อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาเบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
สัทธรรมลำดับที่ : 1053
ชื่อบทธรรม :- เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053
เนื้อความทั้งหมด :-
--เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน)
--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบิดาตน
ก็ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน.
และเนื้อความแห่งหัวข้อนี้ มีความเนื่องกันมาจากหัวข้อที่แล้ว.
จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ.
๑-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ
ย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ;
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ;
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ;
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ.
(กิจในที่นี้คือ
กิจเกี่ยวกับ(ปธาน ๔ ประการ)
การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา
).
+--ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้,
เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัปป์.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า
#อายุสำหรับภิกษุ.
๒-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า
#วรรณะสำหรับภิกษุ.
๓-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ
ภิกษุ เข้าถึง
ปฐมฌาน ....
ทุติยฌาน ....
ตติยฌาน ....
จตุตถฌาน . . . .
แล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า
#สุขสำหรับภิกษุ.
๔-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ
ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา,
แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง
แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง
ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา,
ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า
#โภคะสำหรับภิกษุ.
๕-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า
#พละสำหรับภิกษุ.-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/85/50.
http://etipitaka.com/read/thai/11/58/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๘๕/๕๐.
http://etipitaka.com/read/pali/11/85/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1053 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3 อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาเบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
สัทธรรมลำดับที่ : 1053
ชื่อบทธรรม :- เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053
เนื้อความทั้งหมด :-
--เบญจพิธพรที่ทรงระบุไว้สำหรับภิกษุ(ไม่เกี่ยวกับตัณหาเหมือนจตุพิธพรของชาวบ้าน)
--ภิกษุ ท. ! เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยแห่งบิดาตน
ก็ซึ่งมีใจความอย่างเดียวกัน.
และเนื้อความแห่งหัวข้อนี้ มีความเนื่องกันมาจากหัวข้อที่แล้ว.
จักเจริญแม้ด้วยอายุ แม้ด้วยวรรณะ แม้ด้วยสุขะ แม้ด้วยโภคะ แม้ด้วยพละ.
๑-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า อายุ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุ
ย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย ฉันทะ เป็นปธานกิจ;
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย วิริยะ เป็นปธานกิจ;
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย จิตตะ เป็นปธานกิจ;
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัย วิมังสา เป็นปธานกิจ.
(กิจในที่นี้คือ
กิจเกี่ยวกับ(ปธาน ๔ ประการ)
การระวัง, การละ, การทำให้เกิดมี และการรักษา
).
+--ภิกษุนั้น, เพราะเจริญกระทำให้มาก ซึ่งอิทธิบาท ๔ ประการเหล่านี้,
เมื่อหวังอยู่ ก็จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดเวลากัปป์หนึ่ง หรือเกินกว่ากัปป์.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #อายุสำหรับภิกษุ.
๒-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า วรรณะ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุเป็นผู้ มีศีล
สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรยาทและโคจร
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้เป็นโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #วรรณะสำหรับภิกษุ.
๓-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า สุข สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ
ภิกษุ เข้าถึง
ปฐมฌาน ....
ทุติยฌาน ....
ตติยฌาน ....
จตุตถฌาน . . . .
แล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #สุขสำหรับภิกษุ.
๔-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า โภคะ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ
ภิกษุ มีจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา,
แผ่ไปยังทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ ทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง
แผ่ไปยังโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวง
ด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา,
ชนิดที่ไพบูลย์ ถึงความเป็นจิตใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท อยู่.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #โภคะสำหรับภิกษุ.
๕-ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นความหมายในคำว่า พละ สำหรับภิกษุ ?
+--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ คือ ภิกษุ
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความหมายในคำว่า #พละสำหรับภิกษุ.-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/85/50.
http://etipitaka.com/read/thai/11/58/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๘๕/๕๐.
http://etipitaka.com/read/pali/11/85/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1053
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1053
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3