อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าในทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล(โลภะ โทสะ​และโมหะ)​
สัทธรรมลำดับที่ : 323
ชื่อบทธรรม :- ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=323
เนื้อความทั้งหมด :-
--ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล
--ภิกษุ ท. ! อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า? สามอย่างคือ
โลภะ เป็น อกุศลมูล
โทสะ เป็น อกุศลมูล
โมหะ เป็น อกุศลมูล.
--ภิกษุ ท. ! แม้ โลภะ นั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภแล้ว
ประกอบกรรมใดทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้ กรรมนั้น ก็เป็น อกุศล.
คนโลภถูกความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมแล้ว
ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง
ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง
โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้
แม้กรรมนี้ก็เป็น อกุศล
: อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนก ที่เกิดจากความโลภ
มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นสมุทัย(เหตุ)​ มีความโลภเป็นปัจจัย เหล่านี้
ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง โทสะ และ โมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกัน
อย่างที่กล่าวได้ว่า ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

--ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้นั้น ควรถูกเรียกว่า เป็น
อกาลวาที บ้าง อภูตวาที บ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาที บ้าง อวินยวาที บ้าง.
เพราะเหตุไร จึงควรถูกเรียกอย่างนั้น ? เพราะเหตุว่าบุคคลนี้ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง
ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ ;
และเมื่อ เขาถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็บิดพลิ้วไม่ยอมรับ ;
เมื่อถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ก็ไม่พยายามที่จะทำให้แจ้งชัด
ออกไปว่านั่นไม่ตรง นั่นไม่จริง อย่างนี้ ๆ.
เพราะฉะนั้นบุคคลชนิดนี้ จึงควรถูกเรียกว่า เป็น
อกาลวาทีบ้าง อภูติวาทีบ้าง อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง.
--ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้ ถูกอกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิดมาจากความโลภครอบงำแล้ว
มีจิตอันอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดจากโลภะกลุ้มรุมแล้วย่อม อยู่เป็นทุกข์
มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว,
ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมหวังได้แต่ทุคติ.
(ในกรณีแห่ง ความโกรธ และ ความหลง ก็ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกัน
อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่นต้นสาละ ตันธวะ หรือต้นผันทนะก็ดี
ถูกเครือเถามาลุวาสามชนิดขึ้นคลุมแล้ว รัดรึงแล้ว ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย,
ฉันใดก็ฉันนั้น.
--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อกุศลมูล ๓ อย่าง.

(พระองค์ยังได้ตรัสข้อความเป็นปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้ามอีก
ซึ่งผู้ศึกษาหาดูได้จากหัวข้อว่า “#ปรินิพพานในทิฏฐธรรมด้วยการตัดอกุศลมูล”)​

#ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/192/509.
http://etipitaka.com/read/thai/20/192/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๕๘/๕๐๙.
http://etipitaka.com/read/pali/20/258/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=323
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=22&id=323
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=22
ลำดับสาธยายธรรม : 22 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_22.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัด​ศึกษาว่าในทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล(โลภะ โทสะ​และโมหะ)​ สัทธรรมลำดับที่ : 323 ชื่อบทธรรม :- ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=323 เนื้อความทั้งหมด :- --ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล --ภิกษุ ท. ! อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า? สามอย่างคือ โลภะ เป็น อกุศลมูล โทสะ เป็น อกุศลมูล โมหะ เป็น อกุศลมูล. --ภิกษุ ท. ! แม้ โลภะ นั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภแล้ว ประกอบกรรมใดทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้ กรรมนั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภถูกความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมแล้ว ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ แม้กรรมนี้ก็เป็น อกุศล : อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนก ที่เกิดจากความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นสมุทัย(เหตุ)​ มีความโลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีแห่ง โทสะ และ โมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกัน อย่างที่กล่าวได้ว่า ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). --ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้นั้น ควรถูกเรียกว่า เป็น อกาลวาที บ้าง อภูตวาที บ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาที บ้าง อวินยวาที บ้าง. เพราะเหตุไร จึงควรถูกเรียกอย่างนั้น ? เพราะเหตุว่าบุคคลนี้ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ ; และเมื่อ เขาถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็บิดพลิ้วไม่ยอมรับ ; เมื่อถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ก็ไม่พยายามที่จะทำให้แจ้งชัด ออกไปว่านั่นไม่ตรง นั่นไม่จริง อย่างนี้ ๆ. เพราะฉะนั้นบุคคลชนิดนี้ จึงควรถูกเรียกว่า เป็น อกาลวาทีบ้าง อภูติวาทีบ้าง อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง. --ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้ ถูกอกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิดมาจากความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดจากโลภะกลุ้มรุมแล้วย่อม อยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมหวังได้แต่ทุคติ. (ในกรณีแห่ง ความโกรธ และ ความหลง ก็ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกัน อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่นต้นสาละ ตันธวะ หรือต้นผันทนะก็ดี ถูกเครือเถามาลุวาสามชนิดขึ้นคลุมแล้ว รัดรึงแล้ว ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย, ฉันใดก็ฉันนั้น. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อกุศลมูล ๓ อย่าง. (พระองค์ยังได้ตรัสข้อความเป็นปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้ามอีก ซึ่งผู้ศึกษาหาดูได้จากหัวข้อว่า “#ปรินิพพานในทิฏฐธรรมด้วยการตัดอกุศลมูล”)​ #ทุกขสมุทัย #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/192/509. http://etipitaka.com/read/thai/20/192/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๒๕๘/๕๐๙. http://etipitaka.com/read/pali/20/258/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%90%E0%B9%99 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=323 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=22&id=323 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=22 ลำดับสาธยายธรรม : 22 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_22.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล
-ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล ภิกษุ ท. ! อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า? สามอย่างคือ โลภะ เป็น อกุศลมูล โทสะ เป็น อกุศลมูล โมหะ เป็น อกุศลมูล. ภิกษุ ท. ! แม้ โลภะ นั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภแล้ว ประกอบกรรมใดทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้ กรรมนั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภถูกความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมแล้ว ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ แม้กรรมนี้ก็เป็น อกุศล : อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนก ที่เกิดจากความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นสมุทัย มีความโลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีแห่ง โทสะ และ โมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันอย่างที่กล่าวได้ว่า ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้นั้น ควรถูกเรียกว่าเป็นอกาลวาที บ้าง อภูตวาที บ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาที บ้าง อวินยวาที บ้าง. เพราะเหตุไร จึงควรถูกเรียกอย่างนั้น ? เพราะเหตุว่าบุคคลนี้ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ ; และเมื่อ เขาถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็บิดพลิ้วไม่ยอมรับ ; เมื่อถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ก็ไม่พยายามที่จะทำให้แจ้งชัด ออกไปว่า นั่นไม่ตรง นั่นไม่จริง อย่างนี้ ๆ. เพราะฉะนั้นบุคคลชนิดนี้ จึงควรถูกเรียกว่า เป็นอกาลวาทีบ้าง อภูติวาทีบ้าง อนัตถวาทีบ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง. ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้ ถูกอกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิดมาจากความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดจากโลภะกลุ้มรุมแล้วย่อม อยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว, ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมหวังได้แต่ทุคติ. (ในกรณีแห่ง ความโกรธ และ ความหลง ก็ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกัน อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น). ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ ๆ เช่นต้นสาละ ตันธวะ หรือต้นผันทนะก็ดี ถูกเครือเถามาลุวาสามชนิดขึ้นคลุมแล้ว รัดรึงแล้ว ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย, ฉันใดก็ฉันนั้น. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อกุศลมูล ๓ อย่าง. (พระองค์ยังได้ตรัสข้อความเป็นปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้ามอีก ซึ่งผู้ศึกษาหาดูได้จากหัวข้อว่า “ปรินิพพานในทิฏฐธรรมด้วยการตัดอกุศลมูล” ในภาค ๓ แห่งหนังสือเล่มนี้).
0 Comments 0 Shares 25 Views 0 Reviews