#ของว่างที่เฝ้ารอกับคำขออย่างสุดท้าย
ความหมายของการมีชีวิตคืออะไร หนังสือเล่มนี้จะเป็นเล่มหนึ่งที่พาคุณไปเที่ยวชมและร่วมเรียนรู้ไปกับการแสวงหาความสำคัญของการอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ของใครอีกหลายคนในสภาวะที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ ด้วยโรคร้ายกัดกินจนใกล้วาระสุดท้าย ก่อนลมหายใจจะดับลง
สนพ.piccolo พิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นปี 2019
ฉบับแปลไทย เม.ย.2567
โอกาวะ อิโตะ เขียน
ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์ แปล
223 หน้า 285 บาท
ตลอดทั้งเล่มเต็มไปด้วยความอบอวลของความรักระหว่างมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน รวมไปถึงมนุษย์ที่มีต่อสัตว์และสัตว์เองก็แสดงตอบต่อด้วยความซื่อตรง
เนื้อหากล่าวถึงหญิงสาวคนหนึ่งนามว่า อูมิโนะ ชิสุกุ ซึ่งมีวัย 33 ปี ชีวิตที่ผ่านมาของเธออ่อนโยนต่อคนรอบข้างมาโดยตลอดตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะพ่อบุญธรรมที่รับเลี้ยงเธอซึ่งสูญเสียพ่อแม่ไปตั้งแต่เล็ก แม้จะไม่ใช่บุพการีที่ให้กำเนิด แต่มอบความรักดูแลเอาใจใส่อย่างดี ทว่าวันหนึ่งเมื่อเธอพบว่าตนมีโรคร้ายเกาะกิน แม้นจะพยายามรักษา ต่อสู้ด้วยตนเองหลังแยกมาอยู่คนเดียว แต่สุดท้ายบั้นปลายชีวิต ต้องทำใจยอมรับความจริงว่ามีเวลาเหลืออยู่บนโลกนี้ได้อีกไม่นาน ไม่อยากให้พ่อต้องเดือดร้อนและเศร้าใจเพราะทราบความจริง จึงเลือกที่จะไม่บอกแล้วตระเตรียมแผนล่วงหน้าสำหรับรับมือกับความตายที่กำลังย่างกรายมาถึง ด้วยการตัดสินใจเดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ที่สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เกาะเลมอนซึ่งรายล้อมด้วยทะเลเงียบสงบและงดงาม เต็มไปด้วยธรรมชาติและอากาศอันสดชื่นบริสุทธิ์ มีไร่องุ่น กับท้องฟ้าสีครามและท้องทะเลสีน้ำเงินที่เธอชอบและใฝ่ฝัน เป็นสถานที่เธอเลือกเพราะคิดว่าเหมาะสมตรงกับรสนิยมความชอบของตนมากที่สุด
ชื่อของสถานที่ดังกล่าวคือบ้านพักสิงโต เปรียบได้กับดินแดนสุขาวดีที่มีเทวดานางฟ้าคอยให้การต้อนรับดูแลด้วยหัวใจ โดยเฉพาะเจ้าของสถานที่สาวซึ่งมีนามว่ามาดอนน่า เป็นหญิงมหัศจรรย์ที่มีน้ำใจงาม มีความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลทั้งทางด้านร่างกายที่เจ็บไข้ของผู้ป่วย และเยียวยาด้านจิตใจไปพร้อมกัน
