วอร์นเนอร์ มิวสิค กับคอนเทนต์แซะศาล

ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยประมาท หรือจงใจอยากให้เกิดก็ตาม แต่โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก Warner Music Thailand ของค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) ค่ายเพลงสากลภายใต้การดูแลของ วอร์นเนอร์ มิวสิค กรุ๊ป โพสต์ภาพตัดต่อภาพตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะที่มิบังควร เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว

โพสต์ดังกล่าวเป็นการโปรโมตเพลงสากลที่ชื่อว่า Apple ของศิลปินที่ชื่อว่า Charli xcx โดยข้อความในภาพระบุว่า "I THINK THE APPLE'S ROTTEN RIGHT TO THE CORE ฉันว่ารูปแอปเปิลลูกนี้มันคงเน่าจนถึงแกนแล้วล่ะ" พร้อมกับตัดต่อภาพแอปเปิลที่มีสภาพเน่าเสียไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน

นอกจากนี้ ยังมีการตัดต่อภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์สองรัชกาล ที่กรอบรูปบนผนังด้านหลังบัลลังก์ โดยการปิดสีเขียวทับ และระบุข้อความภาษาอังกฤษที่มีความหมายในลักษณะที่ไม่บังควร

ผลก็คือมีผู้คนเข้าไปแสดงความคิดเห็นไม่พอใจการกระทำของเพจเฟซบุ๊กค่ายเพลงดังกล่าวจำนวนมาก กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. ของวันที่ 10 สิงหาคม 2567 ก็ได้ลบโพสต์ดังกล่าวออก แต่ก็ไม่มีท่าทีใดๆ ทำให้คนที่ไม่พอใจยังตามไปคอมเมนต์ในโพสต์เก่าๆ ส่วนแอดมินเพจเลือกที่จะลบโพสต์ย้อนหลัง และจำกัดการแสดงความคิดเห็นบนโพสต์ต่างๆ

เมื่อไม่อาจต้านทานกระแสจากคนที่ไม่พอใจได้ ที่สุดแล้ว บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จํากัด จึงได้ออกแถลงการณ์เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ระบุว่า บริษัทฯ เสียใจเป็นอย่างยิ่งจากการนําเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนบัญชีสื่อโซเชียลอย่างเป็นทางการของบริษัทฯ

"ภาพที่ใช้ในการสื่อสารทางด้านการตลาดออนไลน์มีความไม่เหมาะสม ทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักการและระเบียบของบริษัทฯ เนื้อหาดังกล่าวนี้ได้ถูกผลิตและเผยแพร่ออกไปโดยพนักงานระดับปฏิบัติการโดยที่ไม่ผ่านการขออนุมัติจากระดับบริหารและศิลปิน ทันทีที่ผู้บริหารทราบถึงเนื้อหาดังกล่าว จึงได้ดําเนินการลบออกทันที"

ในแถลงการณ์ระบุว่า บริษัทฯ มีหลักการและระเบียบที่จะไม่นําเสนอ เนื้อหาและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงการพาดพิงถึงเจ้าหน้าที่หรือตุลาการในกระบวนการยุติธรรม และอยู่ในระหว่างการพิจารณาบทลงโทษต่อพนักงานที่รับผิดชอบในการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าว

อนึ่ง กรณีแสดงความคิดเห็นในลักษณะของการวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีที่มิได้กระทำโดยสุจริต โดยใช้ถ้อยคำที่มีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 38 และมาตรา 39 และอาจเป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กรณีที่เกิดขึ้น เป็นบทเรียนสำหรับคนทำการตลาด ผ่านบัญชีสื่อโซเชียลอย่างเป็นทางการ ถ้าต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม สิ่งหนึ่งที่คนทำคอนเทนต์ต้องระมัดระวังโดยสามัญสำนึกก็คือ ชาติพันธุ์ ศาสนา การเมือง และสถานะทางเพศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์ ยกเว้นถ้ามั่นใจในจุดยืนของตัวเองและฐานลูกค้าแล้ว

#Newskit #WarnerMusicThailand #ศาลรัฐธรรมนูญ
วอร์นเนอร์ มิวสิค กับคอนเทนต์แซะศาล ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยประมาท หรือจงใจอยากให้เกิดก็ตาม แต่โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก Warner Music Thailand ของค่ายเพลงวอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) ค่ายเพลงสากลภายใต้การดูแลของ วอร์นเนอร์ มิวสิค กรุ๊ป โพสต์ภาพตัดต่อภาพตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะที่มิบังควร เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นความผิดสำเร็จแล้ว โพสต์ดังกล่าวเป็นการโปรโมตเพลงสากลที่ชื่อว่า Apple ของศิลปินที่ชื่อว่า Charli xcx โดยข้อความในภาพระบุว่า "I THINK THE APPLE'S ROTTEN RIGHT TO THE CORE ฉันว่ารูปแอปเปิลลูกนี้มันคงเน่าจนถึงแกนแล้วล่ะ" พร้อมกับตัดต่อภาพแอปเปิลที่มีสภาพเน่าเสียไปยังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน นอกจากนี้ ยังมีการตัดต่อภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์สองรัชกาล ที่กรอบรูปบนผนังด้านหลังบัลลังก์ โดยการปิดสีเขียวทับ และระบุข้อความภาษาอังกฤษที่มีความหมายในลักษณะที่ไม่บังควร ผลก็คือมีผู้คนเข้าไปแสดงความคิดเห็นไม่พอใจการกระทำของเพจเฟซบุ๊กค่ายเพลงดังกล่าวจำนวนมาก กระทั่งเวลาประมาณ 16.00 น. ของวันที่ 10 สิงหาคม 2567 ก็ได้ลบโพสต์ดังกล่าวออก แต่ก็ไม่มีท่าทีใดๆ ทำให้คนที่ไม่พอใจยังตามไปคอมเมนต์ในโพสต์เก่าๆ ส่วนแอดมินเพจเลือกที่จะลบโพสต์ย้อนหลัง และจำกัดการแสดงความคิดเห็นบนโพสต์ต่างๆ เมื่อไม่อาจต้านทานกระแสจากคนที่ไม่พอใจได้ ที่สุดแล้ว บริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิค (ประเทศไทย) จํากัด จึงได้ออกแถลงการณ์เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ระบุว่า บริษัทฯ เสียใจเป็นอย่างยิ่งจากการนําเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนบัญชีสื่อโซเชียลอย่างเป็นทางการของบริษัทฯ "ภาพที่ใช้ในการสื่อสารทางด้านการตลาดออนไลน์มีความไม่เหมาะสม ทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักการและระเบียบของบริษัทฯ เนื้อหาดังกล่าวนี้ได้ถูกผลิตและเผยแพร่ออกไปโดยพนักงานระดับปฏิบัติการโดยที่ไม่ผ่านการขออนุมัติจากระดับบริหารและศิลปิน ทันทีที่ผู้บริหารทราบถึงเนื้อหาดังกล่าว จึงได้ดําเนินการลบออกทันที" ในแถลงการณ์ระบุว่า บริษัทฯ มีหลักการและระเบียบที่จะไม่นําเสนอ เนื้อหาและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงการพาดพิงถึงเจ้าหน้าที่หรือตุลาการในกระบวนการยุติธรรม และอยู่ในระหว่างการพิจารณาบทลงโทษต่อพนักงานที่รับผิดชอบในการผลิตและเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าว อนึ่ง กรณีแสดงความคิดเห็นในลักษณะของการวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีที่มิได้กระทำโดยสุจริต โดยใช้ถ้อยคำที่มีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 38 และมาตรา 39 และอาจเป็นความผิดฐานดูหมิ่นศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีที่เกิดขึ้น เป็นบทเรียนสำหรับคนทำการตลาด ผ่านบัญชีสื่อโซเชียลอย่างเป็นทางการ ถ้าต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม สิ่งหนึ่งที่คนทำคอนเทนต์ต้องระมัดระวังโดยสามัญสำนึกก็คือ ชาติพันธุ์ ศาสนา การเมือง และสถานะทางเพศ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์ ยกเว้นถ้ามั่นใจในจุดยืนของตัวเองและฐานลูกค้าแล้ว #Newskit #WarnerMusicThailand #ศาลรัฐธรรมนูญ
Like
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 832 มุมมอง 0 รีวิว