การจัดการทางการเงิน
ตอนที่ 2.
100,000 บาทในวันนี้ อีก 20 ปีจะมีค่าเพียง 20,000 บาท เงินในกระเป๋าลดขาลงตลอดเวลา เงินที่เรามีอยู่ตอนนี้อีก 20 ปีข้างหน้า มูลค่าจะลดลง 5 เท่า
ลองสังเกตดูว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้วไลค์ราคาเท่าไหร่เทียบกับปัจจุบันเพิ่มขึ้นเยอะไหม
ดูกันแค่ตอนนี้เลยก็ได้ครับ สินค้าทุกอย่างรอบตัวพากันขึ้นราคาทั้งนั้นเลย หมูแพงผักก็แพง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ น้ำมันหรือแม้แต่ทางด่วนก็ปรับราคาเพิ่ม คือทุกอย่างขึ้นหมดเลยยกเว้นรายได้ใช่ไหมครับ
.
เป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง เงินเฟ้อเป็นตัวทำลายความมั่งคั่งของเรา เงินเฟ้อเปรียบเสมือนเรือที่มีรูรั่วใหญ่มาก ทำให้เรือจมลงเรื่อยๆ แล้วเจ้าอัตราเงินเฟ้อนี้คืออะไร อธิบายแบบเร็วๆง่ายๆคือสภาวะที่เงินของเราด้อยค่าลง เช่นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเงิน 100 บาทซื้อของได้ 5 ชิ้นแต่ในวันนี้จะซื้อของชิ้นเดิมนั้นได้เพียง 2 ชิ้น
.
ทองคำ หนึ่ง บาทเมื่อ 20 ปีที่แล้วราคา 6,000 บาท แต่ทุกวันนี้จะซื้อทอง หนึ่ง บาทต้องใช้เงินราว 30,000 บาทแล้ว ขึ้นมา 5 เท่าตัว เมื่อก่อนน้ำมันลิตรละ 10 บาทขึ้นมาที่หลินละ 50 บาทแล้วนะครับขึ้นมา 5 เท่าตัว เมื่อก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละ 15 บาทตอนนี้ชามล่ะ 60 แล้ว ขึ้นมา 4 เท่าตัว แล้วเงินเดือนล่ะเมื่อก่อนสตาร์ที่ 8,000 ตอนนี้สตาร์ทที่ 15,000 บาทขึ้นมากี่เท่าครับคำตอบคือ 2 เท่าตัว
หรือจะอธิบายเงินเฟ้อให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกก็คือ เงินเฟ้อ = จนลง ลองคิดต่อเล่นๆกันดูครับอีก 20 ปีข้างหน้าสินค้าต่างๆจากราคาเท่าไหร่
คุณคิดว่าเมื่อไหร่รายได้จะโตทันสินค้าครับ ตอบให้เลยทันที..... ไม่มีทาง
.
นี่แหละคือความน่ากลัวของเงินเฟ้อและมันจะอันตรายมากๆสำหรับคนที่ถือเงินสดไว้อย่างเดียวเพราะเงินที่มีอยู่จากด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ อีก 20 ปีข้างหน้าเงินจ่ายด้อยค่าลงประมาณ 5 เท่า เงินที่เรามี 100,000 บาทในวันนี้ อีก 20 ปีจะมีค่าเพียง 20,000 บาทเท่านั้น และอีก 20 ปีถัดไปเงิน 20,000 บาทจะเหลือ 4,000 บาท
.
ค่าเงินเฟ้อมาจากไหน
เงินเฟ้อมาจากการคำนวณค่า CPI (Consumer Price Index)
โดยในแต่ละปี แต่ละประเทศจะมีการสุ่มสินค้าโดยประมาณ 200 ชนิด ในแต่ละหมวดหมู่ทั้งอุปโภคบริโภค คมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และอื่นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชากรเช่น ของกิน ของใช้ น้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก บ้าน ที่ดิน ค่าเช่า แล้วนำมาคำนวณโดยนำราคาสินค้าของปีนี้ หารกับราคาสินค้าเมื่อปีก่อน แล้วคูณ 100 ก็จะได้ค่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเงินเฟ้อทางการกับเงินเฟ้อจริงอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะสินค้าบางอย่างที่เขาสุ่มมาอาจไม่ได้ตรงกับสินค้าที่เรากำลังใช้อยู่ก็ได้ โดยปกติแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมี 2 อย่างคือ
.
