• สวัสดีเจ้าค่ะ🇹🇭

    #TS4ThaiBoran #thesims4
    #thesims4thailand #Olympic2024
    สวัสดีเจ้าค่ะ🇹🇭 #TS4ThaiBoran #thesims4 #thesims4thailand #Olympic2024
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 325 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหรียญทองสุดท้าย เทนนิส พาณิภัค

    เช้าวันนี้คนไทยทั้งประเทศมีความสุขกันถ้วนหน้า เมื่อ เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย คว้าเหรียญทองเหรียญแรกให้กับทีมชาติไทย ในการแข่งขันเทควันโด รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง มหกรรมกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากเอาชนะ กั๋ว ฉิง จากประเทศจีน ในยกที่ 3

    และนับเป็นเหรียญรางวัลโอลิมปิก สมัยที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากคว้าจากเหรียญทองแดง โอลิมปิก 2016 ประเทศบราซิล และเหรียญทอง โอลิมปิก 2020 ประเทศญี่ปุ่น ครั้งนี้สามารถป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ ก่อนที่จะอำลาทีมชาติไทยอย่างสมบูรณ์แบบ

    เหตุผลที่เทนนิสกล่าวว่า "ครั้งนี้จะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของหนู" เพราะที่ผ่านมาเธอเสียสละร่างกายพังไปทั้งตัวแล้ว เนื่องจากเป็นกีฬาต่อสู้ ทั้งเอ็นไขว้หน้าขาขาด ลูกสะบ้าพัง สะโพกหลวม ยกตัวอย่างถ้าฉีกขาเยอะ เลยองศาไป กลับมาหุบขาไม่ได้ ต้องใช้เวลาเป็นสิบนาทีกว่าจะหุบขาได้ เสียสละร่างกายไปหมดแล้ว แต่ก็คิดว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะยอมแลก

    เทนนิส พาณิภัค เป็นชาวอำเภอบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2540 อายุ 27 ปีพอดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    เริ่มเล่นกีฬาเทควันโดตั้งแต่อายุ 9 ปี โดยมีนายทรงศักดิ์ ทิพย์นาง แห่งยิมตาปีเทควันโด จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโค้ชคนแรกในชีวิต เข้าสู่การเป็นนักกีฬาเทควันโดเยาวชนทีมชาติในปี 2554 ขณะมีอายุเพียง 13 ปี จากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 27 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ คว้าเหรียญทองจากการแข่งขันเทควันโด รุ่นไม่เกิน 42 กิโลกรัมหญิง

    ทำให้โค้ชเช ชเว ยองซอก (ปัจจุบันได้รับสัญชาติไทย มีชื่อว่า นายชัชชัย เช) ผู้ฝึกสอนเทควันโดชาวเกาหลีใต้ เรียกตัวเข้ามาฝึกซ้อมและคัดเลือกเป็นนักกีฬาเทควันโดตัวแทนทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันเทควันโด ได้รับรางวัลมาแล้วหลายรายการ กระทั่งได้รับเหรียญทองแดงในกีฬาโอลิมปิกที่บราซิล และเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น

    ปัจจุบัน เทนนิส พาณิภัค ดำรงตำแหน่ง นายทหารกีฬาสโมสรและกิจกรรมพิเศษ แผนกกีฬาสโมสรและกิจกรรมพิเศษกองการสโมสร กรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ

    สำหรับผลงานของนักกีฬาทีมชาติไทย ณ เวลา 07.00 น. ได้ 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง อันดับที่ 31 และเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ได้ 2 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง อันดับที่ 24 ส่วนมาเลเซีย อันดับที่ 69 มี 2 เหรียญทองแดง และอินโดนีเซีย อันดับที่ 71 มี 1 เหรียญทองแดง

