Do Hard Thing วิทยาศาสตร์ของการไม่ยอมแพ้

ทีมงานตั้งชื่อหนังสือในไทยตั้งชื่อได้เก๋มากทำให้อยากหยิบจากร้านเข้าตระกร้า แต่ในความเป็นจริงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงอยู่คำเดียวคือ “ความแข็งแกร่ง” เนื้อหากล่าวถึงความเชื่อผิดๆในเรื่องความแข็งแกร่งที่มาจากการเคี่ยวกรำอย่างหนักหนาสาหัส หากแต่ผู้เขียนนิยามความแข็งแกร่งที่ถูกต้องมาจากภายใน ซึ่งถ้าภายในแข็งแกร่งแล้วสภาพร่างกายภายนอกก็จะแข็งแกร่งไปด้วย และสามารถคงความแข็งแกร่งได้ยาวนาน ถึงแม้มีเรื่องกระทบจิตใจก็ตามที ในเล่มมีงานวิจัยทางจิตวิทยาที่ไม่เคยอ่านในหนังสือเล่มอื่นๆเยอะมาก เป็นหนังสือเล่มที่ดีมากเล่มหนึ่ง

เราหยิบเล่มนี้ขึ้นมาอ่านเพราะคิดว่าน่าจะปลุแนวคิดให้กับผู้ที่กำลังยอมแพ้ให้ฮึดสู้ แต่เนื้อหาภายในเกี่ยวกับการสร้างความแข็งแกร่งภายในจิตใจ และเกิดความบังเอิญคือเป็นหนังสือที่ผู้เขียน เป็นผู้เขียนเดียวกับหนังสือที่พึ่งอ่านจบไปไม่นานนี้และเราก็ชอบมาก นั่นคือเล่ม The passion paradox หนังสือทั้งสองเล่มนี้มีประโยชน์มาก การอ่านก็อ่านไปได้อย่างเชื่องช้าใช้เวลาเยอะกว่าปกติ เพราะเนื้อหาค่อนข้างแปลกใหม่น่าสนใจ เลยใช้เวลาทำความเข้าใจเสียมากหน่อย

ผู้เขียนเคยเป็นนักวิ่งมาราธอน เป็นคนที่มีปัญหาเรื่องการย้ำคิดย้ำทำ และตอนนี้เขาเป็นโค้ชระดับโลกในด้านประสิทธิภาพ ความสำเร็จ และความเป็นอยู่ที่ดี โดยเฉพาะในเล่มนี้เนื้อหาที่เขาเขียนจะเกี่ยวโยงกับกันกีฬามากมาย เพราะนักกีฬานอกจากจะมีร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่ง ทั้งในเรื่องการซ้อม การแข่งขันที่กดกัน การต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ และการที่ต้องต่อสู้กับร่างกายที่บาดเจ็บ แน่นอนทุกๆเรื่องที่อยู่ในหนังสือมีงานวิจัยที่ช่วยอธิบายให้กระจ่างและยืนยันหลักการแนวคิดเหล่านี้

บทนำเป็นเรื่องความเข้าใจในเรื่องความแข็งแกร่งที่เข้าใจผิดและที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ตัวอย่างเคสที่เข้าใจผิดก็คือการฝึกซ้อมของโค้ชทีมกีฬาที่ ดุ โหด ใช้คำพูดรุนแรง รวมไปถึงการดูถูก การกดดัน ใช้ระบบระเบียบวินัยในรูปแบบของทหารและแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ผลดีอาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรกแต่หลังจากนั้นไม่นานผลเสียร้ายแรงก็จะตามมา ผู้เขียนมีหลักการ 4 ข้อเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ซึ่งเรียกว่าสี่เสาหลักได้แก่

เสาหลักที่ 1 - ละทิ้งฉากหน้า อ้าแขนรับความเป็นจริง
เสาหลักที่ 2 - ฟังเสียงร่างกายของคุณ
เสาหลักที่ 3 - ตอบสนองแทนที่จะตอบโต้
เสาหลักที่ 4 - เอาชนะความไม่สบายกายและใจ

