What Work ออกแบบเพื่อเท่าเทียม (2025/039)


เป็นหนังสือวิชาการที่มีเนื้อหาเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างชายและหญิง โดยนักวิชาการจากฮาร์วาร์ด เธอใช้งานทางด้านจิตวิทยาและนำงานวิจัยทั่วโลก เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเหลื่อมล้ำนี้ ด้วยการออกแบบ การออกแบบที่ว่านี้ก็คือการออกแบบกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่ไม่เชิงเป็นการบังคับให้ลดอำนาจของฝ่ายเพศชายลงแต่เป็นการออกกฎเพื่อให้เพศหญิงมีส่วนร่วมเพิ่มเติมขึ้นมา

แน่นอนว่าเริ่มต้นผู้เขียนต้องชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชายและหญิงเสียก่อน ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำมานานและมีอยู่ทุกแห่ง ซึ่งเกิดจากการความเคยชินที่ฝังลึกและมีอคติหลายเรื่องมาเกี่ยวข้อง ซึ่งการปรับเปลี่ยนทันทีทำได้ยากมาก

ต่อมาผู้เขียนนำเอางานวิจัยมากมาย เพื่อโต้แย้งความเคยชินที่เกิดขึ้น เช่น ผู้หญิงคำนวณไม่เก่ง , ผู้หญิงไม่กล้าตัดสินใจ , ผู้หญิงเป็นผู้นำไม่ได้ , ผู้หญิงต้องได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ผู้หญิงจะมีความกล้าตัดสินใจน้อยกว่าผู้ชาย โดยที่ผู้เขียนบอกว่ามีส่วนของฮอร์โมนเพศที่ต่างกัน แต่ถ้าผู้หญิงอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสมพวกเธอจะมีความกล้าตัดสินใจเทียบเท่ากับผู้ชายเลยทีเดียว ส่วนในเรื่องอื่นๆ ผู้หญิงเก่งเทียบเท่ากับผู้ชายได้

ผู้เขียนจึงนำเสนอหาวิธีออกแบบ ทางพฤติกรรมหรือทางจิตวิทยา มาสร้างกฎระเบียบและค่อยๆปรับปรุงให้เพศหญิงเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ตัวอย่างเช่นที่ประเทศอินเดีย มีกฎหมายให้มีเพศหญิงเข้าดำรงตำแหน่งในสภาพอย่างน้อย 30% ซึ่งพอเกิดกฎหมายนี้ขึ้น ทำให้ในองค์กรการปกครองในส่วนที่เป็นท้องถิ่น ไปจนถึงในระดับหมู่บ้าน มีส่วนผู้หญิงเข้าร่วมมากขึ้น ในคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออกแต่มีความสามารถสูง ก็เกิดความกล้าที่จะเข้ามาสมัครรับเลือกตั้ง จนเกิดผู้หญิงชาวอินเดียที่มีความสามารถโดดเด่นอยู่ในแวดวงการเมืองมากมาย ผลกระทบต่อมาคือเด็กๆที่เป็นผู้หญิงได้รับโอกาสจากคุณพ่อคุณแม่อนุญาติให้เรียนต่อในระดับสูงขึ้นจากเดิม เด็กหญิงบางคนถึงกับบอกกับคุณพ่อคุณแม่ว่าเธออยากเป็นนักการเมือง นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชายและเพศหญิงได้

การที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้เราเองลดความลำเอียงจากอคติที่เป็นความเคยชินมาแต่ก่อนและการได้รับข้อมูลโดยไม่พิจารณาเลยว่าแท้จริงแล้วเพศหญิงมีความสามารถไม่แตกต่างกับเพศชายเลย เพียงแต่ลดอคติลงและมองด้วยความเป็นกลางก็จะเห็นความสามารถของพวกเธอ

