NEXUS เน็กซัส ประวัติย่อการสื่อสารจากยุคหินสู่เอไอ

มุมมองอันกว้างใหญ่ของ Yuval Noah Harari ผู้เขียนหนังสือ Sepian เมื่อมาเขียนหนังสือที่ชื่อว่า Nexus ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โยงไปถึงอนาคตเกี่ยวกับการสื่อสาร เนื้อหาในเล่มยังคงน่าตื่นเต้นมากๆ โดยเฉพาะการหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่อดีตตลอดจนข่าวสารในด้านดีและด้านน่าเป็นห่วงของการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ซึ่งมันมีหลักการไม่เคยเปลี่ยนแปลง จนทำให้สามารถคาดการในเรื่องการสื่อสารไปยังอนาคตที่เอไอหรือคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก แล้วเอไอจะทำลายล้างมนุษยชาติหรือไม่? มีทางแก้ไขหรือไม่? อ่านดูแล้วน่ากังวลพอสมควร


อ่านหนังสือของ Yuval Noah Harari มาสองเล่มจนถึงเล่มนี้ก็ว้าวมากเหมือนเดิม ที่เหลือเชื่อมากๆ คือเขาเกิดปี ค.ศ.1976 (อายุยังไม่ถึง 50ปี ) ยอมรับว่าตัวเองเป็น LGBTQ

การสื่อสารมีหลักการจาก การสื่อสาร>ความจริง>ความรู้ นี่คือหลักที่ถูกต้อง แต่มีการบิดเบือนการสื่อสารมาตั้งแต่โบราณแล้วซึ่งเปลี่ยนเป็น การสื่อสาร>ความจริง>อำนาจ ดังนั้นการสื่อสารถูกใช้มาเป็นส่วนหนึ่งในการขึ้นสู่อำนาจรวมไปถึงการรักษาอำนาจด้วย โดยการสื่อสารที่ว่านี้อาจจะมาจากความเชื่อต่างๆ ที่อาจจะไม่ถูกต้องแต่ก็แตะต้องไม่ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงไม่เกิดขึ้นและเมื่อมีใครสักคนเห็นว่าการสื่อสารเรื่องนั้นไม่ถูกต้องก็จะถูกลงโทษ

ในอดีตที่ผ่านมาการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลและชัดเจนมากๆได้แก่ คำสอนของศาสนา Yuval Noah Harari ยกตัวอย่างคำสอนของศาสนาคริสต์ที่ยึดหลักคำสอนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจนทำให้ศาสนจักรมีอำนาจมากมาย ซึ่งยังรวมไปถึงตัวศาสนจักรเองก็ยังบิดเบือนคำสอนของศาสนาคริสต์ เช่นคำสอนที่ไม่ให้ทำร้ายใคร แต่ศาสนจักรก็ยังทำสงครามครูเสดกับศาสนาอิสลามเป็นต้น

ในเรื่องการปกครองก็เช่นกัน การสื่อสารที่เป็นคำสั่งทางการปกครองในยุคของสตาลินที่ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์มาปกครองชาวสหภาพโซเวียต บังคับ ขู่เข็น และลงโทษผู้ไม่เห็นด้วย หลักการนี้ก็คล้ายๆกับฮิตเลอร์ปกครองเยอรมันนีในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง แน่นอนการสื่อสารในลักษณะนี้ที่ผ่านมามีเบื้องหลัง ไม่ได้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ในยุคนี้เราเข้ามาสู่ยุคเอไอ ตัวคอมพิวเตอร์เองไม่สามารถสร้างคำสั่งหรือวิเคราะห์เรื่องราวได้ด้วยตัวเอง ความเป็นจริงเอไอก็มาจากสมองของมนุษย์ คำถามก็คือมนุษย์ก็สร้างเอไอให้มีศีล
ธรรมที่ดีไม่ได้หรือ? ในเมื่อหลักการเบื้องหลังเอไอดีอยู่แล้วมันจะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่น่ากลัวได้ยังไง? แน่นอนหลักการเขียนอัลกอริทึมเพื่อให้เอไอทำงานเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว แต่พอเขียนไปได้สักระยะเอไอจะพยายามพัฒนาตัวเองให้ถูกใจมนุษย์มากขึ้น แล้วมันไม่ดียังไง? มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า ช่วงนั้นมีเหตุการณ์ที่ประชาชนพม่าต่อต้านชนชาติโรฮิงญาที่อยู่ตามชายขอบทางภาคตะวันตกของประเทศพม่า ในเฟสบุ๊กมีฟีดชาวพม่าโพสต์รังเกียจชาวโรฮิงญา ตลอดไปจนถึงขับไล่ และการยุยงให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยฟีดเหล่านี้มีขึ้นมาต่อเนื่อง ทางเฟสบุ๊กแจ้งว่าเป็นเพราะเอไอจัดการ จะเห็นได้ว่าการโพสต์ข้อความรุนแรงเหล่านี้ ผิดทั้งคำสอนของพุทธศาสนา ผิดทั้งหลักมนุษยธรรม แต่ทำไมเอไอไม่ทำอะไร คำตอบก็คือ …. เอไอทำความความต้องการของมนุษย์ เอไอไม่รู้หลักมนุษยธรรมแต่เอไอรู้ว่ามนุษย์ชอบเรื่องนี้ ก็เลยดันให้เกิดฟีดมากขึ้นๆ