ณ สถานที่แห่งนี้เอง ในบ้านพักบนเกาะห่างไกล ที่ซึ่งชิสุกุไม่เคยคาดฝันว่าจะได้พบกับความรักอีกครั้ง กับชายหนุ่มน่ารัก สุภาพและวัยใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังอดตะลึงไปกับห้องพักส่วนตัวที่แสนสบายท่ามกลางบรรยากาศราวสรวงสวรรค์ เธอได้เรียนรู้ว่าไม่ใช่เฉพาะตัวเองเท่านั้นที่ประสบกับภาวะทุกข์โศกจากโรคภัยที่กำลังจะพรากลมหายใจอันหวงแหนให้หลุดลอยไป แต่ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกหลายคนทั้งชายหญิง วัยเด็กหรือแม้กระทั่งวัยสูงอายุ แต่ละคนล้วนมีอาการทรมานที่ไม่น้อยไปกว่าเธอ บางคนเป็นมากกว่าด้วย
ชิสุกุได้สัมผัสกับมิตรภาพและวิญญาณภายในของเพื่อนต่างวัย ที่ตอนแรกเธอพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่คบคุ้นด้วย ยังมีเจ้าสุนัขแสนรู้น่ารักเพศเมียอีกตัวหนึ่งเล่า ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยชุบชูหัวใจอันอ่อนล้าของหญิงสาว ให้ยอมเปิดใจและคลายวงล้อมของป้อมปราการที่ขังตัวเองจากทุกคนลงได้ หมาตัวนี้มีชื่อว่า รกกะ เจ้าของเดิมเคยมาพำนักอยู่ที่บ้านสิงโตเมื่อนานมาแล้ว และหลังจากเธอคนนั้นจากไป ทุกคนก้ช่วยกันดูแลรกกะต่อมา
จนกระทั่ง รกกะ ได้พบกับชิสุกุ ทั้งคู่ถูกชะตากันตั้งแต่วันแรกที่ได้พบ หลังจากนั้นก็อยู่ด้วยกันตลอด รกกะเป็นเสมือนตู้ยาเคลื่อนที่ซึ่งช่วยให้ชิสุกุต่อสู้กับความเจ็บปวดโดยยังสามารถปรากฏรอยยิ้มอยู่ได้
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มาพักที่นี่ทุกคนต่างเฝ้ารอที่จะให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ นั่นคือการได้มีกิจกรรมกินของว่างร่วมกันในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพียงหนึ่งครั้งในรอบเจ็ดวัน โดยทุกคนมีสิทธิเท่ากันคนละ1เสียง ที่สามารถเขียนใส่กระดาษเพื่อบอกเล่าถึงขนมที่ตนชื่นชอบและอยากกินมากที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย แล้วคำขอเหล่านั้นจะถูกจับฉลากขึ้นมาหนึ่งใบ คำขอของใครก็ตามที่โชคดี แม่ครัวจะแกะสูตรแล้วทำออกมาให้เหมือนหรือใกล้เคียงที่สุด เพื่อจะเสิร์ฟให้กับทุกคนได้ชิมกัน
อย่างไรก็ตาม วันที่ต้องจากลาย่อมบ่ายหน้ามาถึงเพื่อนแต่ละคน ในห้วงเวลาเช่นนั้น ทั้งเขาหรือเธอรวมทั้งชิสุกุเอง มีวิธีรับมือระหว่างเผชิญหน้ากับความเสื่อมสลายของสังขาร ที่ค่อย ๆ ทรุดโทรมและดับสิ้นไปทีละน้อยอย่างไร นี่คือสิ่งที่ผู้อ่านจะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับตัวละครในเรื่อง
