• "อยากทำตัวราวกับไม่แก่" 100 ปีมหาเธร์ โมฮัมหมัด

    ใครจะเชื่อว่าบนโลกนี้ยังมีนักการเมืองอายุยืนถึงเลขสามหลัก เฉกเช่นอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาเธร์ โมฮัมหมัด มีวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 100 ปีเมื่อวันที่ 10 ก.ค. แม้คำอวยพรจะล้นหลาม แต่เขายังคงทำงานตามปกติอยู่ในสำนักงานที่เมืองปุตราจายา แม้จะมีแขกผู้มาเยือนแต่ก็ไม่ได้จัดงานฉลองใหญ่โต มีเพียงคนในสำนักงานนำเค้กก้อนเล็กมอบให้พร้อมร้องเพลงวันเกิด ก่อนที่มหาเธร์จะให้แยกย้ายกลับไปทำงานตามปกติ เคล็ดลับที่ทำให้อายุยืนเขาเชื่อว่ามาจากการไม่สูบบุหรี่ ไม่กินมากเกินไป และออกกำลังกายทั้งกายและใจ รวมทั้งสมอง แม้จะมีประวัติโรคหัวใจ รวมถึงการผ่าตัดบายพาสสองครั้งก็ตาม

    นัยยะที่ทำให้คอการเมืองและผู้สนใจมาเลเซียจับตามอง คือการที่เขากล่าวผ่านพอร์ตแคสต์ว่า ตราบใดที่ยังทำหน้าที่ได้ ก็อยากจะทำหน้าที่ต่อไป อยากจะทำตัวให้ราวกับว่ายังไม่แก่ พยายามใช้ชีวิตแบบเดียวกับตอนที่ยังเด็ก ทำงาน มาที่ออฟฟิศ ไปงานต่างๆ และอะไรต่อมิอะไร คิดว่าการได้ออกกำลังกายคือสิ่งที่ทำให้มีชีวิตชีวา และว่า "ผมเป็นคนแอคทีฟมาตลอด ไม่เข้าใจว่าทำไมคนถึงอยากพักผ่อน หมายความว่าไปเที่ยวพักผ่อน ทำอะไรสักอย่าง ไปเที่ยวพักผ่อนที่ได้ทำอะไรบางอย่าง แต่บางคนเกษียณแล้วอยากพักผ่อน การพักผ่อนหมายความว่ายังไง ไม่ทำอะไรเลยเหรอ"

    จากเด็กชายที่เกิดในเมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดะห์ ทางภาคเหนือของมาเลเซีย เขาคือนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งถึง 2 สมัย ปี 2524-2546 และ 2561-2563 สร้างความเปลี่ยนแปลงในมาเลเซีย โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนเหนือ-ใต้ สาย E1-E2 สนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) ตึกแฝดปิโตรนาสที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการพัฒนา การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโทรคมนาคม ไฟฟ้า สายการบิน การสร้างแบรนด์รถยนต์แห่งชาติอย่างโปรตอน (Proton) กอบกู้ประเทศจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 เลือกพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ ควบคุมเงินทุนและกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิต ไม่พึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

    ถึงกระนั้น การเมืองในมาเลเซียไม่ได้ขาวสะอาด เต็มไปด้วยเกมชิงอำนาจ เส้นทางการเมืองของมหาเธร์ไม่สวยงามนัก เคยถูกตั้งคำถามจากฝ่ายค้านและกลุ่มเอ็นจีโอถึงการรวมอำนาจทางการเมือง กำจัดฝ่ายตรงข้าม จำกัดเสรีภาพประชาชน รวมทั้งในสายตาคนรุ่นใหม่ เชื่อว่ามนต์ขลังของมหาเธร์หมดลงแล้ว เป็นเพียงอดีตผู้นำชราที่ไม่โดนใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในปัจจุบันท่ามกลางปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น การขึ้นภาษี SST สงครามการค้ากับสหรัฐฯ การปฎิรูปการเมืองที่ล้มเหลว หากมหาเธร์จะกลับมาลงสนามเลือกตั้งในวัย 100 ปี จะไหวหรือไม่ ถามใจชาวมาเลเซียดู

