• found & found โออาร์จับธุรกิจความงาม

    ในขณะที่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ตัดสินใจปิดตัวร้านไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น (Texas Chicken) หนึ่งในธุรกิจนอนออยล์ที่ขณะนี้มีไม่ถึง 100 สาขา ในวันที่ 30 ก.ย. 2567 ที่จะถึงนี้ อีกด้านหนึ่ง หันมาจับธุรกิจไลฟ์สไตล์ ด้วยการเปิดร้านฟาวด์ แอนด์ ฟาวด์ (found & found) ร้านค้าปลีกด้านสินค้าสุขภาพและความงาม สาขาแรกที่ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคาร B เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ตามมาด้วยสาขาพีทีที สเตชั่น สายไหม 56 เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2567 ต่อด้วยสาขาพีทีที สเตชั่น บรมราชชนนี 97 และสาขาล่าสุด โออาร์ สเปซ รามคำแหง 129

    ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท โออาร์ เฮลท์ แอนด์ เวลเนส จำกัด หรือ ORHW มีพันธมิตรหลักได้แก่ สุกิ โฮลดิ้งส์ (Suki Holdings) จากญี่ปุ่น และ คอนวี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (Konvy International) เจ้าของร้านขายเครื่องสำอางออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมี นายรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศรีจันทร์สหโอสถ เจ้าของแบรนด์ SRICHAND เป็นกรรมการบริษัทอีกด้วย มีแผนเปิดให้บริการ 10 สาขาภายในปี 2567 และขยายเป็น 500 สาขาภายในปี 2573 เน้นไปที่พีทีที สเตชั่น และคอมมูนิตี้มอลล์

    สำหรับร้านฟาวด์ แอนด์ ฟาวด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามจากประเทศไทย รวมทั้งนำเข้าจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อาทิ เครื่องสำอาง สกินแคร์ อาหารเสริม และวิตามิน จัดวางสินค้าตามการดูแลผิว 5 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความสะอาดผิว (Cleanse) การเตรียมผิว (Prep) การบำรุงผิว (Treat) การเติมผิวให้ชุ่มชื้น (Moisturize) และการป้องกันผิว (Protect) พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม หรือ บีเอ (Beauty Advisor) ให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์

    ส่วนสมาชิกบลูพลัส (blueplus+) ที่มีมากกว่า 8 ล้านราย สามารถสมัครสมาชิกผ่านไลน์ @foundnfound ของทางร้าน แล้วเชื่อมต่อระบบสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนผ่านการแจ้งเบอร์โทรศัพท์มือถือ ยอดซื้อทุก 25 บาทรับคะแนนสะสม 1 คะแนน และคะแนนสะสมบลูพลัสทุก 100 คะแนน มีมูลค่าแทนส่วนลดเงินสด 20 บาท นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชันพิเศษในแอปพลิเคชัน xplORe อีกด้วย

    ปัจจุบันการแข่งขันร้านค้าปลีกด้านสินค้าสุขภาพและความงามมีวัตสัน (Watsons) เป็นเจ้าตลาดในไทยด้วยจำนวนกว่า 700 สาขา ตามมาด้วยบู๊ทส์ (Boots) ราว 280 สาขา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มค้าปลีกชิงส่วนแบ่งตลาด อาทิ กลุ่มเซ็นทรัล มีร้านมัทสึคิโยะ (Matsukiyo) และแผนกลุกส์ (LOOKS) ในท็อปส์ เครือสหพัฒน์มีร้านซูรูฮะ (Tsuruha) และซีเจ เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป มีร้านเครื่องสำอางไนน์บิวตี้ (NINE Beauty) เป็นต้น

