• เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์

    ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร

    แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์

    ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย

    อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC)

    ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว

    เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    #Newskit #AlorSetar #Kedah
    เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์ ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ #Newskit #AlorSetar #Kedah
    Like
    Love
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 174 มุมมอง 0 รีวิว
  • โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 285 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์

    หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

    ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567

    ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways)

    สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น

    #Newskit #SubangAirport #SZB
    ฟื้นซูบัง (SZB) สนามบินเก่ามาเลย์ หากกล่าวถึงสนามบินเก่าในเมืองหลวง ถ้าประเทศไทยมีสนามบินดอนเมือง ที่เคยเป็นสนามบินหลักในกรุงเทพฯ ก่อนย้ายมาที่สนามบินสุวรรณภูมิในปี 2549 ที่ประเทศมาเลเซียก็มีสนามบินเก่าอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ หรือสนามบินซูบัง (SZB) ตั้งอยู่ที่เมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ เปิดให้บริการเมื่อปี 2508 ก่อนย้ายสนามบินหลัก (KUL) ไปยังเมืองเซปัง ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียกำลังฟื้นฟูสนามบินซูบัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพทำเลที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ใกล้กับเขตแคลงวัลเลย์ (Klang Valley) ที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 8 ล้านคน ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชีย มาเลเซีย จะเปิดให้บริการเส้นทาง ซูบัง-กูชิง และ ซูบัง-โคตาคินาบาลู เชื่อมระหว่างฝั่งแหลมมลายู กับเกาะบอร์เนียว ไป-กลับรวม 8 เที่ยวบินต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้มีสายการบินประกาศทำการบินที่สนามบินซูบัง เริ่มจากวันที่ 1 สิงหาคม 2567 สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-ปีนัง ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 จำนวน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และจะขยายเป็น 1 เที่ยวบินต่อวัน ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ขณะที่สายการบินทรานส์นูซา (TransNusa) จะทำการบินเส้นทางซูบัง-จาการ์ตา อินโดนีเซีย วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ส่วนสายการบินสกู๊ต จะกลับมาทำการบินเส้นทาง ซูบัง-สิงคโปร์ ในวันที่ 1 กันยายน 2567 ด้านสายการบินซึ่งใช้เครื่องบินขนาดเล็กอย่าง ไฟร์ฟลาย (Firefly) ที่ทำการบินเส้นทางอลอร์สตาร์ ยะโฮร์บาห์รู โกตาบาห์รู กัวลาตรังกานู ลังกาวี ปีนัง ก็จะเปิดเส้นทาง ซูบัง-โคตาคินาบาลู ในวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เช่นกัน ส่วนสายการบินเบอร์จายา แอร์ (Berjaya Air) ทำการบินแบบชาร์เตอร์ไฟล์ตไปยังหัวหิน เกาะสมุย ลังกาวี ปังกอร์ ปีนัง เรดัง และติโอมัน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินขนส่งสินค้าทางอากาศให้บริการที่สนามบินซูบัง อาทิ มายเจ็ตเอ็กซ์เพรส (My Jet Xpress Airlines) และรายาแอร์เวย์ส (Raya Airways) สำหรับการเดินทางจากสถานีกลางกัวลาลัมเปอร์ (KL Sentral) ไปยังท่าอากาศยานซูบัง มีอยู่หลายช่องทาง อาทิ รถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที หรือรถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya (สายสีแดง) จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อด้วยรถไฟฟ้าสาย Kajang (สายสีเขียว) ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport เป็นต้น #Newskit #SubangAirport #SZB
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 609 มุมมอง 0 รีวิว