Mother แม่ (2025/042)

หนังสือนิยายคลาสิคที่ควรได้รับการอ่าน เป็นหนังสือที่คุณจิตร ภูมิศักดิ์ แปลจากฉบับแปลจากภาษารัสเซียเป็นภาษาอังกฤษโดยในขณะที่แปลคุณจิตร ถูกคุมขังตัวในคุกด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง หนังสือเล่มนี้ได้รับยกย่องและแปลออกมาแล้วร้อยกว่าภาษา เนื้อเรื่องเป็นการต่อสู้ของกรรมกรที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในอาณาจักรรัสเซียซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่อาณาจักรรัสเซียปกครองโดยพระเจ้าซาร์ โดยมีตัวละครนำเป็นแม่กับลูกผู้ที่ไม่เห็นกับการปกครองที่ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่อย่างไม่เป็นธรรม

ฉากของนิยายเป็นเหตุการณ์ของคุณแม่(ตัวเอกในเรื่องนี้) ที่ต้องทนทุกข์อยู่กับสังคมกรรมกร ที่มีชีวิตที่ถูกใช้งานอย่างหนัก ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์โดยทำงานทุกวันจนหมดเรื่ยวแรง และเมื่อกรรมกรทั้งหลายเหนื่อยจากการทำงานเขาก็จะดื่มวอดก้า(เหล้าชนิดหนึ่งที่มีดีกรีสูง) เพื่อที่จะลืมงานที่หนัก แก้ความหนาวเหน็บในเพื่อนที่อาณาจักรรัสเซีย แต่ก็พ่วงมาด้วยเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้ง ชกต่อยกัน จนบาดเจ็บ พอเลิกงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ผู้ใช้แรงงานก็เล่นพนันบ้าง ดื่มวอดก้าบ้าง จนสลบไสลและหมดเรี่ยวแรงไปทำงานในวันจันทร์

สามีของคุณแม่ทำมากกว่า(แย่กว่า)กรรมกรทั่วไป เขาทุบตีลงไม้ลงมือกับเธอและแทบไม่เหลือเงินให้เธอใข้จ่ายในครอบครัวเลย เธอมีลูกชายคนหนึ่งและลูกชายเธอ(ปาวาล)ก็ถูกทำร้ายจากพ่อเช่นกัน

เหตุการณ์มาเริ่มต้นในช่วงที่สามีของคุณแม่นอนเสียชีวิตในบ้าน เธอเหมือนหลุดพ้นจากนรกประจวบเหมาะกับปาวาล(ลูกชายของเธอ) เป็นวัยรุ่นที่สามารถเข้าไปทำงานในโรงงานได้ แต่พอลูกชายเธอเข้าไปทำงานในโรงงานวัฏจักรของกรรมกรก็วกกลับมาให้เธอเห็น ปาวาลทำงานแล้วดื่มวอดก้า จนมีแววกลายเป็นกรรมกรผู้สิ้นหวัง ต่อมาแม่ได้พูดคุยเปิดอกกับปาวาลว่าลูกทำตัวเหมือนพ่อและดูไม่มีอนาคตเลย สักพักปาวาลเปลี่ยนไปเขาเลิกดื่มวอดก้า ตั้งใจทำงานเข้างานตรงเวลาและไม่เคยขาดงาน เมื่อปาวาลเปลี่ยนไปเป็นคนละคนแม่ก็มีความกังวลอีก ปาวาลเริ่มกลับดึกและพกหนังสือมาอ่านที่บ้าน หนังสือที่อ่านเป็นเรื่องของปรัชญาการเมืองการปกครอง การปกครองที่เท่าเทียม แม่ผู้ซึ่งมีความกังวลจึงถามปาวาลว่ากำลังทำอะไรอยู่ตอนนี้ ปาวาลเล่าให้แม่ฟังถึงเรื่องความเน่าเฟะของสังคมปัจจุบัน ซึ่งไม่มีทางเปลี่ยนแปลงได้เลย กรรมกรก็คงถูกกดขึ่อยู่ตลอดไปจนรุ่นลูกรุ่นหลาน เขาได้เข้าร่วมขบวนการให้ความรู้แก่กรรมกรผู้เปิดใจและกล้าหาญ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการประชุมในบ้านเป็นเนืองๆ มีผู้เข้าร่วมขบวนการแวะเวียนมาหาปาวาลบ่อยๆ ในขณะนั้นคุณแม่ก็เริ่มซึมซับความหมายของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในสังคม

จนมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากทางโรงงานต้องการระบายบึงน้ำเสียที่โรงงานปล่อยไว้และอยู่ภายในโรงงานออก โดยเจ้าของโรงงานอ้างว่ามันไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องของเรี่ยไรเงินและขอแรงกรรมกรในโรงงานเพื่อขุดรอกและระบายน้ำออกจาก กรรมกรบางส่วนคิดว่าทำไมต้องเก็บเงินจากพวกเขา บางส่วนยอมจ่ายแต่โดยดี แต่ปาวาลไม่เห็นด้วยจนเขาลุกขึ้นไปโต้เถียงกับผู้จัดการโรงงาน และเขาปลุกเร้ากรรมกรให้สู้ รวมไปถึงการอธิบายตรรกะแย่ๆของเจ้าของโรงงานที่ควรจะเป็นฝ่ายที่จะจัดการบึงน้ำเสียเอง แต่กลับผลักภาระมาให้กรรมกร ในท้ายที่สุดของเหตุการณ์วันนั้น ปาวาลถูกจับเข้าคุกและเป็นจุดเริ่มต้นของแม่ที่ต้องทำหน้าที่แทนปาวาล

หนังสือเล่มนี้มีความหนา 600-700 หน้าแล้วแต่การพิมพ์ สรุปได้ว่าเป็นนิยายที่อธิบายความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ดี การอธิบายการต่อสู้กับอำนานรัฐในสมัยนั้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ความรักและความเป็นห่วงเป็นใยในกลุ่มนักสู้ และจิตใจของนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้