    #Newskit #Olympic2024 #TennisPanipak
    เหรียญทองสุดท้าย เทนนิส พาณิภัค เช้าวันนี้คนไทยทั้งประเทศมีความสุขกันถ้วนหน้า เมื่อ เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย คว้าเหรียญทองเหรียญแรกให้กับทีมชาติไทย ในการแข่งขันเทควันโด รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง มหกรรมกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากเอาชนะ กั๋ว ฉิง จากประเทศจีน ในยกที่ 3 และนับเป็นเหรียญรางวัลโอลิมปิก สมัยที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากคว้าจากเหรียญทองแดง โอลิมปิก 2016 ประเทศบราซิล และเหรียญทอง โอลิมปิก 2020 ประเทศญี่ปุ่น ครั้งนี้สามารถป้องกันแชมป์ได้สำเร็จ ก่อนที่จะอำลาทีมชาติไทยอย่างสมบูรณ์แบบ เหตุผลที่เทนนิสกล่าวว่า "ครั้งนี้จะเป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของหนู" เพราะที่ผ่านมาเธอเสียสละร่างกายพังไปทั้งตัวแล้ว เนื่องจากเป็นกีฬาต่อสู้ ทั้งเอ็นไขว้หน้าขาขาด ลูกสะบ้าพัง สะโพกหลวม ยกตัวอย่างถ้าฉีกขาเยอะ เลยองศาไป กลับมาหุบขาไม่ได้ ต้องใช้เวลาเป็นสิบนาทีกว่าจะหุบขาได้ เสียสละร่างกายไปหมดแล้ว แต่ก็คิดว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่จะยอมแลก เทนนิส พาณิภัค เป็นชาวอำเภอบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2540 อายุ 27 ปีพอดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเล่นกีฬาเทควันโดตั้งแต่อายุ 9 ปี โดยมีนายทรงศักดิ์ ทิพย์นาง แห่งยิมตาปีเทควันโด จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโค้ชคนแรกในชีวิต เข้าสู่การเป็นนักกีฬาเทควันโดเยาวชนทีมชาติในปี 2554 ขณะมีอายุเพียง 13 ปี จากการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 27 ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ คว้าเหรียญทองจากการแข่งขันเทควันโด รุ่นไม่เกิน 42 กิโลกรัมหญิง ทำให้โค้ชเช ชเว ยองซอก (ปัจจุบันได้รับสัญชาติไทย มีชื่อว่า นายชัชชัย เช) ผู้ฝึกสอนเทควันโดชาวเกาหลีใต้ เรียกตัวเข้ามาฝึกซ้อมและคัดเลือกเป็นนักกีฬาเทควันโดตัวแทนทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันเทควันโด ได้รับรางวัลมาแล้วหลายรายการ กระทั่งได้รับเหรียญทองแดงในกีฬาโอลิมปิกที่บราซิล และเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น ปัจจุบัน เทนนิส พาณิภัค ดำรงตำแหน่ง นายทหารกีฬาสโมสรและกิจกรรมพิเศษ แผนกกีฬาสโมสรและกิจกรรมพิเศษกองการสโมสร กรมสวัสดิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ สำหรับผลงานของนักกีฬาทีมชาติไทย ณ เวลา 07.00 น. ได้ 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง อันดับที่ 31 และเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ได้ 2 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง อันดับที่ 24 ส่วนมาเลเซีย อันดับที่ 69 มี 2 เหรียญทองแดง และอินโดนีเซีย อันดับที่ 71 มี 1 เหรียญทองแดง #Newskit #Olympic2024 #TennisPanipak
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1030 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิวพลาดเหรียญทอง แต่ชนะใจคนไทย

    การแข่งขันแบดมินตัน ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่าง วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ มืออันดับ 8 ของโลก พบกับ วิคเตอร์ อเซลเซ่น มืออันดับ 2 ของโลก จากเดนมาร์ก แม้จะไม่สามารถเอาชนะความแข็งแกร่งของหนุ่มโคนมวัย 30 ปี จบการแข่งขันทำได้แค่เหรียญเงิน ตามที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ออกมาเมื่อดูจากสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา

    แต่สำหรับนักแบดมินตันหนุ่มวัยเพียง 23 ปี มาไกลขนาดนี้ ถือว่าชนะใจคนไทยทั้งประเทศ

    ช่วงค่ำวันที่ 5 ส.ค. ตามเวลาในไทย คนไทยทั้งประเทศต่างส่งแรงใจเชียร์ วิว กุลวุฒิ ทั่วทุกมุมเมือง แม้จะไม่ถึงขั้นถนนในกรุงเทพฯ โล่ง ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนที่เคยดู เขาทราย แกแล็คซี่ ขึ้นชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในปี 2534 บนหน้าจอโทรทัศน์ ในยุคที่ความบันเทิงที่เข้าถึงทุกครัวเรือนมีเพียงวิทยุ และโทรทัศน์แอนะล็อกที่มีเพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น

    วันที่วิว กุลวุฒิ ชิงเหรียญทอง ศูนย์การค้าหลายแห่ง ต่างถ่ายทอดสดผ่านหน้าจอโฆษณา ราวกับทีวีจอยักษ์ ให้คนไทยได้ร่วมลุ้นไปพร้อมกัน ขณะที่แพลตฟอร์ม OTT ก็มีผู้คนเข้าถึงจำนวนมาก ทำเอาแอปพลิเคชันชมการถ่ายทอดสดอย่าง AIS Play ล่มอีกครั้งในช่วงเวลาสำคัญ จากที่เคยล่มเมื่อคราวถ่ายทอดสด THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 เมื่อปี 2565

    แต่ที่คนไทยยิ้มได้ก็คือ แม้ วิว กุลวุฒิ จะไม่ได้เหรียญทองกลับมา แต่ทุกคนมีความสุขมากกว่าเสียดาย เพราะสิ่งที่วิว กุลวุฒิ ได้แข่งขันนั้นมาไกลเกินกว่าที่คาดหวัง แม้จะอยู่ในยุคที่การบริโภคสื่อมีหลากหลาย ไม่ได้ใจจดใจจ่ออยู่ที่หน้าปัดวิทยุหรือจอตู้เหมือนแต่ก่อน แต่เมื่อถึงคราวชิงเหรียญทองโอลิมปิก เดิมพันศักดิ์ศรีของประเทศ กลายเป็นที่สนใจของคนไทยทั้งประเทศทันที

    วิว กุลวุฒิ ยอมรับว่าทั้งรูปแบบเกม สมาธิ และชั้นเชิงต่างๆ เป็นรองทุกอย่าง ยอมรับว่า วิคเตอร์ ยังคงเป็นสุดยอดนักแบดมินตันอยู่ดี ตนรู้สึกตื่นเต้นมากกว่าปกติ และวิคเตอร์วางรูปแบบเกมได้อย่างดี อีกทั้งตนมีจังหวะที่เร่งตัวเอง ทำให้ผิดพลาดมากขึ้น และทำให้แต้มไหล แต่โดยรวมสำหรับโอลิมปิกครั้งแรกค่อนข้างโอเค

    "แต่ถ้าเป็นไปได้ อีก 4 ปีข้างหน้าก็อยากจะคว้าเหรียญทอง" วิว กุลวุฒิ กล่าว

    วิว กุลวุฒิ กล่าวว่า มารอบนี้ จริงๆ ก็ไม่ได้หวังเหรียญอยู่แล้ว เพราะถ้าดูจากการแบ่งสาย หลายคนมองว่าจะแพ้ตั้งแต่เจอ ฉี ยู่ฉี นักแบดมินตันทีมชาติจีน มืออันดับ 1 ของโลก ในรอบ 8 คนสุดท้าย เพราะอีกฝ่ายแข็งแกร่งและเป็นมือหนึ่งของโลก พอตนสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศก็มีความสุขมาก ถึงไม่ได้เหรียญทอง แต่ก็รู้สึกมีความสุข"

    "ขอบคุณแฟนๆ ชาวไทยที่ส่งกำลังใจเชียร์ผม รวมถึงทัพนักกีฬาไทยแบดมินตัน วันนี้ผมก็ทำดีที่สุดแล้ว ถ้าเป็นไปได้ อีก 4 ข้างหน้าเราเจอกัน"

    นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงกระแสการเล่นแบดมินตัน หวังว่าจะมีมากขึ้น แบดมินตันก็มีเยาวชนเริ่มเล่นเยอะขึ้น หลังจากนี้ถ้ามีเพิ่มขึ้นอีกก็เป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้วงการแบดมินตันมีช้างเผือกขึ้นมาใหม่ คอยต่อยอดจากรุ่นพี่ที่อายุมากขึ้น พร้อมฝากว่าอยากให้มีเป้าหมาย วางเป้าหมายของตัวเองก่อนว่าอยากไปจุดไหน ต้องเหนื่อย ต้องอดทน มุ่งมั่นตั้งใจ ถ้าทำได้ก็จะประสบความสำเร็จ

    วิว กุลวุฒิ คว้าเหรียญโอลิมปิกเหรียญแรก ของกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ 4 ต่อจากมวยสากลสมัครเล่น ยกน้ำหนัก และเทควันโด นับตั้งแต่ทีมชาติไทยส่งนักกีฬาแบดมินตัน ไปแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ตั้งแต่ปี 2535 หรือเมื่อ 32 ปีก่อน โดยมีนักกีฬารับใช้ชาติไปแล้ว 35 คน แม้จะไม่สามารถคว้าเหรียญมาได้ แต่ความหวังก็ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

    เหนือสิ่งอื่นใด วิว กุลวุฒิ ก็ได้สร้างความสุขให้กับคนไทย และแฟนกีฬาแบดมินตัน รวมทั้งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ตั้งแต่โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ที่มีแม่ปุก กมลา ทองกร ผู้ก่อตั้งและประธานโรงเรียน เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งโค้ชเป้ ภัทพล เงินศรีสุข และนักแบดมินตันรุ่นพี่อย่าง เมย์ รัชนก อินทนนท์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้วิวมีวันนี้

    ขณะที่เฟซบุ๊ก "Kunlavut Vitidsarn - กุลวุฒิ วิทิตศานต์" แอดมินยังคงกล่าววรรคทองเรียกเสียงเชียร์จากคอกีฬาชาวไทย ว่า "คนตีไม่เคยท้อ คนเชียร์อย่าเพิ่งทิ้ง ประวัติศาสตร์เพิ่งเริ่มเขียนครับ"

