• ศัตรูของชาติ #อิหร่าน ก็คือศัตรูตัวเดียวกันกับชาติ #ปาเลสไตน์, #เลบานอน, #อิรัก, #อียิปต์, #ซีเรีย, และ #เยเมน ศัตรูคือคนตัวเดียวกัน วิธีการของศัตรูแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

    Imam Sayyid Ali Khamenei
    .
    The enemy of the #Iranian nation is that same enemy of the #Palestinian, the #Lebanese, the #Iraqi, the #Egyptian, the #Syrian, and the #Yemeni nations. The enemy is one and the same. The enemy’s methods only vary in different countries.
    .
    3:59 PM · Oct 6, 2024 · 19.2K Views
    https://x.com/khamenei_ir/status/1842852149035704483
    ศัตรูของชาติ #อิหร่าน ก็คือศัตรูตัวเดียวกันกับชาติ #ปาเลสไตน์, #เลบานอน, #อิรัก, #อียิปต์, #ซีเรีย, และ #เยเมน ศัตรูคือคนตัวเดียวกัน วิธีการของศัตรูแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ Imam Sayyid Ali Khamenei . The enemy of the #Iranian nation is that same enemy of the #Palestinian, the #Lebanese, the #Iraqi, the #Egyptian, the #Syrian, and the #Yemeni nations. The enemy is one and the same. The enemy’s methods only vary in different countries. . 3:59 PM · Oct 6, 2024 · 19.2K Views https://x.com/khamenei_ir/status/1842852149035704483
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 12 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิหม่ามคาเมเนอีกล่าวปราศรัยในวันศุกร์ที่เตหะรานในวันนี้: ศัตรูของประชาชาติอิหร่านก็เช่นเดียวกันกับศัตรูของประชาชาติอิรัก, เช่นเดียวกันกับศัตรูของประชาชาติเลบานอน, เช่นเดียวกันกับศัตรูของประชาชาติอียิปต์; ศัตรูของพวกเราทุกคนคือหนึ่งเดียว
    .
    Imam Khamenei addressing the Friday prayers in Tehran today: The enemy of the Iranian nation is the same as the enemy of the Iraqi nation, the same as the enemy of the Lebanese nation, the same as the enemy of the Egyptian nation; the enemy of all of us is one.
    .
    3:53 PM · Oct 4, 2024 · 135.7K Views
    https://x.com/IRIran_Military/status/1842126003784601819
    อิหม่ามคาเมเนอีกล่าวปราศรัยในวันศุกร์ที่เตหะรานในวันนี้: ศัตรูของประชาชาติอิหร่านก็เช่นเดียวกันกับศัตรูของประชาชาติอิรัก, เช่นเดียวกันกับศัตรูของประชาชาติเลบานอน, เช่นเดียวกันกับศัตรูของประชาชาติอียิปต์; ศัตรูของพวกเราทุกคนคือหนึ่งเดียว . Imam Khamenei addressing the Friday prayers in Tehran today: The enemy of the Iranian nation is the same as the enemy of the Iraqi nation, the same as the enemy of the Lebanese nation, the same as the enemy of the Egyptian nation; the enemy of all of us is one. . 3:53 PM · Oct 4, 2024 · 135.7K Views https://x.com/IRIran_Military/status/1842126003784601819
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 23 มุมมอง 0 รีวิว
  • แฉเพจเจอร์สังหารที่เลบานอนและซีเรียเป็นเพจเจอร์ AR-924 ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์สั่งซื้อเมื่อ 5 เดือนก่อนจากบริษัทโกลด์ อพอลโล ซึ่งเป็นบริษัทไต้หวัน แต่ผลิตโดย BAC Consulting KFT ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองหลวงของฮังการี คร่าชีวิตอย่างน้อย 9 ราย รวมถึงเด็กหญิงวัย 8 ขวบ และผู้บาดเจ็บกว่า 3,000 รายรวมทั้ง เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศเลบานอนเป็นหนึ่งในผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิดพร้อมกันในกรุงเบรุตและซีเรีย

    18 กันยายน 2567-รายงานข่าวจาก นิวยอร์กไทมส์ เปิดเผยรายงานจากแหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ระบุว่าเพจเจอร์รุ่น AP924 จำนวนมากได้ถูกสั่งซื้อเมื่อ 5 เดือนก่อน จากบริษัทโกลด์ อพอลโล ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตในไต้หวัน พร้อมกล่าวอีกว่า เพจเจอร์ถูกอิสราเอลทำการดัดแปลงฮาร์ดแวร์ติดตั้งระเบิดขนาดเล็กเข้าไป อย่างไรก็ตาม บริษัทโกลด์ อพอลโล ได้ออกมายืนยันว่าบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบระเบิดดังกล่าว

    ทั้งนี้ เพจเจอร์สังหารนี้เป็นเพจเจอร์ AR-924 ที่บริษัทโกลด์ อพอลโลของไต้หวันเป็นเจ้าของแต่รุ่นนี้ผลิตโดย BAC Consulting KFT ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองบูดาเปรสเมืองหลวงของของฮังการี

    ประธานโกลด์อพอลโล นายซู ชิงกวง แถลงกับนักข่าวเมื่อวันพุธนี้ว่า บริษัทของเขามีข้อตกลงอนุญาตสิทธิ์กับBACมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว แต่ไม่ได้แสดงหลักฐานของสัญญาดังกล่าว

    “ ตามข้อตกลงความร่วมมือ เราอนุญาตให้ BAC ใช้เครื่องหมายการค้าตราสินค้าของเราสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ในภูมิภาคที่กำหนด แต่การออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นเป็นความรับผิดชอบของ BAC เพียงผู้เดียว” แถลงการณ์ระบุ

