ศึกชิงพระคลังข้างที่ ๒๔๗๕ จากปล้นพระราชทรัพย์ถึงคดีสวรรคต ร.๘

หนังสือที่ผู้แต่งต้องใช้ความพยายามสูงมากในการรวบรวมหลักฐานชั้นต้น(ข้อมูลจริงๆ เช่น ราชกิจจาฯ , บันทึกการประชุมสภา , หนังสือไว้อาลัยงานศพ) ผู้แต่งเชื่อมโยงเอกสารต่างๆ การลำดับเวลา และหลักฐานเชื่อมโยง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจบริบทได้ไม่ยากจนเกินไป โดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวน้อยมากๆ

หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นนิยามคำว่าพระคลังข้างที่เสียก่อน มีบันทึกจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ว่าท่านส่งเงินไปให้ลูกเรียนที่ต่างประเทศ(ลูกท่านมีเยอะมาก) การที่จะนำเงินของประเทศไปใช้ในการนี้ไม่เหมาะสม เนื่องจากถ้าลูกของท่านเรียนดีก็จะไม่มีปัญหาอะไรมารับราชการได้ ส่วนคนที่ไม่ต้้งใจเรียน กลับมาแล้วไม่มีคุณภาพท่านจะถูกตำหนิเอาได้ เลยให้แยกเงินส่วนพระองค์(พระคลังข้างที่) ออกจากเงินคลังของประเทศ ซึ่งเงินพระคลังข้างที่ก็จะถูกจัดสรรให้เป็นกี่เปอร์เซนต์ต่อปีซึ่งก็แล้วแต่ช่วง และเงินพระคลังข้างที่นี้ก็จะถูกนำไปใช้และลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผล เมื่อไม่ต้องรบกวนเงินของคลัง

เมื่อมีการแยกเงินพระคลังข้างที่ชัดเจนแล้ว ปัญหาเรื่องเงินพระคลังข้างที่เกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงที่คณะราษฎรยึดการปกครองได้มีการเจรจากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ว่าจะไม่ยึดทรัพย์และจะให้พระองค์อยู่เฉยๆ ภายหลังปรากฎหลักฐานว่ามีการยึดทรัพย์และประมูลขายทอดตลาดด้วย ช่วงที่พระคลังข้างที่ถูกยึดไปโดยคณะราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องย้ายไปประทับที่ประเทศอังกฤษและไม่สามารถจ้างทนายไปต่อสู้ในศาลไทยเพื่อที่จะคัดค้านการยึดทรัพย์
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการตั้งกระทู้ถามในเรื่องการซื้อที่ดินพระคลังข้างที่โดยสมาชิกคณะราษฎรหลายคน ในราคาถูกๆ บางกรณีมีการผ่อนจ่ายแล้วนำไปให้เช่าแล้วเอาเงินค่าเช่ามาผ่อนซื้อที่ และคนที่ได้ซื้อที่เป็นของตัวเองมากที่สุดคือขุนนิรันดรชัย ซึ่งหลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีไม่สามารถแก้ต่างได้จึงขอลาออกทั้งชุด แต่ภายหลังก็ปรากฎชื่อบุคคลเหล่านี้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีใหม่ สาเหตุเกิดจากหลังจากแต่งตั้งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่ 8) เป็นกษัตริย์แล้วพระองค์ท่านยังทรงพระเยาว์ จึงไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ แล้วให้มีผู้สำเร็จราชการแทนดำเนินการเกี่ยวกับพระราชอำนาจ รวมไปถึงการจัดการพระคลังข้างที่ด้วย ซึ่งถูกแต่งตั้งโยกย้ายโดยคณะราษฎร นี่จึงเป็นสาเหตุให้มีการขายพระคลังข้างที่ออกมา

ภายหลังปรากฎว่าปัจจุบันที่ดินที่ตกทอดมาสู่ลูกหลานของขุนนิรันดรชัยประเมินมูลค่าแล้วมากถึงสึ่หมื่นล้านบาท ซึ่งปลายปี 2563 ลูกชายของขุนนิรันดรชัยได้แถลงข่าวขอพระราชทานอภัยโทษเกี่ยวกับความผิดของคุณพ่อแล้ว

ท้ายเล่มยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับคดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่ 8) ซึ่งอ่านแล้วได้รู้ว่าพระองค์ท่านกลับมาเยี่ยมประชาชนและตั้งใจจะกลับไปเรียนต่อ แต่เมื่อพอกลับมาที่ประเทศไทยแล้วอยู่ทำพระราชกรณียกิจได้ 7 เดือนก็สวรรคตแล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่าท่าสวรรคตหลังพระราชทานรรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2489 ได้ไม่ถึงหนึ่งเดือน


เนื้อหาภายในหนังสือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานชั้นต้นทั้งหมด ไม่มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์ได้ การรวบรวมเนื้อหาของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้น่ายกย่องถึงความพยายามและความกล้าหาญที่จะเปิดเผยความจริงที่ไม่มีใครกล้าเปิดเผยมาก่อน

#ศึกชิงพระคลังข้างที่ #รีวิวหนังสือ

ศึกชิงพระคลังข้างที่ ๒๔๗๕ จากปล้นพระราชทรัพย์ถึงคดีสวรรคต ร.๘ หนังสือที่ผู้แต่งต้องใช้ความพยายามสูงมากในการรวบรวมหลักฐานชั้นต้น(ข้อมูลจริงๆ เช่น ราชกิจจาฯ , บันทึกการประชุมสภา , หนังสือไว้อาลัยงานศพ) ผู้แต่งเชื่อมโยงเอกสารต่างๆ การลำดับเวลา และหลักฐานเชื่อมโยง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจบริบทได้ไม่ยากจนเกินไป โดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวน้อยมากๆ หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นนิยามคำว่าพระคลังข้างที่เสียก่อน มีบันทึกจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ว่าท่านส่งเงินไปให้ลูกเรียนที่ต่างประเทศ(ลูกท่านมีเยอะมาก) การที่จะนำเงินของประเทศไปใช้ในการนี้ไม่เหมาะสม เนื่องจากถ้าลูกของท่านเรียนดีก็จะไม่มีปัญหาอะไรมารับราชการได้ ส่วนคนที่ไม่ต้้งใจเรียน กลับมาแล้วไม่มีคุณภาพท่านจะถูกตำหนิเอาได้ เลยให้แยกเงินส่วนพระองค์(พระคลังข้างที่) ออกจากเงินคลังของประเทศ ซึ่งเงินพระคลังข้างที่ก็จะถูกจัดสรรให้เป็นกี่เปอร์เซนต์ต่อปีซึ่งก็แล้วแต่ช่วง และเงินพระคลังข้างที่นี้ก็จะถูกนำไปใช้และลงทุนเพื่อให้เกิดดอกออกผล เมื่อไม่ต้องรบกวนเงินของคลัง เมื่อมีการแยกเงินพระคลังข้างที่ชัดเจนแล้ว ปัญหาเรื่องเงินพระคลังข้างที่เกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในช่วงที่คณะราษฎรยึดการปกครองได้มีการเจรจากับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ว่าจะไม่ยึดทรัพย์และจะให้พระองค์อยู่เฉยๆ ภายหลังปรากฎหลักฐานว่ามีการยึดทรัพย์และประมูลขายทอดตลาดด้วย ช่วงที่พระคลังข้างที่ถูกยึดไปโดยคณะราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องย้ายไปประทับที่ประเทศอังกฤษและไม่สามารถจ้างทนายไปต่อสู้ในศาลไทยเพื่อที่จะคัดค้านการยึดทรัพย์ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการตั้งกระทู้ถามในเรื่องการซื้อที่ดินพระคลังข้างที่โดยสมาชิกคณะราษฎรหลายคน ในราคาถูกๆ บางกรณีมีการผ่อนจ่ายแล้วนำไปให้เช่าแล้วเอาเงินค่าเช่ามาผ่อนซื้อที่ และคนที่ได้ซื้อที่เป็นของตัวเองมากที่สุดคือขุนนิรันดรชัย ซึ่งหลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีไม่สามารถแก้ต่างได้จึงขอลาออกทั้งชุด แต่ภายหลังก็ปรากฎชื่อบุคคลเหล่านี้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีใหม่ สาเหตุเกิดจากหลังจากแต่งตั้งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่ 8) เป็นกษัตริย์แล้วพระองค์ท่านยังทรงพระเยาว์ จึงไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ แล้วให้มีผู้สำเร็จราชการแทนดำเนินการเกี่ยวกับพระราชอำนาจ รวมไปถึงการจัดการพระคลังข้างที่ด้วย ซึ่งถูกแต่งตั้งโยกย้ายโดยคณะราษฎร นี่จึงเป็นสาเหตุให้มีการขายพระคลังข้างที่ออกมา ภายหลังปรากฎว่าปัจจุบันที่ดินที่ตกทอดมาสู่ลูกหลานของขุนนิรันดรชัยประเมินมูลค่าแล้วมากถึงสึ่หมื่นล้านบาท ซึ่งปลายปี 2563 ลูกชายของขุนนิรันดรชัยได้แถลงข่าวขอพระราชทานอภัยโทษเกี่ยวกับความผิดของคุณพ่อแล้ว ท้ายเล่มยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับคดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่ 8) ซึ่งอ่านแล้วได้รู้ว่าพระองค์ท่านกลับมาเยี่ยมประชาชนและตั้งใจจะกลับไปเรียนต่อ แต่เมื่อพอกลับมาที่ประเทศไทยแล้วอยู่ทำพระราชกรณียกิจได้ 7 เดือนก็สวรรคตแล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่าท่าสวรรคตหลังพระราชทานรรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2489 ได้ไม่ถึงหนึ่งเดือน เนื้อหาภายในหนังสือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานชั้นต้นทั้งหมด ไม่มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์ได้ การรวบรวมเนื้อหาของผู้แต่งหนังสือเล่มนี้น่ายกย่องถึงความพยายามและความกล้าหาญที่จะเปิดเผยความจริงที่ไม่มีใครกล้าเปิดเผยมาก่อน #ศึกชิงพระคลังข้างที่ #รีวิวหนังสือ
Love
1
0 Comments 0 Shares 35 Views 0 Reviews