“หมอโบว์” ลูกกตัญญู-นางฟ้าใจบุญ ทั้งดูแลแม่ป่วย ทั้งรักษาช้างฟรีทั่วภาคใต้ ภูมิใจ ได้ต่อชีวิตช้างป่วยและครอบครัวคนเลี้ยงช้าง!
“ช้างเป็นสัตว์ที่เจ้าของเลี้ยงเหมือนคนในครอบครัว ช้างบางเชือกเลี้ยงไว้เพื่อประกอบอาชีพ ช้างบางเชือกส่งลูกเรียนจนจบปริญญา ช้างบางเชือกเจือจุนครอบครัวของคนที่เลี้ยงช้าง เรารู้สึกว่า การรักษาช้าง 1 เชือกให้หายป่วย ไม่ใช่แค่การต่อชีวิตช้างอย่างเดียว แต่เป็นการต่อชีวิตของคนที่เลี้ยงช้างด้วย”
นั่นคือเหตุผลและความภาคภูมิใจที่ทำให้ “หมอโบว์” สัตวแพทย์หญิง รัชดาภรณ์ ศรีสมุทร อยากเป็นหมอรักษาช้าง ทั้งที่ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ หากพลาดอาจเสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิตได้
แม้หมอโบว์จะไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวที่ร่ำรวย โดยแม่เป็นครู ส่วนพ่อทำสวน และแม่ต้องกู้เงินเพื่อส่งหมอโบว์เรียนสัตวแพทย์ถึง 6 ปี แต่หมอโบว์ก็ไม่ได้ตั้งเป้าหรือมุ่งเน้นทำงานเพื่อความมั่นคงหรือฐานะการเงินของตนเอง เพราะหากต้องการความร่ำรวย หมอโบว์คงเลือกเป็นหมอรักษาสัตว์เล็กอย่างแมวหรือสุนัข ที่สามารถเปิดคลินิกของตัวเองได้ แต่ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ การรักษาและค่ายาสูงมากตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสน ไม่สามารถเปิดคลินิกเพื่อรักษาได้ เพราะเก็บค่ารักษายาก แต่หมอโบว์กลับเลือกเส้นทางนี้ เพื่อรักษาช้างฟรี
“บางท่านก็มีทุนในการจ่ายให้เราได้ แต่โบว์มองว่า บางคนเขาเป็นเจ้าของช้าง เขาเลี้ยงช้างเอง แล้วช้างเขาก็ทำงาน และรายได้เขาไม่ได้เยอะมาก ถ้าเราไปเก็บค่ารักษา เขาอาจไม่มีเงินจ่าย และเขาอาจไม่เรียกเราไปรักษา เขาอาจปล่อยให้ช้างนั้นป่วยหรือรักษาเอง ทำให้รู้สึกว่าเขาอาจไม่ได้เต็มที่กับการรักษา แล้วจะให้เราไปเก็บเงินจากปางช้างที่มีทุน คนนี้เก็บ คนนี้ไม่เก็บ ก็ไม่ได้ โบว์เลยรักษาฟรีให้หมดเลย”
แม้เสี่ยงอันตราย แต่ไม่ถอดใจ!
“ครั้งแรกที่เจอช้าง ตอนนั้นเป็นเด็กฝึกงาน เรียนอยู่ปี 6 เจอช้างชื่อ พลายสุดหล่อ เขาเจ็บตาด้านซ้าย เราไม่รู้จักการเข้าหาช้างเลย คิดว่าช้างมันก็น่ารักเหมือนหมาแมวแหละ เข้าไปลูบหัวได้ เราเข้าไปจะหยอดตาปุ๊บ สุดหล่อใช้งาสะบัด โบว์กระเด็นไปโน่นเลย กระเด็นไปเลยด้วยแรงช้าง ตอนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่โบว์รู้สึกว่า เราจะไปต่อสายนี้ดีไหมนะ หรือเราจะพอแล้ว เพราะมันดูน่ากลัว แต่พอวันหนึ่งเรามองกลับไปว่า ถ้าเราไม่ทำต่อ เราจะไม่ได้เห็นช้างที่น่ารักๆ อีกหลายเชือกเลยนะ ไม่ได้เห็นช้างที่เขาหายป่วยอีกหลายเชือกเลยนะ เลยเป็นแรงบันดาลใจทำให้เรามุ่งมั่นต่อไป”
หลังเรียนจบสัตวแพทย์ หมอโบว์ได้ทำงานรักษาช้างฟรีที่ รพ.ช้างกระบี่ แม้จะได้ทำงานที่ตัวเองรัก แต่อีกด้าน กลับมีเรื่องที่น่าเสียใจ เพราะแม่ที่คุณหมอรักมากป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โรคที่ทำให้ผู้ป่วยจำอะไรไม่ได้และไม่มีทางรักษา
“ตอนนั้นเราไม่เชื่อว่าแม่จะลืมเรา โบว์พยายามจะฟื้นฟูความจำ เช่น พยายามบอกชื่อเราเองทุกวัน นี่โบว์นะ นี่แม่ หรือเอาสูตรคูณมาตั้ง 2-1 อะไร เมื่อก่อนเขาเป็นครูสอนที่เก่งมาก สูตรคูณเขาจำได้หมด แต่พอป่วย เขาเริ่มไม่รู้แล้ว โบว์มีการให้เขาท่อง ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก หรือทำโจทย์เลขง่ายๆ ตอนนั้นเรายังมีความหวัง เราไม่รู้ว่าโรคนี้อาจไม่มีความหวัง ก็พยายามทำตรงนั้น แต่สุดท้าย เขาก็ลืมเราลงเรื่อยๆ”
ในที่สุด เมื่อพัฒนาการของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้แม่แย่ลงเรื่อยๆ จึงถึงจุดที่หมอโบว์ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ “แม่เริ่มป่วยตั้งแต่โบว์เริ่มทำงาน ตอนทำงานที่ รพ.ช้างกระบี่ พาแม่ไปอยู่ด้วยที่บ้านพักของ รพ. ดูแลแม่ด้วย รักษาช้างด้วย โบว์ดูแลแม่คนเดียว เช้ามา ทำกับข้าวก่อน บางทีแม่เป็นอัลไซเมอร์หนักๆ ปุ๊บ อึฉี่เรี่ยราดแล้ว ต้องเก็บ หรือเปิดน้ำท่วมบ้านแล้ว เช้ามา โห น้ำ บ้านหรือทะเล คือแม่เปิดน้ำทิ้งไว้ ท่วมบ้านแล้ว นี่คือสิ่งที่โบว์ต้องจัดการในทุกเช้า และหลังๆ มา ก็รู้สึกว่าแม่ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ เหมือนกับเราไปทำงานไม่ได้เลย เขาอาจจะเปิดน้ำอีก หรือเขาอาจเกิดอันตราย เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้โบว์ลาออกจาก รพ.ช้าง”
หมอโบว์ตัดสินใจลาออกจาก รพ.ช้างกระบี่หลังทำงานได้ 5 ปี ก่อนพาแม่กลับมาดูแลที่บ้านที่ จ.ภูเก็ต ถึงวันนี้เกือบ 2 ปีแล้วที่หมอโบว์พยายามดูแลแม่อย่างดีที่สุด ควบคู่กับการเป็นหมอช้างจิตอาสาที่พร้อมรักษาช้างฟรีทั่วภาคใต้ “(ถาม-ตอนนี้อาการแม่เป็นยังไงบ้าง?) คุยไม่รู้เรื่อง อ้อแอเหมือนเด็กเลย เดินได้น้อยลง เดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะนั่ง ทำกิจวัตรไม่ได้ ต้องทำให้ตลอด แต่เรื่องกิน แม่ชอบ กินง่าย สุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นความจำ (ถาม-ตอนนี้หมอบริหารเวลายังไงกับการดูแลแม่และรักษาช้าง?) ถ้าโบว์อยู่บ้าน โบว์จะดูแลแม่เอง แต่ถ้าต้องออกไปรักษาช้าง จะมีพี่เลี้ยงคอยดูแล”
การเป็นหมอรักษาช้างโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทำให้หมอโบว์ต้องผลิตสินค้าช่วยช้างขึ้นมาจำหน่ายเพื่อหารายได้มารักษาช้างฟรี เช่น เสื้อยืด หมวก ถุงผ้า “ด้วยความที่เรามีฐานแฟนคลับอยู่แล้วจากโซเชียลมีเดีย โบว์เลยเอาสินค้าขึ้นมาขาย เป็นของที่ระลึก สินค้านี้ถ้าคุณได้ซื้อไป คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสนับสนุนพวกน้ำเกลือค่ายาให้กับช้าง แต่ถามว่า โบว์มีรายได้ไหมทุกวันนี้ โบว์มีรายได้จากการทำอย่างอื่น เช่น เป็นอินฟลูเอนเซอร์ รีวิวสินค้า เพราะโบว์มีโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามค่อนข้างมาก เลยทำให้โบว์สามารถมีรายได้ตรงนี้มาจุนเจือครอบครัว ดูแลแม่ได้”
ถึงวันนี้ 7 ปีแล้วที่หมอโบว์ได้ให้การรักษาช้างป่วยนับพันเชือก ซึ่งล่าสุด หมอโบว์ยังได้ช่วยรักษาช้างป่วย ช้างชรา ช้างพิการ ในปางช้างที่ จ.ภูเก็ต (Phuket Elephant Sanctuary) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็น รพ.ที่ดูแลช้างฟรีอีกด้วย “รู้สึกว่า ถ้าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบั้นปลายชีวิตของช้าง จะเป็นอะไรที่ดีมากๆ เหมือนกับที่เราได้ดูแลแม่ในวัยชราเหมือนกัน ชีวิตตอนนี้มีความสุขมาก สุขจากการที่เราได้อยู่กับสิ่งที่เรารักทั้ง 2 สิ่ง คือแม่และช้าง เป็นความสุขที่สุดแล้ว”
ขณะที่ “กาญจน์ณฐาน์ ธรรมวนาสินทร์” ผู้จัดการปางช้าง Following Giants Krabi ที่หมอโบว์เคยเดินทางไปรักษาช้างฟรี พูดถึงความประทับใจที่มีต่อหมอโบว์ว่า “รู้สึกขอบคุณที่มีหมอแบบนี้ดูแลช้าง อยากให้มีเยอะๆ เพราะบางเคสต้องเร่งด่วน บางทีหมอโบว์ก็แยกร่างไม่ทัน เราอยากได้หมอโบว์สัก 20 คนในประเทศ อยากให้หมอโบว์ทำอย่างนี้ต่อไป ทุกคนต้องการหมอโบว์”
ติดตามเรื่องราวของหมอโบว์ ลูกกตัญญูและนางฟ้าใจบุญรักษาช้างฟรีได้
ในรายการ ฅนจริงใจไม่ท้อ ตอน “หมอโบว์...นางฟ้าใจบุญ”
วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 เวลา 11.30-12.00 น.
ทาง NEWS1 (กล่อง IPTV ของ NT ช่อง 64 / กล่อง AIS Play Box ช่อง 615 / กล่อง True ID ช่อง 19)
และเฟซบุ๊ก / ยูทูบ / ติ๊กต็อก : ฅนจริงใจไม่ท้อ
(หากท่านใดต้องการอุดหนุนสินค้าช่วยช้าง เพื่อสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาช้างฟรีของหมอโบว์ ติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก “หมอโบว์” หรือติ๊กต็อก “หมอโบว์ รักษาช้าง”)
#หมอโบว์ #หมอโบว์รักษาช้าง #รักษาช้างฟรี #หมอตัวเล็กกับคนไข้ตัวใหญ่ #นางฟ้าใจบุญ #ลูกกตัญญู
“ช้างเป็นสัตว์ที่เจ้าของเลี้ยงเหมือนคนในครอบครัว ช้างบางเชือกเลี้ยงไว้เพื่อประกอบอาชีพ ช้างบางเชือกส่งลูกเรียนจนจบปริญญา ช้างบางเชือกเจือจุนครอบครัวของคนที่เลี้ยงช้าง เรารู้สึกว่า การรักษาช้าง 1 เชือกให้หายป่วย ไม่ใช่แค่การต่อชีวิตช้างอย่างเดียว แต่เป็นการต่อชีวิตของคนที่เลี้ยงช้างด้วย”
นั่นคือเหตุผลและความภาคภูมิใจที่ทำให้ “หมอโบว์” สัตวแพทย์หญิง รัชดาภรณ์ ศรีสมุทร อยากเป็นหมอรักษาช้าง ทั้งที่ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ หากพลาดอาจเสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิตได้
แม้หมอโบว์จะไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวที่ร่ำรวย โดยแม่เป็นครู ส่วนพ่อทำสวน และแม่ต้องกู้เงินเพื่อส่งหมอโบว์เรียนสัตวแพทย์ถึง 6 ปี แต่หมอโบว์ก็ไม่ได้ตั้งเป้าหรือมุ่งเน้นทำงานเพื่อความมั่นคงหรือฐานะการเงินของตนเอง เพราะหากต้องการความร่ำรวย หมอโบว์คงเลือกเป็นหมอรักษาสัตว์เล็กอย่างแมวหรือสุนัข ที่สามารถเปิดคลินิกของตัวเองได้ แต่ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ การรักษาและค่ายาสูงมากตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสน ไม่สามารถเปิดคลินิกเพื่อรักษาได้ เพราะเก็บค่ารักษายาก แต่หมอโบว์กลับเลือกเส้นทางนี้ เพื่อรักษาช้างฟรี
“บางท่านก็มีทุนในการจ่ายให้เราได้ แต่โบว์มองว่า บางคนเขาเป็นเจ้าของช้าง เขาเลี้ยงช้างเอง แล้วช้างเขาก็ทำงาน และรายได้เขาไม่ได้เยอะมาก ถ้าเราไปเก็บค่ารักษา เขาอาจไม่มีเงินจ่าย และเขาอาจไม่เรียกเราไปรักษา เขาอาจปล่อยให้ช้างนั้นป่วยหรือรักษาเอง ทำให้รู้สึกว่าเขาอาจไม่ได้เต็มที่กับการรักษา แล้วจะให้เราไปเก็บเงินจากปางช้างที่มีทุน คนนี้เก็บ คนนี้ไม่เก็บ ก็ไม่ได้ โบว์เลยรักษาฟรีให้หมดเลย”
แม้เสี่ยงอันตราย แต่ไม่ถอดใจ!
“ครั้งแรกที่เจอช้าง ตอนนั้นเป็นเด็กฝึกงาน เรียนอยู่ปี 6 เจอช้างชื่อ พลายสุดหล่อ เขาเจ็บตาด้านซ้าย เราไม่รู้จักการเข้าหาช้างเลย คิดว่าช้างมันก็น่ารักเหมือนหมาแมวแหละ เข้าไปลูบหัวได้ เราเข้าไปจะหยอดตาปุ๊บ สุดหล่อใช้งาสะบัด โบว์กระเด็นไปโน่นเลย กระเด็นไปเลยด้วยแรงช้าง ตอนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่โบว์รู้สึกว่า เราจะไปต่อสายนี้ดีไหมนะ หรือเราจะพอแล้ว เพราะมันดูน่ากลัว แต่พอวันหนึ่งเรามองกลับไปว่า ถ้าเราไม่ทำต่อ เราจะไม่ได้เห็นช้างที่น่ารักๆ อีกหลายเชือกเลยนะ ไม่ได้เห็นช้างที่เขาหายป่วยอีกหลายเชือกเลยนะ เลยเป็นแรงบันดาลใจทำให้เรามุ่งมั่นต่อไป”
หลังเรียนจบสัตวแพทย์ หมอโบว์ได้ทำงานรักษาช้างฟรีที่ รพ.ช้างกระบี่ แม้จะได้ทำงานที่ตัวเองรัก แต่อีกด้าน กลับมีเรื่องที่น่าเสียใจ เพราะแม่ที่คุณหมอรักมากป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โรคที่ทำให้ผู้ป่วยจำอะไรไม่ได้และไม่มีทางรักษา
“ตอนนั้นเราไม่เชื่อว่าแม่จะลืมเรา โบว์พยายามจะฟื้นฟูความจำ เช่น พยายามบอกชื่อเราเองทุกวัน นี่โบว์นะ นี่แม่ หรือเอาสูตรคูณมาตั้ง 2-1 อะไร เมื่อก่อนเขาเป็นครูสอนที่เก่งมาก สูตรคูณเขาจำได้หมด แต่พอป่วย เขาเริ่มไม่รู้แล้ว โบว์มีการให้เขาท่อง ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก หรือทำโจทย์เลขง่ายๆ ตอนนั้นเรายังมีความหวัง เราไม่รู้ว่าโรคนี้อาจไม่มีความหวัง ก็พยายามทำตรงนั้น แต่สุดท้าย เขาก็ลืมเราลงเรื่อยๆ”
ในที่สุด เมื่อพัฒนาการของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้แม่แย่ลงเรื่อยๆ จึงถึงจุดที่หมอโบว์ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ “แม่เริ่มป่วยตั้งแต่โบว์เริ่มทำงาน ตอนทำงานที่ รพ.ช้างกระบี่ พาแม่ไปอยู่ด้วยที่บ้านพักของ รพ. ดูแลแม่ด้วย รักษาช้างด้วย โบว์ดูแลแม่คนเดียว เช้ามา ทำกับข้าวก่อน บางทีแม่เป็นอัลไซเมอร์หนักๆ ปุ๊บ อึฉี่เรี่ยราดแล้ว ต้องเก็บ หรือเปิดน้ำท่วมบ้านแล้ว เช้ามา โห น้ำ บ้านหรือทะเล คือแม่เปิดน้ำทิ้งไว้ ท่วมบ้านแล้ว นี่คือสิ่งที่โบว์ต้องจัดการในทุกเช้า และหลังๆ มา ก็รู้สึกว่าแม่ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ เหมือนกับเราไปทำงานไม่ได้เลย เขาอาจจะเปิดน้ำอีก หรือเขาอาจเกิดอันตราย เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้โบว์ลาออกจาก รพ.ช้าง”
หมอโบว์ตัดสินใจลาออกจาก รพ.ช้างกระบี่หลังทำงานได้ 5 ปี ก่อนพาแม่กลับมาดูแลที่บ้านที่ จ.ภูเก็ต ถึงวันนี้เกือบ 2 ปีแล้วที่หมอโบว์พยายามดูแลแม่อย่างดีที่สุด ควบคู่กับการเป็นหมอช้างจิตอาสาที่พร้อมรักษาช้างฟรีทั่วภาคใต้ “(ถาม-ตอนนี้อาการแม่เป็นยังไงบ้าง?) คุยไม่รู้เรื่อง อ้อแอเหมือนเด็กเลย เดินได้น้อยลง เดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะนั่ง ทำกิจวัตรไม่ได้ ต้องทำให้ตลอด แต่เรื่องกิน แม่ชอบ กินง่าย สุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นความจำ (ถาม-ตอนนี้หมอบริหารเวลายังไงกับการดูแลแม่และรักษาช้าง?) ถ้าโบว์อยู่บ้าน โบว์จะดูแลแม่เอง แต่ถ้าต้องออกไปรักษาช้าง จะมีพี่เลี้ยงคอยดูแล”
การเป็นหมอรักษาช้างโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทำให้หมอโบว์ต้องผลิตสินค้าช่วยช้างขึ้นมาจำหน่ายเพื่อหารายได้มารักษาช้างฟรี เช่น เสื้อยืด หมวก ถุงผ้า “ด้วยความที่เรามีฐานแฟนคลับอยู่แล้วจากโซเชียลมีเดีย โบว์เลยเอาสินค้าขึ้นมาขาย เป็นของที่ระลึก สินค้านี้ถ้าคุณได้ซื้อไป คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสนับสนุนพวกน้ำเกลือค่ายาให้กับช้าง แต่ถามว่า โบว์มีรายได้ไหมทุกวันนี้ โบว์มีรายได้จากการทำอย่างอื่น เช่น เป็นอินฟลูเอนเซอร์ รีวิวสินค้า เพราะโบว์มีโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามค่อนข้างมาก เลยทำให้โบว์สามารถมีรายได้ตรงนี้มาจุนเจือครอบครัว ดูแลแม่ได้”
ถึงวันนี้ 7 ปีแล้วที่หมอโบว์ได้ให้การรักษาช้างป่วยนับพันเชือก ซึ่งล่าสุด หมอโบว์ยังได้ช่วยรักษาช้างป่วย ช้างชรา ช้างพิการ ในปางช้างที่ จ.ภูเก็ต (Phuket Elephant Sanctuary) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็น รพ.ที่ดูแลช้างฟรีอีกด้วย “รู้สึกว่า ถ้าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบั้นปลายชีวิตของช้าง จะเป็นอะไรที่ดีมากๆ เหมือนกับที่เราได้ดูแลแม่ในวัยชราเหมือนกัน ชีวิตตอนนี้มีความสุขมาก สุขจากการที่เราได้อยู่กับสิ่งที่เรารักทั้ง 2 สิ่ง คือแม่และช้าง เป็นความสุขที่สุดแล้ว”
ขณะที่ “กาญจน์ณฐาน์ ธรรมวนาสินทร์” ผู้จัดการปางช้าง Following Giants Krabi ที่หมอโบว์เคยเดินทางไปรักษาช้างฟรี พูดถึงความประทับใจที่มีต่อหมอโบว์ว่า “รู้สึกขอบคุณที่มีหมอแบบนี้ดูแลช้าง อยากให้มีเยอะๆ เพราะบางเคสต้องเร่งด่วน บางทีหมอโบว์ก็แยกร่างไม่ทัน เราอยากได้หมอโบว์สัก 20 คนในประเทศ อยากให้หมอโบว์ทำอย่างนี้ต่อไป ทุกคนต้องการหมอโบว์”
ติดตามเรื่องราวของหมอโบว์ ลูกกตัญญูและนางฟ้าใจบุญรักษาช้างฟรีได้
ในรายการ ฅนจริงใจไม่ท้อ ตอน “หมอโบว์...นางฟ้าใจบุญ”
วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 เวลา 11.30-12.00 น.