    #Newskit #foundnfound #OR
    found & found โออาร์จับธุรกิจความงาม ในขณะที่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ตัดสินใจปิดตัวร้านไก่ทอด เท็กซัส ชิคเก้น (Texas Chicken) หนึ่งในธุรกิจนอนออยล์ที่ขณะนี้มีไม่ถึง 100 สาขา ในวันที่ 30 ก.ย. 2567 ที่จะถึงนี้ อีกด้านหนึ่ง หันมาจับธุรกิจไลฟ์สไตล์ ด้วยการเปิดร้านฟาวด์ แอนด์ ฟาวด์ (found & found) ร้านค้าปลีกด้านสินค้าสุขภาพและความงาม สาขาแรกที่ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ อาคาร B เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ตามมาด้วยสาขาพีทีที สเตชั่น สายไหม 56 เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2567 ต่อด้วยสาขาพีทีที สเตชั่น บรมราชชนนี 97 และสาขาล่าสุด โออาร์ สเปซ รามคำแหง 129 ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท โออาร์ เฮลท์ แอนด์ เวลเนส จำกัด หรือ ORHW มีพันธมิตรหลักได้แก่ สุกิ โฮลดิ้งส์ (Suki Holdings) จากญี่ปุ่น และ คอนวี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (Konvy International) เจ้าของร้านขายเครื่องสำอางออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมี นายรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศรีจันทร์สหโอสถ เจ้าของแบรนด์ SRICHAND เป็นกรรมการบริษัทอีกด้วย มีแผนเปิดให้บริการ 10 สาขาภายในปี 2567 และขยายเป็น 500 สาขาภายในปี 2573 เน้นไปที่พีทีที สเตชั่น และคอมมูนิตี้มอลล์ สำหรับร้านฟาวด์ แอนด์ ฟาวด์ จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามจากประเทศไทย รวมทั้งนำเข้าจากญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อาทิ เครื่องสำอาง สกินแคร์ อาหารเสริม และวิตามิน จัดวางสินค้าตามการดูแลผิว 5 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความสะอาดผิว (Cleanse) การเตรียมผิว (Prep) การบำรุงผิว (Treat) การเติมผิวให้ชุ่มชื้น (Moisturize) และการป้องกันผิว (Protect) พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม หรือ บีเอ (Beauty Advisor) ให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ ส่วนสมาชิกบลูพลัส (blueplus+) ที่มีมากกว่า 8 ล้านราย สามารถสมัครสมาชิกผ่านไลน์ @foundnfound ของทางร้าน แล้วเชื่อมต่อระบบสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนผ่านการแจ้งเบอร์โทรศัพท์มือถือ ยอดซื้อทุก 25 บาทรับคะแนนสะสม 1 คะแนน และคะแนนสะสมบลูพลัสทุก 100 คะแนน มีมูลค่าแทนส่วนลดเงินสด 20 บาท นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชันพิเศษในแอปพลิเคชัน xplORe อีกด้วย ปัจจุบันการแข่งขันร้านค้าปลีกด้านสินค้าสุขภาพและความงามมีวัตสัน (Watsons) เป็นเจ้าตลาดในไทยด้วยจำนวนกว่า 700 สาขา ตามมาด้วยบู๊ทส์ (Boots) ราว 280 สาขา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มค้าปลีกชิงส่วนแบ่งตลาด อาทิ กลุ่มเซ็นทรัล มีร้านมัทสึคิโยะ (Matsukiyo) และแผนกลุกส์ (LOOKS) ในท็อปส์ เครือสหพัฒน์มีร้านซูรูฮะ (Tsuruha) และซีเจ เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป มีร้านเครื่องสำอางไนน์บิวตี้ (NINE Beauty) เป็นต้น #Newskit #foundnfound #OR
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 797 มุมมอง 0 รีวิว
  • (ว่าที่) เซ็นทรัล บางรัก โรบินสันในตำนาน

    เมื่อวันก่อนร้านแมคโดนัลด์ ภายในอาคารโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า สาขาเซ็นทรัล บางรัก ออกแบบดีไซน์ ‘Geometry’ พร้อมเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (SOK- Self Ordering Kiosk), บริการชำระเงินแบบไร้เงินสด, พนักงานต้อนรับ (GEL – Guest Experience Leader), บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ (Table Service) และ บริการฟรี Wifi เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เมนูอาหารเช้าเริ่มจำหน่ายเวลา 05.00-11.00 น. และเมนูไก่ทอดแมคเริ่มจำหน่ายเวลา 11.00-05.00 น.

    เหตุผลที่แมคโดนัลด์ใช้คำว่าสาขาเซ็นทรัล บางรัก เพราะอีกไม่นาน ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก ที่มีอายุประมาณ 32 ปี จะเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางรัก ตามกลยุทธ์ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทยอยเปลี่ยนห้างโรบินสันบางสาขาเป็นห้างเซ็นทรัล มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เริ่มจากสาขาแรกเมกาบางนา ตามมาด้วยสาขาอุดรธานี ขอนแก่น และแฟชั่นไอส์แลนด์

    ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าขนาด 5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ที่ผ่านมาได้ทยอยปรับปรุงพื้นที่มาตั้งแต่กลางปี 2567 โดยใช้อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของห้างเซ็นทรัลแทน เป็นสาขาในกลุ่ม Black Tier ระดับเดียวกับสาขาลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา จับกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ เป็นรองก็แค่สาขาชิดลมที่้เป็นระดับ Rose Gold Tier ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับ A+ ขึ้นไปและลูกค้าชาวต่างชาติ

    การปรับโฉมครั้งนี้ทำให้ห้างโรบินสัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหลือสาขาพระราม 9 สุขุมวิท ลาดกระบัง รังสิต ศรีสมาน ราชพฤกษ์ และสมุทรปราการ ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดสาขาศรีนครินทร์ เพราะไม่ต่อสัญญาเช่ากับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถึงกระนั้นห้างเซ็นทรัลและโรบินสัน ยังคงจัดโปรโมชันร่วมกัน มีบริการผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนตัว (Personal Shopper) โทร. 1425 การจำหน่ายสินค้าผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และ Central App

    ทำเลห้างโรบินสัน บางรักในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน และท่าเรือสาทร ใกล้แหล่งอาคารสำนักงานย่านสีลมและสาทร ใกล้โรงแรมหรูอย่างโรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ ใกล้สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังมีศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่มีเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือสาทร ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่กลุ่มเซ็นทรัลไม่ปล่อยให้หลุดมือง่ายๆ

    #Newskit #CentralBangrak #RobinsonBangrak
    (ว่าที่) เซ็นทรัล บางรัก โรบินสันในตำนาน เมื่อวันก่อนร้านแมคโดนัลด์ ภายในอาคารโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาโฉมใหม่ใช้ชื่อว่า สาขาเซ็นทรัล บางรัก ออกแบบดีไซน์ ‘Geometry’ พร้อมเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติ (SOK- Self Ordering Kiosk), บริการชำระเงินแบบไร้เงินสด, พนักงานต้อนรับ (GEL – Guest Experience Leader), บริการเสิร์ฟอาหารที่โต๊ะ (Table Service) และ บริการฟรี Wifi เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง เมนูอาหารเช้าเริ่มจำหน่ายเวลา 05.00-11.00 น. และเมนูไก่ทอดแมคเริ่มจำหน่ายเวลา 11.00-05.00 น. เหตุผลที่แมคโดนัลด์ใช้คำว่าสาขาเซ็นทรัล บางรัก เพราะอีกไม่นาน ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก ที่มีอายุประมาณ 32 ปี จะเปลี่ยนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางรัก ตามกลยุทธ์ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ทยอยเปลี่ยนห้างโรบินสันบางสาขาเป็นห้างเซ็นทรัล มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้เข้ากับสภาพตลาดและทำเล เน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยทำงานมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เริ่มจากสาขาแรกเมกาบางนา ตามมาด้วยสาขาอุดรธานี ขอนแก่น และแฟชั่นไอส์แลนด์ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก เปิดสาขาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 เป็นอาคารห้างสรรพสินค้าขนาด 5 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ที่ผ่านมาได้ทยอยปรับปรุงพื้นที่มาตั้งแต่กลางปี 2567 โดยใช้อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ของห้างเซ็นทรัลแทน เป็นสาขาในกลุ่ม Black Tier ระดับเดียวกับสาขาลาดพร้าว ปิ่นเกล้า บางนา จับกลุ่มลูกค้าระดับไฮเอนด์ เป็นรองก็แค่สาขาชิดลมที่้เป็นระดับ Rose Gold Tier ที่เจาะกลุ่มลูกค้าระดับ A+ ขึ้นไปและลูกค้าชาวต่างชาติ การปรับโฉมครั้งนี้ทำให้ห้างโรบินสัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหลือสาขาพระราม 9 สุขุมวิท ลาดกระบัง รังสิต ศรีสมาน ราชพฤกษ์ และสมุทรปราการ ซึ่งก่อนหน้านี้ปิดสาขาศรีนครินทร์ เพราะไม่ต่อสัญญาเช่ากับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ถึงกระนั้นห้างเซ็นทรัลและโรบินสัน ยังคงจัดโปรโมชันร่วมกัน มีบริการผู้ช่วยช้อปปิ้งส่วนตัว (Personal Shopper) โทร. 1425 การจำหน่ายสินค้าผ่านเซ็นทรัลออนไลน์ และ Central App ทำเลห้างโรบินสัน บางรักในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน และท่าเรือสาทร ใกล้แหล่งอาคารสำนักงานย่านสีลมและสาทร ใกล้โรงแรมหรูอย่างโรงแรมแชงกรีล่า โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเลอบัว แอท สเตททาวเวอร์ ใกล้สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอัสสัมชัญ รวมทั้งฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายังมีศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่มีเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือสาทร ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่กลุ่มเซ็นทรัลไม่ปล่อยให้หลุดมือง่ายๆ #Newskit #CentralBangrak #RobinsonBangrak
    Like
    Wow
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 834 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดฉากบิ๊กซีราษฎร์บูรณะ ไม่ต่อที่ดินกลุ่มเซ็นทรัล

    ก่อนหน้านี้ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) ซึ่งเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ในอดีต ล่าสุด นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ จะเปิดให้บริการ 31 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ซึ่งจะย้ายไปยังทำเลใหม่ที่ใกล้เคียง เป็นทำเลทองติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่ดิน Freehold (ที่ดินกรรมสิทธิ์) ในกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2568

    นับเป็นการเปิดฉากยุติสัญญาเช่าที่ดินกับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างชัดเจน พร้อมกับปิดตำนานห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ ที่เปิดให้บริการมานานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่เปิดวันแรก 10 พ.ย. 2537 เดิมคือห้างเซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ สาขาที่สองต่อจากสาขาวงศ์สว่าง แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเปิดห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เป็นสาขาแรก เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2537 จึงต้องเปลี่ยนเป็นบิ๊กซี จากรายงานประจำปี 2556 ของบิ๊กซี พบว่าบริษัท เซ็นทรัลซูเปอร์สโตร์ จำกัด เช่าที่ดินกับบริษัท เซ็นทรัล ธนบุรี จำกัด บริษัทในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 พ.ค. 2538 ถึง 30 เม.ย. 2568

    น่าสังเกตว่า ห้างบิ๊กซีบนที่ดินและสิทธิการเช่าของกลุ่มเซ็นทรัลจะอยู่หรือไป เช่น บิ๊กซี โคราช จ.นครราชสีมา เช่ากับบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 ธ.ค. 2539 ถึง 30 พ.ย. 2569 บิ๊กซี ขอนแก่น เช่ากับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 17 ก.ค. 2539 (ถึง 16 ก.ค. 2569) และยังมีบิ๊กซี วงศ์สว่าง ในมาร์เก็ตเพลสวงศ์สว่าง บิ๊กซี หัวหมาก ในหัวหมากทาวน์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี แฟชั่นไอส์แลนด์ ที่้เช่าช่วงจากสรรพสินค้าเซ็นทรัล บิ๊กซี พัทยาในเซ็นทรัลมารีน่า และบิ๊กซี ชลบุรี 3 ในเซ็นทรัล ชลบุรี (อดีตห้างคาร์ฟูร์) เป็นต้น

    ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พบว่าร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ มีจำนวน 66 แห่ง ส่วนร้านค้าขนาดใหญ่และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เช่า มีจำนวน 123 แห่ง และจากการสืบค้นข้อมูลในแบบ 56-1 เมื่อปี 2558 พบว่าสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่บิ๊กซีเป็นเจ้าของที่ดินมีประมาณ 10 สาขา ได้แก่ แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าว บางปะกอก สุขสวัสดิ์ ติวานนท์ บางใหญ่ ลำลูกกา นวนคร สมุทรปราการ บางพลี เป็นต้น

    #Newskit #บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ #กลุ่มเซ็นทรัล
    ปิดฉากบิ๊กซีราษฎร์บูรณะ ไม่ต่อที่ดินกลุ่มเซ็นทรัล ก่อนหน้านี้ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) ซึ่งเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ในอดีต ล่าสุด นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ จะเปิดให้บริการ 31 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ซึ่งจะย้ายไปยังทำเลใหม่ที่ใกล้เคียง เป็นทำเลทองติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่ดิน Freehold (ที่ดินกรรมสิทธิ์) ในกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2568 นับเป็นการเปิดฉากยุติสัญญาเช่าที่ดินกับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างชัดเจน พร้อมกับปิดตำนานห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ ที่เปิดให้บริการมานานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่เปิดวันแรก 10 พ.ย. 2537 เดิมคือห้างเซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ สาขาที่สองต่อจากสาขาวงศ์สว่าง แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเปิดห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เป็นสาขาแรก เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2537 จึงต้องเปลี่ยนเป็นบิ๊กซี จากรายงานประจำปี 2556 ของบิ๊กซี พบว่าบริษัท เซ็นทรัลซูเปอร์สโตร์ จำกัด เช่าที่ดินกับบริษัท เซ็นทรัล ธนบุรี จำกัด บริษัทในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 พ.ค. 2538 ถึง 30 เม.ย. 2568 น่าสังเกตว่า ห้างบิ๊กซีบนที่ดินและสิทธิการเช่าของกลุ่มเซ็นทรัลจะอยู่หรือไป เช่น บิ๊กซี โคราช จ.นครราชสีมา เช่ากับบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 ธ.ค. 2539 ถึง 30 พ.ย. 2569 บิ๊กซี ขอนแก่น เช่ากับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 17 ก.ค. 2539 (ถึง 16 ก.ค. 2569) และยังมีบิ๊กซี วงศ์สว่าง ในมาร์เก็ตเพลสวงศ์สว่าง บิ๊กซี หัวหมาก ในหัวหมากทาวน์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี แฟชั่นไอส์แลนด์ ที่้เช่าช่วงจากสรรพสินค้าเซ็นทรัล บิ๊กซี พัทยาในเซ็นทรัลมารีน่า และบิ๊กซี ชลบุรี 3 ในเซ็นทรัล ชลบุรี (อดีตห้างคาร์ฟูร์) เป็นต้น ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พบว่าร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ มีจำนวน 66 แห่ง ส่วนร้านค้าขนาดใหญ่และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เช่า มีจำนวน 123 แห่ง และจากการสืบค้นข้อมูลในแบบ 56-1 เมื่อปี 2558 พบว่าสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่บิ๊กซีเป็นเจ้าของที่ดินมีประมาณ 10 สาขา ได้แก่ แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าว บางปะกอก สุขสวัสดิ์ ติวานนท์ บางใหญ่ ลำลูกกา นวนคร สมุทรปราการ บางพลี เป็นต้น #Newskit #บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ #กลุ่มเซ็นทรัล
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 936 มุมมอง 0 รีวิว
  • อำลาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 คาร์ฟูร์สาขาแรกในไทย

    เดือนกันยายน 2567 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดสาขาถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) เปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 ก.ย. 2567 และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) เปิดวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2567 ทั้งสองสาขาอดีตเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ 7 สาขา ในยุคที่กลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส ก่อนที่กลุ่มเซ็นทรัลจะขายหุ้นออกไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนตามที่บริษัทแม่ต้องการเพื่อขยายสาขาได้

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2539 ห้างคาร์ฟูร์ เปิดสาขาแรกที่ถนนสุขาภิบาล 3 ก่อนขยายสาขาในช่วงปี 2539-2541 ได้แก่ ศรีนครินทร์ สุวินทวงศ์ บางใหญ่ รังสิต เชียงใหม่ (หนองป่าครั่ง) และเพชรเกษม (หนองแขม) เมื่อคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส เป็นเจ้าของเต็มตัว ในช่วงปี 2542-2543 จึงได้ขยายสาขารามอินทรา ตามมาด้วยแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ ที่ฮือฮามากที่สุดคือ สาขาพระราม 4 เปิดประจันหน้ากับห้างเทสโก้ โลตัส และต่อมายังเช่าที่ดินใจกลางเมืองระยะยาว 30 ปี เปิดห้างคาร์ฟูร์ รัชดาภิเษก

    ผ่านมา 13 ปี เปิดสาขาไปแล้ว 42 สาขา มาถึงปี 2553 คาร์ฟูร์ขายกิจการให้กลุ่มกาสิโนกรุ๊ป เจ้าของห้างบิ๊กซี ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท ทำให้ห้างคาร์ฟูร์กลายสภาพเป็นบิ๊กซีในรูปแบบต่างๆ เช่น บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี จัมโบ้ กระทั่งกลุ่มกาสิโน กรุ๊ป ขายกิจการให้กับกลุ่มบีเจซี ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปี 2559 ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 สาขา ร้านสะดวกซื้อ 391 สาขา

    ปัจจุบัน บิ๊กซีกำลังจะกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ BRC จากข้อมูลเมื่อปี 2565 บิ๊กซี รีเทล มีร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) บนที่ดินของบริษัทฯ 66 แห่ง เช่าที่ดิน 123 แห่ง และตลาด Open-Air ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แห่ง และเช่าที่ดิน 5 แห่ง

