brother.do.you.love.me. แด่นายน้องชายของฉัน (2025/037)

หนังสือที่เป็นบันทึกการดูแลน้องชายที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ในช่วงวิกฤติการณ์โควิด ผู้เขียนบันทึกนี้คือพี่ชายคนที่สองจากครอบครัวที่มีพี่น้องเป็นชายสี่พี่น้อง โดยผู้ที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรมเป็นน้องชายคนเล็กที่ชื่อว่ารูเบ็น ครอบครัวนี้รับรู้ความผิดปกติของรูเบ็นมาตั้งแต่เกิด พวกเรายอมรับและดูแลรูเบ็นเป็นอย่างดี พวกเขารักกันมากๆ ซึ่งดูได้จากบันทึกที่ผู้เขียนได้บรรยายไว้ ตัวผู้เขียนยอมรับตัวเองว่าเป็นเกย์ ซึ่งเขาตั้งใจว่าจะไม่มีลูกเพราะเขาอยากดูแลน้องชายคนนี้

เรื่องราวน่าประทับใจนี้ ได้ถูกบันทึกหลังจากผู้เขียน(พี่ชาย) เข้าไปรับรูเบ็นน้องชายที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม แห่งหนึ่งสาเหตุเนื่องจากผู้เขียนพบความผิดปกติของน้องชายที่ผอมลงอย่างมาก ร่างกายไม่ได้รับการดูแล และพัฒนาการถดถอยลง ประกอบกับเป็นช่วงที่มีโรคโควิด 19 ระบาด ทำให้ผู้เขียนซึ่งทำอาชีพเป็นไกด์นำเที่ยวต้องหยุดชะงักลง เขาไปรับน้องชายที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจสลาย และพากลับมาอยู่กระท่อมที่ไม่ใช้งานที่ผู้เขียนกับแฟนของเขาเป็นเจ้าของอยู่ ผู้เขียนทำความสะอาดกระท่อมหลังนี้ไว้และวางแผนเพื่อรอรับรูเบ็นมาดูแลไว้เรียบร้อยแล้ว
ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม นอกจากจะมีปัญหาทางพัฒนาการซึ่งอายุสมองของเขาเหมือนเด็กอายุ 7 ขวบ (ขณะที่เขียนหนังสือผู้เขียนอายุใกล้ 50ปี ส่วนรูเบ็นอายุใกล้ 40ปี) การสื่อสารเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากเนื่องจากผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีอาการลิ้นจุกที่ปากทำให้เขาออกเสียงได้ไม่ชัดเจน ซึ่งจะมีเพียงคนในครอบครัวที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่จึงจะเข้าใจสิ่งที่เขาพูดได้ และผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับประทานอาหารก็ยากลำบากด้วย เขาจะทำอะไรเชื่องช้า และชีวิตของเขาจะมีรูปแบบชัดเจนเหมือนเดิมประจำ(แต่ไม่เหมือนคนทั่วๆไป) เช่น การใส่เสื้อหลายๆชั้น การต้องใส่ชุดเดิมๆตลอด มีกระเป๋าสำหรับช่วงเวลา ถึงแม้เขาจะพอฟังคำพูดต่างๆได้พอสมควร สามารอ่านเขียนได้ แต่เขาชอบที่สื่อสารด้วยการวาดรูปมากกว่า

ผู้เขียนทุ่มเทการดูแลน้องชาย มอบความรักโดยการบอกรักกับน้องชายและโอบกอด พยายามให้น้องชายได้เดินออกกำลังกายบ้าง การปลุกน้องชายจากเตียงเป็นสิ่งที่ยากมาก รวมไปถึงการอาบน้ำ การรับประทานอาหารและการรับประทานยา รวมไปถึงเสริมพัฒนาการที่ถดถอยไปจากการไปอยู่ศูนย์ดูแลผู้ป่วย และยังต้องเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตภายนอกอีกด้วย ผู้เขียนต้องสะกดอารมณ์หงุดหงินและต่อสู้กับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นอย่างมาก ตัวเขาเขียนอธิบายอารมณ์ต่างๆได้ดีมาก และการเล่าบรรยายเหตุการณ์ต่างๆในคราบครัวย้อนกลับไปในอดีตด้วย ในระหว่างการดูแลน้องชาย ผู้เขียนได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลหลายหน่วยงาน และในท้ายเล่มเขาและครอบครัวต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ให้กับชีวิตของรูเบ็น

หนังสือห้าร้อยกว่าหน้าเล่มนี้ ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงรายละเอียดของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม และเข้าใจชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้น เข้าใจการสื่อสารของเขา ซึ่งทำให้เห็นว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพื่อที่จะแสดงความรู้สึก(เรื่องการสื่อสารนั้นสำคัญมากๆทั้งกับผู้ป่วย หรือแม้แต่คนทั่วไปอย่างพวกเรา) และยังได้เห็นของพลังแห่งความรักขนาดมหาศาลที่พี่ชาย รวมไปถึงคนในครอบครัวที่มีต่อน้องชาย

#BrotherDoYouLoveMe #แด่นายน้องชายของฉัน #รีวิวหนังสือ
brother.do.you.love.me. แด่นายน้องชายของฉัน (2025/037) หนังสือที่เป็นบันทึกการดูแลน้องชายที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรม ในช่วงวิกฤติการณ์โควิด ผู้เขียนบันทึกนี้คือพี่ชายคนที่สองจากครอบครัวที่มีพี่น้องเป็นชายสี่พี่น้อง โดยผู้ที่ป่วยเป็นดาวน์ซินโดรมเป็นน้องชายคนเล็กที่ชื่อว่ารูเบ็น ครอบครัวนี้รับรู้ความผิดปกติของรูเบ็นมาตั้งแต่เกิด พวกเรายอมรับและดูแลรูเบ็นเป็นอย่างดี พวกเขารักกันมากๆ ซึ่งดูได้จากบันทึกที่ผู้เขียนได้บรรยายไว้ ตัวผู้เขียนยอมรับตัวเองว่าเป็นเกย์ ซึ่งเขาตั้งใจว่าจะไม่มีลูกเพราะเขาอยากดูแลน้องชายคนนี้ เรื่องราวน่าประทับใจนี้ ได้ถูกบันทึกหลังจากผู้เขียน(พี่ชาย) เข้าไปรับรูเบ็นน้องชายที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม แห่งหนึ่งสาเหตุเนื่องจากผู้เขียนพบความผิดปกติของน้องชายที่ผอมลงอย่างมาก ร่างกายไม่ได้รับการดูแล และพัฒนาการถดถอยลง ประกอบกับเป็นช่วงที่มีโรคโควิด 19 ระบาด ทำให้ผู้เขียนซึ่งทำอาชีพเป็นไกด์นำเที่ยวต้องหยุดชะงักลง เขาไปรับน้องชายที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจสลาย และพากลับมาอยู่กระท่อมที่ไม่ใช้งานที่ผู้เขียนกับแฟนของเขาเป็นเจ้าของอยู่ ผู้เขียนทำความสะอาดกระท่อมหลังนี้ไว้และวางแผนเพื่อรอรับรูเบ็นมาดูแลไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม นอกจากจะมีปัญหาทางพัฒนาการซึ่งอายุสมองของเขาเหมือนเด็กอายุ 7 ขวบ (ขณะที่เขียนหนังสือผู้เขียนอายุใกล้ 50ปี ส่วนรูเบ็นอายุใกล้ 40ปี) การสื่อสารเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากเนื่องจากผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีอาการลิ้นจุกที่ปากทำให้เขาออกเสียงได้ไม่ชัดเจน ซึ่งจะมีเพียงคนในครอบครัวที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่จึงจะเข้าใจสิ่งที่เขาพูดได้ และผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับประทานอาหารก็ยากลำบากด้วย เขาจะทำอะไรเชื่องช้า และชีวิตของเขาจะมีรูปแบบชัดเจนเหมือนเดิมประจำ(แต่ไม่เหมือนคนทั่วๆไป) เช่น การใส่เสื้อหลายๆชั้น การต้องใส่ชุดเดิมๆตลอด มีกระเป๋าสำหรับช่วงเวลา ถึงแม้เขาจะพอฟังคำพูดต่างๆได้พอสมควร สามารอ่านเขียนได้ แต่เขาชอบที่สื่อสารด้วยการวาดรูปมากกว่า ผู้เขียนทุ่มเทการดูแลน้องชาย มอบความรักโดยการบอกรักกับน้องชายและโอบกอด พยายามให้น้องชายได้เดินออกกำลังกายบ้าง การปลุกน้องชายจากเตียงเป็นสิ่งที่ยากมาก รวมไปถึงการอาบน้ำ การรับประทานอาหารและการรับประทานยา รวมไปถึงเสริมพัฒนาการที่ถดถอยไปจากการไปอยู่ศูนย์ดูแลผู้ป่วย และยังต้องเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิตภายนอกอีกด้วย ผู้เขียนต้องสะกดอารมณ์หงุดหงินและต่อสู้กับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นอย่างมาก ตัวเขาเขียนอธิบายอารมณ์ต่างๆได้ดีมาก และการเล่าบรรยายเหตุการณ์ต่างๆในคราบครัวย้อนกลับไปในอดีตด้วย ในระหว่างการดูแลน้องชาย ผู้เขียนได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆของรัฐบาลหลายหน่วยงาน และในท้ายเล่มเขาและครอบครัวต้องตัดสินใจครั้งใหญ่ให้กับชีวิตของรูเบ็น หนังสือห้าร้อยกว่าหน้าเล่มนี้ ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงรายละเอียดของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม และเข้าใจชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้น เข้าใจการสื่อสารของเขา ซึ่งทำให้เห็นว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพื่อที่จะแสดงความรู้สึก(เรื่องการสื่อสารนั้นสำคัญมากๆทั้งกับผู้ป่วย หรือแม้แต่คนทั่วไปอย่างพวกเรา) และยังได้เห็นของพลังแห่งความรักขนาดมหาศาลที่พี่ชาย รวมไปถึงคนในครอบครัวที่มีต่อน้องชาย #BrotherDoYouLoveMe #แด่นายน้องชายของฉัน #รีวิวหนังสือ
0 Comments 0 Shares 10 Views 0 Reviews