ถ้าคุณเคยประทับใจมาแล้วกับ ร้านเครื่องเขียนนั้นใต้ต้นสึบากิ นี่คืออีกเล่มหนึ่งที่น่าลองหามาอ่านครับ โดยเฉพาะคนที่กำลังเผชิญกับความเจ็บป่วยอยู่ หรือแม้ผู้ดูแลคนป่วยเอง แต่ถึงแม้จะไม่ได้ป่วยเลย แต่การได้ทำความเข้าใจกับเรื่องราวเหล่านี้ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้เขียนบรรยายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดเผยเรื่องราวทีละน้อย แล้วไต่ระดับไปอย่างช้า ๆ อารมณ์ของเรื่องไม่ใช่จะมีแต่เปลี่ยวเหงา โศกเศร้า ทดท้อ เจ็บแค้น และสิ้นหวังเพียงเท่านั้น แต่ยังมีความเบิกบานหรรษา อิ่มเอม อบอุ่น เปี่ยมหวัง ให้อภัย สงบสุข คละเคล้าจนกลายเป็นส่วนผสมที่น่าศึกษา มีความละมุนละไมไปพร้อม ๆ กับการได้เห็นถึงความจริงอันเป็นสัจธรรมของชีวิต
เพราะความเจ็บป่วยนั้นเกิดมีได้กับคนทุกคน แต่มีไม่กี่คนเท่านัั้นจะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างดี และจัดวางภาระทุกอย่างให้อยู่ถูกที่ถูกทาง ในขณะที่เตรียมพร้อมจะปล่อยวางร่างกายนี้ ซึ่งตนหวงแหนประหนึ่งคือสมบัติของเราจริง ๆ ยามเมื่อเวลานั้นมาถึง
#thaitimes
#หนังสือน่าอ่าน
#นิยายแปล
#นิยายญี่ปุ่น
#ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
#เตรียมตัวตาย
#การดูแลผู้ป่วย
#หนังสือดี
ความหมายของการมีชีวิตคืออะไร หนังสือเล่มนี้จะเป็นเล่มหนึ่งที่พาคุณไปเที่ยวชมและร่วมเรียนรู้ไปกับการแสวงหาความสำคัญของการอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ของใครอีกหลายคนในสภาวะที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ ด้วยโรคร้ายกัดกินจนใกล้วาระสุดท้าย ก่อนลมหายใจจะดับลง
สนพ.piccolo พิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นปี 2019
ฉบับแปลไทย เม.ย.2567
โอกาวะ อิโตะ เขียน
ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์ แปล
223 หน้า 285 บาท
ตลอดทั้งเล่มเต็มไปด้วยความอบอวลของความรักระหว่างมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน รวมไปถึงมนุษย์ที่มีต่อสัตว์และสัตว์เองก็แสดงตอบต่อด้วยความซื่อตรง
เนื้อหากล่าวถึงหญิงสาวคนหนึ่งนามว่า อูมิโนะ ชิสุกุ ซึ่งมีวัย 33 ปี ชีวิตที่ผ่านมาของเธออ่อนโยนต่อคนรอบข้างมาโดยตลอดตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะพ่อบุญธรรมที่รับเลี้ยงเธอซึ่งสูญเสียพ่อแม่ไปตั้งแต่เล็ก แม้จะไม่ใช่บุพการีที่ให้กำเนิด แต่มอบความรักดูแลเอาใจใส่อย่างดี ทว่าวันหนึ่งเมื่อเธอพบว่าตนมีโรคร้ายเกาะกิน แม้นจะพยายามรักษา ต่อสู้ด้วยตนเองหลังแยกมาอยู่คนเดียว แต่สุดท้ายบั้นปลายชีวิต ต้องทำใจยอมรับความจริงว่ามีเวลาเหลืออยู่บนโลกนี้ได้อีกไม่นาน ไม่อยากให้พ่อต้องเดือดร้อนและเศร้าใจเพราะทราบความจริง จึงเลือกที่จะไม่บอกแล้วตระเตรียมแผนล่วงหน้าสำหรับรับมือกับความตายที่กำลังย่างกรายมาถึง ด้วยการตัดสินใจเดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ที่สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เกาะเลมอนซึ่งรายล้อมด้วยทะเลเงียบสงบและงดงาม เต็มไปด้วยธรรมชาติและอากาศอันสดชื่นบริสุทธิ์ มีไร่องุ่น กับท้องฟ้าสีครามและท้องทะเลสีน้ำเงินที่เธอชอบและใฝ่ฝัน เป็นสถานที่เธอเลือกเพราะคิดว่าเหมาะสมตรงกับรสนิยมความชอบของตนมากที่สุด