    เพจเจอร์ที่กลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ใช้ระเบิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันในวันอังคารในเลบานอนและซีเรีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 ราย รวมถึงเด็กหญิงวัย 8 ขวบ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 3,000 ราย ฮิซบอลเลาะห์และรัฐบาลเลบานอนกล่าวโทษอิสราเอลว่าเป็นผู้ก่อเหตุโจมตีจากระยะไกลที่ซับซ้อน

    ฟิรัส อาเบียด รัฐมนตรีสาธารณสุขเลบานอน กล่าวกับนักข่าวระหว่างเยี่ยมผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาลเมื่อเช้าวันพุธว่า ผู้บาดเจ็บหลายคนได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ดวงตา และบางคนถูกตัดแขนตัดขา นักข่าวไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องของโรงพยาบาลหรือถ่ายภาพผู้ป่วย

    รัฐมนตรีสาธารณสุขกล่าวว่า ผู้บาดเจ็บได้ถูกกระจายไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งมีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล และยังกล่าวเสริมว่า ตุรกี อิรัก อิหร่าน ซีเรีย และอียิปต์ เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือในการรักษาผู้ป่วย

    ก่อนหน้านี้ในวันพุธ เครื่องบินทหารของอิรักได้ลงจอดที่กรุงเบรุตพร้อมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สนามบินกล่าว อาเบียดกล่าวว่าเครื่องบินลำดังกล่าวบรรทุกยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 15 ตัน

    ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าวัตถุระเบิดถูกใส่ไว้ในเพจเจอร์ก่อนที่จะส่งมอบและนำไปใช้ในห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อน

    เพจเจอร์ AR-924 ซึ่งโฆษณาว่า "ทนทาน" มีแบตเตอรี่ลิเธียมแบบชาร์จไฟได้ ตามข้อมูลจำเพาะที่เคยโฆษณาไว้บนเว็บไซต์ของ Gold Apollo ก่อนที่มันจะถูกลบออกในวันอังคารหลังจากการโจมตีด้วยการก่อวินาศกรรม สามารถรับข้อความได้ยาวถึง 100 ตัวอักษร

    โฆษณานี้ยังอ้างว่าแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานนานถึง 85 วัน ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องสำคัญมากในเลบานอน ที่ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งหลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำมาหลายปี เพจเจอร์ยังทำงานบนเครือข่ายไร้สายที่แตกต่างจากโทรศัพท์มือถือ ทำให้มีความทนทานมากขึ้นในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่โรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกยังคงใช้เพจเจอร์นี้

    อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพอังกฤษซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ บอกกับบีบีซีว่า เพจเจอร์เหล่านี้น่าจะถูกบรรจุด้วยวัตถุระเบิดทางทหารน้ำหนักระหว่าง 10-20 กรัม ซ่อนอยู่ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปลอม

    เมื่ออุปกรณ์ได้รับการติดตั้งผ่านสัญญาณที่เรียกว่า "ข้อความตัวอักษรและตัวเลข" คนถัดไปที่ใช้เพจเจอร์จะเป็นผู้จุดชนวนวัตถุระเบิด ผู้เชี่ยวชาญกล่าว

    ลีนา คาติบ นักวิเคราะห์ตะวันออกกลางจากแชทแธม เฮาส์ (Chatham House) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในสหราชอาณาจักรบอกกับบีบีซีว่า "อิสราเอลได้ดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์ต่อฮิซบอลเลาะห์มาหลายเดือนแล้ว แต่การเจาะระบบครั้งนี้ได้ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด"

