• อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าผู้จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน
    สัทธรรมลำดับที่ : 309
    ชื่อบทธรรม :- จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=309
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน
    --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ
    ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”
    --มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ
    อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก
    เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
    เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.
    ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ ;

    +--แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ,
    นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.
    +--เมื่อนันทิ มีอยู่,
    สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมี ;
    +--เมื่อสาราคะ มีอยู่,
    สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์-มโนกรรม) ย่อมมี ;
    --มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว
    ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล
    เราเรียกว่า “#ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”.

    (ในกรณีแห่ง
    เสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี,
    กลิ่น ทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี,
    รส ทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี,
    โผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี,
    และธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี,
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกัน
    กับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ
    ).

    --มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ
    อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย
    มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน
    เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม,
    +--ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.
    +--ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    ข้อนั้นเพราะเหตุว่า #ตัณหานั่นแลเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ;
    +--ตัณหา นั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น
    ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง
    ดังนี้.-

    #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/34/66.
    http://etipitaka.com/read/thai/18/34/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%96
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖.
    http://etipitaka.com/read/pali/18/43/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%96
    ศึกษาเพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=309
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=20&id=309
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=20
    ลำดับสาธยายธรรม : 20 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_20.mp3
    อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าผู้จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน สัทธรรมลำดับที่ : 309 ชื่อบทธรรม :- จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=309 เนื้อความทั้งหมด :- --จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน --“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?” --มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ ; +--แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ, นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. +--เมื่อนันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมี ; +--เมื่อสาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์-มโนกรรม) ย่อมมี ; --มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “#ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”. (ในกรณีแห่ง เสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่น ทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี, รส ทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ ). --มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม, +--ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง. +--ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า #ตัณหานั่นแลเป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ; +--ตัณหา นั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ดังนี้.- #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/34/66. http://etipitaka.com/read/thai/18/34/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๔๓/๖๖. http://etipitaka.com/read/pali/18/43/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%96 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=309 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=20&id=309 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=20 ลำดับสาธยายธรรม : 20 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_20.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน
    -จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?” มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ ; แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ, นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อนันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมมี ; เมื่อสาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี ; มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”. (ในกรณีแห่ง เสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี, กลิ่น ทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี, รส ทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี, และธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ). มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะ อันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม, ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ; ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง ดังนี้.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 108 มุมมอง 0 รีวิว