ปัญหาของเอไออีกเรื่องที่อยู่ในเล่ม ศาลในอเมริกาตัดสินโทษชายคนหนึ่งโดยอ้างว่าใช้อัลกอริทึมของเอไอในการช่วยตัดสิน ผู้ต้องหาอยากให้ศาลชี้แจงว่าเขาทำผิดตรงไหน แต่ศาลไม่สามารถชี้แจ้งได้ เพราะบริษัทที่สร้างอัลกอริทึมนี้ขึ้นมาแจ้งว่ามันเป็นความลับทางการค้า ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีกมากมายในอนาคต ผู้เขียนเล่าเหตุการณ์สมมติให้อ่านว่า ถ้าหากใครสักคนไม่ผ่านอนุมัติเงินกู้ ผู้กู้เงินกลับไปถามธนาคารที่ใช้เอไอกำหนดเงื่อนไข เขาจะตอบรายละเอียดให้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะอัลกอริทึมชิ้นนี้อาจจะมีมากมายถึงหลายร้อยหัวข้อที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล

จะเห็นได้ว่าการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากในชีวิตตั้งแต่อดีตไปจนถึงอนาคต ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตก็คือการใช้การสื่อสารในวัตถุประสงค์เพื่ออำนาจนั่นเอง