    #Newskit #ViewKunlavut #Olympic2024
    วิวพลาดเหรียญทอง แต่ชนะใจคนไทย การแข่งขันแบดมินตัน ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่าง วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ มืออันดับ 8 ของโลก พบกับ วิคเตอร์ อเซลเซ่น มืออันดับ 2 ของโลก จากเดนมาร์ก แม้จะไม่สามารถเอาชนะความแข็งแกร่งของหนุ่มโคนมวัย 30 ปี จบการแข่งขันทำได้แค่เหรียญเงิน ตามที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ออกมาเมื่อดูจากสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา แต่สำหรับนักแบดมินตันหนุ่มวัยเพียง 23 ปี มาไกลขนาดนี้ ถือว่าชนะใจคนไทยทั้งประเทศ ช่วงค่ำวันที่ 5 ส.ค. ตามเวลาในไทย คนไทยทั้งประเทศต่างส่งแรงใจเชียร์ วิว กุลวุฒิ ทั่วทุกมุมเมือง แม้จะไม่ถึงขั้นถนนในกรุงเทพฯ โล่ง ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อนที่เคยดู เขาทราย แกแล็คซี่ ขึ้นชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในปี 2534 บนหน้าจอโทรทัศน์ ในยุคที่ความบันเทิงที่เข้าถึงทุกครัวเรือนมีเพียงวิทยุ และโทรทัศน์แอนะล็อกที่มีเพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น วันที่วิว กุลวุฒิ ชิงเหรียญทอง ศูนย์การค้าหลายแห่ง ต่างถ่ายทอดสดผ่านหน้าจอโฆษณา ราวกับทีวีจอยักษ์ ให้คนไทยได้ร่วมลุ้นไปพร้อมกัน ขณะที่แพลตฟอร์ม OTT ก็มีผู้คนเข้าถึงจำนวนมาก ทำเอาแอปพลิเคชันชมการถ่ายทอดสดอย่าง AIS Play ล่มอีกครั้งในช่วงเวลาสำคัญ จากที่เคยล่มเมื่อคราวถ่ายทอดสด THE MATCH Bangkok Century Cup 2022 เมื่อปี 2565 แต่ที่คนไทยยิ้มได้ก็คือ แม้ วิว กุลวุฒิ จะไม่ได้เหรียญทองกลับมา แต่ทุกคนมีความสุขมากกว่าเสียดาย เพราะสิ่งที่วิว กุลวุฒิ ได้แข่งขันนั้นมาไกลเกินกว่าที่คาดหวัง แม้จะอยู่ในยุคที่การบริโภคสื่อมีหลากหลาย ไม่ได้ใจจดใจจ่ออยู่ที่หน้าปัดวิทยุหรือจอตู้เหมือนแต่ก่อน แต่เมื่อถึงคราวชิงเหรียญทองโอลิมปิก เดิมพันศักดิ์ศรีของประเทศ กลายเป็นที่สนใจของคนไทยทั้งประเทศทันที วิว กุลวุฒิ ยอมรับว่าทั้งรูปแบบเกม สมาธิ และชั้นเชิงต่างๆ เป็นรองทุกอย่าง ยอมรับว่า วิคเตอร์ ยังคงเป็นสุดยอดนักแบดมินตันอยู่ดี ตนรู้สึกตื่นเต้นมากกว่าปกติ และวิคเตอร์วางรูปแบบเกมได้อย่างดี อีกทั้งตนมีจังหวะที่เร่งตัวเอง ทำให้ผิดพลาดมากขึ้น และทำให้แต้มไหล แต่โดยรวมสำหรับโอลิมปิกครั้งแรกค่อนข้างโอเค "แต่ถ้าเป็นไปได้ อีก 4 ปีข้างหน้าก็อยากจะคว้าเหรียญทอง" วิว กุลวุฒิ กล่าว วิว กุลวุฒิ กล่าวว่า มารอบนี้ จริงๆ ก็ไม่ได้หวังเหรียญอยู่แล้ว เพราะถ้าดูจากการแบ่งสาย หลายคนมองว่าจะแพ้ตั้งแต่เจอ ฉี ยู่ฉี นักแบดมินตันทีมชาติจีน มืออันดับ 1 ของโลก ในรอบ 8 คนสุดท้าย เพราะอีกฝ่ายแข็งแกร่งและเป็นมือหนึ่งของโลก พอตนสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศก็มีความสุขมาก ถึงไม่ได้เหรียญทอง แต่ก็รู้สึกมีความสุข" "ขอบคุณแฟนๆ ชาวไทยที่ส่งกำลังใจเชียร์ผม รวมถึงทัพนักกีฬาไทยแบดมินตัน วันนี้ผมก็ทำดีที่สุดแล้ว ถ้าเป็นไปได้ อีก 4 ข้างหน้าเราเจอกัน" นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงกระแสการเล่นแบดมินตัน หวังว่าจะมีมากขึ้น แบดมินตันก็มีเยาวชนเริ่มเล่นเยอะขึ้น หลังจากนี้ถ้ามีเพิ่มขึ้นอีกก็เป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้วงการแบดมินตันมีช้างเผือกขึ้นมาใหม่ คอยต่อยอดจากรุ่นพี่ที่อายุมากขึ้น พร้อมฝากว่าอยากให้มีเป้าหมาย วางเป้าหมายของตัวเองก่อนว่าอยากไปจุดไหน ต้องเหนื่อย ต้องอดทน มุ่งมั่นตั้งใจ ถ้าทำได้ก็จะประสบความสำเร็จ วิว กุลวุฒิ คว้าเหรียญโอลิมปิกเหรียญแรก ของกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย เป็นสมาคมกีฬาที่ 4 ต่อจากมวยสากลสมัครเล่น ยกน้ำหนัก และเทควันโด นับตั้งแต่ทีมชาติไทยส่งนักกีฬาแบดมินตัน ไปแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ตั้งแต่ปี 2535 หรือเมื่อ 32 ปีก่อน โดยมีนักกีฬารับใช้ชาติไปแล้ว 35 คน แม้จะไม่สามารถคว้าเหรียญมาได้ แต่ความหวังก็ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น เหนือสิ่งอื่นใด วิว กุลวุฒิ ก็ได้สร้างความสุขให้กับคนไทย และแฟนกีฬาแบดมินตัน รวมทั้งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ตั้งแต่โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ที่มีแม่ปุก กมลา ทองกร ผู้ก่อตั้งและประธานโรงเรียน เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งโค้ชเป้ ภัทพล เงินศรีสุข และนักแบดมินตันรุ่นพี่อย่าง เมย์ รัชนก อินทนนท์ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้วิวมีวันนี้ ขณะที่เฟซบุ๊ก "Kunlavut Vitidsarn - กุลวุฒิ วิทิตศานต์" แอดมินยังคงกล่าววรรคทองเรียกเสียงเชียร์จากคอกีฬาชาวไทย ว่า "คนตีไม่เคยท้อ คนเชียร์อย่าเพิ่งทิ้ง ประวัติศาสตร์เพิ่งเริ่มเขียนครับ" #Newskit #ViewKunlavut #Olympic2024
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1129 มุมมอง 0 รีวิว
  • แมตซ์หยุดโลก กุลวุฒิชิงเหรียญทอง

