วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ How To Lie With Statistics (2025/072)
เล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) 71ปีแล้วหละ
เป็นหนังสือที่แฉมุมมืดของผู้ที่มีเบื้องหลังในการชักจูงผู้ที่เห็นข้อมูลทางสถิติ ให้คิดและโน้มน้าวไปในทิศทางที่ผู้นำเสนอต้องการ ซึ่งถ้าทำตรงไปตรงมาผลของการโน้มน้าวอาจจะห่างไกลจากความต้องการของผู้นำเสนอไกลโขเลยทีเดียว
ถึงแม้เนื้อหาจะเก่าแต่ทันสมัยมาก พวกเรายังคงถูกชักจูงจากข้อมูลสถิติอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนนำเสนอหนังสือเล่มนี้อย่างกระชับ แต่ครบทุกมุมมอง และที่สำคัญคือเขายังนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรับมือกับสถิติเหล่านั้นด้วย
ข้อมูลทางสถิติเชื่อไม่ได้เลยหรือ?
ที่จริงก็ควรเชื่อได้อยู่ครับ แต่ก็ควรจะรู้เท่าทันข้อผิดพลาด หรือข้อจงใจผิดพลาดในการนำเสนอสถิติ เรื่องแรกที่ผู้เขียนนำเสนอคือกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าถ้าหากกลุ่มตัวอย่างที่มากๆๆเพียงพอ ก็จะเป็นตัวแทนของข้อมูลได้ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้วการทำสถิติขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ ไม่สามารถเก็บตัวอย่างข้อมูลได้มากมายพอเนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หรืออาจจะมีวาระซ่อนเร้นเพื่อเก็บกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม
นอกจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ค่าเฉลี่ย การจงใจละเว้นข้อมูลบางตัว การใช้แผนภูมิที่ทำให้ผู้เห็นแผนภูมิมีความคิดมากเกินหรือน้อยเกินความเป็นจริง เนื้อหาในเล่มมีตัวอย่างข้อมูลมากมายเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจกับความผิดปกติของสถิติได้อย่างชัดเจน
ท้ายเล่มผู้เขียนนำเสนอวิธีตั้งคำถามเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก 5 ข้อได้เแก่ ใครเป็นคนบอก? , เขารู้ได้อย่างไร? , มันขาดอะไรไป? , หลงประเด็นกันหรือเปล่า? และ มันดูสมเหตุสมผลหรือเปล่า?
#วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ #HowToLieWithStatistics #รีวิวหนังสือ
เล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) 71ปีแล้วหละ
เป็นหนังสือที่แฉมุมมืดของผู้ที่มีเบื้องหลังในการชักจูงผู้ที่เห็นข้อมูลทางสถิติ ให้คิดและโน้มน้าวไปในทิศทางที่ผู้นำเสนอต้องการ ซึ่งถ้าทำตรงไปตรงมาผลของการโน้มน้าวอาจจะห่างไกลจากความต้องการของผู้นำเสนอไกลโขเลยทีเดียว
ถึงแม้เนื้อหาจะเก่าแต่ทันสมัยมาก พวกเรายังคงถูกชักจูงจากข้อมูลสถิติอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนนำเสนอหนังสือเล่มนี้อย่างกระชับ แต่ครบทุกมุมมอง และที่สำคัญคือเขายังนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรับมือกับสถิติเหล่านั้นด้วย
ข้อมูลทางสถิติเชื่อไม่ได้เลยหรือ?
ที่จริงก็ควรเชื่อได้อยู่ครับ แต่ก็ควรจะรู้เท่าทันข้อผิดพลาด หรือข้อจงใจผิดพลาดในการนำเสนอสถิติ เรื่องแรกที่ผู้เขียนนำเสนอคือกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าถ้าหากกลุ่มตัวอย่างที่มากๆๆเพียงพอ ก็จะเป็นตัวแทนของข้อมูลได้ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้วการทำสถิติขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ ไม่สามารถเก็บตัวอย่างข้อมูลได้มากมายพอเนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หรืออาจจะมีวาระซ่อนเร้นเพื่อเก็บกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม
นอกจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ค่าเฉลี่ย การจงใจละเว้นข้อมูลบางตัว การใช้แผนภูมิที่ทำให้ผู้เห็นแผนภูมิมีความคิดมากเกินหรือน้อยเกินความเป็นจริง เนื้อหาในเล่มมีตัวอย่างข้อมูลมากมายเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจกับความผิดปกติของสถิติได้อย่างชัดเจน
ท้ายเล่มผู้เขียนนำเสนอวิธีตั้งคำถามเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก 5 ข้อได้เแก่ ใครเป็นคนบอก? , เขารู้ได้อย่างไร? , มันขาดอะไรไป? , หลงประเด็นกันหรือเปล่า? และ มันดูสมเหตุสมผลหรือเปล่า?
#วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ #HowToLieWithStatistics #รีวิวหนังสือ
วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ How To Lie With Statistics (2025/072)
เล่มนี้เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 (พ.ศ.2497) 71ปีแล้วหละ
เป็นหนังสือที่แฉมุมมืดของผู้ที่มีเบื้องหลังในการชักจูงผู้ที่เห็นข้อมูลทางสถิติ ให้คิดและโน้มน้าวไปในทิศทางที่ผู้นำเสนอต้องการ ซึ่งถ้าทำตรงไปตรงมาผลของการโน้มน้าวอาจจะห่างไกลจากความต้องการของผู้นำเสนอไกลโขเลยทีเดียว
ถึงแม้เนื้อหาจะเก่าแต่ทันสมัยมาก พวกเรายังคงถูกชักจูงจากข้อมูลสถิติอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนนำเสนอหนังสือเล่มนี้อย่างกระชับ แต่ครบทุกมุมมอง และที่สำคัญคือเขายังนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรับมือกับสถิติเหล่านั้นด้วย
ข้อมูลทางสถิติเชื่อไม่ได้เลยหรือ?
ที่จริงก็ควรเชื่อได้อยู่ครับ แต่ก็ควรจะรู้เท่าทันข้อผิดพลาด หรือข้อจงใจผิดพลาดในการนำเสนอสถิติ เรื่องแรกที่ผู้เขียนนำเสนอคือกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าถ้าหากกลุ่มตัวอย่างที่มากๆๆเพียงพอ ก็จะเป็นตัวแทนของข้อมูลได้ แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้วการทำสถิติขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ ไม่สามารถเก็บตัวอย่างข้อมูลได้มากมายพอเนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หรืออาจจะมีวาระซ่อนเร้นเพื่อเก็บกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม
นอกจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ค่าเฉลี่ย การจงใจละเว้นข้อมูลบางตัว การใช้แผนภูมิที่ทำให้ผู้เห็นแผนภูมิมีความคิดมากเกินหรือน้อยเกินความเป็นจริง เนื้อหาในเล่มมีตัวอย่างข้อมูลมากมายเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจกับความผิดปกติของสถิติได้อย่างชัดเจน
ท้ายเล่มผู้เขียนนำเสนอวิธีตั้งคำถามเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก 5 ข้อได้เแก่ ใครเป็นคนบอก? , เขารู้ได้อย่างไร? , มันขาดอะไรไป? , หลงประเด็นกันหรือเปล่า? และ มันดูสมเหตุสมผลหรือเปล่า?
#วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ #HowToLieWithStatistics #รีวิวหนังสือ
0 Comments
0 Shares
5 Views
0 Reviews