The New Case For Gold ทองคำ (2025/045)

หนังสือที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 2016 โดยหนึ่งในทีมผู้จัดการกองทุน ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนทมาแล้ว โดยเขามีความเชื่อเรื่องการมีทองคำ(แท้ๆ)ไว้ในพอร์ตการลงทุน เพื่อจัดการความเสี่ยง โดยเขาอธิบายความเชื่อทางหลักวิขาการ อดีตความเป็นมาที่ทองคำอยู่ในส่วนของการเมือง/การธนาคารและสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันโดยเกี่ยวกับทองคำล้วนๆ(ซึ่งดูไม่ค่อยดีนัก) และแน่นอนว่าการถือทองคำแท้ๆ ตัวเป็นๆ โดยเป็นหนึ่งในพอร์ตการลงทุนของคุณ…..ย่อมดีที่สุด

ผู้เขียนเปิดเล่มมาด้วยคำถามที่ต้องหาคำตอบสำหรับทองคำ ได้แก่ (1)ทองคำเป็นวัตถุโบราณ (2)ทองคำไม่มีเพียงพอสำหรับการสนับสนุนทางการเงิน (3)อุปทาน(การผลิต) ทองคำไม่เพียบพอต่อการสนับสนุนการเติบโตของโลก (4)ทองคำก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (5)ทองคำไม่มีผลตอบแทน และ(6)ทองคำไม่มีมูลค่าที่แท้จริงในตัวเอง โดยสรุปผู้เขียนอธิบายว่าแต่ละข้อหาล้วนล้าสมัย เป็นเท็จ

ยกมาหนึ่งข้อ ข้อ5 ที่บอกว่าทองคำไม่มีผลตอบแทน ผู้เขียนอธิบายว่าถูกต้องแล้ว ที่ทองคำไม่มีผลตอบแทน ทองคำก็ทำหน้าที่เหมือนกับเงิน ซึ่งก็คือการถือเงินไม่มีผลตอบแทน และทั้งเงินและทองคำ “ไม่ใช่” สินทรัพย์เสี่ยง ที่มันจะทำกำไรได้รวมถึงโอกาสที่จะขาดทุนได้เช่นกัน

ประวัติศาสตร์ของการที่ทองคำถูกกระทำโดยรัฐบาลประเทศต่างๆ ตั้งแต่อังกฤษ เยอรมัน จนมาถึงสหรัฐ หรือ Fed(ธนาคารกลางสหรัฐ) ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าทองคำไม่เหมาะกับการเป็นเงินสำรองของประเทศหรือที่จริงแล้วประเทศเหล่านั้นมีทองคำสำรองไม่พอต่างหาก เมื่อราคาทองคำเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐลดต่ำลง ทำให้คนทั่วไปมองเห็นว่าทองคำด้อยค่าลง แต่ผู้เขียนกลับมองว่า ที่จริงแล้วทองคำด้อยค่าลงหรือดอลล่าร์ต่างหากที่ด้อยค่าลง เพราะเมื่อเทียบกับเวลาก่อนหน้านั้นไปหลายปีทองคำราคาแทบไม่ลดลง และยังทยอยเพิ่มค่าขึ้น

ผู้เขียนสังเกตว่า ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์เดียว(ซึ่งที่จริงจะเรียกทองคำว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ได้ เพราะไม่ได้นำไปผลิตอะไรหากแต่มันคือทุนสำรองของบุคคล เอกชนหรือประเทศ) ที่ราคาแทบไม่เปลี่ยนแปลงมานานแล้ว เมื่อเทียบกับเหล็ก อลูมิเนียม น้ำมันดิบ หรืออื่นๆ ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า ทองคำถูกทำให้ราคาไม่เปลี่ยนเปลง(ถูกแทรกแซง)จากธนาคารกลางต่างๆ เพื่อพยุงดอลล่าร์

มีเรื่องเล่าจากผู้เขียนที่น่าสนใจมาก เช่นเขาพูดถึงประเทศจีนกับรัสเซียเก็บทองคำมานานแล้ว และแอบเก็บโดยไม่แจ้งอย่างเป็นทางการ และถ้าจีนเก็บทองทำเพียงพอแล้วต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแน่ , เขาแนะนำให้เก็บทองคำ(แบบเป็นเท่งๆ)ในพอร์ตไม่เกิน 10% และเขาแนะนำแหล่งเก็บทองคำสำหรับผู้ที่มีทองคำจำนวนมาก โดยไม่แนะนำให้เก็บไว้ที่ธนาคารเพราะถ้าหากนโยบายทางการเงินของประเทศเปลี่ยนแปลงไป(เช่นสงครามหรือการล่มสลายของรัฐ) ทองคำที่ฝากไว้ก็ไม่มีประโยชน์เลย

สรุปการอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ว่า เข้าใจความเป็นมาและความสำคัญของทองคำมากขึ้น เห็นภาพชัดขึั้น เห็นความสำคัญของทองคำในแง่การบริหารพอร์ตการลงทุน รวมถึงมุมมองระยาวต่อทองคำกับการเงินของโลก แต่ปัญหาก็คือจะหาเงินที่ไหนมาซื้อทองคำต่างหาก…

#TheNewCaseForGold #ทองคำ #รีวิวหนังสือ
The New Case For Gold ทองคำ (2025/045) หนังสือที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 2016 โดยหนึ่งในทีมผู้จัดการกองทุน ที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนทมาแล้ว โดยเขามีความเชื่อเรื่องการมีทองคำ(แท้ๆ)ไว้ในพอร์ตการลงทุน เพื่อจัดการความเสี่ยง โดยเขาอธิบายความเชื่อทางหลักวิขาการ อดีตความเป็นมาที่ทองคำอยู่ในส่วนของการเมือง/การธนาคารและสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบันโดยเกี่ยวกับทองคำล้วนๆ(ซึ่งดูไม่ค่อยดีนัก) และแน่นอนว่าการถือทองคำแท้ๆ ตัวเป็นๆ โดยเป็นหนึ่งในพอร์ตการลงทุนของคุณ…..ย่อมดีที่สุด ผู้เขียนเปิดเล่มมาด้วยคำถามที่ต้องหาคำตอบสำหรับทองคำ ได้แก่ (1)ทองคำเป็นวัตถุโบราณ (2)ทองคำไม่มีเพียงพอสำหรับการสนับสนุนทางการเงิน (3)อุปทาน(การผลิต) ทองคำไม่เพียบพอต่อการสนับสนุนการเติบโตของโลก (4)ทองคำก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (5)ทองคำไม่มีผลตอบแทน และ(6)ทองคำไม่มีมูลค่าที่แท้จริงในตัวเอง โดยสรุปผู้เขียนอธิบายว่าแต่ละข้อหาล้วนล้าสมัย เป็นเท็จ ยกมาหนึ่งข้อ ข้อ5 ที่บอกว่าทองคำไม่มีผลตอบแทน ผู้เขียนอธิบายว่าถูกต้องแล้ว ที่ทองคำไม่มีผลตอบแทน ทองคำก็ทำหน้าที่เหมือนกับเงิน ซึ่งก็คือการถือเงินไม่มีผลตอบแทน และทั้งเงินและทองคำ “ไม่ใช่” สินทรัพย์เสี่ยง ที่มันจะทำกำไรได้รวมถึงโอกาสที่จะขาดทุนได้เช่นกัน ประวัติศาสตร์ของการที่ทองคำถูกกระทำโดยรัฐบาลประเทศต่างๆ ตั้งแต่อังกฤษ เยอรมัน จนมาถึงสหรัฐ หรือ Fed(ธนาคารกลางสหรัฐ) ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่าทองคำไม่เหมาะกับการเป็นเงินสำรองของประเทศหรือที่จริงแล้วประเทศเหล่านั้นมีทองคำสำรองไม่พอต่างหาก เมื่อราคาทองคำเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐลดต่ำลง ทำให้คนทั่วไปมองเห็นว่าทองคำด้อยค่าลง แต่ผู้เขียนกลับมองว่า ที่จริงแล้วทองคำด้อยค่าลงหรือดอลล่าร์ต่างหากที่ด้อยค่าลง เพราะเมื่อเทียบกับเวลาก่อนหน้านั้นไปหลายปีทองคำราคาแทบไม่ลดลง และยังทยอยเพิ่มค่าขึ้น ผู้เขียนสังเกตว่า ทองคำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์เดียว(ซึ่งที่จริงจะเรียกทองคำว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ไม่ได้ เพราะไม่ได้นำไปผลิตอะไรหากแต่มันคือทุนสำรองของบุคคล เอกชนหรือประเทศ) ที่ราคาแทบไม่เปลี่ยนแปลงมานานแล้ว เมื่อเทียบกับเหล็ก อลูมิเนียม น้ำมันดิบ หรืออื่นๆ ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า ทองคำถูกทำให้ราคาไม่เปลี่ยนเปลง(ถูกแทรกแซง)จากธนาคารกลางต่างๆ เพื่อพยุงดอลล่าร์ มีเรื่องเล่าจากผู้เขียนที่น่าสนใจมาก เช่นเขาพูดถึงประเทศจีนกับรัสเซียเก็บทองคำมานานแล้ว และแอบเก็บโดยไม่แจ้งอย่างเป็นทางการ และถ้าจีนเก็บทองทำเพียงพอแล้วต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแน่ , เขาแนะนำให้เก็บทองคำ(แบบเป็นเท่งๆ)ในพอร์ตไม่เกิน 10% และเขาแนะนำแหล่งเก็บทองคำสำหรับผู้ที่มีทองคำจำนวนมาก โดยไม่แนะนำให้เก็บไว้ที่ธนาคารเพราะถ้าหากนโยบายทางการเงินของประเทศเปลี่ยนแปลงไป(เช่นสงครามหรือการล่มสลายของรัฐ) ทองคำที่ฝากไว้ก็ไม่มีประโยชน์เลย สรุปการอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ว่า เข้าใจความเป็นมาและความสำคัญของทองคำมากขึ้น เห็นภาพชัดขึั้น เห็นความสำคัญของทองคำในแง่การบริหารพอร์ตการลงทุน รวมถึงมุมมองระยาวต่อทองคำกับการเงินของโลก แต่ปัญหาก็คือจะหาเงินที่ไหนมาซื้อทองคำต่างหาก… #TheNewCaseForGold #ทองคำ #รีวิวหนังสือ
0 Comments 0 Shares 17 Views 0 Reviews