#Mother #แม่ #รีวิวหนังสือ #จิตรภูมิศักดิ์
Mother แม่ (2025/042) หนังสือนิยายคลาสิคที่ควรได้รับการอ่าน เป็นหนังสือที่คุณจิตร ภูมิศักดิ์ แปลจากฉบับแปลจากภาษารัสเซียเป็นภาษาอังกฤษโดยในขณะที่แปลคุณจิตร ถูกคุมขังตัวในคุกด้วยเหตุผลทางด้านการเมือง หนังสือเล่มนี้ได้รับยกย่องและแปลออกมาแล้วร้อยกว่าภาษา เนื้อเรื่องเป็นการต่อสู้ของกรรมกรที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในอาณาจักรรัสเซียซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่อาณาจักรรัสเซียปกครองโดยพระเจ้าซาร์ โดยมีตัวละครนำเป็นแม่กับลูกผู้ที่ไม่เห็นกับการปกครองที่ชนชั้นกรรมกรถูกกดขี่อย่างไม่เป็นธรรม ฉากของนิยายเป็นเหตุการณ์ของคุณแม่(ตัวเอกในเรื่องนี้) ที่ต้องทนทุกข์อยู่กับสังคมกรรมกร ที่มีชีวิตที่ถูกใช้งานอย่างหนัก ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์โดยทำงานทุกวันจนหมดเรื่ยวแรง และเมื่อกรรมกรทั้งหลายเหนื่อยจากการทำงานเขาก็จะดื่มวอดก้า(เหล้าชนิดหนึ่งที่มีดีกรีสูง) เพื่อที่จะลืมงานที่หนัก แก้ความหนาวเหน็บในเพื่อนที่อาณาจักรรัสเซีย แต่ก็พ่วงมาด้วยเหตุการณ์ทะเลาะเบาะแว้ง ชกต่อยกัน จนบาดเจ็บ พอเลิกงานวันเสาร์ วันอาทิตย์ผู้ใช้แรงงานก็เล่นพนันบ้าง ดื่มวอดก้าบ้าง จนสลบไสลและหมดเรี่ยวแรงไปทำงานในวันจันทร์ สามีของคุณแม่ทำมากกว่า(แย่กว่า)กรรมกรทั่วไป เขาทุบตีลงไม้ลงมือกับเธอและแทบไม่เหลือเงินให้เธอใข้จ่ายในครอบครัวเลย เธอมีลูกชายคนหนึ่งและลูกชายเธอ(ปาวาล)ก็ถูกทำร้ายจากพ่อเช่นกัน เหตุการณ์มาเริ่มต้นในช่วงที่สามีของคุณแม่นอนเสียชีวิตในบ้าน เธอเหมือนหลุดพ้นจากนรกประจวบเหมาะกับปาวาล(ลูกชายของเธอ) เป็นวัยรุ่นที่สามารถเข้าไปทำงานในโรงงานได้ แต่พอลูกชายเธอเข้าไปทำงานในโรงงานวัฏจักรของกรรมกรก็วกกลับมาให้เธอเห็น ปาวาลทำงานแล้วดื่มวอดก้า จนมีแววกลายเป็นกรรมกรผู้สิ้นหวัง ต่อมาแม่ได้พูดคุยเปิดอกกับปาวาลว่าลูกทำตัวเหมือนพ่อและดูไม่มีอนาคตเลย สักพักปาวาลเปลี่ยนไปเขาเลิกดื่มวอดก้า ตั้งใจทำงานเข้างานตรงเวลาและไม่เคยขาดงาน เมื่อปาวาลเปลี่ยนไปเป็นคนละคนแม่ก็มีความกังวลอีก ปาวาลเริ่มกลับดึกและพกหนังสือมาอ่านที่บ้าน หนังสือที่อ่านเป็นเรื่องของปรัชญาการเมืองการปกครอง การปกครองที่เท่าเทียม แม่ผู้ซึ่งมีความกังวลจึงถามปาวาลว่ากำลังทำอะไรอยู่ตอนนี้ ปาวาลเล่าให้แม่ฟังถึงเรื่องความเน่าเฟะของสังคมปัจจุบัน ซึ่งไม่มีทางเปลี่ยนแปลงได้เลย กรรมกรก็คงถูกกดขึ่อยู่ตลอดไปจนรุ่นลูกรุ่นหลาน เขาได้เข้าร่วมขบวนการให้ความรู้แก่กรรมกรผู้เปิดใจและกล้าหาญ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีการประชุมในบ้านเป็นเนืองๆ มีผู้เข้าร่วมขบวนการแวะเวียนมาหาปาวาลบ่อยๆ ในขณะนั้นคุณแม่ก็เริ่มซึมซับความหมายของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในสังคม จนมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากทางโรงงานต้องการระบายบึงน้ำเสียที่โรงงานปล่อยไว้และอยู่ภายในโรงงานออก โดยเจ้าของโรงงานอ้างว่ามันไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องของเรี่ยไรเงินและขอแรงกรรมกรในโรงงานเพื่อขุดรอกและระบายน้ำออกจาก กรรมกรบางส่วนคิดว่าทำไมต้องเก็บเงินจากพวกเขา บางส่วนยอมจ่ายแต่โดยดี แต่ปาวาลไม่เห็นด้วยจนเขาลุกขึ้นไปโต้เถียงกับผู้จัดการโรงงาน และเขาปลุกเร้ากรรมกรให้สู้ รวมไปถึงการอธิบายตรรกะแย่ๆของเจ้าของโรงงานที่ควรจะเป็นฝ่ายที่จะจัดการบึงน้ำเสียเอง แต่กลับผลักภาระมาให้กรรมกร ในท้ายที่สุดของเหตุการณ์วันนั้น ปาวาลถูกจับเข้าคุกและเป็นจุดเริ่มต้นของแม่ที่ต้องทำหน้าที่แทนปาวาล หนังสือเล่มนี้มีความหนา 600-700 หน้าแล้วแต่การพิมพ์ สรุปได้ว่าเป็นนิยายที่อธิบายความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ดี การอธิบายการต่อสู้กับอำนานรัฐในสมัยนั้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ความรักและความเป็นห่วงเป็นใยในกลุ่มนักสู้ และจิตใจของนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้ #Mother #แม่ #รีวิวหนังสือ #จิตรภูมิศักดิ์
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 16 มุมมอง 0 รีวิว