    #Newskit
    "อยากทำตัวราวกับไม่แก่" 100 ปีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ใครจะเชื่อว่าบนโลกนี้ยังมีนักการเมืองอายุยืนถึงเลขสามหลัก เฉกเช่นอดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มหาเธร์ โมฮัมหมัด มีวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 100 ปีเมื่อวันที่ 10 ก.ค. แม้คำอวยพรจะล้นหลาม แต่เขายังคงทำงานตามปกติอยู่ในสำนักงานที่เมืองปุตราจายา แม้จะมีแขกผู้มาเยือนแต่ก็ไม่ได้จัดงานฉลองใหญ่โต มีเพียงคนในสำนักงานนำเค้กก้อนเล็กมอบให้พร้อมร้องเพลงวันเกิด ก่อนที่มหาเธร์จะให้แยกย้ายกลับไปทำงานตามปกติ เคล็ดลับที่ทำให้อายุยืนเขาเชื่อว่ามาจากการไม่สูบบุหรี่ ไม่กินมากเกินไป และออกกำลังกายทั้งกายและใจ รวมทั้งสมอง แม้จะมีประวัติโรคหัวใจ รวมถึงการผ่าตัดบายพาสสองครั้งก็ตาม นัยยะที่ทำให้คอการเมืองและผู้สนใจมาเลเซียจับตามอง คือการที่เขากล่าวผ่านพอร์ตแคสต์ว่า ตราบใดที่ยังทำหน้าที่ได้ ก็อยากจะทำหน้าที่ต่อไป อยากจะทำตัวให้ราวกับว่ายังไม่แก่ พยายามใช้ชีวิตแบบเดียวกับตอนที่ยังเด็ก ทำงาน มาที่ออฟฟิศ ไปงานต่างๆ และอะไรต่อมิอะไร คิดว่าการได้ออกกำลังกายคือสิ่งที่ทำให้มีชีวิตชีวา และว่า "ผมเป็นคนแอคทีฟมาตลอด ไม่เข้าใจว่าทำไมคนถึงอยากพักผ่อน หมายความว่าไปเที่ยวพักผ่อน ทำอะไรสักอย่าง ไปเที่ยวพักผ่อนที่ได้ทำอะไรบางอย่าง แต่บางคนเกษียณแล้วอยากพักผ่อน การพักผ่อนหมายความว่ายังไง ไม่ทำอะไรเลยเหรอ" จากเด็กชายที่เกิดในเมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดะห์ ทางภาคเหนือของมาเลเซีย เขาคือนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งถึง 2 สมัย ปี 2524-2546 และ 2561-2563 สร้างความเปลี่ยนแปลงในมาเลเซีย โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนเหนือ-ใต้ สาย E1-E2 สนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) ตึกแฝดปิโตรนาสที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการพัฒนา การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งโทรคมนาคม ไฟฟ้า สายการบิน การสร้างแบรนด์รถยนต์แห่งชาติอย่างโปรตอน (Proton) กอบกู้ประเทศจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 เลือกพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ ควบคุมเงินทุนและกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินริงกิต ไม่พึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ถึงกระนั้น การเมืองในมาเลเซียไม่ได้ขาวสะอาด เต็มไปด้วยเกมชิงอำนาจ เส้นทางการเมืองของมหาเธร์ไม่สวยงามนัก เคยถูกตั้งคำถามจากฝ่ายค้านและกลุ่มเอ็นจีโอถึงการรวมอำนาจทางการเมือง กำจัดฝ่ายตรงข้าม จำกัดเสรีภาพประชาชน รวมทั้งในสายตาคนรุ่นใหม่ เชื่อว่ามนต์ขลังของมหาเธร์หมดลงแล้ว เป็นเพียงอดีตผู้นำชราที่ไม่โดนใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในปัจจุบันท่ามกลางปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น การขึ้นภาษี SST สงครามการค้ากับสหรัฐฯ การปฎิรูปการเมืองที่ล้มเหลว หากมหาเธร์จะกลับมาลงสนามเลือกตั้งในวัย 100 ปี จะไหวหรือไม่ ถามใจชาวมาเลเซียดู #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 155 มุมมอง 0 รีวิว
  • อาการหนัก! เปิด 10 โรคทักษิณ นอนชั้น 14 ก็ไม่หาย
    https://www.thai-tai.tv/news/20171/
    .
    #ทักษิณ #พิชิตไชยมงคล #คปท #การเมืองไทย #ข่าวการเมือง #ประเทศไทย #พรรคเพื่อไทย #รัฐบาล #นักโทษเทวดา #ปฎิรูปการเมือง
    อาการหนัก! เปิด 10 โรคทักษิณ นอนชั้น 14 ก็ไม่หาย https://www.thai-tai.tv/news/20171/ . #ทักษิณ #พิชิตไชยมงคล #คปท #การเมืองไทย #ข่าวการเมือง #ประเทศไทย #พรรคเพื่อไทย #รัฐบาล #นักโทษเทวดา #ปฎิรูปการเมือง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 40 มุมมอง 0 รีวิว
  • Turun Anwar ม็อบไล่นายกฯ มาเลย์