Demand Pull - คือความต้องการซื้อมากขึ้น เมื่อคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ของมีเท่าเดิม จึงทำให้ราคาของเพิ่มสูงขึ้น มีเงินมากขึ้น ความต้องการสูงขึ้น แต่ของมีจำกัด ผู้ขายจึงขึ้นราคา ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานครทำไมที่ดินในกรุงเทพฯจึงแพง พอผู้คนต่างเข้ามาทำงานกันในกรุงเทพ คนกรุงเทพก็ทำ คนต่างจังหวัดก็เข้ามาทำ แม้แต่คนต่างประเทศก็ยังเข้ามาความต้องการที่ดินมากขึ้น กำลังการซื้อมากขึ้นแต่ที่ดินมีจำนวนเท่าเดิมจึงทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น
.
Cost Push – คือต้นทุนที่แพงขึ้น จึงดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ตัวอย่างต้นทุนเช่นค่าแรงที่แพงขึ้น ค่าน้ำมันแพงขึ้น วัตถุดิบแพงขึ้น ค่าเช่าแพงขึ้น ค่าไฟแพงขึ้น เมื่อสินค้ามีต้นทุนแพงขึ้นเจ้าของสินค้าจึงต้องเพิ่มราคาขาย จึงนำไปสู่ต้นทุนที่แพงขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการ แบกรับต้นทุนที่แพงขึ้นแต่ขายสินค้าในราคาเดิมไม่ได้ เหมือนถูกดันก้นมาอีกทีจึงต้องเพิ่มราคาขาย
.
แต่ว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมาเกิดปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก สอง ปัจจัยคือ
1. จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเกิดจาก สอง ปัจจัยคือ
1.1 การพิมพ์เงินเพิ่มขึ้น ในโลกของเรามีเพียงไม่กี่ประเทศที่ 3 ารถพิมพ์เงินเพิ่มเองได้เช่นอเมริกาญี่ปุ่น หรือบางประเทศในยุโรป เมื่อเกิดปัญหาโควิดผู้คนรายได้ลดลงรัฐบาลของเขาจึงอัดฉีดประชาชนโดยการพิมพ์เงินแจก ให้ไปใช้จ่ายกันได้เลย (QE)
1.2 ส่งออกเงินเฟ้อไปทั่วโลก ประเทศที่พิมพ์เงินได้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศอื่นเงินเฟ้อตามเรียกว่า ส่งออก เงินเฟ้อไปให้ประเทศอื่นก็ได้ เพราะสุดท้ายค้าขายกันหมด เมื่อประเทศใหญ่เช่นอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ของแพงขึ้น แล้วส่งไปขายที่ประเทศอื่นๆ ราคาก็ต้องแพงตามเพราะซื้อมาแพงตั้งแต่แรกแล้ว
2. Supply Shock ของขาดแบบเฉียบพลัน
อธิบายคำนี้ง่ายๆแบบนี้ครับ ยกตัวอย่างโทรศัพท์เครื่อง หนึ่ง จะมีชิ้นส่วนประกอบมากมาย จึงจะรวมกันเป็นโทรศัพท์ หนึ่ง เครื่องใช่ไหม มีชิพมีฮาร์ดแวร์มีจอมีเลนส์เป็นต้น และชิ้นส่วนประกอบต่างๆก็มาจากหลายแหล่งผลิต จากหลายประเทศเมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทำให้เกิดการปิดประเทศบางปิดโรงงานการผลิตบ้าง จนทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตสินค้า จึงทำให้เกิดการขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นไปอีก
.
ดังนั้นตอนนี้เราเจอทุกข้อรวมกันเหมือนอยู่ใน มรสุมเงินเฟ้อเลยครับ ทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น มีเงินในระบบมากขึ้น แถมยังเจอ ของขาดแบบเฉียบพลันเข้ามาอีก ทุกอย่างเลยโคตรแพงเลยครับตอนนี้ โดยปกติ เงินเฟ้อทางการ ระยะยาวเฉลี่ย 2 ถึง 3% ต่อปี แต่ผมอยากให้คุณโฟกัสที่เงินเฟ้อชีวิตจริงมากกว่าครับ
.
แล้วมาดูวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อกัน ทั่วโลกจะมีการแก้ปัญหา สอง ระดับคือระดับประเทศและระดับบุคคล
ระดับประเทศจาแก้ด้วยระบบการคลังและการเงิน ในทฤษฎีแล้วจะแก้กันแบบนี้
การคลังจะต้องลดการใช้จ่ายไม่จำเป็นลง เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อดูดเงินออกจากระบบให้เงินเฟ้อลดลง
.
การเงิน จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้คนฝากธนาคารและไม่กระตุ้นให้คนทำธุรกิจไม่อยากกู้เงินไปลงทุนจะส่งผลให้เงินในระบบลดลงเงินเฟ้อก็ลดลง นี่คือทางทฤษฎีในภาพใหญ่แต่ต้องบอกเลยว่าในสถานการณ์ที่ผิดปกติก็อาจทำตามทฤษฎีนั้นไม่ได้ และเราเองคงไม่ 3 ารถเข้าไปแก้ไขตรงนั้นได้เราจึงต้องมาแก้ไขในระดับบุคคล
.
วิธีการสู้เงินเฟ้อระดับบุคคล คือการที่เราต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเท่ากันหรือมากกว่าเงินเฟ้อ วิธีนี้เท่านั้นจึงจะทำให้เรารอด นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราจะต้องมาเรียนรู้การลงทุนกันอย่างจริงจัง พร้อมทั้งรู้วิธีการเลือกประเภทของการลงทุน ให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้เราลอยตัวเหนือเงินเฟ้อ ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋า และช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายที่ออกแบบไว้ได้เสมอ.
.
#สอนการลงทุน #สอนเล่นหุ้น #การลงทุน #หุ้น #ตลาดหุ้น #สอนฟรี #กลุ่มคนเล่นหุ้น #เรียนการลงทุน #เรียนหุ้น #พื้นฐานหุ้น #พื้นฐานการลงทุน #การเงิน #การธนาคาร
การจัดการทางการเงิน ตอนที่ 2. 100,000 บาทในวันนี้ อีก 20 ปีจะมีค่าเพียง 20,000 บาท เงินในกระเป๋าลดขาลงตลอดเวลา เงินที่เรามีอยู่ตอนนี้อีก 20 ปีข้างหน้า มูลค่าจะลดลง 5 เท่า ลองสังเกตดูว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้วไลค์ราคาเท่าไหร่เทียบกับปัจจุบันเพิ่มขึ้นเยอะไหม ดูกันแค่ตอนนี้เลยก็ได้ครับ สินค้าทุกอย่างรอบตัวพากันขึ้นราคาทั้งนั้นเลย หมูแพงผักก็แพง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ น้ำมันหรือแม้แต่ทางด่วนก็ปรับราคาเพิ่ม คือทุกอย่างขึ้นหมดเลยยกเว้นรายได้ใช่ไหมครับ . เป็นเพราะอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง เงินเฟ้อเป็นตัวทำลายความมั่งคั่งของเรา เงินเฟ้อเปรียบเสมือนเรือที่มีรูรั่วใหญ่มาก ทำให้เรือจมลงเรื่อยๆ แล้วเจ้าอัตราเงินเฟ้อนี้คืออะไร อธิบายแบบเร็วๆง่ายๆคือสภาวะที่เงินของเราด้อยค่าลง เช่นเมื่อ 20 ปีที่แล้วเงิน 100 บาทซื้อของได้ 5 ชิ้นแต่ในวันนี้จะซื้อของชิ้นเดิมนั้นได้เพียง 2 ชิ้น . ทองคำ หนึ่ง บาทเมื่อ 20 ปีที่แล้วราคา 6,000 บาท แต่ทุกวันนี้จะซื้อทอง หนึ่ง บาทต้องใช้เงินราว 30,000 บาทแล้ว ขึ้นมา 5 เท่าตัว เมื่อก่อนน้ำมันลิตรละ 10 บาทขึ้นมาที่หลินละ 50 บาทแล้วนะครับขึ้นมา 5 เท่าตัว เมื่อก่อนก๋วยเตี๋ยวชามละ 15 บาทตอนนี้ชามล่ะ 60 แล้ว ขึ้นมา 4 เท่าตัว แล้วเงินเดือนล่ะเมื่อก่อนสตาร์ที่ 8,000 ตอนนี้สตาร์ทที่ 15,000 บาทขึ้นมากี่เท่าครับคำตอบคือ 2 เท่าตัว