    https://youtu.be/inoQpYrhlEw?si=8tTUlra5JYLsr3oX

    #Thaitimes
    แฉเพจเจอร์สังหารที่เลบานอนและซีเรียเป็นเพจเจอร์ AR-924 ที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์สั่งซื้อเมื่อ 5 เดือนก่อนจากบริษัทโกลด์ อพอลโล ซึ่งเป็นบริษัทไต้หวัน แต่ผลิตโดย BAC Consulting KFT ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองหลวงของฮังการี คร่าชีวิตอย่างน้อย 9 ราย รวมถึงเด็กหญิงวัย 8 ขวบ และผู้บาดเจ็บกว่า 3,000 รายรวมทั้ง เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศเลบานอนเป็นหนึ่งในผู้บาดเจ็บจากเหตุระเบิดพร้อมกันในกรุงเบรุตและซีเรีย 18 กันยายน 2567-รายงานข่าวจาก นิวยอร์กไทมส์ เปิดเผยรายงานจากแหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ระบุว่าเพจเจอร์รุ่น AP924 จำนวนมากได้ถูกสั่งซื้อเมื่อ 5 เดือนก่อน จากบริษัทโกลด์ อพอลโล ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตในไต้หวัน พร้อมกล่าวอีกว่า เพจเจอร์ถูกอิสราเอลทำการดัดแปลงฮาร์ดแวร์ติดตั้งระเบิดขนาดเล็กเข้าไป อย่างไรก็ตาม บริษัทโกลด์ อพอลโล ได้ออกมายืนยันว่าบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบระเบิดดังกล่าว ทั้งนี้ เพจเจอร์สังหารนี้เป็นเพจเจอร์ AR-924 ที่บริษัทโกลด์ อพอลโลของไต้หวันเป็นเจ้าของแต่รุ่นนี้ผลิตโดย BAC Consulting KFT ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองบูดาเปรสเมืองหลวงของของฮังการี ประธานโกลด์อพอลโล นายซู ชิงกวง แถลงกับนักข่าวเมื่อวันพุธนี้ว่า บริษัทของเขามีข้อตกลงอนุญาตสิทธิ์กับBACมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว แต่ไม่ได้แสดงหลักฐานของสัญญาดังกล่าว “ ตามข้อตกลงความร่วมมือ เราอนุญาตให้ BAC ใช้เครื่องหมายการค้าตราสินค้าของเราสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ในภูมิภาคที่กำหนด แต่การออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นเป็นความรับผิดชอบของ BAC เพียงผู้เดียว” แถลงการณ์ระบุ เพจเจอร์ที่กลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ใช้ระเบิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันในวันอังคารในเลบานอนและซีเรีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 ราย รวมถึงเด็กหญิงวัย 8 ขวบ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 3,000 ราย ฮิซบอลเลาะห์และรัฐบาลเลบานอนกล่าวโทษอิสราเอลว่าเป็นผู้ก่อเหตุโจมตีจากระยะไกลที่ซับซ้อน ฟิรัส อาเบียด รัฐมนตรีสาธารณสุขเลบานอน กล่าวกับนักข่าวระหว่างเยี่ยมผู้บาดเจ็บในโรงพยาบาลเมื่อเช้าวันพุธว่า ผู้บาดเจ็บหลายคนได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ดวงตา และบางคนถูกตัดแขนตัดขา นักข่าวไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในห้องของโรงพยาบาลหรือถ่ายภาพผู้ป่วย รัฐมนตรีสาธารณสุขกล่าวว่า ผู้บาดเจ็บได้ถูกกระจายไปยังโรงพยาบาลในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โรงพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งมีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล และยังกล่าวเสริมว่า ตุรกี อิรัก อิหร่าน ซีเรีย และอียิปต์ เสนอที่จะให้ความช่วยเหลือในการรักษาผู้ป่วย ก่อนหน้านี้ในวันพุธ เครื่องบินทหารของอิรักได้ลงจอดที่กรุงเบรุตพร้อมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สนามบินกล่าว อาเบียดกล่าวว่าเครื่องบินลำดังกล่าวบรรทุกยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 15 ตัน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าวัตถุระเบิดถูกใส่ไว้ในเพจเจอร์ก่อนที่จะส่งมอบและนำไปใช้ในห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อน เพจเจอร์ AR-924 ซึ่งโฆษณาว่า "ทนทาน" มีแบตเตอรี่ลิเธียมแบบชาร์จไฟได้ ตามข้อมูลจำเพาะที่เคยโฆษณาไว้บนเว็บไซต์ของ Gold Apollo ก่อนที่มันจะถูกลบออกในวันอังคารหลังจากการโจมตีด้วยการก่อวินาศกรรม สามารถรับข้อความได้ยาวถึง 100 ตัวอักษร โฆษณานี้ยังอ้างว่าแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานนานถึง 85 วัน ซึ่งนั่นถือเป็นเรื่องสำคัญมากในเลบานอน ที่ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งหลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำมาหลายปี เพจเจอร์ยังทำงานบนเครือข่ายไร้สายที่แตกต่างจากโทรศัพท์มือถือ ทำให้มีความทนทานมากขึ้นในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่โรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลกยังคงใช้เพจเจอร์นี้ อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพอังกฤษซึ่งไม่ขอเปิดเผยชื่อ บอกกับบีบีซีว่า เพจเจอร์เหล่านี้น่าจะถูกบรรจุด้วยวัตถุระเบิดทางทหารน้ำหนักระหว่าง 10-20 กรัม ซ่อนอยู่ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปลอม เมื่ออุปกรณ์ได้รับการติดตั้งผ่านสัญญาณที่เรียกว่า "ข้อความตัวอักษรและตัวเลข" คนถัดไปที่ใช้เพจเจอร์จะเป็นผู้จุดชนวนวัตถุระเบิด ผู้เชี่ยวชาญกล่าว ลีนา คาติบ นักวิเคราะห์ตะวันออกกลางจากแชทแธม เฮาส์ (Chatham House) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในสหราชอาณาจักรบอกกับบีบีซีว่า "อิสราเอลได้ดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์ต่อฮิซบอลเลาะห์มาหลายเดือนแล้ว แต่การเจาะระบบครั้งนี้ได้ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด" https://youtu.be/inoQpYrhlEw?si=8tTUlra5JYLsr3oX #Thaitimes
    Like
    Sad
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1203 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)

    2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1]

    เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก

    ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520

    ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]

    จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]

    ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]

    เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]

    แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]

    คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่

    ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า

    “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน

    ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง

    ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

    และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)

    และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน

    เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก

    จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]

    ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า

    ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว

    อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]

    โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ

    ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]

    ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]

    การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]

    นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว

    แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่

    โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]

    ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก

    แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]

    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย

    อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า

    “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]

    นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้

    “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย  

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ

    2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน

    และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า

    “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี

    วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
    2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน

    ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
    ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน

    “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์

    จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]

    นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]

    หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด

    แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้

    โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ

    อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า

    ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]

    หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด

    ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    12 กันยายน 2567

    อ้างอิง
    [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.

    [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
    https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html

    [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
    https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977

    [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
    https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/

    [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
    https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg

    [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903

    [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
    https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php

    [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577

    [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178

    [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615

    [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798

    [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335

    [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723

    [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒

    ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox) 2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1] เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2] จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4] ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3] เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3] แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3] คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่ ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน) และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6] ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3] โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3] ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3] การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3] นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่ โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7] ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7] จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8] นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย   1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ 2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8] เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่ 1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9] อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15] นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16] หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้ โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17] หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 12 กันยายน 2567 อ้างอิง [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0. [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017 https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558 https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977 [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/ [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024 https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903 [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567 https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567 https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577 [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178 [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615 [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798 [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335 [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723 [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒
    Like
    Love
    Yay
    132
    3 ความคิดเห็น 4 การแบ่งปัน 3403 มุมมอง 3 รีวิว
  • #เกริ่นนำ#
    ต้องเข้าใจก่อนว่า เดิมทีแต่ละอารยธรรมโบราณ ทั้งเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก โรมัน และจีน ในยุคย้อนไปสัก3000 ปี (โดยประมาณ)ต่างประดิษฐ์ตัวเลขหรือระบบสัญลักษณ์ขึ้นมาใช้แทนการนับจำนวนเป็นของตัวเอง โดยแต่่ละวัฒนธรรมล้วนแตกต่างกัน แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้ ตัวเลขฮินดูอารบิก (Hindu-Arabic numerals) แพร่หลายไปทั่วโลกจนกลายเป็นระบบกลางหรือระบบสากลของมนุษยชาติอย่างทุกวันนี้ ที่เราทุกคนอ่านออกเขียนได้ และเข้าใจความหมายตรงกัน คือ ชาวยุโรป

    คนยุโรปไม่ได้คิดค้นเลขฮินดูอารบิก แต่ใช้วิธีหยิบยืมระบบตัวเลขมาจากวัฒนธรรมฮินดูและอาหรับอีกทอดหนึ่ง สังเกตได้ง่ายๆ จากชื่อเรียกระบบเลขชุดนี้ว่า ฮินดู และ อารบิก
    ตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นที่รู้จักทั่วโลกเพราะชาวยุโรป ผ่านการขยายอิทธิพลของอารยธรรม ในยุคล่าอณานิคม หรือส่งผ่านสู่การค้าการขาย

    รูปแบบการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกในยุโรปเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ เลโอนาร์โด ฟิโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ตีพิมพ์หนังสือ Liber Abaci หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Book of the Abacus หรือ Book of Calculation ในปี 1202 โดยมีเนื้อหาหลัก คือ เน้นอธิบายการแก้โจทย์ปัญหาและวิธีการคำนวณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก เวลาต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมทั่วยุโรป ทำให้ผู้คนจดจำวิธีการเขียนตัวเลขในแบบฉบับของฟิโบนัชชีไปโดยปริยาย
    #เกริ่นนำ# ต้องเข้าใจก่อนว่า เดิมทีแต่ละอารยธรรมโบราณ ทั้งเมโสโปเตเมีย อียิปต์ กรีก โรมัน และจีน ในยุคย้อนไปสัก3000 ปี (โดยประมาณ)ต่างประดิษฐ์ตัวเลขหรือระบบสัญลักษณ์ขึ้นมาใช้แทนการนับจำนวนเป็นของตัวเอง โดยแต่่ละวัฒนธรรมล้วนแตกต่างกัน แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้ ตัวเลขฮินดูอารบิก (Hindu-Arabic numerals) แพร่หลายไปทั่วโลกจนกลายเป็นระบบกลางหรือระบบสากลของมนุษยชาติอย่างทุกวันนี้ ที่เราทุกคนอ่านออกเขียนได้ และเข้าใจความหมายตรงกัน คือ ชาวยุโรป คนยุโรปไม่ได้คิดค้นเลขฮินดูอารบิก แต่ใช้วิธีหยิบยืมระบบตัวเลขมาจากวัฒนธรรมฮินดูและอาหรับอีกทอดหนึ่ง สังเกตได้ง่ายๆ จากชื่อเรียกระบบเลขชุดนี้ว่า ฮินดู และ อารบิก ตัวเลขฮินดูอารบิกเป็นที่รู้จักทั่วโลกเพราะชาวยุโรป ผ่านการขยายอิทธิพลของอารยธรรม ในยุคล่าอณานิคม หรือส่งผ่านสู่การค้าการขาย รูปแบบการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกในยุโรปเป็นรูปเป็นร่างเมื่อ เลโอนาร์โด ฟิโบนัชชี (Leonardo Fibonacci) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน ตีพิมพ์หนังสือ Liber Abaci หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Book of the Abacus หรือ Book of Calculation ในปี 1202 โดยมีเนื้อหาหลัก คือ เน้นอธิบายการแก้โจทย์ปัญหาและวิธีการคำนวณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก เวลาต่อมาหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมทั่วยุโรป ทำให้ผู้คนจดจำวิธีการเขียนตัวเลขในแบบฉบับของฟิโบนัชชีไปโดยปริยาย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 199 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าเอลไม่ยอมประนีประนอมข้อเสนอที่ผู้ไกล่เกลี่ยเสนอในระหว่างการเจรจาหยุดโจมตีที่กรุงไคโรเมื่อวันอาทิตย์
    ข้อเสนอดังกล่าวรวมถึงทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการมีกองกำลังเอลอยู่ในบริเวณฟิลาเดลเฟียและบริเวณเน็ตซาริม แต่แหล่งข่าวจากอียิปต์กล่าวว่าเอลไม่ยอมรับข้อเสนอเหล่านี้
    แหล่งข่าวเสริมว่า เอลยังแสดงความสงวนท่าทีต่อผู้ถูกคุมขังชาวปาเลสหลายรายที่กลุ่มผู้ปกป้องดินแดนปาเลสเรียกร้องให้ปล่อยตัว และเรียกร้องให้กองทัพของพวกเขาออกจากกาซาหากพวกเขาได้รับการปล่อยตัวเชลยแล้ว
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าเอลไม่ยอมประนีประนอมข้อเสนอที่ผู้ไกล่เกลี่ยเสนอในระหว่างการเจรจาหยุดโจมตีที่กรุงไคโรเมื่อวันอาทิตย์ ข้อเสนอดังกล่าวรวมถึงทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการมีกองกำลังเอลอยู่ในบริเวณฟิลาเดลเฟียและบริเวณเน็ตซาริม แต่แหล่งข่าวจากอียิปต์กล่าวว่าเอลไม่ยอมรับข้อเสนอเหล่านี้ แหล่งข่าวเสริมว่า เอลยังแสดงความสงวนท่าทีต่อผู้ถูกคุมขังชาวปาเลสหลายรายที่กลุ่มผู้ปกป้องดินแดนปาเลสเรียกร้องให้ปล่อยตัว และเรียกร้องให้กองทัพของพวกเขาออกจากกาซาหากพวกเขาได้รับการปล่อยตัวเชลยแล้ว . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 344 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสแต่งตั้งยาห์ยา ซินวาร์ ผู้วางแผนการโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ให้เป็นผู้นำคนใหม่ หลังจากฮาร์นิเยห์อดีตผู้นำฮามาสถูกลอบสังหารขณะอยู่ในอิหร่าน

    7 สิงหาคม 2567- รายงานวิกิพีเดียระบุประวัติซินวาร์เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยข่านยูนิสในฉนวนกาซาที่ปกครองโดยอียิปต์เมื่อปีพ.ศ. 2505 ในครอบครัวที่ถูกขับไล่หรือหลบหนีจากอัชเคลอนในช่วงสงครามปาเลสไตน์ในปีพ.ศ. 2491เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งฉนวนกาซาซึ่งเขาได้รับปริญญาตรีสาขาอาหรับศึกษา

    สำหรับกรณีลักพาตัวและสังหารทหารอิสราเอล 2 นายและชาวปาเลสไตน์ 4 นายซึ่งเขาถือว่าเป็นผู้ร่วมมือในปี 1989 ซินวาร์ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตสี่ครั้งโดยอิสราเอล ต้องรับโทษ 22 ปีจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวพร้อมผู้ต้องขังอีก 1,026 คนในการแลกเปลี่ยนนักโทษกับกิลาด ชาลิตทหาร อิสราเอลในปี 2011 ซินวาร์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมของหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของกลุ่มฮามาสในปี 2017 เขาได้รับเลือกเป็นผู้นำของกลุ่มฮามาสและอ้างว่าจะแสวงหา "การต่อต้านอย่างสันติและเป็นที่นิยม" ต่อการยึดครองของอิสราเอลในปีถัดมา
    เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้นำของกลุ่มฮามาสอีกครั้งในปี 2021 และตกเป็นเป้าหมายการลอบสังหารโดยอิสราเอลในปีนั้น ซินวาร์ถูกมองว่าเป็นผู้วางแผนเบื้องหลังการโจมตีอิสราเอลที่นำโดยกลุ่มฮามาสในปี 2023เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023

    ในเดือนกันยายน 2015 ซินวาร์ถูกหมายหัวเป็นผู้ก่อการร้ายโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และฮามาสและกองกำลัง Izz ad-Din al-Qassamได้รับการกำหนดให้เป็นองค์กรก่อการร้ายโดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2024 คาริม ข่าน อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศยื่นขอหมายจับซินวาร์ในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนของ ICC ในปาเลสไตน

    ซินวาร์ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่โดดเด่นที่สุดของฮามาส

    รายงานข่าวPolitico ระบุว่า ซินวาร์ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาตั้งแต่ปี 2560 แทบจะไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะเลย แต่ยังคงควบคุมอำนาจของกลุ่มฮามาสในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเหนียวแน่น เขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับกองกำลังเดฟและกองกำลังคัสซัมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางทหารของกลุ่ม

    ในการปรากฏตัวไม่กี่ครั้ง ซินวาร์ได้จบการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสาธารณะในฉนวนกาซาด้วยการเชิญชวนอิสราเอลให้ลอบสังหารเขา โดยประกาศว่า “ฉันจะเดินกลับบ้านหลังการประชุมครั้งนี้” จากนั้นเขาก็ทำเช่นนั้น โดยจับมือและถ่ายเซลฟี่กับผู้คนบนท้องถนน

    เขาซ่อนตัวอยู่ใต้ดินตั้งแต่การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเป็นชนวนให้อิสราเอลโจมตีและโจมตีเพื่อทำลายกลุ่มฮามาส ปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตเกือบ 40,000 คน ประชากร 2.3 ล้านคนส่วนใหญ่ถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือน และพื้นที่ส่วนใหญ่ในเมืองต่างๆ ในฉนวนกาซาถูกทำลาย ในเดือนพฤษภาคม อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้ขอหมายจับซินวาร์ในข้อหาอาชญากรรมสงครามจากการโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม รวมถึงนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลและรัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอลในข้อหาอาชญากรรมสงคราม

    ฮิวจ์ โลวัต ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จากสภายุโรปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวว่าการปลดผู้นำระดับสูงคนอื่นๆ ออกไปช่วยเปิดทางให้ซินวาร์ “เมื่อสองสัปดาห์ก่อน แทบไม่มีใครคาดคิดว่าซินวาร์จะเป็นผู้นำคนต่อไปของกลุ่ม แม้ว่าเขาจะมีอิทธิพลอย่างมากจากฉนวนกาซาก็ตาม” เขากล่าว

    การสังหารฮานิเยห์ ซึ่งค่อนข้างเป็นคนสายกลาง “ไม่เพียงแต่เปิดทางให้ซินวาร์อ้างสิทธิ์ในการควบคุมฮามาสได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังดูเหมือนจะทำให้กลุ่มนี้มุ่งไปสู่แนวทางที่แข็งกร้าวมากขึ้นด้วย” เขากล่าว

    #Thaitimes
    ฮามาสแต่งตั้งยาห์ยา ซินวาร์ ผู้วางแผนการโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ให้เป็นผู้นำคนใหม่ หลังจากฮาร์นิเยห์อดีตผู้นำฮามาสถูกลอบสังหารขณะอยู่ในอิหร่าน 7 สิงหาคม 2567- รายงานวิกิพีเดียระบุประวัติซินวาร์เกิดในค่ายผู้ลี้ภัยข่านยูนิสในฉนวนกาซาที่ปกครองโดยอียิปต์เมื่อปีพ.ศ. 2505 ในครอบครัวที่ถูกขับไล่หรือหลบหนีจากอัชเคลอนในช่วงสงครามปาเลสไตน์ในปีพ.ศ. 2491เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งฉนวนกาซาซึ่งเขาได้รับปริญญาตรีสาขาอาหรับศึกษา สำหรับกรณีลักพาตัวและสังหารทหารอิสราเอล 2 นายและชาวปาเลสไตน์ 4 นายซึ่งเขาถือว่าเป็นผู้ร่วมมือในปี 1989 ซินวาร์ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตสี่ครั้งโดยอิสราเอล ต้องรับโทษ 22 ปีจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวพร้อมผู้ต้องขังอีก 1,026 คนในการแลกเปลี่ยนนักโทษกับกิลาด ชาลิตทหาร อิสราเอลในปี 2011 ซินวาร์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมของหน่วยงานรักษาความปลอดภัยของกลุ่มฮามาสในปี 2017 เขาได้รับเลือกเป็นผู้นำของกลุ่มฮามาสและอ้างว่าจะแสวงหา "การต่อต้านอย่างสันติและเป็นที่นิยม" ต่อการยึดครองของอิสราเอลในปีถัดมา เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้นำของกลุ่มฮามาสอีกครั้งในปี 2021 และตกเป็นเป้าหมายการลอบสังหารโดยอิสราเอลในปีนั้น ซินวาร์ถูกมองว่าเป็นผู้วางแผนเบื้องหลังการโจมตีอิสราเอลที่นำโดยกลุ่มฮามาสในปี 2023เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 ในเดือนกันยายน 2015 ซินวาร์ถูกหมายหัวเป็นผู้ก่อการร้ายโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และฮามาสและกองกำลัง Izz ad-Din al-Qassamได้รับการกำหนดให้เป็นองค์กรก่อการร้ายโดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2024 คาริม ข่าน อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศยื่นขอหมายจับซินวาร์ในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนของ ICC ในปาเลสไตน ซินวาร์ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่โดดเด่นที่สุดของฮามาส รายงานข่าวPolitico ระบุว่า ซินวาร์ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาตั้งแต่ปี 2560 แทบจะไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะเลย แต่ยังคงควบคุมอำนาจของกลุ่มฮามาสในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างเหนียวแน่น เขาทำงานอย่างใกล้ชิดกับกองกำลังเดฟและกองกำลังคัสซัมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางทหารของกลุ่ม ในการปรากฏตัวไม่กี่ครั้ง ซินวาร์ได้จบการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสาธารณะในฉนวนกาซาด้วยการเชิญชวนอิสราเอลให้ลอบสังหารเขา โดยประกาศว่า “ฉันจะเดินกลับบ้านหลังการประชุมครั้งนี้” จากนั้นเขาก็ทำเช่นนั้น โดยจับมือและถ่ายเซลฟี่กับผู้คนบนท้องถนน เขาซ่อนตัวอยู่ใต้ดินตั้งแต่การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ซึ่งเป็นชนวนให้อิสราเอลโจมตีและโจมตีเพื่อทำลายกลุ่มฮามาส ปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตเกือบ 40,000 คน ประชากร 2.3 ล้านคนส่วนใหญ่ถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือน และพื้นที่ส่วนใหญ่ในเมืองต่างๆ ในฉนวนกาซาถูกทำลาย ในเดือนพฤษภาคม อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้ขอหมายจับซินวาร์ในข้อหาอาชญากรรมสงครามจากการโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม รวมถึงนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอลและรัฐมนตรีกลาโหมของอิสราเอลในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ฮิวจ์ โลวัต ผู้เชี่ยวชาญด้านความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จากสภายุโรปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กล่าวว่าการปลดผู้นำระดับสูงคนอื่นๆ ออกไปช่วยเปิดทางให้ซินวาร์ “เมื่อสองสัปดาห์ก่อน แทบไม่มีใครคาดคิดว่าซินวาร์จะเป็นผู้นำคนต่อไปของกลุ่ม แม้ว่าเขาจะมีอิทธิพลอย่างมากจากฉนวนกาซาก็ตาม” เขากล่าว การสังหารฮานิเยห์ ซึ่งค่อนข้างเป็นคนสายกลาง “ไม่เพียงแต่เปิดทางให้ซินวาร์อ้างสิทธิ์ในการควบคุมฮามาสได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังดูเหมือนจะทำให้กลุ่มนี้มุ่งไปสู่แนวทางที่แข็งกร้าวมากขึ้นด้วย” เขากล่าว #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 591 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ฝรั่งเศสเอาชนะสหรัฐอเมริกา 3-0 โดย อเล็กซานเดร ลากาแซ็ตต์ ยิงประตูจากระยะไกลใน นาที ที่ 61 ,มิชาเอล โอลิเซ่และ โลอิก บาเด้ ทำให้ฝรั่งเศสขึ้นเป็นจ่าฝูงของกลุ่มเอ นำหน้านิวซีแลนด์ที่เอาชนะกินีไป 2-1 โดยเบน เวน ยิงประตูขึ้นนำ และนิวซีแลนด์คว้าชัยชนะในนัดเปิดสนามกลุ่มเอเหนือกินีในเมืองนีซ

    ขณะที่เกมวันเปิดการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกดุเดือด โมร็อกโกเอาชนะอาร์เจนตินาไป 2-1 โมร็อกโก 2, อาร์เจนตินา 1 แต่เกมต้องหยุดการแข่งขันไปประมาณ 2 ชั่วโมงเนื่องจากแฟนบอลบุกเข้าไปในสนามในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ โดย ราฮิมี่ยิงให้โมร็อกโกขึ้นนำในช่วงทดเวลาบาดเจ็บครึ่งแรก จากนั้นยิงจุดโทษเข้าประตูในนาทีที่ 49

    ส่วนกลุ่มซี สเปนชนะอุซเบกิสถาน 2-1 โดยเซร์คิโอ โกเมซ ยิงประตูชัยให้สเปนเอาชนะอุซเบกิสถาน ในเกมนัดเปิดสนามกลุ่มซี ที่ปาร์กเดส์แพร็งซ์ในปารีส

    ส่วน อียิปต์และสาธารณรัฐโดมินิกันเสมอกันแบบไร้สกอร์ในกลุ่ม C ที่เมืองน็องต์ อียิปต์เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก 13 ครั้ง ซึ่งมากที่สุด แต่ไม่เคยจบการแข่งขันได้สูงกว่าอันดับสี่ ทีมอียิปต์นี้ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในโอลิมปิกที่โตเกียว

    อย่างไรก็ตามวันแรกของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส การแข่งขันฟุตบอลระหว่างอาร์เจนตินาและโมร็อกโกต้องถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากเหตุการณ์ แฟนบอลโมร็อกโกไม่พอใจ ต่างวิ่งเข้าไปในสนาม ขณะที่บางคนขว้างขยะใส่ ทำให้เกมต้องหยุดชะงักลงอย่างเป็นทางการ สนามมาร์โรนีส์ และเกิดเหตุการณ์ กระเป๋าสตางค์ แหวน และนาฬิกาของนักกีฬาถูกขโมย รถของทีมจักรยานออสเตรเลียถูกทำลาย และข้าวของส่วนตัวของนักกีฬาถูกขโมยไป

    https://www.lemonde.fr/en/sports/article/2024/07/25/paris-2024-olympic-men-s-football-matchday-1-roundup_6697507_9.html
    ผลการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ฝรั่งเศสเอาชนะสหรัฐอเมริกา 3-0 โดย อเล็กซานเดร ลากาแซ็ตต์ ยิงประตูจากระยะไกลใน นาที ที่ 61 ,มิชาเอล โอลิเซ่และ โลอิก บาเด้ ทำให้ฝรั่งเศสขึ้นเป็นจ่าฝูงของกลุ่มเอ นำหน้านิวซีแลนด์ที่เอาชนะกินีไป 2-1 โดยเบน เวน ยิงประตูขึ้นนำ และนิวซีแลนด์คว้าชัยชนะในนัดเปิดสนามกลุ่มเอเหนือกินีในเมืองนีซ ขณะที่เกมวันเปิดการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกดุเดือด โมร็อกโกเอาชนะอาร์เจนตินาไป 2-1 โมร็อกโก 2, อาร์เจนตินา 1 แต่เกมต้องหยุดการแข่งขันไปประมาณ 2 ชั่วโมงเนื่องจากแฟนบอลบุกเข้าไปในสนามในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ โดย ราฮิมี่ยิงให้โมร็อกโกขึ้นนำในช่วงทดเวลาบาดเจ็บครึ่งแรก จากนั้นยิงจุดโทษเข้าประตูในนาทีที่ 49 ส่วนกลุ่มซี สเปนชนะอุซเบกิสถาน 2-1 โดยเซร์คิโอ โกเมซ ยิงประตูชัยให้สเปนเอาชนะอุซเบกิสถาน ในเกมนัดเปิดสนามกลุ่มซี ที่ปาร์กเดส์แพร็งซ์ในปารีส ส่วน อียิปต์และสาธารณรัฐโดมินิกันเสมอกันแบบไร้สกอร์ในกลุ่ม C ที่เมืองน็องต์ อียิปต์เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก 13 ครั้ง ซึ่งมากที่สุด แต่ไม่เคยจบการแข่งขันได้สูงกว่าอันดับสี่ ทีมอียิปต์นี้ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในโอลิมปิกที่โตเกียว อย่างไรก็ตามวันแรกของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส การแข่งขันฟุตบอลระหว่างอาร์เจนตินาและโมร็อกโกต้องถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากเหตุการณ์ แฟนบอลโมร็อกโกไม่พอใจ ต่างวิ่งเข้าไปในสนาม ขณะที่บางคนขว้างขยะใส่ ทำให้เกมต้องหยุดชะงักลงอย่างเป็นทางการ สนามมาร์โรนีส์ และเกิดเหตุการณ์ กระเป๋าสตางค์ แหวน และนาฬิกาของนักกีฬาถูกขโมย รถของทีมจักรยานออสเตรเลียถูกทำลาย และข้าวของส่วนตัวของนักกีฬาถูกขโมยไป https://www.lemonde.fr/en/sports/article/2024/07/25/paris-2024-olympic-men-s-football-matchday-1-roundup_6697507_9.html
    WWW.LEMONDE.FR
    Paris 2024: Olympic men's football matchday 1 roundup
    Japan were the big winners on the opening night of men's football at the Olympic Games, as they dished out a battering to 10-man Paraguay. France beat the US 3-0, and Morocco got a win against Argentina in a wild start to Olympic soccer.
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 418 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเขา “สนับสนุนชาวปาเลสอย่างมาก” และ “ทำเพื่อชุมชนปาเลสมากกว่าใครๆ” โดยในบทสัมภาษณ์ เขายังเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มไซออนิสต์” อีกด้วย
    “ผมคือคนที่เปิดเผยทรัพย์สินทั้งหมด ผมคือคนที่ทำให้แน่ใจว่าผมสามารถพาชาวอียิปต์เปิดชายแดนเพื่อให้สินค้าต่างๆ เช่น ยาและอาหารผ่านเข้าประเทศได้” เขากล่าวกับนักข่าว ในรายการทอล์คโชว์ทาง YouTube 360 With Speedy
    เมื่อถูกถามถึงการสนับสนุนเอล รวมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์และความช่วยเหลือทางทหาร ไบเดนกล่าวว่าเขา "ปฏิเสธที่จะส่งยุทโธปกรณ์ร้ายแรงให้แก่เอล"
    “ผมชี้แจงให้ชัดเจนว่า เอล ไม่สามารถใช้สิ่งที่เรามอบให้พวกเขาเพื่อใช้ในพื้นที่พลเรือนได้” เขากล่าว
    การอ้างว่าไบเดนสนับสนุนชาวปาเลสถูกตำหนิอย่างรวดเร็วทางออนไลน์
    “คุณคงคิดว่าคนที่มีส่วนในการดับชีพชาวปาเลสไป 38,000 คนในช่วงที่ดำรงตำแหน่งน่าจะมีความถ่อมตัวมากกว่านี้หน่อย” นักวิจารณ์คนหนึ่งเขียนบนโซเชียลมีเดียในการโพสต์ซ้ำบทสัมภาษณ์ของไบเดน
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    ประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ กล่าวว่าเขา “สนับสนุนชาวปาเลสอย่างมาก” และ “ทำเพื่อชุมชนปาเลสมากกว่าใครๆ” โดยในบทสัมภาษณ์ เขายังเรียกตัวเองว่าเป็น “กลุ่มไซออนิสต์” อีกด้วย “ผมคือคนที่เปิดเผยทรัพย์สินทั้งหมด ผมคือคนที่ทำให้แน่ใจว่าผมสามารถพาชาวอียิปต์เปิดชายแดนเพื่อให้สินค้าต่างๆ เช่น ยาและอาหารผ่านเข้าประเทศได้” เขากล่าวกับนักข่าว ในรายการทอล์คโชว์ทาง YouTube 360 With Speedy เมื่อถูกถามถึงการสนับสนุนเอล รวมถึงการจัดหายุทโธปกรณ์และความช่วยเหลือทางทหาร ไบเดนกล่าวว่าเขา "ปฏิเสธที่จะส่งยุทโธปกรณ์ร้ายแรงให้แก่เอล" “ผมชี้แจงให้ชัดเจนว่า เอล ไม่สามารถใช้สิ่งที่เรามอบให้พวกเขาเพื่อใช้ในพื้นที่พลเรือนได้” เขากล่าว การอ้างว่าไบเดนสนับสนุนชาวปาเลสถูกตำหนิอย่างรวดเร็วทางออนไลน์ “คุณคงคิดว่าคนที่มีส่วนในการดับชีพชาวปาเลสไป 38,000 คนในช่วงที่ดำรงตำแหน่งน่าจะมีความถ่อมตัวมากกว่านี้หน่อย” นักวิจารณ์คนหนึ่งเขียนบนโซเชียลมีเดียในการโพสต์ซ้ำบทสัมภาษณ์ของไบเดน . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 324 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหล่าเยาวชนตัวน้อยผู้บบาดเจ็บ จากกาซาขึ้นเครื่องบินที่จัดเตรียมโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ ท่าอากาศยานเอลอาริช ในอียิปต์ เมื่อวันพฤหัสบดี
    พวกเขาได้ถูกส่งตัวไปที่อาบูดาบี ซึ่งจะได้รับการรักษาอาการบาดเจ็บจากการโจมตีด้วยระเบิดของเอลในกาซา รวมถึงอาการป่วยอื่นๆ รวมทั้งโรคมะเร็ง
    ในเดือนมิถุนายน องค์กรการกุศล 3 แห่งของสหรัฐฯ และองค์การอนามัยโลกได้ประสานงานการเดินทางออกของเยาวชนชาวปาเลสที่เป็นมะเร็งจำนวน 21 คน โดยต้องเดินทางผ่านเส้นทาง Karem Abu Salem (Kerem Shalom) ที่ซับซ้อนไปยังประเทศอียิปต์
    ดร.โมฮัมเหม็ด ซาคูต หัวหน้าโรงพยาบาลในกาซา กล่าวว่า ผู้ป่วยในกาซามากกว่า 25,000 รายจำเป็นต้องได้รับการรักษาในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงเยาวชนที่เป็นโรคมะเร็ง 980 ราย โดย 1 ใน 4 จำเป็นต้อง "อพยพอย่างเร่งด่วนและทันที"
    .
    #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews
    #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง
    -------------------------------
    สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    เหล่าเยาวชนตัวน้อยผู้บบาดเจ็บ จากกาซาขึ้นเครื่องบินที่จัดเตรียมโดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ ท่าอากาศยานเอลอาริช ในอียิปต์ เมื่อวันพฤหัสบดี พวกเขาได้ถูกส่งตัวไปที่อาบูดาบี ซึ่งจะได้รับการรักษาอาการบาดเจ็บจากการโจมตีด้วยระเบิดของเอลในกาซา รวมถึงอาการป่วยอื่นๆ รวมทั้งโรคมะเร็ง ในเดือนมิถุนายน องค์กรการกุศล 3 แห่งของสหรัฐฯ และองค์การอนามัยโลกได้ประสานงานการเดินทางออกของเยาวชนชาวปาเลสที่เป็นมะเร็งจำนวน 21 คน โดยต้องเดินทางผ่านเส้นทาง Karem Abu Salem (Kerem Shalom) ที่ซับซ้อนไปยังประเทศอียิปต์ ดร.โมฮัมเหม็ด ซาคูต หัวหน้าโรงพยาบาลในกาซา กล่าวว่า ผู้ป่วยในกาซามากกว่า 25,000 รายจำเป็นต้องได้รับการรักษาในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงเยาวชนที่เป็นโรคมะเร็ง 980 ราย โดย 1 ใน 4 จำเป็นต้อง "อพยพอย่างเร่งด่วนและทันที" . #WAYTNEWS #WayTNews #waytnews #ข่าวสารอัพเดท #ติดตามข่าว #สถานการณ์ปัจจุบัน #ข่าวสารความจริง ------------------------------- สนใจโปรไวต้า คลิก▶ https://www.facebook.com/TPIPolene?locale=t
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 248 มุมมอง 0 รีวิว