• โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู

    โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง

    เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้

    แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว

    โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570

    ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน

    #Newskit #Gemas #KTMB
    โรคเลื่อนรถไฟทางคู่ เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู โครงการรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เกอมัส-ยะโฮร์บาห์รู (Gemas-Johor Bahru Electrified Double-Tracking Rail Project) หรือ Gemas-JB EDTP ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 192 กิโลเมตร แม้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง แต่การขยายเส้นทางบริการรถไฟ ETS จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) รัฐปะลิส หรือสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ถึงสถานีเซกามัส (Segamat) ซึ่งเป็นสถานีแรกของรัฐยะโฮร์ ต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นครั้งที่สอง เดิมการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) มีแผนที่จะขยายบริการรถไฟ ETS ไปยังสถานีเซกามัสในวันที่ 1 ก.ค. 2567 แต่ต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2567 แต่แล้วก็เลื่อนออกไปอีก ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวเดอะสเตรทไทมส์ของมาเลเซีย ระบุแหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียว่า เกิดจากบริษัท YTL Construction ผู้รับจ้างก่อสร้าง ไม่สามารถดำเนินการด้านเทคนิคของสายจ่ายกระแสไฟฟ้าที่สถานีควบคุมการเดินรถเกนวง (Genuang Operating Station) ส่งผลทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือศีรษะได้ แม้ว่าการวางรางรถไฟช่วงสถานีเกอมัส ถึงรัฐยะโฮร์จะคืบหน้ากว่า 95% แต่งานด้านอื่นที่ยังดำเนินการอยู่ ได้แก่ การทดสอบเดินรถไฟฟ้า โดยที่ผ่านมาโครงการนี้ประสบปัญหาล่าช้ากว่า 3 ปี จากสถานการณ์โควิด 19 และการเวนคืนที่ดิน นอกจากนี้ ยังมีความล่าช้าในการส่งมอบขบวนรถโดยสารรุ่น KTM Class 94 หรือ ETS3 ขนาด 312 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน จากบริษัท CRRC Zhuzhou Locomotive ประเทศจีน ซึ่งนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย คาดว่าขบวนรถจะส่งมอบทั้งหมดภายในวันที่ 12 ส.ค. 2568 อย่างไรก็ตาม คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเดือน เม.ย. 2568 และเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568 ขณะที่การก่อสร้างสถานี Genuang, Segamat, Labis, Bekok และ Paloh เปิดให้ประชาชนใช้บริการได้แล้ว โครงการ Gemas-JB EDTP เริ่มต้นจากสถานีเกอมัส รัฐเนกรีเซมบีลัน เชื่อมกับรถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2554 ถึงสถานีเจบีเซ็นทรัล (JB Sentral) รัฐยะโฮร์ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังเมืองยะโฮร์บาห์รู จาก 7 ชั่วโมงเหลือ 4 ชั่วโมง 30 นาที คาดว่าจะให้บริการผู้โดยสารได้ 3,000 คนต่อวัน รวมทั้งยังใกล้กับโครงการรถไฟ RTS Link ไปยังประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการภายในเดือน ม.ค. 2570 ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีผู้ใช้บริการรถไฟดีเซลราง KTM Intercity เส้นทางระหว่างเกอมัสถึงยะโฮร์บาห์รู จำนวน 63,607 คน #Newskit #Gemas #KTMB
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 614 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี

    ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง

    หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน

    นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี

    ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง

    ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท

    แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน

    ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง

    การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้

    ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป

    สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565

    ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน

    ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย

    #Newskit #SRT #Butterworth
    ฟื้นรถไฟ กทม.-ปีนัง หลังหายไปนาน 8 ปี ในการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและการรถไฟมาเลเซีย ครั้งที่ 42 (KTMB - SRT Joint Conference) ที่เมืองโคตาคินาบาลู รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม 2567 ซึ่งมีนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนการรถไฟฯ เข้าร่วมประชุม มีมติที่น่าสนใจหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ ที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการจัดเดินขบวนรถจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ – ปาดังเบซาร์ - บัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ซึ่งหลังจากนี้จะได้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อพิจารณาการเปิดให้บริการขบวนรถไฟเส้นทางต่อขยายจากสถานีปาดังเบซาร์ ไปยังสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ โดยในช่วงแรกจะเป็นการทดลองการเดินรถเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับเป็นการฟื้นการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปีนัง กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา เหลือเพียงแค่ขบวนรถที่ 45/46 ไปยังสถานีปลายทางปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส เท่านั้น หลังเคยเปิดการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2465 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 94 ปี ย้อนกลับไปในอดีต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินรถจากต้นทางสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปยังสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ประเทศมาเลเซีย ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ก่อนย้ายมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2470 แต่หยุดการเดินรถชั่วคราวเนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วจึงกลับมาเดินรถอีกครั้ง ขณะนั้นให้บริการวันละ 1 เที่ยว ออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่าย ไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมา ก่อนที่จะหยุดการเดินรถ พบว่ารถออกจากสถานีกรุงเทพ เวลา 14.45 น. ถึงสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ เวลา 13.25 น. ตามเวลามาเลเซีย มีให้บริการเฉพาะรถนั่งและนอนชั้น 2 ค่าโดยสารเตียงบน 1,210 บาท เตียงล่าง 1,120 บาท แต่หลังจากประเทศมาเลเซียได้ปรับปรุงทางรถไฟระบบปิด มีลักษณะรถไฟทางคู่ และให้บริการรถไฟแบบ ETS ซึ่งเป็นรถไฟด่วนพิเศษ และ KTM Komuter ซึ่งเป็นรถไฟธรรมดา ในปี 2559 ทำให้ประสบปัญหาผู้โดยสารขึ้นรถไฟผิดขบวน การรถไฟฯ ได้ยกเลิกจำหน่ายตั๋วรถไฟไปสถานีบัตเตอร์เวอร์ธ และสิ้นสุดการให้บริการที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งมาเลเซียแทน ปัจจุบัน ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 45 ออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 16.10 น. ถึงสถานีปาดังเบซาร์เวลา 08.05 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาประเทศไทย) และขบวนรถด่วนพิเศษที่ 46 ออกจากสถานีปาดังเบซาร์ เวลา 17.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถึงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เวลา 09.05 น. ของวันรุ่งขึ้น ใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมง การเดินรถไฟจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ หากเป็นขบวนรถ KTM Komuter จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่จอดทุกสถานี คาดว่าจากกรุงเทพฯ ไปยังบัตเตอร์เวอร์ธ จะใช้เวลาน้อยกว่าเมื่อ 8 ปีก่อน เพราะปัจจุบันรถไฟทางไกลย้ายต้นทางไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-ชุมพร 421 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จก่อนหน้านี้ ส่วนขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) จากประเทศมาเลเซียมายังประเทศไทย ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ขยายเส้นทางจากเดิมให้บริการถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้มาถึงสถานีสุราษฎร์ธานี หลังได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม มีจำนวนผู้โดยสารเต็มทุกเที่ยว หลังจากนี้ทั้งสองหน่วยงานจะมีการตกลงรายละเอียด และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป สำหรับขบวนรถไฟท่องเที่ยวมายสวัสดี (MySawasdee) ระหว่างสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) กรุงกัวลาลัมเปอร์ กับสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการเฉพาะวันหยุดเทศกาลของประเทศมาเลเซียเท่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่จะเดินทางไปยัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ปัจจุบันยังมีบริการ มาย สวัสดี พลัส (MySawasdee PLUS) สำหรับตัวแทนทัวร์และบริษัททัวร์ รวมทั้งองค์กรภาคธุรกิจ สามารถเช่าเหมารถไฟทั้งขบวนได้อีกด้วย แต่ละเที่ยวรองรับผู้โดยสารประมาณ 400 คนต่อขบวน ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 26-29 กรกฎาคม 2567 โดยบริษัท Golden Century Tours & Travel เสนอแพกเกจไปยังหาดใหญ่ เดินทาง 4 วัน 2 คืน ส่วนสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่ อ.พุนพิน ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางต่อไปยังท่าเรือดอนสัก เพื่อโดยสารเรือเฟอร์รี่ไปยังเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมได้อีกด้วย #Newskit #SRT #Butterworth
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 953 มุมมอง 0 รีวิว