    ใครจะเชื่อว่าโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งนี้ คนไทยจะได้มีโอกาสลุ้นเหรียญทองจากทัพนักกีฬาไทย เมื่อ วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักแบดมินตันทีมชาติไทย มืออันดับ 8 ของโลก วัยเพียง 23 ปี สร้างประวัติศาสตร์ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ไปพบกับ วิคเตอร์ แอ็กเซลเซ่น จากเดนมาร์ก หลังเอาชนะ ลี ซี เจีย จากมาเลเซียไปได้ 2-0 เซต (21-14 และ 21-15)

    วิว กุลวุฒิ เปิดเผยหลังจบการแข่งขัน ว่า เล่นไปทีละลูก ทีละแต้ม ไม่ได้คิดถึงอนาคตมาก และไม่พยายามนึกถึงผลมากเกินไป ทำให้ขาดสติ โดยรวมทำได้ค่อนข้างโอเค แต่ก็มีบางช่วงที่นึกถึงผลลัพธ์มากเกินไป ทำให้แต้มหลุด การที่นึกถึงอนาคตมากทำให้มีความกดดันและความหวังมาก บางทีช็อตเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจมีผิดพลาดเล็กน้อย

    "มาโอลิมปิกเกมส์ครั้งแรก การคว้าเหรียญเป็นเรื่องยาก แต่มาถึงรอบชิงชนะเลิศแล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะคว้าเหรียญทองให้กับประเทศ ยอมรับว่าคู่แข่งมากฝีมือ แต่ก็ทำให้ดีที่สุด"

    สำหรับ วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2544 เริ่มเล่นแบดมินตันเมื่ออายุ 7 ขวบ โดยมีบิดาคือ ณัฐวัชร วิทิตศานต์ เป็นโค้ชสอนแบดมินตัน มีน้องสาว 1 คน คือ ส้ม สรัลรักษ์ วิทิตศานต์ ปัจจุบันเป็นนักกีฬาแบดมินตันเช่นกัน ส่วนมารดา นัฏกนก วิทิตศานต์ ทำงานเป็นพนักงานบริษัท

    ครั้งหนึ่ง วิว กุลวุฒิ ไปดูคุณพ่อสอนแบดมินตัน คุณพ่อเลยลองโยนลูกแบดให้ตี แล้วน้องวิวชอบ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่เลยให้มาเรียนแบดมินตันอย่างจริงจัง ที่ชมรมแบดมินตันเสนานิคม และต่อมาย้ายตามโค้ชมาอยู่ชมรมแบดมินตันอมาตยกุล ลงแข่งขันยุวชนและเยาวชนในประเทศ เช่นเดียวกับน้องสาว ส้ม สรัลรักษ์ ตัดสินใจเรียนแบดมินตันครั้งแรกตอน 5 ขวบ ตามรอยพี่ชาย