ชื่อของสถานที่ดังกล่าวคือบ้านพักสิงโต เปรียบได้กับดินแดนสุขาวดีที่มีเทวดานางฟ้าคอยให้การต้อนรับดูแลด้วยหัวใจ โดยเฉพาะเจ้าของสถานที่สาวซึ่งมีนามว่ามาดอนน่า เป็นหญิงมหัศจรรย์ที่มีน้ำใจงาม มีความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลทั้งทางด้านร่างกายที่เจ็บไข้ของผู้ป่วย และเยียวยาด้านจิตใจไปพร้อมกัน
ณ สถานที่แห่งนี้เอง ในบ้านพักบนเกาะห่างไกล ที่ซึ่งชิสุกุไม่เคยคาดฝันว่าจะได้พบกับความรักอีกครั้ง กับชายหนุ่มน่ารัก สุภาพและวัยใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังอดตะลึงไปกับห้องพักส่วนตัวที่แสนสบายท่ามกลางบรรยากาศราวสรวงสวรรค์ เธอได้เรียนรู้ว่าไม่ใช่เฉพาะตัวเองเท่านั้นที่ประสบกับภาวะทุกข์โศกจากโรคภัยที่กำลังจะพรากลมหายใจอันหวงแหนให้หลุดลอยไป แต่ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกหลายคนทั้งชายหญิง วัยเด็กหรือแม้กระทั่งวัยสูงอายุ แต่ละคนล้วนมีอาการทรมานที่ไม่น้อยไปกว่าเธอ บางคนเป็นมากกว่าด้วย
ชิสุกุได้สัมผัสกับมิตรภาพและวิญญาณภายในของเพื่อนต่างวัย ที่ตอนแรกเธอพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่คบคุ้นด้วย ยังมีเจ้าสุนัขแสนรู้น่ารักเพศเมียอีกตัวหนึ่งเล่า ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยชุบชูหัวใจอันอ่อนล้าของหญิงสาว ให้ยอมเปิดใจและคลายวงล้อมของป้อมปราการที่ขังตัวเองจากทุกคนลงได้ หมาตัวนี้มีชื่อว่า รกกะ เจ้าของเดิมเคยมาพำนักอยู่ที่บ้านสิงโตเมื่อนานมาแล้ว และหลังจากเธอคนนั้นจากไป ทุกคนก้ช่วยกันดูแลรกกะต่อมา
จนกระทั่ง รกกะ ได้พบกับชิสุกุ ทั้งคู่ถูกชะตากันตั้งแต่วันแรกที่ได้พบ หลังจากนั้นก็อยู่ด้วยกันตลอด รกกะเป็นเสมือนตู้ยาเคลื่อนที่ซึ่งช่วยให้ชิสุกุต่อสู้กับความเจ็บปวดโดยยังสามารถปรากฏรอยยิ้มอยู่ได้
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มาพักที่นี่ทุกคนต่างเฝ้ารอที่จะให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ นั่นคือการได้มีกิจกรรมกินของว่างร่วมกันในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพียงหนึ่งครั้งในรอบเจ็ดวัน โดยทุกคนมีสิทธิเท่ากันคนละ1เสียง ที่สามารถเขียนใส่กระดาษเพื่อบอกเล่าถึงขนมที่ตนชื่นชอบและอยากกินมากที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย แล้วคำขอเหล่านั้นจะถูกจับฉลากขึ้นมาหนึ่งใบ คำขอของใครก็ตามที่โชคดี แม่ครัวจะแกะสูตรแล้วทำออกมาให้เหมือนหรือใกล้เคียงที่สุด เพื่อจะเสิร์ฟให้กับทุกคนได้ชิมกัน
อย่างไรก็ตาม วันที่ต้องจากลาย่อมบ่ายหน้ามาถึงเพื่อนแต่ละคน ในห้วงเวลาเช่นนั้น ทั้งเขาหรือเธอรวมทั้งชิสุกุเอง มีวิธีรับมือระหว่างเผชิญหน้ากับความเสื่อมสลายของสังขาร ที่ค่อย ๆ ทรุดโทรมและดับสิ้นไปทีละน้อยอย่างไร นี่คือสิ่งที่ผู้อ่านจะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับตัวละครในเรื่อง
ถ้าคุณเคยประทับใจมาแล้วกับ ร้านเครื่องเขียนนั้นใต้ต้นสึบากิ นี่คืออีกเล่มหนึ่งที่น่าลองหามาอ่านครับ โดยเฉพาะคนที่กำลังเผชิญกับความเจ็บป่วยอยู่ หรือแม้ผู้ดูแลคนป่วยเอง แต่ถึงแม้จะไม่ได้ป่วยเลย แต่การได้ทำความเข้าใจกับเรื่องราวเหล่านี้ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้เขียนบรรยายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดเผยเรื่องราวทีละน้อย แล้วไต่ระดับไปอย่างช้า ๆ อารมณ์ของเรื่องไม่ใช่จะมีแต่เปลี่ยวเหงา โศกเศร้า ทดท้อ เจ็บแค้น และสิ้นหวังเพียงเท่านั้น แต่ยังมีความเบิกบานหรรษา อิ่มเอม อบอุ่น เปี่ยมหวัง ให้อภัย สงบสุข คละเคล้าจนกลายเป็นส่วนผสมที่น่าศึกษา มีความละมุนละไมไปพร้อม ๆ กับการได้เห็นถึงความจริงอันเป็นสัจธรรมของชีวิต
เพราะความเจ็บป่วยนั้นเกิดมีได้กับคนทุกคน แต่มีไม่กี่คนเท่านัั้นจะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างดี และจัดวางภาระทุกอย่างให้อยู่ถูกที่ถูกทาง ในขณะที่เตรียมพร้อมจะปล่อยวางร่างกายนี้ ซึ่งตนหวงแหนประหนึ่งคือสมบัติของเราจริง ๆ ยามเมื่อเวลานั้นมาถึง
#thaitimes
#หนังสือน่าอ่าน
#นิยายแปล
#นิยายญี่ปุ่น
#ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
#เตรียมตัวตาย
#การดูแลผู้ป่วย
#หนังสือดี
#ของว่างที่เฝ้ารอกับคำขออย่างสุดท้าย
ความหมายของการมีชีวิตคืออะไร หนังสือเล่มนี้จะเป็นเล่มหนึ่งที่พาคุณไปเที่ยวชมและร่วมเรียนรู้ไปกับการแสวงหาความสำคัญของการอยากมีชีวิตอยู่ต่อไป ของใครอีกหลายคนในสภาวะที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ ด้วยโรคร้ายกัดกินจนใกล้วาระสุดท้าย ก่อนลมหายใจจะดับลง
สนพ.piccolo พิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นปี 2019
ฉบับแปลไทย เม.ย.2567
โอกาวะ อิโตะ เขียน
ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์ แปล
223 หน้า 285 บาท
ตลอดทั้งเล่มเต็มไปด้วยความอบอวลของความรักระหว่างมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน รวมไปถึงมนุษย์ที่มีต่อสัตว์และสัตว์เองก็แสดงตอบต่อด้วยความซื่อตรง
