รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 10 ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน
.
สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล
.
มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้
.
การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู
.
นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้
.
รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม
.
เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น
.
การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้
.
(1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ
(2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน
(3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท)
.
เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้
.
สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล
.
มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้
.
การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู
.
นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้
.
รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม
.
เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น
.
การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้
.
(1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ
(2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน
(3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท)
.
เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้
รู้จักใช้ เข้าใจเงิน ตอนที่ 10 ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเงิน
.
สุภาษิตจีนบอกว่า หากจะกินผลไม้ที่ปลูกเองอย่างเร็วที่สุดก็ต้องปลูกวันนี้เลย ถ้าจะให้ผลิดอกออกผลอย่างดีแล้ว ก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของมันตั้งแต่แรก และวางแผนก่อนลงมือปลูกว่าจะปลูกที่ใด ห่างจากต้นไม้อื่นมากน้อยแค่ไหน การผลิดอกออกผลของเงินก็เหมือนกัน จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของมัน และวางแผนเพื่อความมั่นคงที่จะได้ดอกผล
.
มีความตรงหลายประเด็นที่ควรทำความเข้าใจ นั่นคือเงินเป็นได้ทั้งนาย ทาส มิตร และศัตรู ถ้าผู้ใดยอมให้เงินเป็นนาย ชีวิตก็จะอับเฉา เพราะจริยธรรมจะเป็นเรื่องรองจากการแสวงหาเงินทอง การใช้เล่ห์เพทุบายฉ้อฉลคดโกงจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนเหล่านี้ เพราะสามารถกระทำได้ทุกสิ่งเพียงให้ได้เงิน แต่ถ้าเห็นว่าเงินมิใช่เรื่องใหญ่ที่สุด และสามารถมีวินัยควบคุมตนเองให้มีอำนาจเหนือเงินได้แล้ว เงินก็จะเป็นทาสรับใช้และเป็นมิตรไปพร้อมๆกันด้วย เพราะเงินจะทำงานรับใช้ตลอดเวลา โดยจะหาเงินมาให้จากการที่ได้เอาเงินไปลงทุนไว้
.
การที่เงินเป็นศัตรูนั้นเกิดขึ้นเมื่อต้องกู้หนี้ยืมสิน เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่เงินในมือมีไม่พอ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็คือการเป็นศัตรูของเงิน เพราะมันจะทิ่มแทงผู้กู้ตลอดเวลาทั้งหลับและตื่น การเลือกให้เงินเป็นทาสและให้เงินเป็นมิตรจึงเป็นสิ่งพึงประสงค์กว่ากรณีเงินเป็นนายและศัตรู
.
นอกจากนี้การใช้เงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนนั้น ควรมีลำดับความสำคัญเรียงลงไปดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ ซึ่งได้แก่ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าเสื้อผ้า ค่าหย่อนใจ สิ่งเหล่านี้สำคัญที่สุดเพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอด (2) กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองฉุกเฉินในรูปของเงินฝากออมทรัพย์ หรือการลงทุนระยะสั้นที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันกาล (3) จ่ายภาระหนี้สินที่จำเป็น เช่น เงินผ่อนชำระหนี้เพื่อการบริโภค (หนี้บัตรเครดิต) และเพื่อการศึกษา และ (4) หักเงินไว้สำหรับแผนการในอนาคตที่สำคัญเพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขสบายและมั่นคง เช่น ค่าดาวน์บ้าน ค่าดาวน์รถยนต์ ทุนการศึกษาของลูก ค่าภาษีปลายปี เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินอย่างอื่นเพื่อเป็นทุนตอนเกษียฯอายุ (5) หักเบี้ยประกันชีวิต ประกันรถยนต์ และค่าประกันอื่นๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต การประกันเหล่านี้แท้จริงแล้วก็คือการประกันเงินออมทางอ้อมนั่นเอง เพราะหากไม่มีการประกันแล้ว เหตุการณ์ที่ทำให้เสียเงินมากๆ โดยไม่คาดฝันจะทำให้ต้องเอาเงินออมออกมาใช้จนอาจหมดไปก็เป็นได้
.
รายจ่ายทั้ง 5 รายการนี้ปนเปกันอยู่ทั้งรายจ่ายเพื่อการบริโภคและเงินออม (ค่าดาวน์บ้าน ทุนการศึกษา ค่าดาวน์รถยนต์ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ) สิ่งสำคัญก็คือ ในภาพรวมของช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น หนึ่งปี รายจ่ายเพื่อการบริโภครวมกันไม่ควรเกินร้อยละ 85 ซึ่งหมายถึงมีเงินออมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นอัตราต่ำสุดของการออม
.
เงินมีแขนขา มีพลวัตไม่หยุดนิ่ง การมีรายได้น้อยแต่ยังพอมีชีวิตอยู่รอดด้วยปัจจัยสี่ระดับพื้นฐาน มิได้หมายความว่าขาดโอกาสในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิต ถ้าหากสามารถกันเงินส่วนหนึ่งออกจากรายได้ก่อนการบริโภค ก็จะทำให้มีเงินออมเป็นทุนเริ่มต้น
.
การออมทำได้หลายวิธี ดังนี้
.
(1) เก็บเงินแบบเพิ่มสิบ กล่าวคือเมื่อใดก็ตามที่ใช้เงินออกไป ให้บวกยอดเงินเข้าไปอีกร้อยละ 10 เช่น ถ้าซื้อของ 100 บาท ก็ให้เก็บเงินไว้อีก 10 บาทเสมอ ถ้าทำอย่างนี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะจ่ายออกไปมากน้อยเพียงใด ก็จะมีเงินออมร้อยละ 10 อยู่ในมือเสมอ ข้อดีของมันคล้ายกับมีภาษีเก็บเพิ่มนั่นเอง เช่น เมื่อจะซื้อของราคา 500 บาท ก็จะเกิดความคิดว่าราคาของมันคือ 550 บาท ดังนั้น การใช้จ่ายก็จะน้อยลงไปด้วยโดยอัตโนมัติ
(2) เก็บเงินแบบลบสิบ กล่าวคือ หักเงินร้อยละ 10 ของเงินเดือนทันทีที่ได้รับมาเป็นเงินออม โดยอาจเป็นการสั่งให้หักเงินเดือนเข้าอีกบัญชีหนึ่งในอัตราร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน การกระทำเช่นนี้ก็จะทำให้มีเงินออมร้อยละ 10 ของรายได้ทุกเดือน
(3) กำหนดการออมแต่ละวันไว้ตายตัว เช่น แต่ละเดือนเก็บเงินออมวันละ 15 บาททุกวัน โดยรวมกันทั้งเดือนอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน และหากเป็นไปได้ไม่ควรออมต่ำกว่าร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักภาษี
.
ทั้ง 3 วิธีนี้จะทำให้เก็บเงินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน ซึ่งเงินออมทั้งหมดนี้มีแขนขาที่สามารถงอกเงยออกไปได้อย่างไม่หยุดยั่ง ขอยกตัวอย่างตัวเลขให้ดูดังนี้ การออมวันละ 15 บาท และนำฝากธนาคารทุกวันอย่างสม่ำเสมอด้วยอัตราดอกเบี้ยทยต้นร้อยละ 10 ต่อปี ในเวลา 13 ปี จะมีเงินก้อน 100,000 บาท (เงินออมจริงๆคือ 71,175 บาท ดอกเบี้ยคือ 28,825 บาท)
.
เงินก้อนนี้สามารถนำไปดาวน์บ้านหรือลงทุนเพื่อให้เกิดความสุขสบายโดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป หรือได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งสามารถทำให้เงินงอกเงยขึ้นได้
0 Comments
0 Shares
111 Views
0 Reviews