• ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป

    ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

    ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้

    สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย)

    ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่

    สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า

    เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    ด่านปาดังเบซาร์ วันนี้ที่เปลี่ยนไป ใกล้จะครบรอบ 1 ปี สำหรับการกลับมาเปิดใช้สะพานลอยปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ.2567 เป็นต้นมา ซึ่งเชื่อมระหว่างศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ตรงข้ามด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา กับสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ที่มีรถไฟ KTM Komuter ไปสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง และรถไฟ ETS ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ถ้ามาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ หรือรัฐปีนังด้วยรถไฟ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ เมื่อออกจากประตูอัตโนมัติ (ACG) จะพบกับบรรดาโชเฟอร์แท็กซี่และรถตู้ไปหาดใหญ่ คนละ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) แต่มีป้ายบอกทางระบุเป็นภาษาไทยและภาษามาเลย์ว่า "ออกจากเมือง ไปด่านตรวจคนเข้าเมือง (ICQS) และไปศูนย์การค้า NIAGA ปาดังเบซาร์" โดยลูกศรชี้ไปที่สะพานลอยที่เปิดขึ้นมา ถ้าไม่ได้ใช้บริการรถไฟไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็ใช้สะพานลอยแห่งนี้ สะพานลอยดังกล่าวไปออกวงเวียนปาดังเบซาร์ ซึ่งจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้างไปส่งถึงฝั่งประเทศไทย ค่าโดยสาร 10 ริงกิต แต่ถ้าจะเดินเข้าไปเองก็ทำได้แต่ไกลหน่อย ศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 06.00-22.00 น. ส่วนด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย เปิด 05.00-21.00 น. (เวลาไทย) ด้านพื้นที่การค้าย่านวงเวียนปาดังเบซาร์ พบว่ามีร้านมิสเตอร์ดีไอวาย (มาเลเซีย) เปิดอยู่ใกล้กับวงเวียน ตามมาด้วยอาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า Arked Niaga ศูนย์การค้า Plaza Niaga และศูนย์การค้า Padang Waremart แต่ก็มีศูนย์การค้าเปิดใหม่ด้านในสุด คือ Padang Besar Street ที่มีศูนย์อาหาร Border Kitchen และร้าน Tealive ตั้งอยู่ สำหรับร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) มีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ ร้าน Warisan Limpahan เป็นอาคารพาณิชย์ใกล้ Arked Niaga จำหน่ายน้ำหอม สุรา และบุหรี่ แต่การรับสินค้าหลังชำระเงินแล้ว ต้องนำใบเสร็จไปรับที่ห้องกระจกหลังผ่านจุดลงตราประทับ โดยจะมีพนักงานตามไปส่งสินค้าด้วยจักรยานยนต์ ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The ZON Duty Free อยู่เลยศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ไปแล้ว ก่อนถึงด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทย ด้านในคล้ายกับห้างสรรพสินค้า เมื่อออกจากด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ ประเทศไทยแล้ว มีจุดจอดรถตู้บริเวณตรงข้ามด่าน ค่าโดยสารคนละ 70 บาท รถออกเที่ยวแรก 06.30 น. เที่ยวสุดท้าย 17.30 น. (เวลาไทย) หากต้องการส่งพัสดุไปรษณีย์ จะมีที่ทำการไปรษณีย์ปาดังเบซาร์ อยู่ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรปาดังเบซาร์ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 08.30-17.00 น. วันเสาร์ 09.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee

    หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี

    ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร

    ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้

    แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง

    สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568

    #Newskit
    ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568 เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้ แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 411 มุมมอง 0 รีวิว
  • การรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย เปิดเดินรถขบวนพิเศษ "มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน" มายังหาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. เผยผู้โดยสารจองตั๋วแล้วกว่า 70%

    วันนี้ (29 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก KTM Berhad ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย โพสต์ภาพบรรยากาศการเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน (My Sawasdee Penang Edition) เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางหลักของทั้งสองสถานี และเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและไทย

    ทั้งนี้ ขบวนรถไฟมายสวัสดี ปีนัง อิดิชัน ให้บริการทุกวันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568 ผ่านสถานีบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam) สถานีสุไหงเปตานี (Sungai Petani) สถานีอลอร์สตาร์ (Alor Setar) สถานีอาเรา (Arau) และสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ซึ่งในวันแรกของการให้บริการ KTM Berhad ได้มอบของที่ระลึกจำนวน 200 ชุด เพื่อแสดงความขอบคุณแก่สื่อมวลชนและผู้โดยสารที่สนับสนุนบริการของ KTM Berhad อย่างต่อเนื่อง

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000124875

    #MGROnline #การรถไฟมาลายา #ประเทศมาเลเซีย
    การรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย เปิดเดินรถขบวนพิเศษ "มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน" มายังหาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. เผยผู้โดยสารจองตั๋วแล้วกว่า 70% • วันนี้ (29 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก KTM Berhad ของการรถไฟมาลายา ประเทศมาเลเซีย โพสต์ภาพบรรยากาศการเปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษที่ชื่อว่า มาย สวัสดี ปีนัง อิดิชัน (My Sawasdee Penang Edition) เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางหลักของทั้งสองสถานี และเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิดระหว่างมาเลเซียและไทย • ทั้งนี้ ขบวนรถไฟมายสวัสดี ปีนัง อิดิชัน ให้บริการทุกวันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ถึงวันที่ 5 ม.ค. 2568 ผ่านสถานีบูกิตเมอร์ตาจัม (Bukit Mertajam) สถานีสุไหงเปตานี (Sungai Petani) สถานีอลอร์สตาร์ (Alor Setar) สถานีอาเรา (Arau) และสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ซึ่งในวันแรกของการให้บริการ KTM Berhad ได้มอบของที่ระลึกจำนวน 200 ชุด เพื่อแสดงความขอบคุณแก่สื่อมวลชนและผู้โดยสารที่สนับสนุนบริการของ KTM Berhad อย่างต่อเนื่อง • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000124875 • #MGROnline #การรถไฟมาลายา #ประเทศมาเลเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 246 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย

    เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย

    สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง

    ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย

    นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย

    เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้

    #Newskit
    ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้ #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1081 มุมมอง 0 รีวิว
  • โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู

    โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง

    เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้

    แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว

    โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570

    ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน

    #Newskit #Gemas #KTMB
    โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้ แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568 อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน #Newskit #Gemas #KTMB
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 893 มุมมอง 0 รีวิว
  • KTM Go Cashless รถไฟมาเลเซียไร้เงินสด

    การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์แคมเปญ Go Cashless หรือ Komuniti Tanpa Tunai (สังคมไร้เงินสด) ให้ผู้ใช้บริการรถไฟทุกประเภทซื้อตั๋วรถไฟ ชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปฯ เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และประตูอัตโนมัติ (ACG) ของทุกสถานี พร้อมกับออกบูธจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานีต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้บริการ และจะงดรับเงินสดเต็มรูปแบบในระยะถัดไป

    • การซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์สถานี ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย Klang Valley และสาย Utara รถไฟทางไกล ETS และ KTM Intercity สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit ที่ออกโดยสถาบันการเงินในมาเลเซีย บัตร VISA และ Mastercard และ KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) ส่วนผู้ถือบัตร Komuter Link ใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter

    • การซื้อตั๋วล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน KTMB Mobile เลือกชำระได้ทั้ง KTM Wallet, บัตร VISA และ Mastercard, บัตรเดบิต MyDebit, Touch 'n Go eWallet, Boost Wallet และคิวอาร์โค้ด DuitNow

    • การซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Kiosk) สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, คิวอาร์โค้ด DuitNow, อีวอลเล็ต Boost Wallet และ Touch 'n Go eWallet

    • การเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) รองรับทั้งบัตร Komuter Link, บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, บัตร Touch 'n Go, Google Pay, Apple Pay และ Samsung Pay

    ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตร VISA และ Mastercard เข้าสู่ประตูอัตโนมัติ (ACG) ระบบจะกันวงเงินบัตรไว้ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) และจะได้รับคืนภายหลัง ส่วนอีวอลเล็ต KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter เท่านั้น

    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถสมัครสมาชิก KTMB Mobile (KITS) เพื่อซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ โดยใช้หนังสือเดินทางเป็นหลักฐาน ส่วนการซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และการเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) ด้วยบัตร VISA และ Mastercard ควรสอบถามธนาคารผู้ออกบัตรว่าใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่

    หรือสมัครบัตรที่ไม่เสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% มีทั้งบัตร Travel Card เช่น YouTrip, Planet SCB, Krungsri Boarding Card หรือบัตรเดบิต เช่น Chill D CIMB Thai, ttb all free, Krungthai Travel Mastercard Debit, KBank Journey Travel Card เป็นต้น

    #Newskit #KTMB #GoCashless
    KTM Go Cashless รถไฟมาเลเซียไร้เงินสด การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย กำลังรณรงค์แคมเปญ Go Cashless หรือ Komuniti Tanpa Tunai (สังคมไร้เงินสด) ให้ผู้ใช้บริการรถไฟทุกประเภทซื้อตั๋วรถไฟ ชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเงินสด ผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว ช่องทางออนไลน์ผ่านแอปฯ เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และประตูอัตโนมัติ (ACG) ของทุกสถานี พร้อมกับออกบูธจัดกิจกรรมโรดโชว์ตามสถานีต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้ใช้บริการ และจะงดรับเงินสดเต็มรูปแบบในระยะถัดไป • การซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์สถานี ทั้งรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter สาย Klang Valley และสาย Utara รถไฟทางไกล ETS และ KTM Intercity สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit ที่ออกโดยสถาบันการเงินในมาเลเซีย บัตร VISA และ Mastercard และ KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) ส่วนผู้ถือบัตร Komuter Link ใช้ได้เฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter • การซื้อตั๋วล่วงหน้าผ่านช่องทางออนไลน์ แอปพลิเคชัน KTMB Mobile เลือกชำระได้ทั้ง KTM Wallet, บัตร VISA และ Mastercard, บัตรเดบิต MyDebit, Touch 'n Go eWallet, Boost Wallet และคิวอาร์โค้ด DuitNow • การซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ (Ticket Kiosk) สามารถใช้บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, คิวอาร์โค้ด DuitNow, อีวอลเล็ต Boost Wallet และ Touch 'n Go eWallet • การเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) รองรับทั้งบัตร Komuter Link, บัตรเดบิต MyDebit, บัตร VISA และ Mastercard, บัตร Touch 'n Go, Google Pay, Apple Pay และ Samsung Pay ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตร VISA และ Mastercard เข้าสู่ประตูอัตโนมัติ (ACG) ระบบจะกันวงเงินบัตรไว้ 30 ริงกิต (ประมาณ 231 บาท) และจะได้รับคืนภายหลัง ส่วนอีวอลเล็ต KTM Wallet ใน KTMB Mobile (KITS) รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง KTM Komuter เท่านั้น สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถสมัครสมาชิก KTMB Mobile (KITS) เพื่อซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ โดยใช้หนังสือเดินทางเป็นหลักฐาน ส่วนการซื้อตั๋วที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ และการเข้าสู่ระบบรถไฟผ่านประตูอัตโนมัติ (ACG) ด้วยบัตร VISA และ Mastercard ควรสอบถามธนาคารผู้ออกบัตรว่าใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่ หรือสมัครบัตรที่ไม่เสียค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน 2.5% มีทั้งบัตร Travel Card เช่น YouTrip, Planet SCB, Krungsri Boarding Card หรือบัตรเดบิต เช่น Chill D CIMB Thai, ttb all free, Krungthai Travel Mastercard Debit, KBank Journey Travel Card เป็นต้น #Newskit #KTMB #GoCashless
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 748 มุมมอง 0 รีวิว