เนื้อหากล่าวถึงหญิงสาวคนหนึ่งนามว่า อูมิโนะ ชิสุกุ ซึ่งมีวัย 33 ปี ชีวิตที่ผ่านมาของเธออ่อนโยนต่อคนรอบข้างมาโดยตลอดตั้งแต่ยังเด็ก โดยเฉพาะพ่อบุญธรรมที่รับเลี้ยงเธอซึ่งสูญเสียพ่อแม่ไปตั้งแต่เล็ก แม้จะไม่ใช่บุพการีที่ให้กำเนิด แต่มอบความรักดูแลเอาใจใส่อย่างดี ทว่าวันหนึ่งเมื่อเธอพบว่าตนมีโรคร้ายเกาะกิน แม้นจะพยายามรักษา ต่อสู้ด้วยตนเองหลังแยกมาอยู่คนเดียว แต่สุดท้ายบั้นปลายชีวิต ต้องทำใจยอมรับความจริงว่ามีเวลาเหลืออยู่บนโลกนี้ได้อีกไม่นาน ไม่อยากให้พ่อต้องเดือดร้อนและเศร้าใจเพราะทราบความจริง จึงเลือกที่จะไม่บอกแล้วตระเตรียมแผนล่วงหน้าสำหรับรับมือกับความตายที่กำลังย่างกรายมาถึง ด้วยการตัดสินใจเดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ที่สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่เกาะเลมอนซึ่งรายล้อมด้วยทะเลเงียบสงบและงดงาม เต็มไปด้วยธรรมชาติและอากาศอันสดชื่นบริสุทธิ์ มีไร่องุ่น กับท้องฟ้าสีครามและท้องทะเลสีน้ำเงินที่เธอชอบและใฝ่ฝัน เป็นสถานที่เธอเลือกเพราะคิดว่าเหมาะสมตรงกับรสนิยมความชอบของตนมากที่สุด
ชื่อของสถานที่ดังกล่าวคือบ้านพักสิงโต เปรียบได้กับดินแดนสุขาวดีที่มีเทวดานางฟ้าคอยให้การต้อนรับดูแลด้วยหัวใจ โดยเฉพาะเจ้าของสถานที่สาวซึ่งมีนามว่ามาดอนน่า เป็นหญิงมหัศจรรย์ที่มีน้ำใจงาม มีความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลทั้งทางด้านร่างกายที่เจ็บไข้ของผู้ป่วย และเยียวยาด้านจิตใจไปพร้อมกัน
ณ สถานที่แห่งนี้เอง ในบ้านพักบนเกาะห่างไกล ที่ซึ่งชิสุกุไม่เคยคาดฝันว่าจะได้พบกับความรักอีกครั้ง กับชายหนุ่มน่ารัก สุภาพและวัยใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังอดตะลึงไปกับห้องพักส่วนตัวที่แสนสบายท่ามกลางบรรยากาศราวสรวงสวรรค์ เธอได้เรียนรู้ว่าไม่ใช่เฉพาะตัวเองเท่านั้นที่ประสบกับภาวะทุกข์โศกจากโรคภัยที่กำลังจะพรากลมหายใจอันหวงแหนให้หลุดลอยไป แต่ยังมีเพื่อนร่วมชะตากรรมอีกหลายคนทั้งชายหญิง วัยเด็กหรือแม้กระทั่งวัยสูงอายุ แต่ละคนล้วนมีอาการทรมานที่ไม่น้อยไปกว่าเธอ บางคนเป็นมากกว่าด้วย
ชิสุกุได้สัมผัสกับมิตรภาพและวิญญาณภายในของเพื่อนต่างวัย ที่ตอนแรกเธอพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่คบคุ้นด้วย ยังมีเจ้าสุนัขแสนรู้น่ารักเพศเมียอีกตัวหนึ่งเล่า ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยชุบชูหัวใจอันอ่อนล้าของหญิงสาว ให้ยอมเปิดใจและคลายวงล้อมของป้อมปราการที่ขังตัวเองจากทุกคนลงได้ หมาตัวนี้มีชื่อว่า รกกะ เจ้าของเดิมเคยมาพำนักอยู่ที่บ้านสิงโตเมื่อนานมาแล้ว และหลังจากเธอคนนั้นจากไป ทุกคนก้ช่วยกันดูแลรกกะต่อมา