    สำหรับบิ๊กซี สมัยที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ บางสาขาเช่าที่ดินระยะยาวกับกลุ่มเซ็นทรัล 30 ปี กำลังจะหมดสัญญาในปี 2568-2569 ได้แก่ ราษฎร์บูรณะ โคราช และขอนแก่น ส่วนบางสาขายังคงเช่าพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ วงศ์สว่าง (เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ เดิม) หัวหมาก แฟชั่นไอส์แลนด์ ชลบุรี (เซ็นทรัล ชลบุรี) และพัทยา (เซ็นทรัลมารีน่า) จึงไม่น่าแปลกใจหากนับจากนี้จะได้พบเห็นการปิดสาขาบิ๊กซี เพราะหลังบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในยุคนั้น มีทำเลของทั้งสองห้างซ้ำซ้อนกันหลายสาขา

    #Newskit #บิ๊กซีสุขาภิบาล3 #คาร์ฟูร์
    อำลาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 คาร์ฟูร์สาขาแรกในไทย เดือนกันยายน 2567 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดสาขาถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) เปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 ก.ย. 2567 และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) เปิดวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2567 ทั้งสองสาขาอดีตเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ 7 สาขา ในยุคที่กลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส ก่อนที่กลุ่มเซ็นทรัลจะขายหุ้นออกไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนตามที่บริษัทแม่ต้องการเพื่อขยายสาขาได้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2539 ห้างคาร์ฟูร์ เปิดสาขาแรกที่ถนนสุขาภิบาล 3 ก่อนขยายสาขาในช่วงปี 2539-2541 ได้แก่ ศรีนครินทร์ สุวินทวงศ์ บางใหญ่ รังสิต เชียงใหม่ (หนองป่าครั่ง) และเพชรเกษม (หนองแขม) เมื่อคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส เป็นเจ้าของเต็มตัว ในช่วงปี 2542-2543 จึงได้ขยายสาขารามอินทรา ตามมาด้วยแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ ที่ฮือฮามากที่สุดคือ สาขาพระราม 4 เปิดประจันหน้ากับห้างเทสโก้ โลตัส และต่อมายังเช่าที่ดินใจกลางเมืองระยะยาว 30 ปี เปิดห้างคาร์ฟูร์ รัชดาภิเษก ผ่านมา 13 ปี เปิดสาขาไปแล้ว 42 สาขา มาถึงปี 2553 คาร์ฟูร์ขายกิจการให้กลุ่มกาสิโนกรุ๊ป เจ้าของห้างบิ๊กซี ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท ทำให้ห้างคาร์ฟูร์กลายสภาพเป็นบิ๊กซีในรูปแบบต่างๆ เช่น บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี จัมโบ้ กระทั่งกลุ่มกาสิโน กรุ๊ป ขายกิจการให้กับกลุ่มบีเจซี ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปี 2559 ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 สาขา ร้านสะดวกซื้อ 391 สาขา ปัจจุบัน บิ๊กซีกำลังจะกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ BRC จากข้อมูลเมื่อปี 2565 บิ๊กซี รีเทล มีร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) บนที่ดินของบริษัทฯ 66 แห่ง เช่าที่ดิน 123 แห่ง และตลาด Open-Air ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แห่ง และเช่าที่ดิน 5 แห่ง สำหรับบิ๊กซี สมัยที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ บางสาขาเช่าที่ดินระยะยาวกับกลุ่มเซ็นทรัล 30 ปี กำลังจะหมดสัญญาในปี 2568-2569 ได้แก่ ราษฎร์บูรณะ โคราช และขอนแก่น ส่วนบางสาขายังคงเช่าพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ วงศ์สว่าง (เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ เดิม) หัวหมาก แฟชั่นไอส์แลนด์ ชลบุรี (เซ็นทรัล ชลบุรี) และพัทยา (เซ็นทรัลมารีน่า) จึงไม่น่าแปลกใจหากนับจากนี้จะได้พบเห็นการปิดสาขาบิ๊กซี เพราะหลังบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในยุคนั้น มีทำเลของทั้งสองห้างซ้ำซ้อนกันหลายสาขา #Newskit #บิ๊กซีสุขาภิบาล3 #คาร์ฟูร์
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 954 มุมมอง 0 รีวิว