อันที่จริง บิล ตกหลุมรัก อัลแลน แบบจริงจัง แบบหัวปักหัวปำ โดยออกปากว่าอยากความสัมพันธ์ทางเพศแบบชายรักชายกับเขา แต่เมื่อ อัลแลนปฏิเสธเขา บิลรู้สึกอกหัก และเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้งสู่ แทนเจียร์ ประเทศโมร็อกโก ซึ่งขึ้นชื่ออยู่แล้วว่า เป็นตลาดใหญ่ของ โสเภณีชาย และ ยาเสพติดทุกประเภทในโลก และมันก็ไม่เกินความคาดเดา บิลเสพยาหนักขึ้นอีก ยาที่เขาเลือกใช้บ่อยที่สุดในช่วงนั้นคือ ยูคาโดล ซึ่งก็คือชื่้อทางการตลาดของยาระงับประสาท ออกซิโคโดน นั่นเอง เขาติดแบบงอมแงมซะเขาต้องเลือกที่จะบากหน้ากลับไปหาแม่ ในเดือนกันยายน ปี 1956 เพื่อขอยืมเงิน 500 เหรียญเพื่อไปบำบัด ซึ่งเขาได้พบกับ ดร. จอห์น ยาเบอร์รี่ ซึ่งเป็นหนึ่งใน แพทย์สายบำบัด ที่เก่งที่สุดในโลก โดยให้ อโปมอร์ฟีน กับบิลแทน นั่นก็ทำให้บิลหยุดอาการอยากยา ได้ขณะหนึ่ง แต่ไม่รู้เหตุอันใด บิล รีบเดินทางกลับไปที่แทนเจียร์เลยทันที . แทนเจียร์ สภาพที่คุ้นเคย สถานที่ที่บิลจัดหาทุกอย่างเพื่อสนองความต้องของตัวเองได้ทุกเวลา บิลเริ่มมีความมุ่งมั่นในการผลิตงานเขียนอย่างจริงๆจังๆ ก็ที่นี่ ที่ผลงานชั้นครูในโลกของวรรณกรรมนอกกระแส "มื้อกลางวันที่เปลือยเปล่า" - Naked Lunch บิลเขียนจดหมายถึงอัลแลนเล่าว่า "นายรู้หรือเปล่า? วิธีเขียนหนังสือยาวๆแบบฉัน ฉันนี่ดูดกัญชาไปเรื่อยๆ พิมพ์ไปด้วยความสูงสุดเท่าที่จะพิมพ์ได้ วันละ หกชั่วโมงติดต่อกันเท่านั้นเป็นเลิกกัน" อันที่จริงแล้วชื่อวรรณกรรมเล่มนี้มาด้วยความบังเอิญสุดๆ คือตอนที่จะให้ชื่อกับวรรณกรรมดังกล่าว ก่อนหน้านี้ที่บิลนั้นเดินทางไปเยี่ยมพรรคพวกที่ ม.โคลัมเบีย ซึ่งกลุ่มบีทส์ นำโดย แจ็ค กับ อัลแลน จะฝึกวิชาเขียนบทกันอย่างหนักหน่วงมาก โดยจะผลัดกับเขียนเรื่องสั้น เรียกว่า รูทีน และเอาพวกคนในกลุ่มผลัดกันมาเล่นละครแล้วก็วิจารณ์กันเองอย่างดุเดือด อัลแลนอ่านประโยค "ความใคร่อันเปลือยเปล่า" - Naked Lust ผิดเป็น Naked Lunch ซึ่งบิลชื่นชอบคำนี้มาก และจำมาเขียนเป็นชื่อวรรณกรรมของเขาเอง ในปี 1957 แจ็คเดินทางไปแทนเจียร์และพบว่า ต้นฉบับของ Naked Lunch นั้นปลิวกระจายไปทั่วห้อง แจ็คถึงกลับต้องเอามานั่งเรียบเรียงและพิมพ์ดีดลงกระดาษให้เรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม เดือนถัดมา แจ็คก็ยังรู้สึกไม่พอใจ จึงกลับไปที่แทนเจียร์อีกรอบพร้อมกับชายคนรักคนใหม่ของเขา ปีเตอร์ ออลอฟสกี้ และสองคนนี้ก็ไปช่วยกันเรียบเรียงให้ต้นฉบับนี้สมบูรณ์และพร้อมตีพิมพ์ในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่ออัลแลนได้อ่านต้นฉบับถึงกลับเขียนจดหมายไปหา ลูเชี่ยน คารร์ เล่าว่า "ผลงานของบิลนี้โคตรเจ๋ง การที่บิลเขาทุ่มเทกับมันใช้ความรู้และศิลปะในการใช้ภาษาที่เขามี และ ยังมีพวกเราที่มาขัดเกลามันขึ้นอีก!" . บิลกับอัลแลนเดินทางไปปารีสในเดือนมกราคมปี 1958 และขายสิทธิ์ในการตีพิมพ์งานชิ้นเอกของเขาให้กับ สำนักพิมพ์โอลิมเปีย และต่อมา ในปี 1962 ผลงานนี้จึงถูกนำเข้ามาตีพิมพ์ในอเมริกาโดย สำนักพิมพ์โกว์ฟ แต่ขายได้ไม่นานก็ถูกสั่งโดยรัฐบาลกลางให้เลิกขายโดยทันทีเนื่องจากมีเนื้อหาที่ลามกหยาบโลนเกินไปสำหรับนักอ่านในอเมริกา กว่าหนังสือเล่มนี้จะได้ขายในตลาดหนังสืออเมริกาก็ปาเข้าไปปี 1966 ซึ่งบิลนั้นยินดีมากที่หนังสือเขาจะไม่ถูกหาว่าเป็นหนังสือต้องห้าม ในเวลาต่อมาเมื่อมีการเสวนากันโดยสื่อมวลชนถึง คุณค่าและความเป็นวรรณกรรมของหนังสือดังกล่าว นอแมน เมลเลอร์ กล่าวว่า "ก็ด้วยความที่มันสุดขอบในเรื่องเซ็กซ์ ความใคร่ ความกระสันในความรุนแรงแบบน่าสยดสยอง แบบดิบๆ ที่เราเจอได้ในหนังสือเล่มนี้ ทำให้ผมชื่นชม คุณ เบอร์โรส์ มากๆ เพราะเขาเข้าถึงเรื่องอย่างว่าได้ลึกกว่านักเขียนคนใดในโลกตะวันตกในยุคนี้" . วิลเลี่ยม เอส. เบอร์โรส์ ก็ใช่่จะไม่เจอปัญหาที่ในชีวิตที่ดูเหมือนจะไม่แคร์โลกไม่แคร์สังคมของเขา นั่นก็คือลูกชายเขา - บิลจูเนียร์ นั่นเอง บิลจูเนียร์ติดยาเสพติดอย่างงอมแงม ตามไลฟสไตล์ที่เขาเห็นพ่อ และ แม่ผู้ล่วงลับใช้ชีวิตกันแบบนั้นมาตลอด บิลเดินทางออกจากแทนเจียร์อีกครั้ง มาอเมริกาเพื่อเอาลูกชายตัวเอง เข้าสถานบำบัดเอกชน เล็กซิงตั้น มีเรื่้องเล่าอยู่ว่า วันที่ สองคนเดินทางไปถึง พยาบาลถึงกลับงงและถามว่า "หนึ่งในสองคนนี้ คนไหนกันคะที่จะเข้ารับการบำบัด?" บิลจูเนียร์ มีชีวิตที่น่าสงสาร เป็นโรคไตวาย เปลี่ยนไตใหม่ไปหนึ่งครั้ง และก็จบชีวิตที่แสนสั้นของเขาที่ฟลอริดา บิลจูเนียร์เขียนจดหมายลาพ่อของเขา ลงท้ายจดหมาย "จาก บุตรที่โดนสาปแช่งตั้งแต่เกิดของท่านเอง" . . to be continued... . .
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 491 มุมมอง 0 รีวิว
  • สันติภาพที่ปารีส (Peace in Paris)

    เสียงระเบิดยังคงก้อง ในความหลัง เวียดนามทั้งสองฝั่ง ถูกแบ่งด้วยเส้นทาง สงครามเย็นเยือก มหาอำนาจเฝ้าจับจ้อง ในเงาของความหวัง ที่ยังเลือนลาง

    อเมริกาก้าวเข้ามา พร้อมธงเสรี ฐานทัพในไทย ถูกสร้างตามวิถี “คอมมิวนิสต์ต้องถูกหยุด ไว้ตรงนี้” ความขัดแย้งยิ่งพุ่งสูง ในทุกนาที

    * ที่ปารีสคือที่ ที่เราสัญญา หยุดสงคราม หยุดน้ำตา ที่หลั่งรินมา การต่อสู้จบลง ในกระดาษเพียงแผ่นเดียว แต่บาดแผล ยังไม่เคยเลือนลางจริง

    บนผืนดินไทย เคยมีทหารต่างชาติ เสียงเครื่องบินดังกระหึ่ม ในยามดึกดื่น คนไทยยืนหยัดในสายลม ที่พัดแปรปรวน ด้วยหวังให้แสงรุ่งอรุณ ยังคงมาถึง

    การเมืองในเงาอาวุธ และคำสัญญา ผู้นำทหารถือชะตา ของปวงประชา เวียดนามสงบ ไทยยังต้องลุ้นชะตา เมื่อสงครามจบ แต่ความหวาดกลัวยังอยู่

    ซ้ำ *

    ไทยต้องการอิสระ แต่ต้องเผชิญแรงกดดัน บทเรียนจากสงคราม ฝากไว้ให้เราระวัง โลกใบนี้ยังมี สิ่งที่ต้องเข้าใจ การสร้างสันติภาพ ยากกว่าสงครามที่ผ่านไป

    ซ้ำ *

    หลายสิบปีผ่านไป เสียงปืนได้เงียบหาย แต่เสียงแห่งประวัติศาสตร์ ยังร้องจากใจ สงครามจบ แต่คำถามยังไม่สิ้นสุด เราจะเดินไปข้างหน้า หรือย้อนคืนวันเก่า ที่เราผ่านมา

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568

    #สงครามเวียดนาม #สันติภาพปารีส #ประวัติศาสตร์ไทย #สันติภาพและสงคราม #บทเรียนจากสงคราม #คอมมิวนิสต์และเสรีนิยม #การเมืองสงครามเย็น #ไทยในสงครามเวียดนาม #เสียงแห่งประวัติศาสตร์ #เพลงเพื่อสันติภาพ
    สันติภาพที่ปารีส (Peace in Paris) เสียงระเบิดยังคงก้อง ในความหลัง เวียดนามทั้งสองฝั่ง ถูกแบ่งด้วยเส้นทาง สงครามเย็นเยือก มหาอำนาจเฝ้าจับจ้อง ในเงาของความหวัง ที่ยังเลือนลาง อเมริกาก้าวเข้ามา พร้อมธงเสรี ฐานทัพในไทย ถูกสร้างตามวิถี “คอมมิวนิสต์ต้องถูกหยุด ไว้ตรงนี้” ความขัดแย้งยิ่งพุ่งสูง ในทุกนาที * ที่ปารีสคือที่ ที่เราสัญญา หยุดสงคราม หยุดน้ำตา ที่หลั่งรินมา การต่อสู้จบลง ในกระดาษเพียงแผ่นเดียว แต่บาดแผล ยังไม่เคยเลือนลางจริง บนผืนดินไทย เคยมีทหารต่างชาติ เสียงเครื่องบินดังกระหึ่ม ในยามดึกดื่น คนไทยยืนหยัดในสายลม ที่พัดแปรปรวน ด้วยหวังให้แสงรุ่งอรุณ ยังคงมาถึง การเมืองในเงาอาวุธ และคำสัญญา ผู้นำทหารถือชะตา ของปวงประชา เวียดนามสงบ ไทยยังต้องลุ้นชะตา เมื่อสงครามจบ แต่ความหวาดกลัวยังอยู่ ซ้ำ * ไทยต้องการอิสระ แต่ต้องเผชิญแรงกดดัน บทเรียนจากสงคราม ฝากไว้ให้เราระวัง โลกใบนี้ยังมี สิ่งที่ต้องเข้าใจ การสร้างสันติภาพ ยากกว่าสงครามที่ผ่านไป ซ้ำ * หลายสิบปีผ่านไป เสียงปืนได้เงียบหาย แต่เสียงแห่งประวัติศาสตร์ ยังร้องจากใจ สงครามจบ แต่คำถามยังไม่สิ้นสุด เราจะเดินไปข้างหน้า หรือย้อนคืนวันเก่า ที่เราผ่านมา ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568 #สงครามเวียดนาม #สันติภาพปารีส #ประวัติศาสตร์ไทย #สันติภาพและสงคราม #บทเรียนจากสงคราม #คอมมิวนิสต์และเสรีนิยม #การเมืองสงครามเย็น #ไทยในสงครามเวียดนาม #เสียงแห่งประวัติศาสตร์ #เพลงเพื่อสันติภาพ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 606 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • 52 ปี ข้อตกลงสันติภาพปารีส ปิดฉากสงครามเวียดนาม บทบาทของไทยในสงครามเย็น

    สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างสองขั้วอำนาจของโลก ในยุคสงครามเย็น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยโดยตรง การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 นับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 18 ปี 🌏

    จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง
    สงครามเวียดนาม เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ และเสรีนิยม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดนามเหนือ ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และจีน ในขณะที่เวียดนามใต้ มีสหรัฐอเมริกา เป็นพันธมิตรสำคัญ

    นโยบายของสหรัฐ สกัดกั้นคอมมิวนิสต์
    สหรัฐตัดสินใจ เข้ามามีบทบาทในเวียดนาม ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2493 ด้วยเป้าหมายในการ "หยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์" (Containment Policy) โดยมองว่า หากเวียดนามเหนือ ตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจถูกครอบงำด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีโดมิโน"

    ประเทศไทย พันธมิตรสำคัญของสหรัฐ
    ในยุคสงครามเย็น ประเทศไทย ได้กลายเป็นพันธมิตรสำคัญ ของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เนื่องจากไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ใกล้กับเวียดนามและลาว

    รัฐบาลไทยในยุคนั้น โดยเฉพาะภายใต้การนำของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" ให้การสนับสนุนสหรัฐเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ใช้ ฐานทัพในประเทศไทย หรือการส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงคราม

    ฐานทัพในไทย ศูนย์กลางปฏิบัติการ
    สหรัฐได้ตั้งฐานทัพในประเทศไทยถึง 7 แห่ง ได้แก่
    - ดอนเมือง
    - นครราชสีมา
    - ตาคลี
    - อุบลราชธานี
    - อุดรธานี
    - นครพนม
    - อู่ตะเภา

    ฐานทัพเหล่านี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการทิ้งระเบิด ในเวียดนามเหนือ และการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ โดยมีการประมาณว่า 80% ของการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในเวียดนามเหนือ มาจากฐานทัพในประเทศไทย

    ข้อตกลงสันติภาพปารีส จุดสิ้นสุดของสงคราม
    ข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นข้อตกลงสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อยุติสงคราม และฟื้นฟูสันติภาพในเวียดนาม ข้อตกลงนี้ลงนามระหว่าง

    - รัฐบาลสหรัฐ
    - รัฐบาลเวียดนามเหนือ
    - รัฐบาลเวียดนามใต้
    - รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาล แห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้

    เนื้อหาสำคัญ ได้แก่
    - การยุติการแทรกแซงทางทหาร ของสหรัฐในเวียดนาม
    - การถอนทหารอเมริกันทั้งหมด ออกจากเวียดนาม
    - การแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม
    - การยอมรับสถานะของรัฐบาล เวียดนามเหนือและใต้

    ผลกระทบจากข้อตกลง
    การลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้สหรัฐ ถอนกำลังออกจากเวียดนาม อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ ยังคงดำเนินต่อไป และสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามเหนือ เข้ายึดครองไซง่อน

    ผลกระทบนามต่อประเทศไทย
    1. ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจ
    - ความช่วยเหลือจากสหรัฐ การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม นำมาซึ่งการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น ถนน สนามบิน และเทคโนโลยีทางการทหาร
    - ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การที่ไทยเป็นฐานทัพ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม บาร์ และธุรกิจบริการ

    2. การสูญเสียเอกราช
    มีข้อถกเถียงว่า การที่ไทยอนุญาตให้สหรัฐ ใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และมีทหารจำนวนมาก ประจำอยู่ในประเทศ เป็นการละเมิด อธิปไตยของชาติ และทำให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มนักวิชาการ และนักศึกษา

    3. ผลกระทบทางสังคม
    การมีทหารอเมริกันในไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การนำวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสังคมไทย ซึ่งทั้งส่งผลดี และผลเสียในระยะยาว

    สงครามเวียดนาม และบทบาทของไทยในยุคนั้นเ ป็นตัวอย่างที่สำคัญ ของการดำเนินนโยบาย ในยุคสงครามเย็น แม้จะมีผลกระทบทางลบในด้านสังคม และการสูญเสียเอกราชบางส่วน แต่การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม ก็ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคาม ของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

    การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เป็นการเตือนให้เราตระหนัก ถึงความสำคัญของสันติภาพ และการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568

    #สงครามเวียดนาม #ข้อตกลงปารีส #การเมืองโลก #สงครามเย็น #บทบาทไทยในสงคราม #ประวัติศาสตร์เอเชีย #ฐานทัพสหรัฐในไทย #การเจรจาสันติภาพ #การเมืองระหว่างประเทศ #ประวัติศาสตร์สงคราม

    🎯
    52 ปี ข้อตกลงสันติภาพปารีส ปิดฉากสงครามเวียดนาม บทบาทของไทยในสงครามเย็น สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างสองขั้วอำนาจของโลก ในยุคสงครามเย็น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยโดยตรง การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 นับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 18 ปี 🌏 จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง สงครามเวียดนาม เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ และเสรีนิยม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดนามเหนือ ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และจีน ในขณะที่เวียดนามใต้ มีสหรัฐอเมริกา เป็นพันธมิตรสำคัญ นโยบายของสหรัฐ สกัดกั้นคอมมิวนิสต์ สหรัฐตัดสินใจ เข้ามามีบทบาทในเวียดนาม ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2493 ด้วยเป้าหมายในการ "หยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์" (Containment Policy) โดยมองว่า หากเวียดนามเหนือ ตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจถูกครอบงำด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีโดมิโน" ประเทศไทย พันธมิตรสำคัญของสหรัฐ ในยุคสงครามเย็น ประเทศไทย ได้กลายเป็นพันธมิตรสำคัญ ของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เนื่องจากไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ใกล้กับเวียดนามและลาว รัฐบาลไทยในยุคนั้น โดยเฉพาะภายใต้การนำของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" ให้การสนับสนุนสหรัฐเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ใช้ ฐานทัพในประเทศไทย หรือการส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงคราม ฐานทัพในไทย ศูนย์กลางปฏิบัติการ สหรัฐได้ตั้งฐานทัพในประเทศไทยถึง 7 แห่ง ได้แก่ - ดอนเมือง - นครราชสีมา - ตาคลี - อุบลราชธานี - อุดรธานี - นครพนม - อู่ตะเภา ฐานทัพเหล่านี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการทิ้งระเบิด ในเวียดนามเหนือ และการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ โดยมีการประมาณว่า 80% ของการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในเวียดนามเหนือ มาจากฐานทัพในประเทศไทย ข้อตกลงสันติภาพปารีส จุดสิ้นสุดของสงคราม ข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นข้อตกลงสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อยุติสงคราม และฟื้นฟูสันติภาพในเวียดนาม ข้อตกลงนี้ลงนามระหว่าง - รัฐบาลสหรัฐ - รัฐบาลเวียดนามเหนือ - รัฐบาลเวียดนามใต้ - รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาล แห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เนื้อหาสำคัญ ได้แก่ - การยุติการแทรกแซงทางทหาร ของสหรัฐในเวียดนาม - การถอนทหารอเมริกันทั้งหมด ออกจากเวียดนาม - การแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม - การยอมรับสถานะของรัฐบาล เวียดนามเหนือและใต้ ผลกระทบจากข้อตกลง การลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้สหรัฐ ถอนกำลังออกจากเวียดนาม อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ ยังคงดำเนินต่อไป และสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามเหนือ เข้ายึดครองไซง่อน ผลกระทบนามต่อประเทศไทย 1. ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจ - ความช่วยเหลือจากสหรัฐ การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม นำมาซึ่งการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น ถนน สนามบิน และเทคโนโลยีทางการทหาร - ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การที่ไทยเป็นฐานทัพ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม บาร์ และธุรกิจบริการ 2. การสูญเสียเอกราช มีข้อถกเถียงว่า การที่ไทยอนุญาตให้สหรัฐ ใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และมีทหารจำนวนมาก ประจำอยู่ในประเทศ เป็นการละเมิด อธิปไตยของชาติ และทำให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มนักวิชาการ และนักศึกษา 3. ผลกระทบทางสังคม การมีทหารอเมริกันในไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การนำวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสังคมไทย ซึ่งทั้งส่งผลดี และผลเสียในระยะยาว สงครามเวียดนาม และบทบาทของไทยในยุคนั้นเ ป็นตัวอย่างที่สำคัญ ของการดำเนินนโยบาย ในยุคสงครามเย็น แม้จะมีผลกระทบทางลบในด้านสังคม และการสูญเสียเอกราชบางส่วน แต่การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม ก็ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคาม ของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เป็นการเตือนให้เราตระหนัก ถึงความสำคัญของสันติภาพ และการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568 #สงครามเวียดนาม #ข้อตกลงปารีส #การเมืองโลก #สงครามเย็น #บทบาทไทยในสงคราม #ประวัติศาสตร์เอเชีย #ฐานทัพสหรัฐในไทย #การเจรจาสันติภาพ #การเมืองระหว่างประเทศ #ประวัติศาสตร์สงคราม 🎯
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 736 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีการเปลี่ยนแปลงท่าทีของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงที่ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลงปารีสครั้งแรกในปี 2017 ผู้นำเทคโนโลยีหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง แต่ในปี 2025 เมื่อทรัมป์ถอนตัวอีกครั้งในวันแรกของการดำรงตำแหน่ง ผู้นำเทคโนโลยีกลับเงียบเฉย

    เหตุผลที่ผู้นำเทคโนโลยีเปลี่ยนท่าทีนี้อาจเป็นเพราะพวกเขามีวาระที่ใหญ่กว่า เช่น นโยบายภาษีและการค้า และไม่ต้องการทำให้ทรัมป์ไม่พอใจ นอกจากนี้ พวกเขายังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา AI ซึ่งต้องการพลังงานมากมาย และพวกเขากำลังวิ่งเต้นเพื่อจำกัดกฎระเบียบที่อาจขัดขวางนวัตกรรม

    ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัญหาสำคัญ แต่ความสนใจของสาธารณชนกลับเปลี่ยนไปสู่ปัญหาที่ดูเหมือนจะมีผลกระทบทันที เช่น ราคาสินค้าที่สูงขึ้น

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/25/039fawning-tech-bro-sycophancy039-big-tech039s-new-climate-silence-under-trump
    มีการเปลี่ยนแปลงท่าทีของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงที่ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลงปารีสครั้งแรกในปี 2017 ผู้นำเทคโนโลยีหลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง แต่ในปี 2025 เมื่อทรัมป์ถอนตัวอีกครั้งในวันแรกของการดำรงตำแหน่ง ผู้นำเทคโนโลยีกลับเงียบเฉย เหตุผลที่ผู้นำเทคโนโลยีเปลี่ยนท่าทีนี้อาจเป็นเพราะพวกเขามีวาระที่ใหญ่กว่า เช่น นโยบายภาษีและการค้า และไม่ต้องการทำให้ทรัมป์ไม่พอใจ นอกจากนี้ พวกเขายังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา AI ซึ่งต้องการพลังงานมากมาย และพวกเขากำลังวิ่งเต้นเพื่อจำกัดกฎระเบียบที่อาจขัดขวางนวัตกรรม ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัญหาสำคัญ แต่ความสนใจของสาธารณชนกลับเปลี่ยนไปสู่ปัญหาที่ดูเหมือนจะมีผลกระทบทันที เช่น ราคาสินค้าที่สูงขึ้น https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/01/25/039fawning-tech-bro-sycophancy039-big-tech039s-new-climate-silence-under-trump
    WWW.THESTAR.COM.MY
    'Fawning tech bro sycophancy': Big Tech's new climate silence under Trump
    The social media channels of tech billionaires have been silent this week on Trump's climate actions.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 298 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ลงนามคำสั่งนับสิบครอบคลุมประเด็นโลกร้อนไปจนถึงคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งตามที่ลั่นวาจาไว้
    .
    คำสั่งฝ่ายบริหารบางส่วนที่โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (20 ม.ค.) เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ระหว่างหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว เช่น การอภัยโทษผู้ประท้วงจำนวนมากที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต แต่ยังมีคำสั่งอีกจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกินคาด เช่น การนำอเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
    .
    ต่อไปนี้คือสรุปคำสั่งที่ทรัมป์ลงนามในสนามกีฬาที่วอชิงตันท่ามกลางผู้สนับสนุนจำนวนมาก และที่ทำเนียบขาวในเวลาต่อมาภายหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
    .
    คนเข้าเมือง
    .
    ทรัมป์เซ็นคำสั่งหลายฉบับเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีที่อเมริกาจัดการปัญหาคนเข้าเมืองและความเป็นพลเมือง ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณชายแดนทางใต้
    ประมุขทำเนียบขาวคนใหม่ยังสัญญาว่า จะจัดการเนรเทศครั้งใหญ่ซึ่งจะมีกองทัพร่วมปฏิบัติการด้วย โดยเป้าหมายอยู่ที่ “อาชญากรต่างด้าว”
    .
    ที่ห้องทำงานรูปไข่ ทรัมป์ลงนามคำสั่งยกเลิกการให้สัญชาติจากการเกิดในประเทศ อย่างไรก็ดี ทรัมป์อาจเผชิญการท้าทายทางกฎหมายเนื่องจากการให้สัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัตินี้กำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ
    .
    ม็อบบุกสภา 6 มกราคม
    .
    ทรัมป์ลงนามอภัยโทษผู้สนับสนุนตนเองบางส่วนจากทั้งหมด 1,500 คนที่บุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 เพื่อล้มล้างผลการเลือกตั้งปี 2020 โดยเรียกคนเหล่านั้นที่ถูกตัดสินความผิดหรือยอมรับผิดในการก่อจลาจลว่าเป็น “ตัวประกัน”
    .
    ความหลากหลาย ความเท่าเทียม การยอมรับความแตกต่าง
    .
    ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของอเมริกายกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับที่ส่งเสริมโครงการความหลากหลายและความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในหน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจ และบริการสาธารณสุข รวมถึงสิทธิของคนอเมริกันกลุ่ม LGBTQ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะจัดการวัฒนธรรม “การตื่นรู้”
    .
    ทรัมป์ยังประกาศว่า ต่อไปรัฐบาลสหรัฐฯ จะยอมรับคนเพียงสองเพศคือชายกับหญิงเท่านั้น
    .
    ข้อตกลงโลกร้อนปารีส
    .
    ผู้นำใหม่ของสหรัฐฯ นำอเมริกาถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนปารีสเหมือนที่เคยทำมาตอนรับตำแหน่งสมัยแรก ตอกย้ำการปฏิเสธความพยายามของทั่วโลกในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ขณะที่ภัยพิบติธรรมชาติรุนแรงขึ้นทั่วโลก
    .
    อย่างไรก็ดี ต้องใช้เวลา 1 ปีหลังจากยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อกรอบข้อตกลงของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ฉบับนี้ อเมริกาจึงจะสามารถถอนตัวได้
    .
    การขุดเจาะน้ำมัน
    .
    ทรัมป์ลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อขยายการขุดเจาะในอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำการผลิตก๊าซและน้ำมันของโลก
    .
    เวิร์ก ฟอร์ม โฮม
    .
    นอกจากนั้น ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งกำหนดให้ลูกจ้างรัฐบาลกลางกลับไปทำงานในสำนักงานเต็มเวลา เพื่อยุติการอนุญาตการทำงานจากที่บ้านส่วนใหญ่ที่ริเริ่มขึ้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด
    .
    ถอนตัวจาก WHO
    .
    ทรัมป์เซ็นคำสั่งให้อเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก โดยยืนยันว่า ไม่เป็นธรรมที่สหรัฐฯ จ่ายเงินสมทบองค์กรนี้มากกว่าที่จีนจ่าย
    .
    ติ๊กต็อก Tiktok
    .
    ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันผู้นี้สั่งระงับการบังคับใช้กฎหมายแบนติ๊กต็อกออกไป 75 วัน ซึ่งเท่ากับเป็นการชะลอการดำเนินการห้ามการเผยแพร่และอัปเดตแพลตฟอร์มติ๊กต็อกในอเมริกาที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (19 ม.ค.)
    .
    ทรัมป์ระบุว่า ต้องการให้ ไบต์แดนซ์ บริษัทแม่ของติ๊กต็อกที่อยู่ในจีน ตกลงขายหุ้นติ๊กต็อก 50% ให้นักลงทุนในอเมริกา
    .
    ผู้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์
    .
    ทรัมป์ยกเลิกมาตรการแซงก์ชันของคณะบริหารของไบเดนต่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวที่ใช้ความรุนแรงกับชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์
    .
    คิวบา
    .
    ทรัมป์ล้มล้างอีกหนึ่งคำสั่งของไบเดนที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในการถอดคิวบาออกจากบัญชีดำประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยนักโทษ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006613
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์ลงนามคำสั่งนับสิบครอบคลุมประเด็นโลกร้อนไปจนถึงคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งตามที่ลั่นวาจาไว้ . คำสั่งฝ่ายบริหารบางส่วนที่โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามหลังเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวันจันทร์ (20 ม.ค.) เป็นคำสัญญาที่ให้ไว้ระหว่างหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว เช่น การอภัยโทษผู้ประท้วงจำนวนมากที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต แต่ยังมีคำสั่งอีกจำนวนหนึ่งที่ถือว่าเกินคาด เช่น การนำอเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (WHO) . ต่อไปนี้คือสรุปคำสั่งที่ทรัมป์ลงนามในสนามกีฬาที่วอชิงตันท่ามกลางผู้สนับสนุนจำนวนมาก และที่ทำเนียบขาวในเวลาต่อมาภายหลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง . คนเข้าเมือง . ทรัมป์เซ็นคำสั่งหลายฉบับเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีที่อเมริกาจัดการปัญหาคนเข้าเมืองและความเป็นพลเมือง ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณชายแดนทางใต้ ประมุขทำเนียบขาวคนใหม่ยังสัญญาว่า จะจัดการเนรเทศครั้งใหญ่ซึ่งจะมีกองทัพร่วมปฏิบัติการด้วย โดยเป้าหมายอยู่ที่ “อาชญากรต่างด้าว” . ที่ห้องทำงานรูปไข่ ทรัมป์ลงนามคำสั่งยกเลิกการให้สัญชาติจากการเกิดในประเทศ อย่างไรก็ดี ทรัมป์อาจเผชิญการท้าทายทางกฎหมายเนื่องจากการให้สัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัตินี้กำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญ . ม็อบบุกสภา 6 มกราคม . ทรัมป์ลงนามอภัยโทษผู้สนับสนุนตนเองบางส่วนจากทั้งหมด 1,500 คนที่บุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 เพื่อล้มล้างผลการเลือกตั้งปี 2020 โดยเรียกคนเหล่านั้นที่ถูกตัดสินความผิดหรือยอมรับผิดในการก่อจลาจลว่าเป็น “ตัวประกัน” . ความหลากหลาย ความเท่าเทียม การยอมรับความแตกต่าง . ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของอเมริกายกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับที่ส่งเสริมโครงการความหลากหลายและความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในหน่วยงานรัฐบาล ภาคธุรกิจ และบริการสาธารณสุข รวมถึงสิทธิของคนอเมริกันกลุ่ม LGBTQ ตามที่สัญญาไว้ว่าจะจัดการวัฒนธรรม “การตื่นรู้” . ทรัมป์ยังประกาศว่า ต่อไปรัฐบาลสหรัฐฯ จะยอมรับคนเพียงสองเพศคือชายกับหญิงเท่านั้น . ข้อตกลงโลกร้อนปารีส . ผู้นำใหม่ของสหรัฐฯ นำอเมริกาถอนตัวจากข้อตกลงโลกร้อนปารีสเหมือนที่เคยทำมาตอนรับตำแหน่งสมัยแรก ตอกย้ำการปฏิเสธความพยายามของทั่วโลกในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ขณะที่ภัยพิบติธรรมชาติรุนแรงขึ้นทั่วโลก . อย่างไรก็ดี ต้องใช้เวลา 1 ปีหลังจากยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อกรอบข้อตกลงของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ฉบับนี้ อเมริกาจึงจะสามารถถอนตัวได้ . การขุดเจาะน้ำมัน . ทรัมป์ลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อขยายการขุดเจาะในอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำการผลิตก๊าซและน้ำมันของโลก . เวิร์ก ฟอร์ม โฮม . นอกจากนั้น ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งกำหนดให้ลูกจ้างรัฐบาลกลางกลับไปทำงานในสำนักงานเต็มเวลา เพื่อยุติการอนุญาตการทำงานจากที่บ้านส่วนใหญ่ที่ริเริ่มขึ้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด . ถอนตัวจาก WHO . ทรัมป์เซ็นคำสั่งให้อเมริกาถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก โดยยืนยันว่า ไม่เป็นธรรมที่สหรัฐฯ จ่ายเงินสมทบองค์กรนี้มากกว่าที่จีนจ่าย . ติ๊กต็อก Tiktok . ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันผู้นี้สั่งระงับการบังคับใช้กฎหมายแบนติ๊กต็อกออกไป 75 วัน ซึ่งเท่ากับเป็นการชะลอการดำเนินการห้ามการเผยแพร่และอัปเดตแพลตฟอร์มติ๊กต็อกในอเมริกาที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (19 ม.ค.) . ทรัมป์ระบุว่า ต้องการให้ ไบต์แดนซ์ บริษัทแม่ของติ๊กต็อกที่อยู่ในจีน ตกลงขายหุ้นติ๊กต็อก 50% ให้นักลงทุนในอเมริกา . ผู้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์ . ทรัมป์ยกเลิกมาตรการแซงก์ชันของคณะบริหารของไบเดนต่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวที่ใช้ความรุนแรงกับชาวปาเลสไตน์ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ . คิวบา . ทรัมป์ล้มล้างอีกหนึ่งคำสั่งของไบเดนที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในการถอดคิวบาออกจากบัญชีดำประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยนักโทษ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006613 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1638 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยสองอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ (20 ม.ค.) โดยกล่าวปราศรัยประกาศว่า “ยุคทอง” ของอเมริกาเริ่มต้นขึ้นแล้ว จากนั้นก็ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารที่มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกจำนวนหลายสิบฉบับ ซึ่งมีทั้งการให้อภัยโทษพวกผู้สนับสนุนเขาที่ใช้ความรุนแรงบุกโจมตีอาคารรัฐสภา ไปจนถึงการออกมาตรการคุมเข้มผู้อพยพ และการยุตินโยบายรับมือปัญหาโลกร้อน และถึงแม้ยังไม่มีการขึ้นภาษีศุลกากรใดๆ ในวันแรกของการครองตำแหน่งคราวนี้ แต่เขาก็ขู่รีดภาษีแคนาดาและเม็กซิโก 25% ตั้งแต่ 1 ก.พ.ขณะที่แสดงท่าทีแปลกกรณีสงครามยูเครน โดยหันมาวิพากษ์วลาดิมีร์ ปูติน ว่ากำลังทำลายรัสเซียจากการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติศึก
    .
    ประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวปราศรัยหลังทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งต้องจัดขึ้นภายในอาคารรัฐสภา เนื่องจากอากาศข้างนอกหนาวจัด โดยบอกว่า การตกต่ำของอเมริกายุติลงแล้ว ซึ่งหมายถึงช่วงเวลา 4 ปีภายใต้คณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครต และประกาศการเริ่มต้นยุคทองของอเมริกาซึ่งจะมีความมั่งคั่งรุ่งเรืองและเป็นที่เคารพของทั่วโลกอีกครั้ง
    .
    จากนั้น ทรัมป์ซึ่งอยู่ในวัย 78 ปี จึงสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดขณะสาบานตนรับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังที่ชุมนุมของพวกผู้สนับสนุนเขา ณ สนามกีฬาในร่มแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเขาได้กล่าวปราศรัยในสไตล์หาเสียง ก่อนโยนปากกาที่ใช้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับในรอบแรกไปแล้วหมาดๆ ให้ฝูงชนที่อัดแน่นคอยต้อนรับเขา
    .
    ถัดมา ทรัมป์จึงได้เดินทางกลับไปยังทำเนียบในแบบผู้พิชิต 4 ปีหลังจากที่เขาต้องจากไปด้วยความเสื่อมเสียเกียรติ เป็นการเสร็จสิ้นครบถ้วนการหวนกลับคืนมาได้อย่างโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐฯ
    .
    ณ ห้องทำงานรูปไข่ ของทำเนียบขาว ทรัมป์จัดให้มีการแถลงข่าวเป็นเวลาราว 50 นาทีโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า พร้อมกับลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพิ่ม ซึ่งรวมถึงการอภัยโทษผู้ก่อจลาจลราว 1,500 คนที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อพยายามขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดน
    .
    ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนติดกับเม็กซิโก และระบุว่า จะส่งทหารไปจัดการการลักลอบเข้าเมือง ซึ่งเป็นประเด็นหาเสียงสำคัญที่ทำให้เขาชนะอดีตรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต
    .
    ทรัมป์ยังไฟเขียวให้ขยายการขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้งยกเลิกกฎระเบียบที่ต้องการโน้มน้าวให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
    .
    นอกจากนั้น เขาประกาศนำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก และข้อตกลงปารีสที่นานาประเทศรวมทั้งอเมริกาให้สัญญาระบุเป้าหมายของตนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    .
    ประธานาธิบดีจากรีพับลิกันผู้นี้แสดงการเชิดชูลัทธิชาตินิยม ด้วยการประกาศเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และขู่ยึดคลองปานานาคืนหลังจากยกสิทธิการควบคุมให้ปานามาตั้งแต่ปี 1999 โดยอ้างว่า จีนเป็นผู้ควบคุมคลองปานามาตัวจริง ทั้งที่ในความเป็นจริงคือ บริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงซึ่งชนะการประมูล ได้สิทธิเข้าบริหารดำเนินงานคลองสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้
    .
    ทรัมป์ยังประกาศว่าไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กที่เป็นสมาชิกนาโตเช่นเดียวกับอเมริกา ขณะที่รัสเซียเข้าไปดำเนินการในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นหลังจากน้ำแข็งละลายอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ลดความขึงขังเรื่องยูเครนจากที่เคยสัญญาว่า จะผลักดันข้อตกลงสันติภาพให้ลุล่วงก่อนเข้ารับตำแหน่ง และเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยชื่นชมก็มาวิจารณ์ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียว่า กำลังทำลายรัสเซียด้วยการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติสงครามในยูเครน โดยเขาอ้างอิงสถานะเศรษฐกิจและการสูญเสียในสนามรบของรัสเซีย แต่ยังคงยืนยันว่า จะพบปะหารือกับปูตินโดยเร็ว
    .
    ขณะเดียวกัน เมื่อผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวถามว่า จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากทุกประเทศอย่างที่ประกาศเอาไว้หรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า อาจจะ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ และเมื่อถามถึงการขึ้นภาษีศุลกากรจากสินค้าของแคนาดาและเม็กซิโก ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ตอบว่า เล็งเรียกเก็บภาษีราว 25% ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เนื่องจากสองประเทศนี้ปล่อยให้มีผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวนมากแอบเดินทางเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งปล่อยให้มีการการขนส่งยาเสพติดเฟนทานิล เข้าสู่อเมริกา
    .
    ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในบันทึกช่วยจำของประธานาธิบดีนั้น ทรัมป์สั่งให้กระทรวงการคลังและพาณิชย์ รวมถึงสำนักงานการค้าสหรัฐฯ ตรวจสอบความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติจากการขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาล พร้อมเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เช่น การเรียกเก็บภาษีศุลกากรทั่วโลกหรือนโยบายอื่นๆ เพื่อแก้ไขการขาดดุลการค้า
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006612
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยสองอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ (20 ม.ค.) โดยกล่าวปราศรัยประกาศว่า “ยุคทอง” ของอเมริกาเริ่มต้นขึ้นแล้ว จากนั้นก็ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารที่มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกจำนวนหลายสิบฉบับ ซึ่งมีทั้งการให้อภัยโทษพวกผู้สนับสนุนเขาที่ใช้ความรุนแรงบุกโจมตีอาคารรัฐสภา ไปจนถึงการออกมาตรการคุมเข้มผู้อพยพ และการยุตินโยบายรับมือปัญหาโลกร้อน และถึงแม้ยังไม่มีการขึ้นภาษีศุลกากรใดๆ ในวันแรกของการครองตำแหน่งคราวนี้ แต่เขาก็ขู่รีดภาษีแคนาดาและเม็กซิโก 25% ตั้งแต่ 1 ก.พ.ขณะที่แสดงท่าทีแปลกกรณีสงครามยูเครน โดยหันมาวิพากษ์วลาดิมีร์ ปูติน ว่ากำลังทำลายรัสเซียจากการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติศึก . ประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวปราศรัยหลังทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งต้องจัดขึ้นภายในอาคารรัฐสภา เนื่องจากอากาศข้างนอกหนาวจัด โดยบอกว่า การตกต่ำของอเมริกายุติลงแล้ว ซึ่งหมายถึงช่วงเวลา 4 ปีภายใต้คณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครต และประกาศการเริ่มต้นยุคทองของอเมริกาซึ่งจะมีความมั่งคั่งรุ่งเรืองและเป็นที่เคารพของทั่วโลกอีกครั้ง . จากนั้น ทรัมป์ซึ่งอยู่ในวัย 78 ปี จึงสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดขณะสาบานตนรับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังที่ชุมนุมของพวกผู้สนับสนุนเขา ณ สนามกีฬาในร่มแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเขาได้กล่าวปราศรัยในสไตล์หาเสียง ก่อนโยนปากกาที่ใช้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับในรอบแรกไปแล้วหมาดๆ ให้ฝูงชนที่อัดแน่นคอยต้อนรับเขา . ถัดมา ทรัมป์จึงได้เดินทางกลับไปยังทำเนียบในแบบผู้พิชิต 4 ปีหลังจากที่เขาต้องจากไปด้วยความเสื่อมเสียเกียรติ เป็นการเสร็จสิ้นครบถ้วนการหวนกลับคืนมาได้อย่างโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐฯ . ณ ห้องทำงานรูปไข่ ของทำเนียบขาว ทรัมป์จัดให้มีการแถลงข่าวเป็นเวลาราว 50 นาทีโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า พร้อมกับลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพิ่ม ซึ่งรวมถึงการอภัยโทษผู้ก่อจลาจลราว 1,500 คนที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อพยายามขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดน . ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนติดกับเม็กซิโก และระบุว่า จะส่งทหารไปจัดการการลักลอบเข้าเมือง ซึ่งเป็นประเด็นหาเสียงสำคัญที่ทำให้เขาชนะอดีตรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต . ทรัมป์ยังไฟเขียวให้ขยายการขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้งยกเลิกกฎระเบียบที่ต้องการโน้มน้าวให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า . นอกจากนั้น เขาประกาศนำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก และข้อตกลงปารีสที่นานาประเทศรวมทั้งอเมริกาให้สัญญาระบุเป้าหมายของตนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ . ประธานาธิบดีจากรีพับลิกันผู้นี้แสดงการเชิดชูลัทธิชาตินิยม ด้วยการประกาศเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และขู่ยึดคลองปานานาคืนหลังจากยกสิทธิการควบคุมให้ปานามาตั้งแต่ปี 1999 โดยอ้างว่า จีนเป็นผู้ควบคุมคลองปานามาตัวจริง ทั้งที่ในความเป็นจริงคือ บริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงซึ่งชนะการประมูล ได้สิทธิเข้าบริหารดำเนินงานคลองสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ . ทรัมป์ยังประกาศว่าไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กที่เป็นสมาชิกนาโตเช่นเดียวกับอเมริกา ขณะที่รัสเซียเข้าไปดำเนินการในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นหลังจากน้ำแข็งละลายอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ลดความขึงขังเรื่องยูเครนจากที่เคยสัญญาว่า จะผลักดันข้อตกลงสันติภาพให้ลุล่วงก่อนเข้ารับตำแหน่ง และเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยชื่นชมก็มาวิจารณ์ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียว่า กำลังทำลายรัสเซียด้วยการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติสงครามในยูเครน โดยเขาอ้างอิงสถานะเศรษฐกิจและการสูญเสียในสนามรบของรัสเซีย แต่ยังคงยืนยันว่า จะพบปะหารือกับปูตินโดยเร็ว . ขณะเดียวกัน เมื่อผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวถามว่า จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากทุกประเทศอย่างที่ประกาศเอาไว้หรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า อาจจะ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ และเมื่อถามถึงการขึ้นภาษีศุลกากรจากสินค้าของแคนาดาและเม็กซิโก ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ตอบว่า เล็งเรียกเก็บภาษีราว 25% ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เนื่องจากสองประเทศนี้ปล่อยให้มีผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวนมากแอบเดินทางเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งปล่อยให้มีการการขนส่งยาเสพติดเฟนทานิล เข้าสู่อเมริกา . ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในบันทึกช่วยจำของประธานาธิบดีนั้น ทรัมป์สั่งให้กระทรวงการคลังและพาณิชย์ รวมถึงสำนักงานการค้าสหรัฐฯ ตรวจสอบความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติจากการขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาล พร้อมเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เช่น การเรียกเก็บภาษีศุลกากรทั่วโลกหรือนโยบายอื่นๆ เพื่อแก้ไขการขาดดุลการค้า . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006612 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1593 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามยกเลิกคำสั่งไบเดนแล้ว 78 ฉบับ เผยเริ่มเก็บภาษีสินค้านำเข้าแคนาดา-เม็กซิโก 1 กุมภาพันธ์นี้

    บลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานความเคลื่อนไหววันแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) หลังเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2025 ว่า ทรัมป์ยังดำเนินแผนการอันทะเยอทะยานของเขาต่อไป โดยลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารจำนวนมาก

    บลูมเบิร์กระบุว่า ณ เวลาประมาณ 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ (ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งในนั้นเป็นการเพิกถอนคำสั่งหรือแผนริเริ่มต่าง ๆ ในยุคของประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Joe Biden) ถึง 78 ฉบับ ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากที่สนามกีฬาแคปิตอลวัน (Capital One Arena)

    บรรดาคำสั่งที่ทรัมป์ยกเลิกคำสั่งของไบเดนนั้น รวมถึงการถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement), คำสั่งให้ทุกกระทรวงจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ, การดำเนินการเรียกพนักงานของรัฐบาลกลางกลับเข้าทำงาน และคำสั่งคืนเสรีภาพในการพูดและป้องกันไม่ให้รัฐบาลเซ็นเซอร์เสรีภาพในการพูดในอนาคต

    ต่อจากนั้นทรัมป์ย้ายไปที่ห้องทำงานรูปไข่ (The Oval Office) ในทำเนียบขาว แล้วลงนามคำสั่งต่อไป ซึ่งคำสั่งฝ่ายบริหารฉบับแรกที่ทรัมป์ลงนามในห้องทำงานรูปไข่ คือการอภัยโทษให้กับผู้คนจำนวน 1,500 คน ที่ได้รับโทษจากการปิดล้อมอาคารรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021

    จากนั้นในเวลาประมาณ 19.50 น. บลูมเบิร์กรายงานว่า ทรัมป์ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามถึงเรื่องภาษีศุลกากรว่า “เราคิดอัตราภาษีนำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาจะอยู่ที่ 25% ผมคิดว่าเราจะดำเนินการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์”

    ในเวลาเดียวกัน ทรัมป์กล่าวถึงจีนว่า จะประชุมและโทรศัพท์หารือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ของจีน

    นอกจากนั้น ทรัมป์กล่าวว่าประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ต้องใช้จ่ายงบประมาณ 5% ของจีดีพี สำหรับการป้องกันประเทศ

    ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ทำเนียบขาว (The White House) หรือสำนักงานประธานาธิบดีสหหรัฐ พบว่า ทรัมป์ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารจำนวนมากที่จะส่งผลกระทบต่อต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น

    -ถอนสหรัฐออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยุติรายจ่ายที่เป็นภาระและไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐอเมริกา ยกเลิกการเจรจาข้อตกลงว่าด้วยโรคระบาด (Pandemic Agreement) และการแปรญัตติกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations)

    -ประกาศใช้นโยบายการค้าที่ให้ความสำคัญกับอเมริกาเป็นอันดับแรก (America First Trade Policy) หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องกำหนดนโยบายการค้าที่ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ แก้ไขการค้าที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมดุล โดยใช้มาตรการที่เหมาะสม อย่างเช่น ภาษีศุลกากร

    -ปรับโครงสร้างโครงการรับผู้ลี้ภัยของสหรัฐ (USRAP) ใหม่ และระงับการรับผู้ลี้ภัยผ่าน USRAP จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าการเข้าสู่สหรัฐอเมริกาของผู้ลี้ภัยจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐ

    -ยกเลิกการให้สถานะพลเมืองอเมริกันโดยกำเนิด เด็กที่เกิดในสหรัฐอเมริกาแต่เกิดจากพ่อและแม่ที่ไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน จะไม่ได้สถานะพลเมืองโดยกำเนิดอีกต่อไป

    -เพิ่มการรักษาความปลอดภัยชายแดน โดยสร้างกำแพงและสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่มีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่และการใช้เทคโนโลยี เพื่อขัดขวางและป้องกันการเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย และดำเนินการเนรเทศผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย โดยมีกระบวนการคุมขังระหว่างรอส่งตัวออกจากประเทศ

    -ลดการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ โดยจะหยุดให้ความช่วยเหลือต่างประเทศที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐ 90 วันเพื่อประเมินประสิทธิภาพโครงการและความสอดคล้องกับนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐว่าควรได้รับการช่วยเหลือต่อไปหรือไม่

    ​ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ลงนามยกเลิกคำสั่งไบเดนแล้ว 78 ฉบับ เผยเริ่มเก็บภาษีสินค้านำเข้าแคนาดา-เม็กซิโก 1 กุมภาพันธ์นี้ บลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานความเคลื่อนไหววันแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) หลังเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มกราคม 2025 ว่า ทรัมป์ยังดำเนินแผนการอันทะเยอทะยานของเขาต่อไป โดยลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารจำนวนมาก บลูมเบิร์กระบุว่า ณ เวลาประมาณ 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ (ช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งในนั้นเป็นการเพิกถอนคำสั่งหรือแผนริเริ่มต่าง ๆ ในยุคของประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Joe Biden) ถึง 78 ฉบับ ต่อหน้าฝูงชนจำนวนมากที่สนามกีฬาแคปิตอลวัน (Capital One Arena) บรรดาคำสั่งที่ทรัมป์ยกเลิกคำสั่งของไบเดนนั้น รวมถึงการถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement), คำสั่งให้ทุกกระทรวงจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ, การดำเนินการเรียกพนักงานของรัฐบาลกลางกลับเข้าทำงาน และคำสั่งคืนเสรีภาพในการพูดและป้องกันไม่ให้รัฐบาลเซ็นเซอร์เสรีภาพในการพูดในอนาคต ต่อจากนั้นทรัมป์ย้ายไปที่ห้องทำงานรูปไข่ (The Oval Office) ในทำเนียบขาว แล้วลงนามคำสั่งต่อไป ซึ่งคำสั่งฝ่ายบริหารฉบับแรกที่ทรัมป์ลงนามในห้องทำงานรูปไข่ คือการอภัยโทษให้กับผู้คนจำนวน 1,500 คน ที่ได้รับโทษจากการปิดล้อมอาคารรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 จากนั้นในเวลาประมาณ 19.50 น. บลูมเบิร์กรายงานว่า ทรัมป์ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามถึงเรื่องภาษีศุลกากรว่า “เราคิดอัตราภาษีนำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดาจะอยู่ที่ 25% ผมคิดว่าเราจะดำเนินการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์” ในเวลาเดียวกัน ทรัมป์กล่าวถึงจีนว่า จะประชุมและโทรศัพท์หารือกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ของจีน นอกจากนั้น ทรัมป์กล่าวว่าประเทศสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ต้องใช้จ่ายงบประมาณ 5% ของจีดีพี สำหรับการป้องกันประเทศ ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ทำเนียบขาว (The White House) หรือสำนักงานประธานาธิบดีสหหรัฐ พบว่า ทรัมป์ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารจำนวนมากที่จะส่งผลกระทบต่อต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น -ถอนสหรัฐออกจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ยุติรายจ่ายที่เป็นภาระและไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐอเมริกา ยกเลิกการเจรจาข้อตกลงว่าด้วยโรคระบาด (Pandemic Agreement) และการแปรญัตติกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations) -ประกาศใช้นโยบายการค้าที่ให้ความสำคัญกับอเมริกาเป็นอันดับแรก (America First Trade Policy) หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องกำหนดนโยบายการค้าที่ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ แก้ไขการค้าที่ไม่เป็นธรรมและไม่สมดุล โดยใช้มาตรการที่เหมาะสม อย่างเช่น ภาษีศุลกากร -ปรับโครงสร้างโครงการรับผู้ลี้ภัยของสหรัฐ (USRAP) ใหม่ และระงับการรับผู้ลี้ภัยผ่าน USRAP จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าการเข้าสู่สหรัฐอเมริกาของผู้ลี้ภัยจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐ -ยกเลิกการให้สถานะพลเมืองอเมริกันโดยกำเนิด เด็กที่เกิดในสหรัฐอเมริกาแต่เกิดจากพ่อและแม่ที่ไม่ใช่พลเมืองอเมริกัน จะไม่ได้สถานะพลเมืองโดยกำเนิดอีกต่อไป -เพิ่มการรักษาความปลอดภัยชายแดน โดยสร้างกำแพงและสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่มีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่และการใช้เทคโนโลยี เพื่อขัดขวางและป้องกันการเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย และดำเนินการเนรเทศผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย โดยมีกระบวนการคุมขังระหว่างรอส่งตัวออกจากประเทศ -ลดการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศ โดยจะหยุดให้ความช่วยเหลือต่างประเทศที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐ 90 วันเพื่อประเมินประสิทธิภาพโครงการและความสอดคล้องกับนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐว่าควรได้รับการช่วยเหลือต่อไปหรือไม่ ​ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 440 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เสียงกีโยติน"

    สายลมเย็นยะเยือก กลางปลัสเดอลาเรวอลูซียง เสียงฝูงชนร้องก้องในกรุงปารีส พระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก ทรงยืนบนทางแห่งโชคชะตา กีโยตินรออยู่ ด้วยคมดาบแห่งความจริง

    ประวัติศาสตร์จารึก ในคืนแห่งการเปลี่ยนแปลง เสรีภาพดังก้องลั่นโลกk พระองค์ผู้เคยทรงมงกุฎทองคำ วันนี้ต้องทรงศิโรราบให้กับแผ่นดิน

    * เสียงกีโยติน กรีดก้องฟ้า ตัดเส้นทางแห่งราชันย์และชะตา โลหิตหยดลงบนพื้นพสุธา ฝรั่งเศสร่ำร้อง เสรีภาพมาเยือน

    พระดำรัสสุดท้าย ดังก้องด้วยศรัทธา "ข้าพเจ้าบริสุทธิ์ แม้ถูกกล่าวหา โลหิตนี้ ขออย่าไหลล้างแผ่นดิน ขอให้ฝรั่งเศส พ้นจากวิกฤตินิรันดร์"

    ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง ยืนถือดาบ ประกาศยุติอำนาจที่เคยแกร่งกล้า ท่ามกลางเสียงกลองรัว สุดท้ายจบสิ้น ชะตาของกษัตริย์ผู้พลิกวิถีปวงชน

    ซ้ำ *

    เลือดแห่งหลุยส์ที่สิบหก หลั่งไหลบนหน้าประวัติศาสตร์ บทเรียนแห่งความยิ่งใหญ่ และอำนาจที่ผิดทาง เสียงของปวงชนดังก้อง กลายเป็นตำนาน พระโลหิตนั้น เป็นเครื่องเตือนใจนิรันดร์

    ซ้ำ *

    ในความเงียบงัน พระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกสิ้นเสียง ทว่าเสียงแห่งอิสรภาพยังคงก้อง กีโยตินไม่ใช่จุดจบ แต่คือการเริ่มต้น บทใหม่แห่งปวงชน ผู้โหยหาประชาธิปไตย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211008 ม.ค. 2568
    "เสียงกีโยติน" สายลมเย็นยะเยือก กลางปลัสเดอลาเรวอลูซียง เสียงฝูงชนร้องก้องในกรุงปารีส พระเจ้าหลุยส์ที่สิบหก ทรงยืนบนทางแห่งโชคชะตา กีโยตินรออยู่ ด้วยคมดาบแห่งความจริง ประวัติศาสตร์จารึก ในคืนแห่งการเปลี่ยนแปลง เสรีภาพดังก้องลั่นโลกk พระองค์ผู้เคยทรงมงกุฎทองคำ วันนี้ต้องทรงศิโรราบให้กับแผ่นดิน * เสียงกีโยติน กรีดก้องฟ้า ตัดเส้นทางแห่งราชันย์และชะตา โลหิตหยดลงบนพื้นพสุธา ฝรั่งเศสร่ำร้อง เสรีภาพมาเยือน พระดำรัสสุดท้าย ดังก้องด้วยศรัทธา "ข้าพเจ้าบริสุทธิ์ แม้ถูกกล่าวหา โลหิตนี้ ขออย่าไหลล้างแผ่นดิน ขอให้ฝรั่งเศส พ้นจากวิกฤตินิรันดร์" ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง ยืนถือดาบ ประกาศยุติอำนาจที่เคยแกร่งกล้า ท่ามกลางเสียงกลองรัว สุดท้ายจบสิ้น ชะตาของกษัตริย์ผู้พลิกวิถีปวงชน ซ้ำ * เลือดแห่งหลุยส์ที่สิบหก หลั่งไหลบนหน้าประวัติศาสตร์ บทเรียนแห่งความยิ่งใหญ่ และอำนาจที่ผิดทาง เสียงของปวงชนดังก้อง กลายเป็นตำนาน พระโลหิตนั้น เป็นเครื่องเตือนใจนิรันดร์ ซ้ำ * ในความเงียบงัน พระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกสิ้นเสียง ทว่าเสียงแห่งอิสรภาพยังคงก้อง กีโยตินไม่ใช่จุดจบ แต่คือการเริ่มต้น บทใหม่แห่งปวงชน ผู้โหยหาประชาธิปไตย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211008 ม.ค. 2568
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 271 มุมมอง 55 0 รีวิว
  • 232 ปี กิโยตินสำเร็จโทษ “พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส” ผิดข้อหาหนัก สมคบประทุษร้าย ต่อเสรีภาพปวงชน และความมั่นคงแห่งรัฐ

    เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หรือ 232 ปี ที่ผ่านมา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ถูกสำเร็จโทษด้วยเครื่องกิโยติน ณ ปลัสเดอลาเรวอลูซียง (Place de la Révolution) ใจกลางกรุงปารีส พระองค์ถูกตัดสินโทษ ในข้อหาสมคบคิด ต่อต้านเสรีภาพของประชาชน และบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐ เหตุการณ์นี้เป็นจุดพลิกผันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนถึงความวุ่นวาย ทางการเมืองและสังคม ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ยิ่งใหญ่

    พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2317 ต่อจากพระอัยกา พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับ ปัญหาทางเศรษฐกิจ และความไม่เท่าเทียมทางสังคม ระบบศักดินาที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ชนชั้นสูงและศาสนจักร ทำให้ชนชั้นกลาง และประชาชนทั่วไป ตกอยู่ในภาวะกดดันอย่างหนัก ในขณะเดียวกัน หนี้สินมหาศาล ที่เกิดจากสงคราม และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของราชวงศ์ ยิ่งซ้ำเติมความยากลำบาก ของประชาชน

    พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับปัญหาของประเทศ
    พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความตั้งใจที่จะแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ทรงสนับสนุนการปฏิรูปบางอย่าง เช่น การยกเลิกภาษีบางประเภท สำหรับชนชั้นล่าง และการลดอำนาจของศาสนจักร แต่แผนการปฏิรูปดังกล่าว กลับถูกคัดค้านโดยชนชั้นสูง และชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ซึ่งมีอิทธิพล ในสภาฐานันดร (Estates-General)

    เมื่อการปฏิรูปล้มเหลว ประชาชนเริ่มรวมตัวกัน และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ที่รุนแรงมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2332 เหตุการณ์บุกยึดคุกบาสตีย์ (Storming of the Bastille) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ปะทุขึ้น และจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศ

    การสูญเสียอำนาจของราชวงศ์
    หลังจากการปฏิวัติเริ่มต้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) ถูกลดทอนอำนาจลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2334 ฝรั่งเศสประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่จำกัดอำนาจของกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบในประเทศ ยังคงดำเนินต่อไป และมีการต่อต้านจากฝ่ายกษัตริย์นิยม และชาติยุโรปอื่น ๆ ที่สนับสนุนราชวงศ์

    ความพยายามหลบหนีที่ล้มเหลว
    ในปี พ.ศ. 2334 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพยายามหลบหนีออกจากกรุงปารีส เพื่อไปรวมตัวกับ กองกำลังฝ่ายกษัตริย์นิยม ใกล้ชายแดนออสเตรีย แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลว เมื่อพระองค์ถูกจับกุมที่เมืองวาแรน (Varennes) และถูกนำกลับมายังกรุงปารีส เหตุการณ์นี้ ยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อพระองค์ และทำให้กระแสต่อต้านราชวงศ์ เพิ่มมากขึ้น

    คำตัดสินประหารชีวิต
    ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2335 สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส (National Assembly) ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ และสถาปนาฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกจับกุมและตั้งข้อหา กบฏต่อชาติ และสมคบคิดกับชาวต่างชาติ โดยหลักฐานสำคัญคือ เอกสารลับใน “ตู้เหล็ก” (Armoire de fer) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์มีการติดต่อกับชาติยุโรปอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ ในการต่อต้านการปฏิวัติ

    ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ
    ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2336 สภากงว็องซียง (Convention) ได้ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สมาชิกสภาทั้งหมด 721 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พระองค์มีความผิดจริง ในการลงคะแนนครั้งต่อมา สมาชิกส่วนใหญ่ เห็นชอบให้สำเร็จโทษ ด้วยการประหารชีวิต

    สำเร็จโทษด้วยกิโยติน
    เช้าของวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำพระองค์ไปยัง ปลัสเดอลาเรวอลูซียง พระองค์ทรงแสดงท่าทีสง่างาม และสงบนิ่ง พร้อมกล่าวพระดำรัสสั้น ๆ แสดงความบริสุทธิ์ และภาวนาให้ฝรั่งเศส พบกับสันติภาพ

    ผู้สำเร็จโทษ ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง (Charles-Henri Sanson) รายงานว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมรับชะตากรรมของพระองค์ อย่างสง่างาม ท่ามกลางฝูงชน ที่มาร่วมชมเหตุการณ์นับหมื่นคน บางคนได้นำผ้าเช็ดหน้าของตน ไปรองรับพระโลหิต ซึ่งตกลงบนพื้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวขานถึง ในหน้าประวัติศาสตร์

    "กิโยติน" เครื่องมือแห่งการปฏิวัติ
    "กิโยติน" กลายเป็นสัญลักษณ์ ของความเท่าเทียมทางกฎหมาย ในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส อุปกรณ์นี้ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อใช้สำเร็จโทษ นักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีคุณลักษณะเด่นคือ ความรวดเร็วและ “ปราศจากความเจ็บปวด” ใบมีดน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม ถูกแขวนไว้เหนือโครงไม้และปล่อยลงมาอย่างรวดเร็ว เพื่อตัดศีรษะ

    ระหว่างปี พ.ศ. 2336–2337 หรือที่เรียกว่า ยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) กิโยตินถูกนำมาใช้สำเร็จโทษ บุคคลสำคัญจำนวนมาก รวมถึงพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต และ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ผู้นำฝ่ายปฏิวัติ

    มรดกแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
    การสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่เพียงเป็นจุดจบ ของระบอบกษัตริย์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในฝรั่งเศส แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ที่ประชาชนมีสิทธิและเสียงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ในช่วงการปฏิวัติ ได้สร้างคำถามเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรง ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียง ถึงบทบาทและความผิดพลาด ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เคราะห์ร้าย จากเหตุการณ์ที่ใหญ่กว่าพระองค์ หรือเป็นผู้นำที่ล้มเหลว ในการรับมือกับปัญหาของประเทศ

    เหตุการณ์สำเร็จโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยกิโยติน สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง ของสังคมฝรั่งเศส และเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความซับซ้อน ของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง มรดกที่พระองค์ทิ้งไว้ ไม่ใช่เพียงการสิ้นสุดของราชวงศ์ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการปฏิวัติ และการเปลี่ยนแปลง ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

    คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงมีบทบาทอย่างไร ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส?
    พระองค์ทรงพยายามรักษาอำนาจ และตำแหน่งของราชวงศ์ แต่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหลายครั้งทำให้สูญเสียความไว้วางใจ จากประชาชน

    2. เหตุใดกิโยติน จึงถูกใช้ในยุคปฏิวัติ?
    กิโยตินถูกมองว่า เป็นเครื่องมือที่ยุติธรรมและรวดเร็ว ในการสำเร็จโทษนักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียม

    3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกกล่าวหาว่าอะไร?
    ทรงถูกกล่าวหาว่า สมคบคิดกับชาวต่างชาติ และกบฏต่อประชาชนฝรั่งเศส

    4. ใครคือผู้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์?
    ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง เป็นผู้สำเร็จโทษพระองค์ ด้วยกิโยติน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 210947 ม.ค. 2568

    #พระเจ้าหลุยส์ที่16 #การปฏิวัติฝรั่งเศส #กิโยติน #ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส #การปลงพระชนม์ #MarieAntoinette #ReignOfTerror #FrenchRevolution
    232 ปี กิโยตินสำเร็จโทษ “พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส” ผิดข้อหาหนัก สมคบประทุษร้าย ต่อเสรีภาพปวงชน และความมั่นคงแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 หรือ 232 ปี ที่ผ่านมา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ถูกสำเร็จโทษด้วยเครื่องกิโยติน ณ ปลัสเดอลาเรวอลูซียง (Place de la Révolution) ใจกลางกรุงปารีส พระองค์ถูกตัดสินโทษ ในข้อหาสมคบคิด ต่อต้านเสรีภาพของประชาชน และบ่อนทำลายความมั่นคงของรัฐ เหตุการณ์นี้เป็นจุดพลิกผันสำคัญ ของประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนถึงความวุ่นวาย ทางการเมืองและสังคม ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2317 ต่อจากพระอัยกา พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ในช่วงเวลานั้น ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับ ปัญหาทางเศรษฐกิจ และความไม่เท่าเทียมทางสังคม ระบบศักดินาที่ให้สิทธิพิเศษ แก่ชนชั้นสูงและศาสนจักร ทำให้ชนชั้นกลาง และประชาชนทั่วไป ตกอยู่ในภาวะกดดันอย่างหนัก ในขณะเดียวกัน หนี้สินมหาศาล ที่เกิดจากสงคราม และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยของราชวงศ์ ยิ่งซ้ำเติมความยากลำบาก ของประชาชน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับปัญหาของประเทศ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความตั้งใจที่จะแก้ไข ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ทรงสนับสนุนการปฏิรูปบางอย่าง เช่น การยกเลิกภาษีบางประเภท สำหรับชนชั้นล่าง และการลดอำนาจของศาสนจักร แต่แผนการปฏิรูปดังกล่าว กลับถูกคัดค้านโดยชนชั้นสูง และชนชั้นอภิสิทธิ์ชน ซึ่งมีอิทธิพล ในสภาฐานันดร (Estates-General) เมื่อการปฏิรูปล้มเหลว ประชาชนเริ่มรวมตัวกัน และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ที่รุนแรงมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2332 เหตุการณ์บุกยึดคุกบาสตีย์ (Storming of the Bastille) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้ปะทุขึ้น และจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศ การสูญเสียอำนาจของราชวงศ์ หลังจากการปฏิวัติเริ่มต้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) ถูกลดทอนอำนาจลงอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2334 ฝรั่งเศสประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่จำกัดอำนาจของกษัตริย์ และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบในประเทศ ยังคงดำเนินต่อไป และมีการต่อต้านจากฝ่ายกษัตริย์นิยม และชาติยุโรปอื่น ๆ ที่สนับสนุนราชวงศ์ ความพยายามหลบหนีที่ล้มเหลว ในปี พ.ศ. 2334 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพยายามหลบหนีออกจากกรุงปารีส เพื่อไปรวมตัวกับ กองกำลังฝ่ายกษัตริย์นิยม ใกล้ชายแดนออสเตรีย แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลว เมื่อพระองค์ถูกจับกุมที่เมืองวาแรน (Varennes) และถูกนำกลับมายังกรุงปารีส เหตุการณ์นี้ ยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อพระองค์ และทำให้กระแสต่อต้านราชวงศ์ เพิ่มมากขึ้น คำตัดสินประหารชีวิต ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2335 สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส (National Assembly) ประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ และสถาปนาฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกจับกุมและตั้งข้อหา กบฏต่อชาติ และสมคบคิดกับชาวต่างชาติ โดยหลักฐานสำคัญคือ เอกสารลับใน “ตู้เหล็ก” (Armoire de fer) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์มีการติดต่อกับชาติยุโรปอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ ในการต่อต้านการปฏิวัติ ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2336 สภากงว็องซียง (Convention) ได้ลงคะแนนเสียงตัดสินโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สมาชิกสภาทั้งหมด 721 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พระองค์มีความผิดจริง ในการลงคะแนนครั้งต่อมา สมาชิกส่วนใหญ่ เห็นชอบให้สำเร็จโทษ ด้วยการประหารชีวิต สำเร็จโทษด้วยกิโยติน เช้าของวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกนำพระองค์ไปยัง ปลัสเดอลาเรวอลูซียง พระองค์ทรงแสดงท่าทีสง่างาม และสงบนิ่ง พร้อมกล่าวพระดำรัสสั้น ๆ แสดงความบริสุทธิ์ และภาวนาให้ฝรั่งเศส พบกับสันติภาพ ผู้สำเร็จโทษ ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง (Charles-Henri Sanson) รายงานว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมรับชะตากรรมของพระองค์ อย่างสง่างาม ท่ามกลางฝูงชน ที่มาร่วมชมเหตุการณ์นับหมื่นคน บางคนได้นำผ้าเช็ดหน้าของตน ไปรองรับพระโลหิต ซึ่งตกลงบนพื้น ซึ่งเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวขานถึง ในหน้าประวัติศาสตร์ "กิโยติน" เครื่องมือแห่งการปฏิวัติ "กิโยติน" กลายเป็นสัญลักษณ์ ของความเท่าเทียมทางกฎหมาย ในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส อุปกรณ์นี้ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อใช้สำเร็จโทษ นักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียมกัน โดยมีคุณลักษณะเด่นคือ ความรวดเร็วและ “ปราศจากความเจ็บปวด” ใบมีดน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม ถูกแขวนไว้เหนือโครงไม้และปล่อยลงมาอย่างรวดเร็ว เพื่อตัดศีรษะ ระหว่างปี พ.ศ. 2336–2337 หรือที่เรียกว่า ยุคแห่งความหวาดกลัว (Reign of Terror) กิโยตินถูกนำมาใช้สำเร็จโทษ บุคคลสำคัญจำนวนมาก รวมถึงพระราชินี มารี อ็องตัวแน็ต และ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ผู้นำฝ่ายปฏิวัติ มรดกแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 การสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ไม่เพียงเป็นจุดจบ ของระบอบกษัตริย์ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในฝรั่งเศส แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ที่ประชาชนมีสิทธิและเสียงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ในช่วงการปฏิวัติ ได้สร้างคำถามเกี่ยวกับ การใช้ความรุนแรง ในการบรรลุเป้าหมายทางการเมือง นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียง ถึงบทบาทและความผิดพลาด ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้เคราะห์ร้าย จากเหตุการณ์ที่ใหญ่กว่าพระองค์ หรือเป็นผู้นำที่ล้มเหลว ในการรับมือกับปัญหาของประเทศ เหตุการณ์สำเร็จโทษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ด้วยกิโยติน สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้ง ของสังคมฝรั่งเศส และเป็นบทเรียนสำคัญ เกี่ยวกับความซับซ้อน ของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง มรดกที่พระองค์ทิ้งไว้ ไม่ใช่เพียงการสิ้นสุดของราชวงศ์ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดการปฏิวัติ และการเปลี่ยนแปลง ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงมีบทบาทอย่างไร ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส? พระองค์ทรงพยายามรักษาอำนาจ และตำแหน่งของราชวงศ์ แต่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหลายครั้งทำให้สูญเสียความไว้วางใจ จากประชาชน 2. เหตุใดกิโยติน จึงถูกใช้ในยุคปฏิวัติ? กิโยตินถูกมองว่า เป็นเครื่องมือที่ยุติธรรมและรวดเร็ว ในการสำเร็จโทษนักโทษทุกชนชั้น อย่างเท่าเทียม 3. พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกกล่าวหาว่าอะไร? ทรงถูกกล่าวหาว่า สมคบคิดกับชาวต่างชาติ และกบฏต่อประชาชนฝรั่งเศส 4. ใครคือผู้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์? ชาลส์ อ็องรี ซ็องซง เป็นผู้สำเร็จโทษพระองค์ ด้วยกิโยติน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 210947 ม.ค. 2568 #พระเจ้าหลุยส์ที่16 #การปฏิวัติฝรั่งเศส #กิโยติน #ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส #การปลงพระชนม์ #MarieAntoinette #ReignOfTerror #FrenchRevolution
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 645 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อเปลี่ยนแปลง 78 คำสั่งในยุคของรัฐบาลไบเดน