    เมื่ออายุ 13 ปี วิว กุลวุฒิ ย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ในปี 2557 ที่เดียวกับ เมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย มืออันดับ 21 ของโลก เคยชนะเลิศแข่งขันแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย รุ่นอายุต่ำกว่า 14 ปี และเคยทำลายสถิติของนักแบดมินตันระดับตำนานของจีน “เฉิน จิ้น” คว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน ในปี 2560-2562

    ก้าวเข้าสู่ทีมชาติไทยชุดใหญ่ ในปี 2564 คว้ารางวัลรองชนะเลิศในการแข่งขันแบดมินตัน รายการโยเน็กซ์ สวิส โอเพ่น 2021 รายการเอชเอสบีซี บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนอลส์ 2021 รายการโททาล บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2022

    ก่อนที่จะชนะ โคได นาราโอกะ จากญี่ปุ่น มืออันดับ 4 ของโลก ในรายการโททาล บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2023 ที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 2566 เป็นสมัยแรก เป็นนักแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกของไทย และคนที่ 4 ต่อจาก เมย์ รัชนก อินทนนท์ ในปี 2556 บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ในปี 2564 ที่คว้าแชมป์โลกได้สำเร็จ

    ความนิยมทั้งเมย์ รัชนก บาส-ปอป้อ และ วิว กุลวุฒิ กลายเป็นไอดอลให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ หันมาสนใจกีฬาแบดมินตันมากขึ้น โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด เวลานี้กลายเป็นโรงเรียนสร้างนักแบดมินตันไทยสู่เวทีโลก และเมื่อวิว กุลวุฒิ ก้าวเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ย่อมอยู่ในสายตาของคนไทยทั้งประเทศ

    สำหรับวิว กุลวุฒิ จะแข่งรอบชิงชนะเลิศ พบกับ วิคเตอร์ แอ็กเซลเซ่น จากเดนมาร์ก ช่วงค่ำวันจันทร์ที่ 5 ส.ค. 2567 ตามเวลาในประเทศไทย หากคว้าเหรียญทองมาได้ ถึงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศจะได้ยินเสียงเพลงชาติไทย ดังกระหึ่มในกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งนี้