หรือจะอธิบายเงินเฟ้อให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกก็คือ เงินเฟ้อ = จนลง ลองคิดต่อเล่นๆกันดูครับอีก 20 ปีข้างหน้าสินค้าต่างๆจากราคาเท่าไหร่ คุณคิดว่าเมื่อไหร่รายได้จะโตทันสินค้าครับ ตอบให้เลยทันที..... ไม่มีทาง . นี่แหละคือความน่ากลัวของเงินเฟ้อและมันจะอันตรายมากๆสำหรับคนที่ถือเงินสดไว้อย่างเดียวเพราะเงินที่มีอยู่จากด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ อีก 20 ปีข้างหน้าเงินจ่ายด้อยค่าลงประมาณ 5 เท่า เงินที่เรามี 100,000 บาทในวันนี้ อีก 20 ปีจะมีค่าเพียง 20,000 บาทเท่านั้น และอีก 20 ปีถัดไปเงิน 20,000 บาทจะเหลือ 4,000 บาท . ค่าเงินเฟ้อมาจากไหน เงินเฟ้อมาจากการคำนวณค่า CPI (Consumer Price Index) โดยในแต่ละปี แต่ละประเทศจะมีการสุ่มสินค้าโดยประมาณ 200 ชนิด ในแต่ละหมวดหมู่ทั้งอุปโภคบริโภค คมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และอื่นอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชากรเช่น ของกิน ของใช้ น้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก บ้าน ที่ดิน ค่าเช่า แล้วนำมาคำนวณโดยนำราคาสินค้าของปีนี้ หารกับราคาสินค้าเมื่อปีก่อน แล้วคูณ 100 ก็จะได้ค่าออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเงินเฟ้อทางการกับเงินเฟ้อจริงอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะสินค้าบางอย่างที่เขาสุ่มมาอาจไม่ได้ตรงกับสินค้าที่เรากำลังใช้อยู่ก็ได้ โดยปกติแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อมี 2 อย่างคือ . Demand Pull - คือความต้องการซื้อมากขึ้น เมื่อคนมีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ใช้จ่ายได้มากขึ้น แต่ของมีเท่าเดิม จึงทำให้ราคาของเพิ่มสูงขึ้น มีเงินมากขึ้น ความต้องการสูงขึ้น แต่ของมีจำกัด ผู้ขายจึงขึ้นราคา ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานครทำไมที่ดินในกรุงเทพฯจึงแพง พอผู้คนต่างเข้ามาทำงานกันในกรุงเทพ คนกรุงเทพก็ทำ คนต่างจังหวัดก็เข้ามาทำ แม้แต่คนต่างประเทศก็ยังเข้ามาความต้องการที่ดินมากขึ้น กำลังการซื้อมากขึ้นแต่ที่ดินมีจำนวนเท่าเดิมจึงทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น . Cost Push – คือต้นทุนที่แพงขึ้น จึงดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ตัวอย่างต้นทุนเช่นค่าแรงที่แพงขึ้น ค่าน้ำมันแพงขึ้น วัตถุดิบแพงขึ้น ค่าเช่าแพงขึ้น ค่าไฟแพงขึ้น เมื่อสินค้ามีต้นทุนแพงขึ้นเจ้าของสินค้าจึงต้องเพิ่มราคาขาย จึงนำไปสู่ต้นทุนที่แพงขึ้น จึงทำให้ผู้ประกอบการ แบกรับต้นทุนที่แพงขึ้นแต่ขายสินค้าในราคาเดิมไม่ได้ เหมือนถูกดันก้นมาอีกทีจึงต้องเพิ่มราคาขาย . แต่ว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมาเกิดปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีก สอง ปัจจัยคือ 1. จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเกิดจาก สอง ปัจจัยคือ 1.1 การพิมพ์เงินเพิ่มขึ้น ในโลกของเรามีเพียงไม่กี่ประเทศที่ 3 ารถพิมพ์เงินเพิ่มเองได้เช่นอเมริกาญี่ปุ่น หรือบางประเทศในยุโรป เมื่อเกิดปัญหาโควิดผู้คนรายได้ลดลงรัฐบาลของเขาจึงอัดฉีดประชาชนโดยการพิมพ์เงินแจก ให้ไปใช้จ่ายกันได้เลย (QE) 1.2 ส่งออกเงินเฟ้อไปทั่วโลก ประเทศที่พิมพ์เงินได้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศอื่นเงินเฟ้อตามเรียกว่า ส่งออก เงินเฟ้อไปให้ประเทศอื่นก็ได้ เพราะสุดท้ายค้าขายกันหมด เมื่อประเทศใหญ่เช่นอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ของแพงขึ้น แล้วส่งไปขายที่ประเทศอื่นๆ ราคาก็ต้องแพงตามเพราะซื้อมาแพงตั้งแต่แรกแล้ว 2. Supply Shock ของขาดแบบเฉียบพลัน อธิบายคำนี้ง่ายๆแบบนี้ครับ ยกตัวอย่างโทรศัพท์เครื่อง หนึ่ง จะมีชิ้นส่วนประกอบมากมาย จึงจะรวมกันเป็นโทรศัพท์ หนึ่ง เครื่องใช่ไหม มีชิพมีฮาร์ดแวร์มีจอมีเลนส์เป็นต้น และชิ้นส่วนประกอบต่างๆก็มาจากหลายแหล่งผลิต จากหลายประเทศเมื่อเกิดวิกฤตโควิด ทำให้เกิดการปิดประเทศบางปิดโรงงานการผลิตบ้าง จนทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตสินค้า จึงทำให้เกิดการขึ้นราคาสินค้าเพิ่มขึ้นไปอีก . ดังนั้นตอนนี้เราเจอทุกข้อรวมกันเหมือนอยู่ใน มรสุมเงินเฟ้อเลยครับ ทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทั้งต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น มีเงินในระบบมากขึ้น แถมยังเจอ ของขาดแบบเฉียบพลันเข้ามาอีก ทุกอย่างเลยโคตรแพงเลยครับตอนนี้ โดยปกติ เงินเฟ้อทางการ ระยะยาวเฉลี่ย 2 ถึง 3% ต่อปี แต่ผมอยากให้คุณโฟกัสที่เงินเฟ้อชีวิตจริงมากกว่าครับ . แล้วมาดูวิธีการแก้ปัญหาเงินเฟ้อกัน ทั่วโลกจะมีการแก้ปัญหา สอง ระดับคือระดับประเทศและระดับบุคคล ระดับประเทศจาแก้ด้วยระบบการคลังและการเงิน ในทฤษฎีแล้วจะแก้กันแบบนี้ การคลังจะต้องลดการใช้จ่ายไม่จำเป็นลง เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อดูดเงินออกจากระบบให้เงินเฟ้อลดลง . การเงิน จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้คนฝากธนาคารและไม่กระตุ้นให้คนทำธุรกิจไม่อยากกู้เงินไปลงทุนจะส่งผลให้เงินในระบบลดลงเงินเฟ้อก็ลดลง นี่คือทางทฤษฎีในภาพใหญ่แต่ต้องบอกเลยว่าในสถานการณ์ที่ผิดปกติก็อาจทำตามทฤษฎีนั้นไม่ได้ และเราเองคงไม่ 3 ารถเข้าไปแก้ไขตรงนั้นได้เราจึงต้องมาแก้ไขในระดับบุคคล . วิธีการสู้เงินเฟ้อระดับบุคคล คือการที่เราต้องลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเท่ากันหรือมากกว่าเงินเฟ้อ วิธีนี้เท่านั้นจึงจะทำให้เรารอด นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราจะต้องมาเรียนรู้การลงทุนกันอย่างจริงจัง พร้อมทั้งรู้วิธีการเลือกประเภทของการลงทุน ให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้เราลอยตัวเหนือเงินเฟ้อ ช่วยเพิ่มเงินในกระเป๋า และช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายที่ออกแบบไว้ได้เสมอ. . #สอนการลงทุน #สอนเล่นหุ้น #การลงทุน #หุ้น #ตลาดหุ้น #สอนฟรี #กลุ่มคนเล่นหุ้น #เรียนการลงทุน #เรียนหุ้น #พื้นฐานหุ้น #พื้นฐานการลงทุน #การเงิน #การธนาคาร
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 13 มุมมอง 0 รีวิว