อูบุนตู / Everyday Ubuntu (2025/027)

อูบุนตูคือปรัชญพื้นบ้านของชาวแอฟริกันที่ยึดถือกันมานาน ซึ่งชื่อเรียกนี้จะมีความแตกต่างกันบ้านในแต่เชื้อชาติหากแต่ความหมายเหมือนกัน เช่นบางที่ใช้คำว่า Ubuntu , Buntu หรือ Bantu แต่ความหมายเหมือนกันคือ การทำเพื่อผู้อื่น โดยเน้นไปที่การเรามีตัวเราขึ้นมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนรอบๆตัว รวมไปถึงสรรพสิ่งต่างๆด้วย ดังนั้นการกระทำต่างๆที่ควรทำคือการกระทำเพื่อให้เห็นคุณค่าของทุกๆคนที่ได้พบมา ซึ่งผู้เขียนหนังสือได้อธิบายถึงความหมายของอูบุนตูในแง่มุมต่างๆ มากมาย

ผู้เขียนเป็นหลานสาวคุณตาผู้เป็นนักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวและสิทธิมนุษยชน ตัวคุณตาของผู้เขียนคือ อาร์ชบิชอปเดสมอนด์ ตูตู เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แนวความคิดการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมถูกส่งมายังคุณแม่ของผู้เขียนและส่งต่อมาถึงผู้เขียน นอกจากเธอเป็นนักเขียนแล้วเธอยังมีบทบาทนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในหลายๆเหตุการที่เกิดขึ้นในโลกด้วย

อูบุนตูในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนสามารถแตกความหมายที่ลึกซึ่งของอูบุนตูได้หลายแง่มุม เช่นในเรื่องความเหมือนกันหรือเท่าเทียมกันของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เราปฎิบัติต่อผู้คนได้อย่างไม่มีอคติ , ความสามัคคี , การเอาใจเขามาใส่ใจเรา , การมองโลกให้กว้าง , การเคารพตนเอง เป็นต้น
มีสองหัวข้อที่ผมอยากจะนำเสนอคือ เรื่องการเชื่อมั่นในความดีงามของผู้คน อูบุนตูบอกให้เราเชื่อว่าจงเชื่อมั่นในความดีของผู้อื่น การเชื่อมั่นและความไว้วางใจจะสร้างพลังและความสามัคคีให้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ามีเรื่องที่ใครบางคนทำให้เราขุ่นข้องหมองใจ แต่ถ้าได้เปิดใจพูดคุยกันแล้วจะพบว่าเขาไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจจะมีเหตุจำเป็นที่ต้องทำเช่นนั้น

อีกเรื่องที่อธิบายได้น่าสนใจคือเรื่องพลังของให้อภัย อูบุนตูสอนว่า การให้อภัยทำให้กลับมาเคารพตนเองและมีศักดิ์ศรี ซึ่งนอกจากการให้อภัยผู้อื่นแล้ว การให้อภัยตนเองก็เป็นเรื่องสำคัญมาก การให้อภัยเป็นการปลดปล่อยภาระหนักภายในจิตใจของทั้งตัวเองและผู้อื่น เมื่อได้ให้อภัยแล้วจะรู้สึกอบอุ่นและจะเป็นเรื่องดีอย่างมากที่ได้ช่วยการส่งพลังการให้อภัยไปถึงผู้อื่น

#อูบุนตู #EverydayUbuntu #รีวิวหนังสือ
อูบุนตู / Everyday Ubuntu (2025/027) อูบุนตูคือปรัชญพื้นบ้านของชาวแอฟริกันที่ยึดถือกันมานาน ซึ่งชื่อเรียกนี้จะมีความแตกต่างกันบ้านในแต่เชื้อชาติหากแต่ความหมายเหมือนกัน เช่นบางที่ใช้คำว่า Ubuntu , Buntu หรือ Bantu แต่ความหมายเหมือนกันคือ การทำเพื่อผู้อื่น โดยเน้นไปที่การเรามีตัวเราขึ้นมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนรอบๆตัว รวมไปถึงสรรพสิ่งต่างๆด้วย ดังนั้นการกระทำต่างๆที่ควรทำคือการกระทำเพื่อให้เห็นคุณค่าของทุกๆคนที่ได้พบมา ซึ่งผู้เขียนหนังสือได้อธิบายถึงความหมายของอูบุนตูในแง่มุมต่างๆ มากมาย ผู้เขียนเป็นหลานสาวคุณตาผู้เป็นนักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิวและสิทธิมนุษยชน ตัวคุณตาของผู้เขียนคือ อาร์ชบิชอปเดสมอนด์ ตูตู เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แนวความคิดการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมถูกส่งมายังคุณแม่ของผู้เขียนและส่งต่อมาถึงผู้เขียน นอกจากเธอเป็นนักเขียนแล้วเธอยังมีบทบาทนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในหลายๆเหตุการที่เกิดขึ้นในโลกด้วย อูบุนตูในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนสามารถแตกความหมายที่ลึกซึ่งของอูบุนตูได้หลายแง่มุม เช่นในเรื่องความเหมือนกันหรือเท่าเทียมกันของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เราปฎิบัติต่อผู้คนได้อย่างไม่มีอคติ , ความสามัคคี , การเอาใจเขามาใส่ใจเรา , การมองโลกให้กว้าง , การเคารพตนเอง เป็นต้น มีสองหัวข้อที่ผมอยากจะนำเสนอคือ เรื่องการเชื่อมั่นในความดีงามของผู้คน อูบุนตูบอกให้เราเชื่อว่าจงเชื่อมั่นในความดีของผู้อื่น การเชื่อมั่นและความไว้วางใจจะสร้างพลังและความสามัคคีให้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ามีเรื่องที่ใครบางคนทำให้เราขุ่นข้องหมองใจ แต่ถ้าได้เปิดใจพูดคุยกันแล้วจะพบว่าเขาไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจจะมีเหตุจำเป็นที่ต้องทำเช่นนั้น อีกเรื่องที่อธิบายได้น่าสนใจคือเรื่องพลังของให้อภัย อูบุนตูสอนว่า การให้อภัยทำให้กลับมาเคารพตนเองและมีศักดิ์ศรี ซึ่งนอกจากการให้อภัยผู้อื่นแล้ว การให้อภัยตนเองก็เป็นเรื่องสำคัญมาก การให้อภัยเป็นการปลดปล่อยภาระหนักภายในจิตใจของทั้งตัวเองและผู้อื่น เมื่อได้ให้อภัยแล้วจะรู้สึกอบอุ่นและจะเป็นเรื่องดีอย่างมากที่ได้ช่วยการส่งพลังการให้อภัยไปถึงผู้อื่น #อูบุนตู #EverydayUbuntu #รีวิวหนังสือ
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 10 มุมมอง 0 รีวิว