    การเมืองในอาเซียน นอกจากประเทศไทยจะมีการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่ง กรณีคลิปเสียง ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ในลักษณะขายชาติแล้ว นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ที่เป็นประธานอาเซียน และมีทักษิณ ชินวัตร บิดาแพทองธารเป็นที่ปรึกษา ก็ยังมีการชุมนุมเรียกร้องให้ลาออกเช่นกัน

    เมื่อวันที่ 6 ก.ค. มีการชุมนุมเล็กๆ บริเวณลานจอดรถของโรงแรมคอนคอร์ด เชคชันไนน์ ในเมืองชาห์อาลัม รัฐสลังงอร์ เพื่อเรียกร้องให้อันวาร์ลาออก โดยมีป้ายข้อความว่า Turun Anwar (อันวาร์ลาออกเถอะ) Rakyat Susah (ประชาชนกำลังดิ้นรน) และ Rakyat Terbeban (ประชาชนมีภาระหนัก) โดยผู้ชุมนุมแสดงความกังวลถึงปัญหาหลายประการ รวมถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการขยายกรอบภาษีการขายและบริการ (SST) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา

    แกนนำประกอบด้วย มูฮัมหมัด ราชิด อาลี หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของพรรคเปอจวง (Pejuang) ที่ก่อตั้งโดยอดีตนายกฯ มหาเธร์ โมฮัมหมัด, ฮานิฟ จามาลุดดิน รองหัวหน้ากลุ่มเยาวชนของพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือพาส (Pemuda PAS) พรรคการเมืองเก่าแก่และพรรคอิสลามหนึ่งเดียวของประเทศ, เอซัม นอร์ อดีตสมาชิกพรรคยุติธรรมประชาชน (PKR), อาซามุดดิน ซาฮาร์ ประธานกลุ่มพันธมิตรนักศึกษาอิสลามแห่งมาเลเซีย (Gamis) เป็นต้น

    ฮานีฟ กล่าวว่า เป็นเพียงการชุมนุมย่อยเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ ที่วางแผนไว้ว่าจะจัดขึ้นที่จตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ 26 ก.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีเอ็นจีโอและผู้นำทางการเมืองอื่นๆ เข้าร่วม อาทิ อดีตนายกรัฐมนตรี มหาธีร์ โมฮัมหมัด, ประธานพรรคเบอร์ซาตู (Bersatu) มูฮิดดิน ยาสซิน และประธานพรรคปาส อับดุล ฮาดิ อาวัง เป็นต้น

    ขณะที่ เอซัม กล่าวว่า ประชาชนผิดหวังกับความเป็นผู้นำของอันวาร์ ไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ขณะเป็นฝ่ายค้าน เช่น การลดราคาน้ำมัน ยืนยันว่าไม่ได้ต่อสู้กับทางการและตำรวจ แต่ต้องการให้รัฐบาลได้ยินเสียงของผู้ชุมนุม เมื่อก่อนมีแต่คนธรรมดาเท่านั้นที่โกรธ ตอนนี้แม้แต่คนรวยก็ยังโกรธด้วยเพราะต้องเสียภาษีต่างๆ อีกมาก

    ก่อนหน้านี้ อาหมัด ฟาฎลี ชาอารี หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของพรรคพาส กล่าวกับเว็บไซต์ harakahdaily.net เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่า การชุมนุมในวันที่ 26 ก.ค. นอกจากต่อต้านร่างพระราชบัญญัติการฟื้นฟูเมือง (URA) แล้ว จะชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล เช่น การปฎิรูปการเมืองล้มเหลว การปิดกั้นเสรีภาพ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ห่างไกลจากแนวทางของรัฐบาล Malaysia Madani ไปแล้ว

    #Newskit
    Turun Anwar ม็อบไล่นายกฯ มาเลย์ การเมืองในอาเซียน นอกจากประเทศไทยจะมีการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่ง กรณีคลิปเสียง ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ในลักษณะขายชาติแล้ว นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ที่เป็นประธานอาเซียน และมีทักษิณ ชินวัตร บิดาแพทองธารเป็นที่ปรึกษา ก็ยังมีการชุมนุมเรียกร้องให้ลาออกเช่นกัน เมื่อวันที่ 6 ก.ค. มีการชุมนุมเล็กๆ บริเวณลานจอดรถของโรงแรมคอนคอร์ด เชคชันไนน์ ในเมืองชาห์อาลัม รัฐสลังงอร์ เพื่อเรียกร้องให้อันวาร์ลาออก โดยมีป้ายข้อความว่า Turun Anwar (อันวาร์ลาออกเถอะ) Rakyat Susah (ประชาชนกำลังดิ้นรน) และ Rakyat Terbeban (ประชาชนมีภาระหนัก) โดยผู้ชุมนุมแสดงความกังวลถึงปัญหาหลายประการ รวมถึงค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการขยายกรอบภาษีการขายและบริการ (SST) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา แกนนำประกอบด้วย มูฮัมหมัด ราชิด อาลี หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของพรรคเปอจวง (Pejuang) ที่ก่อตั้งโดยอดีตนายกฯ มหาเธร์ โมฮัมหมัด, ฮานิฟ จามาลุดดิน รองหัวหน้ากลุ่มเยาวชนของพรรคอิสลามแห่งมาเลเซีย หรือพาส (Pemuda PAS) พรรคการเมืองเก่าแก่และพรรคอิสลามหนึ่งเดียวของประเทศ, เอซัม นอร์ อดีตสมาชิกพรรคยุติธรรมประชาชน (PKR), อาซามุดดิน ซาฮาร์ ประธานกลุ่มพันธมิตรนักศึกษาอิสลามแห่งมาเลเซีย (Gamis) เป็นต้น ฮานีฟ กล่าวว่า เป็นเพียงการชุมนุมย่อยเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ ที่วางแผนไว้ว่าจะจัดขึ้นที่จตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในวันที่ 26 ก.ค. ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีเอ็นจีโอและผู้นำทางการเมืองอื่นๆ เข้าร่วม อาทิ อดีตนายกรัฐมนตรี มหาธีร์ โมฮัมหมัด, ประธานพรรคเบอร์ซาตู (Bersatu) มูฮิดดิน ยาสซิน และประธานพรรคปาส อับดุล ฮาดิ อาวัง เป็นต้น ขณะที่ เอซัม กล่าวว่า ประชาชนผิดหวังกับความเป็นผู้นำของอันวาร์ ไม่สามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้ขณะเป็นฝ่ายค้าน เช่น การลดราคาน้ำมัน ยืนยันว่าไม่ได้ต่อสู้กับทางการและตำรวจ แต่ต้องการให้รัฐบาลได้ยินเสียงของผู้ชุมนุม เมื่อก่อนมีแต่คนธรรมดาเท่านั้นที่โกรธ ตอนนี้แม้แต่คนรวยก็ยังโกรธด้วยเพราะต้องเสียภาษีต่างๆ อีกมาก ก่อนหน้านี้ อาหมัด ฟาฎลี ชาอารี หัวหน้าฝ่ายข้อมูลของพรรคพาส กล่าวกับเว็บไซต์ harakahdaily.net เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่า การชุมนุมในวันที่ 26 ก.ค. นอกจากต่อต้านร่างพระราชบัญญัติการฟื้นฟูเมือง (URA) แล้ว จะชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาล เช่น การปฎิรูปการเมืองล้มเหลว การปิดกั้นเสรีภาพ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ห่างไกลจากแนวทางของรัฐบาล Malaysia Madani ไปแล้ว #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว