ปิโตรเลียมเกาะกูด น้ำมันแพงเหมือนเดิม

มีคำกล่าวว่า "ข่าวลือมักจะมาก่อนข่าวจริงเสมอ" ประเด็นเกาะกูดเกิดขึ้นจากข่าวลือแบบปากต่อปากว่า นักการเมืองรายหนึ่งจะยกเกาะกูดให้เขมร กระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พักการลงโทษจากคดีทุจริตไปแสดงวิสัยทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 เสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) อ้างว่ากัมพูชาลากเส้นจากไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลแล้วเกยกัน ถือว่าเป็นเขตทับซ้อน ถ้ามีทรัพยากรอยู่ก็ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง

แม้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 แต่เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย 200 ไมล์ทะเลฝ่ายเดียว โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 จ.ตราด ไปผ่ากลางครึ่งหนึ่งของเกาะกูด แต่ก็มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยในปี 2516 โดยแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 ระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากล คือ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 แต่กัมพูชายังคงยึดถือเขตไหล่ทวีปของตนเอง หนำซ้ำรัฐบาลทักษิณไปเซ็น MOU 2544 ทำให้นายทักษิณอ้างว่าเป็นเขตทับซ้อน

ต่อมาวันที่ 10 ต.ค. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ จะเริ่มเจรจากับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่มีมูลค่าอย่างน้อย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ควบคุมค่าไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั้งสองประเทศขัดแย้งทางการทูตและความอ่อนไหวเรื่องอธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 2544

แม้เรื่องเกาะกูดจะไม่โด่งดัง แต่ก็เป็นที่พูดถึงในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล กังวลว่าไทยจะเสียสิทธิ์ทางทะเล และเสียดินแดนเช่นเดียวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ส่วนรัฐบาลตอบโต้ว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ทำร้ายผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะร่วมกันนำพลังงานขึ้นมาใช้ แต่สุดท้ายคนไทยใช้น้ำมันแพงเหมือนเดิม เพราะอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ แถมต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังจำกัดอยู่ที่รายใหญ่ เชื่อไม่ได้ว่าค่าไฟฟ้าจะถูกลง คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือนักการเมือง กับกลุ่มทุนพลังงานบางกลุ่มเท่านั้น

#Newskit #เกาะกูด
ปิโตรเลียมเกาะกูด น้ำมันแพงเหมือนเดิม มีคำกล่าวว่า "ข่าวลือมักจะมาก่อนข่าวจริงเสมอ" ประเด็นเกาะกูดเกิดขึ้นจากข่าวลือแบบปากต่อปากว่า นักการเมืองรายหนึ่งจะยกเกาะกูดให้เขมร กระทั่งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พักการลงโทษจากคดีทุจริตไปแสดงวิสัยทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2567 เสนอให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันของไทยกับกัมพูชา หรือ OCA (Overlapping Claims Area) อ้างว่ากัมพูชาลากเส้นจากไหล่ทวีป 200 ไมล์ทะเลแล้วเกยกัน ถือว่าเป็นเขตทับซ้อน ถ้ามีทรัพยากรอยู่ก็ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง แม้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ.125 แต่เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทย 200 ไมล์ทะเลฝ่ายเดียว โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 จ.ตราด ไปผ่ากลางครึ่งหนึ่งของเกาะกูด แต่ก็มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยในปี 2516 โดยแบ่งครึ่งมุมจากหลักเขตที่ 73 ระหว่างเกาะกูดและเกาะกง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายสากล คือ บทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 แต่กัมพูชายังคงยึดถือเขตไหล่ทวีปของตนเอง หนำซ้ำรัฐบาลทักษิณไปเซ็น MOU 2544 ทำให้นายทักษิณอ้างว่าเป็นเขตทับซ้อน ต่อมาวันที่ 10 ต.ค. 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาวนายทักษิณ จะเริ่มเจรจากับกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่มีมูลค่าอย่างน้อย 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง ควบคุมค่าไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายนำเข้าเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น คาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตและน้ำมันดิบ 300 ล้านบาร์เรล แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะทั้งสองประเทศขัดแย้งทางการทูตและความอ่อนไหวเรื่องอธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักตั้งแต่ปี 2544 แม้เรื่องเกาะกูดจะไม่โด่งดัง แต่ก็เป็นที่พูดถึงในกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล กังวลว่าไทยจะเสียสิทธิ์ทางทะเล และเสียดินแดนเช่นเดียวกับกรณีปราสาทพระวิหาร ส่วนรัฐบาลตอบโต้ว่าเป็นพวกคลั่งชาติ ทำร้ายผลประโยชน์ของประเทศ อย่างไรก็ตาม ถึงรัฐบาลทั้งสองประเทศจะร่วมกันนำพลังงานขึ้นมาใช้ แต่สุดท้ายคนไทยใช้น้ำมันแพงเหมือนเดิม เพราะอ้างอิงราคาน้ำมันจากประเทศสิงคโปร์ แถมต้นทุนโรงกลั่นในไทยสูงกว่าสิงค์โปร์ ส่วนธุรกิจก๊าซธรรมชาติยังจำกัดอยู่ที่รายใหญ่ เชื่อไม่ได้ว่าค่าไฟฟ้าจะถูกลง คนที่ได้ประโยชน์ตัวจริงคือนักการเมือง กับกลุ่มทุนพลังงานบางกลุ่มเท่านั้น #Newskit #เกาะกูด
Like
14
1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 237 มุมมอง 0 รีวิว