#WhatWork #ออกแบบเพื่อเท่าเทียม #รีวิวหนังสือ
What Work ออกแบบเพื่อเท่าเทียม (2025/039) เป็นหนังสือวิชาการที่มีเนื้อหาเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างชายและหญิง โดยนักวิชาการจากฮาร์วาร์ด เธอใช้งานทางด้านจิตวิทยาและนำงานวิจัยทั่วโลก เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาการเหลื่อมล้ำนี้ ด้วยการออกแบบ การออกแบบที่ว่านี้ก็คือการออกแบบกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่ไม่เชิงเป็นการบังคับให้ลดอำนาจของฝ่ายเพศชายลงแต่เป็นการออกกฎเพื่อให้เพศหญิงมีส่วนร่วมเพิ่มเติมขึ้นมา แน่นอนว่าเริ่มต้นผู้เขียนต้องชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชายและหญิงเสียก่อน ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำมานานและมีอยู่ทุกแห่ง ซึ่งเกิดจากการความเคยชินที่ฝังลึกและมีอคติหลายเรื่องมาเกี่ยวข้อง ซึ่งการปรับเปลี่ยนทันทีทำได้ยากมาก ต่อมาผู้เขียนนำเอางานวิจัยมากมาย เพื่อโต้แย้งความเคยชินที่เกิดขึ้น เช่น ผู้หญิงคำนวณไม่เก่ง , ผู้หญิงไม่กล้าตัดสินใจ , ผู้หญิงเป็นผู้นำไม่ได้ , ผู้หญิงต้องได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชาย เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ผู้หญิงจะมีความกล้าตัดสินใจน้อยกว่าผู้ชาย โดยที่ผู้เขียนบอกว่ามีส่วนของฮอร์โมนเพศที่ต่างกัน แต่ถ้าผู้หญิงอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสมพวกเธอจะมีความกล้าตัดสินใจเทียบเท่ากับผู้ชายเลยทีเดียว ส่วนในเรื่องอื่นๆ ผู้หญิงเก่งเทียบเท่ากับผู้ชายได้ ผู้เขียนจึงนำเสนอหาวิธีออกแบบ ทางพฤติกรรมหรือทางจิตวิทยา มาสร้างกฎระเบียบและค่อยๆปรับปรุงให้เพศหญิงเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ตัวอย่างเช่นที่ประเทศอินเดีย มีกฎหมายให้มีเพศหญิงเข้าดำรงตำแหน่งในสภาพอย่างน้อย 30% ซึ่งพอเกิดกฎหมายนี้ขึ้น ทำให้ในองค์กรการปกครองในส่วนที่เป็นท้องถิ่น ไปจนถึงในระดับหมู่บ้าน มีส่วนผู้หญิงเข้าร่วมมากขึ้น ในคนที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออกแต่มีความสามารถสูง ก็เกิดความกล้าที่จะเข้ามาสมัครรับเลือกตั้ง จนเกิดผู้หญิงชาวอินเดียที่มีความสามารถโดดเด่นอยู่ในแวดวงการเมืองมากมาย ผลกระทบต่อมาคือเด็กๆที่เป็นผู้หญิงได้รับโอกาสจากคุณพ่อคุณแม่อนุญาติให้เรียนต่อในระดับสูงขึ้นจากเดิม เด็กหญิงบางคนถึงกับบอกกับคุณพ่อคุณแม่ว่าเธออยากเป็นนักการเมือง นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศชายและเพศหญิงได้ การที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้เราเองลดความลำเอียงจากอคติที่เป็นความเคยชินมาแต่ก่อนและการได้รับข้อมูลโดยไม่พิจารณาเลยว่าแท้จริงแล้วเพศหญิงมีความสามารถไม่แตกต่างกับเพศชายเลย เพียงแต่ลดอคติลงและมองด้วยความเป็นกลางก็จะเห็นความสามารถของพวกเธอ #WhatWork #ออกแบบเพื่อเท่าเทียม #รีวิวหนังสือ
0 Comments 0 Shares 9 Views 0 Reviews