    เอกสารสำคัญที่ลงนาม เช่น:

    ➡️คำสั่งถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ➡️ยกเลิกคำสั่งการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลในเรื่องการแสดงความเห็น โดยทรัมป์ลงนามคืนเสรีภาพในการพูด

    ➡️เอกสารที่ยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารของไบเดนในปี 2023 เกี่ยวกับนโยบายปัญญาประดิษฐ์และคำสั่งในการเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030

    ➡️ยกเลิกคำสั่งของไบเดนในการห้ามขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก

    ➡️ยกเลิกคำสั่งไบเดนในการถอดคิวบาออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายของสหรัฐฯ

    หลังจากนั้น ทรัมป์โยนปากกาที่เตรียมมาให้กับผู้เข้าร่วมพิธี
    มีรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อเปลี่ยนแปลง 78 คำสั่งในยุคของรัฐบาลไบเดน เอกสารสำคัญที่ลงนาม เช่น: ➡️คำสั่งถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ➡️ยกเลิกคำสั่งการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลในเรื่องการแสดงความเห็น โดยทรัมป์ลงนามคืนเสรีภาพในการพูด ➡️เอกสารที่ยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารของไบเดนในปี 2023 เกี่ยวกับนโยบายปัญญาประดิษฐ์และคำสั่งในการเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030 ➡️ยกเลิกคำสั่งของไบเดนในการห้ามขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก ➡️ยกเลิกคำสั่งไบเดนในการถอดคิวบาออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายของสหรัฐฯ หลังจากนั้น ทรัมป์โยนปากกาที่เตรียมมาให้กับผู้เข้าร่วมพิธี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 359 มุมมอง 37 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจุด "ยุคทองใหม่ ในสหรัฐฯ เริ่มขึ้นแล้ว" หลังเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัย 2 ในวันจันทร์ (20 ม.ค.) แต่โฟกัสเกือบทั้งหมดจับตาไปที่คำกล่าวสุนทรพจน์อันเข้มข้นของเขา ที่อวดอ้างจะใช้นโยบายแข็งกร้าวต่างๆ ในการกอบกู้สิ่งที่เขาเรียกว่า "การเสื่อมถอยของสังคมอเมริกา"
    .
    ในคำกล่าวสุนทรพจน์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ ยังได้กล่าวโจมตีพวกผู้อพยพผิดกฎหมาย และวัฒนธรรมสงคราม "ยุคทองของอเมริกาได้เริ่มขึ้นแล้วในเวลานี้ นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ประเทศของเราจะมีแต่ความรุ่งเรืองและได้รับความเคารพจากทั่วโลกอีกครั้ง "ทรัมป์ กล่าวในอาคารรัฐสภา บริเวณที่พิธีสาบานตนของเขาถูกจัดขึ้นในร่มเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ สืบเนื่องจากอากาศหนาวจัด
    .
    ประธานาธิบดีจากรีพับลิกันรายนี้ยังพาดพิงถึงกรณีที่กระสุนของมือสังหารที่เฉียดเข้าไป ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่เขาได้รับชัยชนะ ว่า "ผมได้รับการปกป้องจากพระเจ้า ให้ทำอเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง"
    .
    นอกจากเน้นย้ำคำสัญญาต่างๆ แล้ว ทรัมป์ได้ประณามอย่างดุเดือดต่อสิ่งที่เขาเรียกว่า "การทรยศหักหลังอเมริกา โดยสถาบันหัวรุนแรงและคอร์รัปชัน" ภายใต้ว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่กำลังพ้นจากตำแหน่ง "การเสื่อมถอยของอเมริกาจบลงแล้ว"
    .
    ไบเดน ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงน้ำชาต้อนรับ ทรัมป์ และเมลาเนีย ภรรยา ที่ทำเนียบขาว เฝ้ามองพิธีด้วยใบหน้าเรียบเฉย ระหว่างที่ศัตรูทางการเมืองของเขา กล่าวสุนทรพจน์โจมตียุคสมัยการดำรงตำแหน่งสมัยเดียวของเขา
    .
    นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังวางกรอบนโยบายต่างประเทศ บอกว่าเขาต้องการเป็นผู้สร้างสันติภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่จากนั้นกลับบอกว่าสหรัฐฯ จะทวงคืนคลองปานามา และเตือนว่าจะใช้สงครามการค้าโดยอิสระเสรี พร้อมประกาศปักธงชาติอเมริกา บนดาวอังคาร
    .
    มหาเศรษฐีวัย 78 ปีรายนี้ ซึ่งกลายมาเป็นบุคคลมีอายุมากที่สุดที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เตรียมเริ่มต้นวาระการดำรงตำแหน่งสมัยล่าสุด ด้วยการเซ็นคำสั่งพิเศษต่างๆ "ผมจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ ณ ชายแดนทางใต้ของเรา" ติดกับเม็กซิโก ทรัมป์กล่าวท่ามกลางเสียงเชียร์ดังสนั่นหวั่นไหวในห้องประชุม Rotunda พร้อมประกาศขับไล่พวกผู้อพยพผิดกฎหมายหลายล้านคน
    .
    ทรัมป์ บอกว่ารัฐบาลของเขาจะยอมรับเพียง "2 เพศ เพศชายและเพศหญิง" ยุติแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันที่มองทางเลือกแก่เพศที่ 3 ในทางออกบางอย่าง ขณะเดียวกัน เขาจะถอนวอชิงตันออกจากข้อตกลงโลกร้อนปารีส ที่มีเป้าหมายหยุดภาวะโลกร้อน
    .
    ในขณะที่ ทรัมป์ เป็นเพียงคนวงนอกทางการเมืองครั้งที่สาบานตนรับตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017 ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ แต่คราวนี้เขาถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มคนมั่งมีและเหล่าคนทรงอิทธิพลของอเมริกา
    .
    อีลอน มัสก์ ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก บอสของเมตา เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งแอมะซอน และซันดาร์ พิชัย ซีอีโอของกูเกิล ทั้งหมดล้วนแต่ได้นั่งในเก้าอี้แถวหน้าในอาคารรัฐสภา เคียงข้างครอบครัวของทรัมป์และเหล่าคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ มัสก์ จะเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนลดค่าใช้จ่ายในรัฐบาลใหม่
    .
    อดีตประธานาธิบดีอย่าง บารัค โอบามา จอร์จ ดับเบิลยู.บุช และ บิล คลินตัน ต่างเข้าร่วมพิธีพร้อมกับภริยา ยกเว้น มิเชล โอบามา อดีตสุภาพสตรีหมายเลย 1 ที่ไม่ได้เข้าร่วม
    .
    กลุ่มกองเชียร์เฝ้ามองพิธีสาบานตน ผ่านโทรศัพท์มือถือด้านนอกของอาคารัฐสภา จากปกติแล้วจะมีผู้คนหลายหมื่นคนเข้ามาร่วมพิธีทอดยาวไปจนถึงอุทยานเนชั่นแนล มอลล์
    .
    หลังจาก ทรัมป์ เคยไม่ยอมเข้าร่วมพิธีสาบานตนของ ไบเดน ในปี 2021 อ้างว่ามีการโกงเลือกตั้ง จนกระทั่งปลุกปั่นให้พวกผู้สนับสนุนบุกจู่โจมอาคารรัฐสภา แต่คราวนี้ ไบเดน เลือกที่จะกลับคืนสู่บรรยากาศดั้งเดิม "ยินดีต้อนรับกลับบ้าน" ไบเดน บอกกับ ทรัมป์ ตอนที่เขาเดินทางมายังทำเนียบขาว เพื่อดื่มชา
    .
    ในช่วงท้ายๆ ก่อนอำลาตำแหน่งในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ไบเดน ได้เซ็นคำสั่งนิรโทษกรรมล่วงหน้าเป็นชุดๆ ให้แก่พวกลูกน้องและคู่สมรสของพวกเขา เพื่อปกป้องคนเหลานี้จากการถูกสืบสวนที่มีแรงจูงใจทางการเมือง
    .
    นอกจากนี้แล้ว เขายังนิรโทษกรรมให้แก่ แอนโทนี เฟาซี อดีตที่ปรึกษาโควิด-19 มาร์ค มิลลีย์ นายพลปลดเกษียณ และสมาชิกคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเหตุจลาจลโมตีอาคารรัฐสภา 6 มกราคม 2021 โดยฝีมือของพวกผู้สนับสนุนทรัมป์
    .
    ทรัมป์ โจมตีในเรื่องดังกล่าวไม่นานหลังจากสาบานตนรับตำแหน่ง กล่าวอ้างว่า ไบเดน นิรโทษกรรมให้บุคคล "ที่มีความผิดในคดีอาญาที่ร้ายแรงมาก"
    .
    มหาเศรษฐีรายนี้กลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่สามารถกลับมาครองอำนาจได้อีกสมัย หลังจากตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสมัยก่อนหน้านั้น โดยคนแรกได้แก่ โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในปี 1893
    .
    สำหรับทั่วทั้งโลกแล้ว การกลับคืนสู่ตำแหน่งของ ทรัมป์ นั่นหมายความว่า พวกเขาคาดหมายได้เลยว่า ต้องเจอกับสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้
    .
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย แสดงความยินดีกับ ทรัมป์ ก่อนสาบานตน และบอกในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่าเขาเปิดกว้างสำหรับพูดคุยเกี่ยวกับความขัดแย้งยูเครน ซึ่ง ทรัมป์ ไม่ได้พาดพิงระหว่างกล่าวสุนทรพจน์
    .
    เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ก็แสดงความยินดีกับ ทรัมป์ เช่นกัน โดยบอกว่า "วันที่ดีที่สุดของความเป็นพันธมิตรระหว่างเรายังมาไม่ถึง" หลังจากก่อนหน้านี้ไม่นาน ทีมงานของทรัมป์ เพิ่งช่วยเป็นคนกลางบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ระหว่างอิสราเอลกับฮามาส
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006232
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศจุด "ยุคทองใหม่ ในสหรัฐฯ เริ่มขึ้นแล้ว" หลังเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัย 2 ในวันจันทร์ (20 ม.ค.) แต่โฟกัสเกือบทั้งหมดจับตาไปที่คำกล่าวสุนทรพจน์อันเข้มข้นของเขา ที่อวดอ้างจะใช้นโยบายแข็งกร้าวต่างๆ ในการกอบกู้สิ่งที่เขาเรียกว่า "การเสื่อมถอยของสังคมอเมริกา" . ในคำกล่าวสุนทรพจน์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ ยังได้กล่าวโจมตีพวกผู้อพยพผิดกฎหมาย และวัฒนธรรมสงคราม "ยุคทองของอเมริกาได้เริ่มขึ้นแล้วในเวลานี้ นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ประเทศของเราจะมีแต่ความรุ่งเรืองและได้รับความเคารพจากทั่วโลกอีกครั้ง "ทรัมป์ กล่าวในอาคารรัฐสภา บริเวณที่พิธีสาบานตนของเขาถูกจัดขึ้นในร่มเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ สืบเนื่องจากอากาศหนาวจัด . ประธานาธิบดีจากรีพับลิกันรายนี้ยังพาดพิงถึงกรณีที่กระสุนของมือสังหารที่เฉียดเข้าไป ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่เขาได้รับชัยชนะ ว่า "ผมได้รับการปกป้องจากพระเจ้า ให้ทำอเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง" . นอกจากเน้นย้ำคำสัญญาต่างๆ แล้ว ทรัมป์ได้ประณามอย่างดุเดือดต่อสิ่งที่เขาเรียกว่า "การทรยศหักหลังอเมริกา โดยสถาบันหัวรุนแรงและคอร์รัปชัน" ภายใต้ว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่กำลังพ้นจากตำแหน่ง "การเสื่อมถอยของอเมริกาจบลงแล้ว" . ไบเดน ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงน้ำชาต้อนรับ ทรัมป์ และเมลาเนีย ภรรยา ที่ทำเนียบขาว เฝ้ามองพิธีด้วยใบหน้าเรียบเฉย ระหว่างที่ศัตรูทางการเมืองของเขา กล่าวสุนทรพจน์โจมตียุคสมัยการดำรงตำแหน่งสมัยเดียวของเขา . นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังวางกรอบนโยบายต่างประเทศ บอกว่าเขาต้องการเป็นผู้สร้างสันติภาพและความเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่จากนั้นกลับบอกว่าสหรัฐฯ จะทวงคืนคลองปานามา และเตือนว่าจะใช้สงครามการค้าโดยอิสระเสรี พร้อมประกาศปักธงชาติอเมริกา บนดาวอังคาร . มหาเศรษฐีวัย 78 ปีรายนี้ ซึ่งกลายมาเป็นบุคคลมีอายุมากที่สุดที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เตรียมเริ่มต้นวาระการดำรงตำแหน่งสมัยล่าสุด ด้วยการเซ็นคำสั่งพิเศษต่างๆ "ผมจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ ณ ชายแดนทางใต้ของเรา" ติดกับเม็กซิโก ทรัมป์กล่าวท่ามกลางเสียงเชียร์ดังสนั่นหวั่นไหวในห้องประชุม Rotunda พร้อมประกาศขับไล่พวกผู้อพยพผิดกฎหมายหลายล้านคน . ทรัมป์ บอกว่ารัฐบาลของเขาจะยอมรับเพียง "2 เพศ เพศชายและเพศหญิง" ยุติแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันที่มองทางเลือกแก่เพศที่ 3 ในทางออกบางอย่าง ขณะเดียวกัน เขาจะถอนวอชิงตันออกจากข้อตกลงโลกร้อนปารีส ที่มีเป้าหมายหยุดภาวะโลกร้อน . ในขณะที่ ทรัมป์ เป็นเพียงคนวงนอกทางการเมืองครั้งที่สาบานตนรับตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017 ในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ แต่คราวนี้เขาถูกล้อมรอบด้วยกลุ่มคนมั่งมีและเหล่าคนทรงอิทธิพลของอเมริกา . อีลอน มัสก์ ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก บอสของเมตา เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งแอมะซอน และซันดาร์ พิชัย ซีอีโอของกูเกิล ทั้งหมดล้วนแต่ได้นั่งในเก้าอี้แถวหน้าในอาคารรัฐสภา เคียงข้างครอบครัวของทรัมป์และเหล่าคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ มัสก์ จะเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนลดค่าใช้จ่ายในรัฐบาลใหม่ . อดีตประธานาธิบดีอย่าง บารัค โอบามา จอร์จ ดับเบิลยู.บุช และ บิล คลินตัน ต่างเข้าร่วมพิธีพร้อมกับภริยา ยกเว้น มิเชล โอบามา อดีตสุภาพสตรีหมายเลย 1 ที่ไม่ได้เข้าร่วม . กลุ่มกองเชียร์เฝ้ามองพิธีสาบานตน ผ่านโทรศัพท์มือถือด้านนอกของอาคารัฐสภา จากปกติแล้วจะมีผู้คนหลายหมื่นคนเข้ามาร่วมพิธีทอดยาวไปจนถึงอุทยานเนชั่นแนล มอลล์ . หลังจาก ทรัมป์ เคยไม่ยอมเข้าร่วมพิธีสาบานตนของ ไบเดน ในปี 2021 อ้างว่ามีการโกงเลือกตั้ง จนกระทั่งปลุกปั่นให้พวกผู้สนับสนุนบุกจู่โจมอาคารรัฐสภา แต่คราวนี้ ไบเดน เลือกที่จะกลับคืนสู่บรรยากาศดั้งเดิม "ยินดีต้อนรับกลับบ้าน" ไบเดน บอกกับ ทรัมป์ ตอนที่เขาเดินทางมายังทำเนียบขาว เพื่อดื่มชา . ในช่วงท้ายๆ ก่อนอำลาตำแหน่งในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ไบเดน ได้เซ็นคำสั่งนิรโทษกรรมล่วงหน้าเป็นชุดๆ ให้แก่พวกลูกน้องและคู่สมรสของพวกเขา เพื่อปกป้องคนเหลานี้จากการถูกสืบสวนที่มีแรงจูงใจทางการเมือง . นอกจากนี้แล้ว เขายังนิรโทษกรรมให้แก่ แอนโทนี เฟาซี อดีตที่ปรึกษาโควิด-19 มาร์ค มิลลีย์ นายพลปลดเกษียณ และสมาชิกคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเหตุจลาจลโมตีอาคารรัฐสภา 6 มกราคม 2021 โดยฝีมือของพวกผู้สนับสนุนทรัมป์ . ทรัมป์ โจมตีในเรื่องดังกล่าวไม่นานหลังจากสาบานตนรับตำแหน่ง กล่าวอ้างว่า ไบเดน นิรโทษกรรมให้บุคคล "ที่มีความผิดในคดีอาญาที่ร้ายแรงมาก" . มหาเศรษฐีรายนี้กลายเป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่สามารถกลับมาครองอำนาจได้อีกสมัย หลังจากตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสมัยก่อนหน้านั้น โดยคนแรกได้แก่ โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในปี 1893 . สำหรับทั่วทั้งโลกแล้ว การกลับคืนสู่ตำแหน่งของ ทรัมป์ นั่นหมายความว่า พวกเขาคาดหมายได้เลยว่า ต้องเจอกับสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ . ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย แสดงความยินดีกับ ทรัมป์ ก่อนสาบานตน และบอกในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่าเขาเปิดกว้างสำหรับพูดคุยเกี่ยวกับความขัดแย้งยูเครน ซึ่ง ทรัมป์ ไม่ได้พาดพิงระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ . เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ก็แสดงความยินดีกับ ทรัมป์ เช่นกัน โดยบอกว่า "วันที่ดีที่สุดของความเป็นพันธมิตรระหว่างเรายังมาไม่ถึง" หลังจากก่อนหน้านี้ไม่นาน ทีมงานของทรัมป์ เพิ่งช่วยเป็นคนกลางบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ระหว่างอิสราเอลกับฮามาส . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006232 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1111 มุมมอง 0 รีวิว
  • บริษัท Robeauté จากปารีสได้ระดมทุนเกือบ 28 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาไมโครโรบ็อตขนาดเท่าเมล็ดข้าวที่สามารถช่วยศัลยแพทย์สมองในการผ่าตัดได้ โรบ็อตนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถเคลื่อนที่ได้เองและมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าไปในสมองโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่ละเอียดอ่อน

    โรบ็อตนี้จะถูกใช้ในการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อสำหรับการตรวจชิ้นเนื้อในขั้นต้น และในอนาคตอาจถูกใช้ในการส่งยาตรงไปยังส่วนต่างๆ ของสมองหรือฝังอิเล็กโทรดเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน

    Bertrand Duplat และ Joana Cartocci ผู้ก่อตั้ง Robeauté ได้พัฒนาโรบ็อตนี้หลังจากที่แม่ของ Duplat ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ พวกเขาใช้เวลาห้าปีในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้โดยทำงานร่วมกับห้องปฏิบัติการต่างๆ

    โรบ็อตนี้ได้รับการทดสอบในสัตว์ทดลองและศพมนุษย์ และหวังว่าจะเริ่มการทดสอบในมนุษย์ในปี 2026 โดยต้องได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ก่อน

    การพัฒนาโรบ็อตนี้เป็นก้าวสำคัญในการผ่าตัดสมองที่มีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการผ่าตัดและเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง

    https://www.techspot.com/news/106402-robots-size-rice-grains-aim-revolutionize-brain-surgery.html
    บริษัท Robeauté จากปารีสได้ระดมทุนเกือบ 28 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาไมโครโรบ็อตขนาดเท่าเมล็ดข้าวที่สามารถช่วยศัลยแพทย์สมองในการผ่าตัดได้ โรบ็อตนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถเคลื่อนที่ได้เองและมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าไปในสมองโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่ละเอียดอ่อน โรบ็อตนี้จะถูกใช้ในการเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อสำหรับการตรวจชิ้นเนื้อในขั้นต้น และในอนาคตอาจถูกใช้ในการส่งยาตรงไปยังส่วนต่างๆ ของสมองหรือฝังอิเล็กโทรดเพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน Bertrand Duplat และ Joana Cartocci ผู้ก่อตั้ง Robeauté ได้พัฒนาโรบ็อตนี้หลังจากที่แม่ของ Duplat ถูกวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ พวกเขาใช้เวลาห้าปีในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้โดยทำงานร่วมกับห้องปฏิบัติการต่างๆ โรบ็อตนี้ได้รับการทดสอบในสัตว์ทดลองและศพมนุษย์ และหวังว่าจะเริ่มการทดสอบในมนุษย์ในปี 2026 โดยต้องได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ก่อน การพัฒนาโรบ็อตนี้เป็นก้าวสำคัญในการผ่าตัดสมองที่มีความแม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการผ่าตัดและเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง https://www.techspot.com/news/106402-robots-size-rice-grains-aim-revolutionize-brain-surgery.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Robots the size of rice grains aim to revolutionize brain surgery
    Existing solutions often involve stiff, invasive tools that can cause major damage to sensitive brain tissue. Robeauté's bot, which is roughly the size of a grain of...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 314 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts