กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
403 มุมมอง
0 รีวิว