• 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่

    ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ

    และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย

    แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว?

    เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย

    ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน

    อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต

    เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ

    (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf
    http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1
    http://www.guoxue.com/?p=792

    #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว? เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1 http://www.guoxue.com/?p=792 #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 583 มุมมอง 0 รีวิว
  • จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 511 มุมมอง 0 รีวิว