ทาง NEWS1 (กล่อง IPTV ของ NT ช่อง 64 / กล่อง AIS Play Box ช่อง 615 / กล่อง True ID ช่อง 19)
และเฟซบุ๊ก / ยูทูบ / ติ๊กต็อก : ฅนจริงใจไม่ท้อ
(หากท่านใดต้องการอุดหนุนสินค้าช่วยช้าง เพื่อสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาช้างฟรีของหมอโบว์ ติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก “หมอโบว์” หรือติ๊กต็อก “หมอโบว์ รักษาช้าง”)
#หมอโบว์ #หมอโบว์รักษาช้าง #รักษาช้างฟรี #หมอตัวเล็กกับคนไข้ตัวใหญ่ #นางฟ้าใจบุญ #ลูกกตัญญู
“หมอโบว์” ลูกกตัญญู-นางฟ้าใจบุญ ทั้งดูแลแม่ป่วย ทั้งรักษาช้างฟรีทั่วภาคใต้ ภูมิใจ ได้ต่อชีวิตช้างป่วยและครอบครัวคนเลี้ยงช้าง!
“ช้างเป็นสัตว์ที่เจ้าของเลี้ยงเหมือนคนในครอบครัว ช้างบางเชือกเลี้ยงไว้เพื่อประกอบอาชีพ ช้างบางเชือกส่งลูกเรียนจนจบปริญญา ช้างบางเชือกเจือจุนครอบครัวของคนที่เลี้ยงช้าง เรารู้สึกว่า การรักษาช้าง 1 เชือกให้หายป่วย ไม่ใช่แค่การต่อชีวิตช้างอย่างเดียว แต่เป็นการต่อชีวิตของคนที่เลี้ยงช้างด้วย”
นั่นคือเหตุผลและความภาคภูมิใจที่ทำให้ “หมอโบว์” สัตวแพทย์หญิง รัชดาภรณ์ ศรีสมุทร อยากเป็นหมอรักษาช้าง ทั้งที่ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ หากพลาดอาจเสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิตได้
แม้หมอโบว์จะไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวที่ร่ำรวย โดยแม่เป็นครู ส่วนพ่อทำสวน และแม่ต้องกู้เงินเพื่อส่งหมอโบว์เรียนสัตวแพทย์ถึง 6 ปี แต่หมอโบว์ก็ไม่ได้ตั้งเป้าหรือมุ่งเน้นทำงานเพื่อความมั่นคงหรือฐานะการเงินของตนเอง เพราะหากต้องการความร่ำรวย หมอโบว์คงเลือกเป็นหมอรักษาสัตว์เล็กอย่างแมวหรือสุนัข ที่สามารถเปิดคลินิกของตัวเองได้ แต่ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ การรักษาและค่ายาสูงมากตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสน ไม่สามารถเปิดคลินิกเพื่อรักษาได้ เพราะเก็บค่ารักษายาก แต่หมอโบว์กลับเลือกเส้นทางนี้ เพื่อรักษาช้างฟรี
“บางท่านก็มีทุนในการจ่ายให้เราได้ แต่โบว์มองว่า บางคนเขาเป็นเจ้าของช้าง เขาเลี้ยงช้างเอง แล้วช้างเขาก็ทำงาน และรายได้เขาไม่ได้เยอะมาก ถ้าเราไปเก็บค่ารักษา เขาอาจไม่มีเงินจ่าย และเขาอาจไม่เรียกเราไปรักษา เขาอาจปล่อยให้ช้างนั้นป่วยหรือรักษาเอง ทำให้รู้สึกว่าเขาอาจไม่ได้เต็มที่กับการรักษา แล้วจะให้เราไปเก็บเงินจากปางช้างที่มีทุน คนนี้เก็บ คนนี้ไม่เก็บ ก็ไม่ได้ โบว์เลยรักษาฟรีให้หมดเลย”
แม้เสี่ยงอันตราย แต่ไม่ถอดใจ!
“ครั้งแรกที่เจอช้าง ตอนนั้นเป็นเด็กฝึกงาน เรียนอยู่ปี 6 เจอช้างชื่อ พลายสุดหล่อ เขาเจ็บตาด้านซ้าย เราไม่รู้จักการเข้าหาช้างเลย คิดว่าช้างมันก็น่ารักเหมือนหมาแมวแหละ เข้าไปลูบหัวได้ เราเข้าไปจะหยอดตาปุ๊บ สุดหล่อใช้งาสะบัด โบว์กระเด็นไปโน่นเลย กระเด็นไปเลยด้วยแรงช้าง ตอนนั้นเป็นเหตุการณ์ที่โบว์รู้สึกว่า เราจะไปต่อสายนี้ดีไหมนะ หรือเราจะพอแล้ว เพราะมันดูน่ากลัว แต่พอวันหนึ่งเรามองกลับไปว่า ถ้าเราไม่ทำต่อ เราจะไม่ได้เห็นช้างที่น่ารักๆ อีกหลายเชือกเลยนะ ไม่ได้เห็นช้างที่เขาหายป่วยอีกหลายเชือกเลยนะ เลยเป็นแรงบันดาลใจทำให้เรามุ่งมั่นต่อไป”
หลังเรียนจบสัตวแพทย์ หมอโบว์ได้ทำงานรักษาช้างฟรีที่ รพ.ช้างกระบี่ แม้จะได้ทำงานที่ตัวเองรัก แต่อีกด้าน กลับมีเรื่องที่น่าเสียใจ เพราะแม่ที่คุณหมอรักมากป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โรคที่ทำให้ผู้ป่วยจำอะไรไม่ได้และไม่มีทางรักษา
“ตอนนั้นเราไม่เชื่อว่าแม่จะลืมเรา โบว์พยายามจะฟื้นฟูความจำ เช่น พยายามบอกชื่อเราเองทุกวัน นี่โบว์นะ นี่แม่ หรือเอาสูตรคูณมาตั้ง 2-1 อะไร เมื่อก่อนเขาเป็นครูสอนที่เก่งมาก สูตรคูณเขาจำได้หมด แต่พอป่วย เขาเริ่มไม่รู้แล้ว โบว์มีการให้เขาท่อง ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก หรือทำโจทย์เลขง่ายๆ ตอนนั้นเรายังมีความหวัง เราไม่รู้ว่าโรคนี้อาจไม่มีความหวัง ก็พยายามทำตรงนั้น แต่สุดท้าย เขาก็ลืมเราลงเรื่อยๆ”
ในที่สุด เมื่อพัฒนาการของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้แม่แย่ลงเรื่อยๆ จึงถึงจุดที่หมอโบว์ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ “แม่เริ่มป่วยตั้งแต่โบว์เริ่มทำงาน ตอนทำงานที่ รพ.ช้างกระบี่ พาแม่ไปอยู่ด้วยที่บ้านพักของ รพ. ดูแลแม่ด้วย รักษาช้างด้วย โบว์ดูแลแม่คนเดียว เช้ามา ทำกับข้าวก่อน บางทีแม่เป็นอัลไซเมอร์หนักๆ ปุ๊บ อึฉี่เรี่ยราดแล้ว ต้องเก็บ หรือเปิดน้ำท่วมบ้านแล้ว เช้ามา โห น้ำ บ้านหรือทะเล คือแม่เปิดน้ำทิ้งไว้ ท่วมบ้านแล้ว นี่คือสิ่งที่โบว์ต้องจัดการในทุกเช้า และหลังๆ มา ก็รู้สึกว่าแม่ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ เหมือนกับเราไปทำงานไม่ได้เลย เขาอาจจะเปิดน้ำอีก หรือเขาอาจเกิดอันตราย เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้โบว์ลาออกจาก รพ.ช้าง”
หมอโบว์ตัดสินใจลาออกจาก รพ.ช้างกระบี่หลังทำงานได้ 5 ปี ก่อนพาแม่กลับมาดูแลที่บ้านที่ จ.ภูเก็ต ถึงวันนี้เกือบ 2 ปีแล้วที่หมอโบว์พยายามดูแลแม่อย่างดีที่สุด ควบคู่กับการเป็นหมอช้างจิตอาสาที่พร้อมรักษาช้างฟรีทั่วภาคใต้ “(ถาม-ตอนนี้อาการแม่เป็นยังไงบ้าง?) คุยไม่รู้เรื่อง อ้อแอเหมือนเด็กเลย เดินได้น้อยลง เดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะนั่ง ทำกิจวัตรไม่ได้ ต้องทำให้ตลอด แต่เรื่องกิน แม่ชอบ กินง่าย สุขภาพแข็งแรงดี ยกเว้นความจำ (ถาม-ตอนนี้หมอบริหารเวลายังไงกับการดูแลแม่และรักษาช้าง?) ถ้าโบว์อยู่บ้าน โบว์จะดูแลแม่เอง แต่ถ้าต้องออกไปรักษาช้าง จะมีพี่เลี้ยงคอยดูแล”
การเป็นหมอรักษาช้างโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ทำให้หมอโบว์ต้องผลิตสินค้าช่วยช้างขึ้นมาจำหน่ายเพื่อหารายได้มารักษาช้างฟรี เช่น เสื้อยืด หมวก ถุงผ้า “ด้วยความที่เรามีฐานแฟนคลับอยู่แล้วจากโซเชียลมีเดีย โบว์เลยเอาสินค้าขึ้นมาขาย เป็นของที่ระลึก สินค้านี้ถ้าคุณได้ซื้อไป คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการที่จะสนับสนุนพวกน้ำเกลือค่ายาให้กับช้าง แต่ถามว่า โบว์มีรายได้ไหมทุกวันนี้ โบว์มีรายได้จากการทำอย่างอื่น เช่น เป็นอินฟลูเอนเซอร์ รีวิวสินค้า เพราะโบว์มีโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามค่อนข้างมาก เลยทำให้โบว์สามารถมีรายได้ตรงนี้มาจุนเจือครอบครัว ดูแลแม่ได้”
ถึงวันนี้ 7 ปีแล้วที่หมอโบว์ได้ให้การรักษาช้างป่วยนับพันเชือก ซึ่งล่าสุด หมอโบว์ยังได้ช่วยรักษาช้างป่วย ช้างชรา ช้างพิการ ในปางช้างที่ จ.ภูเก็ต (Phuket Elephant Sanctuary) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็น รพ.ที่ดูแลช้างฟรีอีกด้วย “รู้สึกว่า ถ้าเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบั้นปลายชีวิตของช้าง จะเป็นอะไรที่ดีมากๆ เหมือนกับที่เราได้ดูแลแม่ในวัยชราเหมือนกัน ชีวิตตอนนี้มีความสุขมาก สุขจากการที่เราได้อยู่กับสิ่งที่เรารักทั้ง 2 สิ่ง คือแม่และช้าง เป็นความสุขที่สุดแล้ว”
ขณะที่ “กาญจน์ณฐาน์ ธรรมวนาสินทร์” ผู้จัดการปางช้าง Following Giants Krabi ที่หมอโบว์เคยเดินทางไปรักษาช้างฟรี พูดถึงความประทับใจที่มีต่อหมอโบว์ว่า “รู้สึกขอบคุณที่มีหมอแบบนี้ดูแลช้าง อยากให้มีเยอะๆ เพราะบางเคสต้องเร่งด่วน บางทีหมอโบว์ก็แยกร่างไม่ทัน เราอยากได้หมอโบว์สัก 20 คนในประเทศ อยากให้หมอโบว์ทำอย่างนี้ต่อไป ทุกคนต้องการหมอโบว์”
ติดตามเรื่องราวของหมอโบว์ ลูกกตัญญูและนางฟ้าใจบุญรักษาช้างฟรีได้
ในรายการ ฅนจริงใจไม่ท้อ ตอน “หมอโบว์...นางฟ้าใจบุญ”
วันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 เวลา 11.30-12.00 น.
ทาง NEWS1 (กล่อง IPTV ของ NT ช่อง 64 / กล่อง AIS Play Box ช่อง 615 / กล่อง True ID ช่อง 19)
และเฟซบุ๊ก / ยูทูบ / ติ๊กต็อก : ฅนจริงใจไม่ท้อ
(หากท่านใดต้องการอุดหนุนสินค้าช่วยช้าง เพื่อสนับสนุนและเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาช้างฟรีของหมอโบว์ ติดต่อได้ที่เฟซบุ๊ก “หมอโบว์” หรือติ๊กต็อก “หมอโบว์ รักษาช้าง”)
#หมอโบว์ #หมอโบว์รักษาช้าง #รักษาช้างฟรี #หมอตัวเล็กกับคนไข้ตัวใหญ่ #นางฟ้าใจบุญ #ลูกกตัญญู
0 Comments
0 Shares
46 Views
0 Reviews