จนกระทั่ง รกกะ ได้พบกับชิสุกุ ทั้งคู่ถูกชะตากันตั้งแต่วันแรกที่ได้พบ หลังจากนั้นก็อยู่ด้วยกันตลอด รกกะเป็นเสมือนตู้ยาเคลื่อนที่ซึ่งช่วยให้ชิสุกุต่อสู้กับความเจ็บปวดโดยยังสามารถปรากฏรอยยิ้มอยู่ได้
สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มาพักที่นี่ทุกคนต่างเฝ้ารอที่จะให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ นั่นคือการได้มีกิจกรรมกินของว่างร่วมกันในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ เพียงหนึ่งครั้งในรอบเจ็ดวัน โดยทุกคนมีสิทธิเท่ากันคนละ1เสียง ที่สามารถเขียนใส่กระดาษเพื่อบอกเล่าถึงขนมที่ตนชื่นชอบและอยากกินมากที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย แล้วคำขอเหล่านั้นจะถูกจับฉลากขึ้นมาหนึ่งใบ คำขอของใครก็ตามที่โชคดี แม่ครัวจะแกะสูตรแล้วทำออกมาให้เหมือนหรือใกล้เคียงที่สุด เพื่อจะเสิร์ฟให้กับทุกคนได้ชิมกัน
อย่างไรก็ตาม วันที่ต้องจากลาย่อมบ่ายหน้ามาถึงเพื่อนแต่ละคน ในห้วงเวลาเช่นนั้น ทั้งเขาหรือเธอรวมทั้งชิสุกุเอง มีวิธีรับมือระหว่างเผชิญหน้ากับความเสื่อมสลายของสังขาร ที่ค่อย ๆ ทรุดโทรมและดับสิ้นไปทีละน้อยอย่างไร นี่คือสิ่งที่ผู้อ่านจะได้ร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกันกับตัวละครในเรื่อง
ถ้าคุณเคยประทับใจมาแล้วกับ ร้านเครื่องเขียนนั้นใต้ต้นสึบากิ นี่คืออีกเล่มหนึ่งที่น่าลองหามาอ่านครับ โดยเฉพาะคนที่กำลังเผชิญกับความเจ็บป่วยอยู่ หรือแม้ผู้ดูแลคนป่วยเอง แต่ถึงแม้จะไม่ได้ป่วยเลย แต่การได้ทำความเข้าใจกับเรื่องราวเหล่านี้ก็ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้เขียนบรรยายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เปิดเผยเรื่องราวทีละน้อย แล้วไต่ระดับไปอย่างช้า ๆ อารมณ์ของเรื่องไม่ใช่จะมีแต่เปลี่ยวเหงา โศกเศร้า ทดท้อ เจ็บแค้น และสิ้นหวังเพียงเท่านั้น แต่ยังมีความเบิกบานหรรษา อิ่มเอม อบอุ่น เปี่ยมหวัง ให้อภัย สงบสุข คละเคล้าจนกลายเป็นส่วนผสมที่น่าศึกษา มีความละมุนละไมไปพร้อม ๆ กับการได้เห็นถึงความจริงอันเป็นสัจธรรมของชีวิต
เพราะความเจ็บป่วยนั้นเกิดมีได้กับคนทุกคน แต่มีไม่กี่คนเท่านัั้นจะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างดี และจัดวางภาระทุกอย่างให้อยู่ถูกที่ถูกทาง ในขณะที่เตรียมพร้อมจะปล่อยวางร่างกายนี้ ซึ่งตนหวงแหนประหนึ่งคือสมบัติของเราจริง ๆ ยามเมื่อเวลานั้นมาถึง
#thaitimes
#หนังสือน่าอ่าน
#นิยายแปล
#นิยายญี่ปุ่น
#ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
#เตรียมตัวตาย
#การดูแลผู้ป่วย
#หนังสือดี