• ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้
    “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน
    รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน
    ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย
    ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย
    ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย”

    วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก

    ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้

    และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง

    คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด

    นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย

    โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย

    สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ:
    https://www.arsomsiam.com/guanzhong/
    https://mgronline.com/china/detail/9570000117129
    http://www.inewhorizon.net/8456123-2/

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html
    https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs
    https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172
    https://www.sohu.com/a/604599137_121124389
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html

    #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    ก่วนจือ ปรัชญาเศรษฐศาสตร์สมัยฉิน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูถึงตอนจบของเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> คงได้ผ่านตาฉากที่องค์ไทฮองไทเฮาทรงสอนให้อิงหวางทุ่มเทความสามารถเพื่อรับใช้ชาติและฮ่องเต้น้อยได้ตรัสออกมาหลายวรรค ฟังดูเป็นหลักปรัชญาการปกครอง วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน Storyฯ ไม่ได้ดูภาคซับไทยก็ไม่ทราบว่าแปลกันไว้ว่าอย่างไร ขอแปลเองง่ายๆ อย่างนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน ประชาชนชังความเหนื่อยยากวิตกกังวล ควรทำให้พวกเขาสุขใจสบายกาย ประชาชนชังความยากจน ควรทำให้พวกเขาร่ำรวย ประชาชนชังภยันตราย ควรทำให้พวกเขาปลอดภัย” วรรคเหล่านี้มาจากหนังสือที่ชื่อว่า ‘ก่วนจือ’ (管子) เป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่ถูกรวบรวมและเรียบเรียงขึ้นในสมัยฉินโดยอัครมหาเสนาบดีก่วนจ้งแห่งแคว้นฉี นักปราชญ์และนักการเมืองผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสมัยชุนชิว (ไม่ทราบปีเกิด มรณะปี 645 ก่อนคริสตกาล) เรียกได้ว่าเป็นหนังสือปรัชญาการปกครองและเศรษฐศาสตร์ที่มีขึ้นก่อนฝั่งชาติตะวันตกหลายร้อยปี ปัจจุบันได้ถูกแปลไปหลากหลายภาษาทั่วโลก เป็นหนังสือที่โด่งดังเล่มหนึ่งของโลก ก่วนจือมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งหลักการปกครอง เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ โดยมีพื้นฐานจากแนวคิดที่ว่า การที่ประเทศจะพัฒนาและรุ่งเรืองได้ ปากท้องของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ และมีการลงรายละเอียดว่าด้วยการบริหารจัดการด้านการเกษตรและการค้าขาย หนังสือเล่มนี้ยาว 86 บรรพ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 76 บรรพ อีก 10 บรรพสูญหายไปเหลือไว้ให้เห็นแค่สารบัญ มีบทความไทยและอังกฤษหลายบทความที่คุยถึงก่วนจือนี้ในหลากหลายมุมมอง (เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือกว้าง) รวมถึงกล่าวถึงชีวประวัติของก่วนจ้ง Storyฯ ยกตัวอย่างแปะลิ้งค์ไว้ข้างล่าง เชิญเข้าไปอ่านเพิ่มเติมกันเองได้ และวรรคที่ซีรีส์ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ยกมานี้ อยู่ในบรรพแรกที่เรียกว่า ‘มู่หมิน’ (牧民 / Shepherding the People / การดูแลประชาชน) ซึ่งแบ่งเป็นหลายตอนย่อย โดยมาจากตอนที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ (四顺 / ซื่อซุ่น) เนื้อหาของตอนนี้ก็คือว่า ผู้มีอำนาจปกครองต้องเข้าใจว่าประชาชนโดยทั่วไปมี ‘สี่ชัง’ คือชังความยากลำบาก ความจน การต้องอยู่ท่ามกลางภยันตราย และการถูกกวาดล้างฆ่า และมี ‘สี่อยาก’ คืออยากสุขสบาย ร่ำรวย ปลอดภัย และได้ตั้งรกรากสร้างครอบครัวมีลูกหลาน และเมื่อผู้มีอำนาจปกครองเข้าใจถึง ‘สี่ชัง’ และ ‘สี่อยาก’ แล้ว หากสามารถจัดการบริหารบ้านเมืองและสังคมให้สอดคล้องกัน บ้านเมืองก็จะเจริญก้าวหน้าประเทศรุ่งเรือง หรือที่เรียกว่า ‘สี่คล้อยตาม’ นั่นเอง คงจะกล่าวได้ว่า ความคิดที่ถูกกลั่นกรองเรียบเรียงเป็นบทหนังสือมาสองสามพันปีแล้วนี้ ยังคงสะท้อนถึงแก่นแท้ของจิตใจคนและปัญหาความยากในการบริหารบ้านเมืองที่ยังเป็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใด นอกจากนี้ “รัฐรุ่งเรืองได้ เมื่อตามใจชน รัฐล่มสลายได้ เมื่อขัดใจชน” ยังได้กลายมาเป็นวลีเด็ดผ่านกาลสมัย ถูกนำไปใช้ในหลายโอกาส มันเคยปรากฏในสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิงในการประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนอีกด้วย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ ไม่ค่อยชอบพล็อตเรื่องของ <ทำนองรักกังวานแดนดิน> สักเท่าไหร่ แต่ยอมรับเลยว่ามันแฝงปรัชญาข้อคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะผ่านคำพูดของไทฮองไทเฮา ที่เป็นประโยชน์ต่อการเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามที่พึงกระทำในหน้าที่ของตน ไม่ใช่แค่ในบริบทของการบริหารบ้านเมือง แต่ยังใช้ได้ในบริบทขององค์กรบริษัทต่างๆ ได้อีกด้วย สุดท้าย ขอต้อนรับปีใหม่พร้อมกับคำอวยพรให้เพื่อนเพจได้พบเจอกับ ‘สี่อยาก’ และห่างไกลจาก ‘สี่ชัง’ ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์ไปบทความเกี่ยวกับก่วนจ้งและหนังสือก่วนจือ: https://www.arsomsiam.com/guanzhong/ https://mgronline.com/china/detail/9570000117129 http://www.inewhorizon.net/8456123-2/ Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.brtvent.com/?list_4/2430.html https://dzrb.dzng.com/articleContent/1158_759894.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/guanzi/mu-min/zhs https://baike.baidu.com/item/管子·牧民/19831172 https://www.sohu.com/a/604599137_121124389 http://www.chinaknowledge.de/Literature/Diverse/guanzi.html #ทำนองรักกังวานแดนดิน #ก่วนจือ #ก่วนจ้ง #ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ #สาระจีน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 297 Views 0 Reviews