#NEXUS #เน็กซัส #ประวัติย่อการสื่อสารจากยุคหินสู่เอไอ #รีวิวหนังสือ
NEXUS เน็กซัส ประวัติย่อการสื่อสารจากยุคหินสู่เอไอ มุมมองอันกว้างใหญ่ของ Yuval Noah Harari ผู้เขียนหนังสือ Sepian เมื่อมาเขียนหนังสือที่ชื่อว่า Nexus ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โยงไปถึงอนาคตเกี่ยวกับการสื่อสาร เนื้อหาในเล่มยังคงน่าตื่นเต้นมากๆ โดยเฉพาะการหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสื่อสารตั้งแต่อดีตตลอดจนข่าวสารในด้านดีและด้านน่าเป็นห่วงของการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ซึ่งมันมีหลักการไม่เคยเปลี่ยนแปลง จนทำให้สามารถคาดการในเรื่องการสื่อสารไปยังอนาคตที่เอไอหรือคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก แล้วเอไอจะทำลายล้างมนุษยชาติหรือไม่? มีทางแก้ไขหรือไม่? อ่านดูแล้วน่ากังวลพอสมควร อ่านหนังสือของ Yuval Noah Harari มาสองเล่มจนถึงเล่มนี้ก็ว้าวมากเหมือนเดิม ที่เหลือเชื่อมากๆ คือเขาเกิดปี ค.ศ.1976 (อายุยังไม่ถึง 50ปี ) ยอมรับว่าตัวเองเป็น LGBTQ การสื่อสารมีหลักการจาก การสื่อสาร>ความจริง>ความรู้ นี่คือหลักที่ถูกต้อง แต่มีการบิดเบือนการสื่อสารมาตั้งแต่โบราณแล้วซึ่งเปลี่ยนเป็น การสื่อสาร>ความจริง>อำนาจ ดังนั้นการสื่อสารถูกใช้มาเป็นส่วนหนึ่งในการขึ้นสู่อำนาจรวมไปถึงการรักษาอำนาจด้วย โดยการสื่อสารที่ว่านี้อาจจะมาจากความเชื่อต่างๆ ที่อาจจะไม่ถูกต้องแต่ก็แตะต้องไม่ได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงไม่เกิดขึ้นและเมื่อมีใครสักคนเห็นว่าการสื่อสารเรื่องนั้นไม่ถูกต้องก็จะถูกลงโทษ ในอดีตที่ผ่านมาการสื่อสารที่ทรงอิทธิพลและชัดเจนมากๆได้แก่ คำสอนของศาสนา Yuval Noah Harari ยกตัวอย่างคำสอนของศาสนาคริสต์ที่ยึดหลักคำสอนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจนทำให้ศาสนจักรมีอำนาจมากมาย ซึ่งยังรวมไปถึงตัวศาสนจักรเองก็ยังบิดเบือนคำสอนของศาสนาคริสต์ เช่นคำสอนที่ไม่ให้ทำร้ายใคร แต่ศาสนจักรก็ยังทำสงครามครูเสดกับศาสนาอิสลามเป็นต้น ในเรื่องการปกครองก็เช่นกัน การสื่อสารที่เป็นคำสั่งทางการปกครองในยุคของสตาลินที่ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์มาปกครองชาวสหภาพโซเวียต บังคับ ขู่เข็น และลงโทษผู้ไม่เห็นด้วย หลักการนี้ก็คล้ายๆกับฮิตเลอร์ปกครองเยอรมันนีในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง แน่นอนการสื่อสารในลักษณะนี้ที่ผ่านมามีเบื้องหลัง ไม่ได้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในยุคนี้เราเข้ามาสู่ยุคเอไอ ตัวคอมพิวเตอร์เองไม่สามารถสร้างคำสั่งหรือวิเคราะห์เรื่องราวได้ด้วยตัวเอง ความเป็นจริงเอไอก็มาจากสมองของมนุษย์ คำถามก็คือมนุษย์ก็สร้างเอไอให้มีศีล ธรรมที่ดีไม่ได้หรือ? ในเมื่อหลักการเบื้องหลังเอไอดีอยู่แล้วมันจะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่น่ากลัวได้ยังไง? แน่นอนหลักการเขียนอัลกอริทึมเพื่อให้เอไอทำงานเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว แต่พอเขียนไปได้สักระยะเอไอจะพยายามพัฒนาตัวเองให้ถูกใจมนุษย์มากขึ้น แล้วมันไม่ดียังไง? มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า ช่วงนั้นมีเหตุการณ์ที่ประชาชนพม่าต่อต้านชนชาติโรฮิงญาที่อยู่ตามชายขอบทางภาคตะวันตกของประเทศพม่า ในเฟสบุ๊กมีฟีดชาวพม่าโพสต์รังเกียจชาวโรฮิงญา ตลอดไปจนถึงขับไล่ และการยุยงให้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยฟีดเหล่านี้มีขึ้นมาต่อเนื่อง ทางเฟสบุ๊กแจ้งว่าเป็นเพราะเอไอจัดการ จะเห็นได้ว่าการโพสต์ข้อความรุนแรงเหล่านี้ ผิดทั้งคำสอนของพุทธศาสนา ผิดทั้งหลักมนุษยธรรม แต่ทำไมเอไอไม่ทำอะไร คำตอบก็คือ …. เอไอทำความความต้องการของมนุษย์ เอไอไม่รู้หลักมนุษยธรรมแต่เอไอรู้ว่ามนุษย์ชอบเรื่องนี้ ก็เลยดันให้เกิดฟีดมากขึ้นๆ ปัญหาของเอไออีกเรื่องที่อยู่ในเล่ม ศาลในอเมริกาตัดสินโทษชายคนหนึ่งโดยอ้างว่าใช้อัลกอริทึมของเอไอในการช่วยตัดสิน ผู้ต้องหาอยากให้ศาลชี้แจงว่าเขาทำผิดตรงไหน แต่ศาลไม่สามารถชี้แจ้งได้ เพราะบริษัทที่สร้างอัลกอริทึมนี้ขึ้นมาแจ้งว่ามันเป็นความลับทางการค้า ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีกมากมายในอนาคต ผู้เขียนเล่าเหตุการณ์สมมติให้อ่านว่า ถ้าหากใครสักคนไม่ผ่านอนุมัติเงินกู้ ผู้กู้เงินกลับไปถามธนาคารที่ใช้เอไอกำหนดเงื่อนไข เขาจะตอบรายละเอียดให้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะอัลกอริทึมชิ้นนี้อาจจะมีมากมายถึงหลายร้อยหัวข้อที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล จะเห็นได้ว่าการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากในชีวิตตั้งแต่อดีตไปจนถึงอนาคต ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตก็คือการใช้การสื่อสารในวัตถุประสงค์เพื่ออำนาจนั่นเอง #NEXUS #เน็กซัส #ประวัติย่อการสื่อสารจากยุคหินสู่เอไอ #รีวิวหนังสือ
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 21 มุมมอง 0 รีวิว