มีสองเรื่องในเล่มนี้ที่ชอบเป็นพิเศษ
1.มีการทดลองที่ให้กลุ่มคนแบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นคนทั่วไป ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำ(ในเล่มบอกว่าเป็นกลุ่มพระ 55) ทุกคนอยู่ในเครื่องสแกนสมอง MRI และคนเหล่านั้นจะถูกนาบด้วยเหล็กร้อนที่ข้อมือ ในระดับความเจ็บปวดกระดับ 7กว่าๆ (จากระดับความเจ็บสูงสุดระดับ 10) ปรากฎว่าผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำสามารถทนความเจ็บปวดได้ดีกว่า เนื่องจากผู้ที่ทำสมาธิสามารถเชื่อมโยงสมองสองส่วนคือส่วนที่เป็นระบบอัตโนมัติกับระบบเหตุผลได้ ซึ่งทำให้ระบบอัตโนมัติของร่างกายไม่สร้างอำนาจควบคุมตัวเองมากเกินไป


2.เรื่องของเสียงในหัว ผู้เขียนบอกว่ามีคนถึง 94% ที่มีการจินตนาการและมีการโต้แย้งกันในหัวตัวเอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นความคิดหลักและอีกส่วนหนึ่งมาจากจิตใจภายใน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่สองเสียงในหัวมักจะคิดไปในทางเดียวกัน จนทำให้ตัดสินใจเชื่อเรื่องเหล่านั้นโดยไม่พิจารณาให้ดีเสียก่อน เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ และโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเครียด และผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้เขียนแนะนำให้แทนสรรพนามบุรุษที่สองหรือบุรุษที่สาม เพื่อที่จะให้เกิดการโต้แย้งกันในตัวเองเสียก่อน

หลักการสร้างความแข็งแกร่งที่มีอยู่ในเล่มมีมากมาย ทั้งที่เป็นรื่องที่พอจะรู้อยู่แล้วแต่ก็มีหลักการที่แปลกใหม่ที่หาไม่ได้ในหนังสือที่เคยอ่านมา ดีเยี่ยมเลยครับหนังสือเล่มนี้

#DoHardThing #วิทยาศาสตร์ของการไม่ยอมแพ้ #รีวิวหนังสือ
Do Hard Thing วิทยาศาสตร์ของการไม่ยอมแพ้ ทีมงานตั้งชื่อหนังสือในไทยตั้งชื่อได้เก๋มากทำให้อยากหยิบจากร้านเข้าตระกร้า แต่ในความเป็นจริงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงอยู่คำเดียวคือ “ความแข็งแกร่ง” เนื้อหากล่าวถึงความเชื่อผิดๆในเรื่องความแข็งแกร่งที่มาจากการเคี่ยวกรำอย่างหนักหนาสาหัส หากแต่ผู้เขียนนิยามความแข็งแกร่งที่ถูกต้องมาจากภายใน ซึ่งถ้าภายในแข็งแกร่งแล้วสภาพร่างกายภายนอกก็จะแข็งแกร่งไปด้วย และสามารถคงความแข็งแกร่งได้ยาวนาน ถึงแม้มีเรื่องกระทบจิตใจก็ตามที ในเล่มมีงานวิจัยทางจิตวิทยาที่ไม่เคยอ่านในหนังสือเล่มอื่นๆเยอะมาก เป็นหนังสือเล่มที่ดีมากเล่มหนึ่ง เราหยิบเล่มนี้ขึ้นมาอ่านเพราะคิดว่าน่าจะปลุแนวคิดให้กับผู้ที่กำลังยอมแพ้ให้ฮึดสู้ แต่เนื้อหาภายในเกี่ยวกับการสร้างความแข็งแกร่งภายในจิตใจ และเกิดความบังเอิญคือเป็นหนังสือที่ผู้เขียน เป็นผู้เขียนเดียวกับหนังสือที่พึ่งอ่านจบไปไม่นานนี้และเราก็ชอบมาก นั่นคือเล่ม The passion paradox หนังสือทั้งสองเล่มนี้มีประโยชน์มาก การอ่านก็อ่านไปได้อย่างเชื่องช้าใช้เวลาเยอะกว่าปกติ เพราะเนื้อหาค่อนข้างแปลกใหม่น่าสนใจ เลยใช้เวลาทำความเข้าใจเสียมากหน่อย ผู้เขียนเคยเป็นนักวิ่งมาราธอน เป็นคนที่มีปัญหาเรื่องการย้ำคิดย้ำทำ และตอนนี้เขาเป็นโค้ชระดับโลกในด้านประสิทธิภาพ ความสำเร็จ และความเป็นอยู่ที่ดี โดยเฉพาะในเล่มนี้เนื้อหาที่เขาเขียนจะเกี่ยวโยงกับกันกีฬามากมาย เพราะนักกีฬานอกจากจะมีร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่ง ทั้งในเรื่องการซ้อม การแข่งขันที่กดกัน การต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ และการที่ต้องต่อสู้กับร่างกายที่บาดเจ็บ แน่นอนทุกๆเรื่องที่อยู่ในหนังสือมีงานวิจัยที่ช่วยอธิบายให้กระจ่างและยืนยันหลักการแนวคิดเหล่านี้ บทนำเป็นเรื่องความเข้าใจในเรื่องความแข็งแกร่งที่เข้าใจผิดและที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ตัวอย่างเคสที่เข้าใจผิดก็คือการฝึกซ้อมของโค้ชทีมกีฬาที่ ดุ โหด ใช้คำพูดรุนแรง รวมไปถึงการดูถูก การกดดัน ใช้ระบบระเบียบวินัยในรูปแบบของทหารและแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ผลดีอาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรกแต่หลังจากนั้นไม่นานผลเสียร้ายแรงก็จะตามมา ผู้เขียนมีหลักการ 4 ข้อเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ซึ่งเรียกว่าสี่เสาหลักได้แก่ เสาหลักที่ 1 - ละทิ้งฉากหน้า อ้าแขนรับความเป็นจริง เสาหลักที่ 2 - ฟังเสียงร่างกายของคุณ เสาหลักที่ 3 - ตอบสนองแทนที่จะตอบโต้ เสาหลักที่ 4 - เอาชนะความไม่สบายกายและใจ มีสองเรื่องในเล่มนี้ที่ชอบเป็นพิเศษ 1.มีการทดลองที่ให้กลุ่มคนแบ่งเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นคนทั่วไป ส่วนอีกกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำ(ในเล่มบอกว่าเป็นกลุ่มพระ 55) ทุกคนอยู่ในเครื่องสแกนสมอง MRI และคนเหล่านั้นจะถูกนาบด้วยเหล็กร้อนที่ข้อมือ ในระดับความเจ็บปวดกระดับ 7กว่าๆ (จากระดับความเจ็บสูงสุดระดับ 10) ปรากฎว่าผู้ที่ทำสมาธิเป็นประจำสามารถทนความเจ็บปวดได้ดีกว่า เนื่องจากผู้ที่ทำสมาธิสามารถเชื่อมโยงสมองสองส่วนคือส่วนที่เป็นระบบอัตโนมัติกับระบบเหตุผลได้ ซึ่งทำให้ระบบอัตโนมัติของร่างกายไม่สร้างอำนาจควบคุมตัวเองมากเกินไป 2.เรื่องของเสียงในหัว ผู้เขียนบอกว่ามีคนถึง 94% ที่มีการจินตนาการและมีการโต้แย้งกันในหัวตัวเอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นความคิดหลักและอีกส่วนหนึ่งมาจากจิตใจภายใน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่สองเสียงในหัวมักจะคิดไปในทางเดียวกัน จนทำให้ตัดสินใจเชื่อเรื่องเหล่านั้นโดยไม่พิจารณาให้ดีเสียก่อน เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ และโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเครียด และผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้เขียนแนะนำให้แทนสรรพนามบุรุษที่สองหรือบุรุษที่สาม เพื่อที่จะให้เกิดการโต้แย้งกันในตัวเองเสียก่อน หลักการสร้างความแข็งแกร่งที่มีอยู่ในเล่มมีมากมาย ทั้งที่เป็นรื่องที่พอจะรู้อยู่แล้วแต่ก็มีหลักการที่แปลกใหม่ที่หาไม่ได้ในหนังสือที่เคยอ่านมา ดีเยี่ยมเลยครับหนังสือเล่มนี้ #DoHardThing #วิทยาศาสตร์ของการไม่ยอมแพ้ #รีวิวหนังสือ
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 26 มุมมอง 0 รีวิว