    #Newskit #ViewKunlavut #Olympic2024
    แมตซ์หยุดโลก กุลวุฒิชิงเหรียญทอง ใครจะเชื่อว่าโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งนี้ คนไทยจะได้มีโอกาสลุ้นเหรียญทองจากทัพนักกีฬาไทย เมื่อ วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ นักแบดมินตันทีมชาติไทย มืออันดับ 8 ของโลก วัยเพียง 23 ปี สร้างประวัติศาสตร์ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ไปพบกับ วิคเตอร์ แอ็กเซลเซ่น จากเดนมาร์ก หลังเอาชนะ ลี ซี เจีย จากมาเลเซียไปได้ 2-0 เซต (21-14 และ 21-15) วิว กุลวุฒิ เปิดเผยหลังจบการแข่งขัน ว่า เล่นไปทีละลูก ทีละแต้ม ไม่ได้คิดถึงอนาคตมาก และไม่พยายามนึกถึงผลมากเกินไป ทำให้ขาดสติ โดยรวมทำได้ค่อนข้างโอเค แต่ก็มีบางช่วงที่นึกถึงผลลัพธ์มากเกินไป ทำให้แต้มหลุด การที่นึกถึงอนาคตมากทำให้มีความกดดันและความหวังมาก บางทีช็อตเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจมีผิดพลาดเล็กน้อย "มาโอลิมปิกเกมส์ครั้งแรก การคว้าเหรียญเป็นเรื่องยาก แต่มาถึงรอบชิงชนะเลิศแล้ว ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะคว้าเหรียญทองให้กับประเทศ ยอมรับว่าคู่แข่งมากฝีมือ แต่ก็ทำให้ดีที่สุด" สำหรับ วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2544 เริ่มเล่นแบดมินตันเมื่ออายุ 7 ขวบ โดยมีบิดาคือ ณัฐวัชร วิทิตศานต์ เป็นโค้ชสอนแบดมินตัน มีน้องสาว 1 คน คือ ส้ม สรัลรักษ์ วิทิตศานต์ ปัจจุบันเป็นนักกีฬาแบดมินตันเช่นกัน ส่วนมารดา นัฏกนก วิทิตศานต์ ทำงานเป็นพนักงานบริษัท ครั้งหนึ่ง วิว กุลวุฒิ ไปดูคุณพ่อสอนแบดมินตัน คุณพ่อเลยลองโยนลูกแบดให้ตี แล้วน้องวิวชอบ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่เลยให้มาเรียนแบดมินตันอย่างจริงจัง ที่ชมรมแบดมินตันเสนานิคม และต่อมาย้ายตามโค้ชมาอยู่ชมรมแบดมินตันอมาตยกุล ลงแข่งขันยุวชนและเยาวชนในประเทศ เช่นเดียวกับน้องสาว ส้ม สรัลรักษ์ ตัดสินใจเรียนแบดมินตันครั้งแรกตอน 5 ขวบ ตามรอยพี่ชาย เมื่ออายุ 13 ปี วิว กุลวุฒิ ย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด ในปี 2557 ที่เดียวกับ เมย์ รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันหญิงทีมชาติไทย มืออันดับ 21 ของโลก เคยชนะเลิศแข่งขันแบดมินตันเยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย รุ่นอายุต่ำกว่า 14 ปี และเคยทำลายสถิติของนักแบดมินตันระดับตำนานของจีน “เฉิน จิ้น” คว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน ในปี 2560-2562 ก้าวเข้าสู่ทีมชาติไทยชุดใหญ่ ในปี 2564 คว้ารางวัลรองชนะเลิศในการแข่งขันแบดมินตัน รายการโยเน็กซ์ สวิส โอเพ่น 2021 รายการเอชเอสบีซี บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ไฟนอลส์ 2021 รายการโททาล บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2022 ก่อนที่จะชนะ โคได นาราโอกะ จากญี่ปุ่น มืออันดับ 4 ของโลก ในรายการโททาล บีดับเบิลยูเอฟ เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2023 ที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 2566 เป็นสมัยแรก เป็นนักแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกของไทย และคนที่ 4 ต่อจาก เมย์ รัชนก อินทนนท์ ในปี 2556 บาส เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และปอป้อ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ในปี 2564 ที่คว้าแชมป์โลกได้สำเร็จ ความนิยมทั้งเมย์ รัชนก บาส-ปอป้อ และ วิว กุลวุฒิ กลายเป็นไอดอลให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ หันมาสนใจกีฬาแบดมินตันมากขึ้น โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด เวลานี้กลายเป็นโรงเรียนสร้างนักแบดมินตันไทยสู่เวทีโลก และเมื่อวิว กุลวุฒิ ก้าวเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ย่อมอยู่ในสายตาของคนไทยทั้งประเทศ สำหรับวิว กุลวุฒิ จะแข่งรอบชิงชนะเลิศ พบกับ วิคเตอร์ แอ็กเซลเซ่น จากเดนมาร์ก ช่วงค่ำวันจันทร์ที่ 5 ส.ค. 2567 ตามเวลาในประเทศไทย หากคว้าเหรียญทองมาได้ ถึงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศจะได้ยินเสียงเพลงชาติไทย ดังกระหึ่มในกีฬาโอลิมปิก ปารีส 2024 ครั้งนี้ #Newskit #ViewKunlavut #Olympic2024
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1012 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระเป๋าเดินทางของนักกีฬาโอลิมปิก ทีมชาติจีน ดีไซน์มาจาก กองทัพทหารดินเผา (Terracotta Army ) รูปลักษณ์ใช้รูปทรงเกราะ และล้อรถม้าและม้าสีบรอนซ์ และการออกแบบซิปกระเป๋า มีต้นกำเนิดมาจากเกราะทองแดง

    #olympic2024
    กระเป๋าเดินทางของนักกีฬาโอลิมปิก ทีมชาติจีน ดีไซน์มาจาก กองทัพทหารดินเผา (Terracotta Army ) รูปลักษณ์ใช้รูปทรงเกราะ และล้อรถม้าและม้าสีบรอนซ์ และการออกแบบซิปกระเป๋า มีต้นกำเนิดมาจากเกราะทองแดง #olympic2024
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว