ผู้ชายหลายมิติ A Beautiful Mind (2025/014)
ชีวิตของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ระดับท็อปของอเมริกาช่วงหนึ่ง ซึ่งได้รับการนำเนื้อหาในหนังสือไปสร้างภาพยนตร์ A Beautiful Mind นั่นก็คือหนังสือที่เล่าเรื่องราวของ จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ นั่นเอง หลายๆคนอาจจะรู้จัก จอห์น แนช จากภาพยนตร์แต่ถ้าได้อ่านหนังสือร่วมด้วยจะได้รับอรรถรส และความจริงมากขึ้น มีหลายเรื่องราวที่ภาพยนตร์ได้ตัดความจริงหลายๆเรื่องเกี่ยวกับ จอห์น แนช เช่น เขามีภรรยาสองคน และมีลูกกับภรรยาทั้งสองด้วย เขามีแนวโน้มว่าจะเป็นชาว LGBTQ เป็นต้น และเรื่องที่เป็นความจริงที่เขาเป็นอัจฉริยะ , เป็นโรคทางจิตเวช และหายกลับมาเกือบปกติ จนในท้ายที่สุดเขาได้รับรางวัลโนเบล
ผมใช้ชีวิตอยู่กับจอห์น แนช ทั้งในหนังสือและดูหนังมา 10วัน ชีวิตของเขาน่าเห็นใจมาก ที่จริงแล้วเขามีปัญหาในการเข้าสังคมตั้งแต่เด็กๆ และยังเป็นพวกอัจฉริยะที่เย่อหยิ่งมั่นใจในความรู้ตัวเองสูง ตัวเขาได้รับทุนและสามารถเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่เป็นศูนย์รวมของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ รวมไปถึงนักคณิตศาสตร์ระดับโลก ที่ย้ายหนีสงครามมาจากยุโรป ในนั้นมีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อยู่สอนที่นั่นด้วย ตัวจอห์น แนช เรียนจนเกือบจบ เขาคิดเฟื่องในสิ่งที่คนอื่นคิด หาวิธีแก้ไขโจทน์หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนใคร และใช้การคิดแบบทางอ้อม แต่จนแล้วจนรอดเขาไม่สามารถเขียนงานวิจัยเพื่อที่จะจบปริญญาเอกได้เลย และแล้วเขากลับมาปิ๊งกับทฤษฎีเกม ที่เคยมีการเขียนขึ้นมาโดย จอห์น ฟอน นอยมันน์ และเพื่อน แต่ดูเหมือนทฤษฎีที่เขียนขึ้นมายังใช้งานได้ไม่ดีนัก แนชเขาจึงคิดทฤษฎีเกมที่เป็นทฤษฎีทางผลประโยชน์ที่ไม่ได้มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบร้อยเปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงมีเงื่อนไขอื่นๆด้วย จนเขาส่งงานเขียนทฤษฎีเกมจำนวน 27หน้า เป็นงานจบปริญญาเอกของเขา
หลังจากแนชเรียนจบ เขาได้ทำงานกับบริษัทที่เป็นหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งให้รัฐบาล บริษัทนี้ทำหน้าที่วิเคราะห์ประเทศที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น ต่อมาเขาต้องออกจากงานนี้และเขาผันตัวเองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ที่แนชต้องการจะเข้าไปสอนคือที่ฮาร์วาร์ดและพรินซ์ตัน ไม่รับเขาเข้าทำงาน เขาจึงต้องไปสอนที่หมาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ขณะนั้นแนชเริ่มทำตัวแปลกๆ เขามีอาการหวาดกลัว และมีความคิดว่ามีทั้งมนุษย์ต่างดาว หรือประเทศคอมมิวนิสต์จะมาทำลายประเทศ และมีคนเหล่านั้นจะมาจับตัวเขา เขาถูกจับเขาไปในโรงพยาบาลจิตเวชหลายครั้ง จากทั้งในมหาวิทยาลัย จากภรรยา และจากแม่ การป่วยทำให้เขาไม่มีงานทำ ต้องหย่ากับภรรยา และแทบไม่ได้เลี้ยงลูกเลย บางช่วงเขาถึงกับต้องอยู่แบบคนไร้บ้าน เขาไม่เหลือใครเลย
ท้ายที่สุดหลังจากสูญเสียเวลาจากการป่วยไป 25ปี เขาเริ่มนิ่งขึ้นและสามารถเขียนงานวิจัยได้ สอนหนังสือได้ และเมื่อครบรอบ 50ปีจากการกำเนิดทฤษฎีเกม เขาได้รับเชิญเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์พร้อมกับอีกสองท่านที่ได้นำเอาทฤษฎีเกมที่แนชพัฒนาขึ้นมา ต่อยอดใช้งานได้จริง เขากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ได้สานสัมพันธ์กับลูกชายทั้งสอง และได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สองอีกครั้งในวัยเจ็ดสิบสามปี เขายังคงทำงานเงียบๆ พยายามคิดค้นงานวิจัยใหม่ และกลับมามีชีวติใหม่อีกครั้ง
มีหลายเรื่องที่ในภาพยนตร์ไม่สามารถใส่ลงไปในเนื้อเรื่องได้ แต่สามารถอ่านได้ในหนังสือเล่มนี้ เช่น ประวัติความเป็นมาของคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ของแนช , ชีวิตในวัยเด็กของเขาและความสนใจของเขา , ความโดดเด่นของเขาสมัยที่เป็นนักเรียน , ความคิดและการใช้ชีวิตทางสังคมที่มีปัญหาสำหรับเขา , มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ทั้งในเรื่อง การดึงเอาสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกมาอยู่ที่นี่(แทนที่จะเป็นฮาร์วาร์ด) บรรยากาศในการเรียน การสอน การทำวิจัย และชีวิตความเป็นอยู่ , เรื่องราวของภรรยาคนแรกเอเลนอร์และลูกชายคนแรก และการทอดทิ้งพวกเขาอย่างไม่มีเยื่อใย , การเป็น LGBTQ ของแนช , เบื้อหลังการต่อสู้ภายในองค์กรโนเบลที่มีฝั่งสนับสนุนให้แนชได้รับรางวัลกับฝ่ายต่อต้านแนชเนื่องจากประวัติของเขาที่เคยป่วยมากช่วงก่อนหน้านี้ และอื่นๆอีกมากมาย
#ผู้ชายหลายมิติ #ABeautifulMind #รีวิวหนังสือ
ชีวิตของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ระดับท็อปของอเมริกาช่วงหนึ่ง ซึ่งได้รับการนำเนื้อหาในหนังสือไปสร้างภาพยนตร์ A Beautiful Mind นั่นก็คือหนังสือที่เล่าเรื่องราวของ จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ นั่นเอง หลายๆคนอาจจะรู้จัก จอห์น แนช จากภาพยนตร์แต่ถ้าได้อ่านหนังสือร่วมด้วยจะได้รับอรรถรส และความจริงมากขึ้น มีหลายเรื่องราวที่ภาพยนตร์ได้ตัดความจริงหลายๆเรื่องเกี่ยวกับ จอห์น แนช เช่น เขามีภรรยาสองคน และมีลูกกับภรรยาทั้งสองด้วย เขามีแนวโน้มว่าจะเป็นชาว LGBTQ เป็นต้น และเรื่องที่เป็นความจริงที่เขาเป็นอัจฉริยะ , เป็นโรคทางจิตเวช และหายกลับมาเกือบปกติ จนในท้ายที่สุดเขาได้รับรางวัลโนเบล
ผมใช้ชีวิตอยู่กับจอห์น แนช ทั้งในหนังสือและดูหนังมา 10วัน ชีวิตของเขาน่าเห็นใจมาก ที่จริงแล้วเขามีปัญหาในการเข้าสังคมตั้งแต่เด็กๆ และยังเป็นพวกอัจฉริยะที่เย่อหยิ่งมั่นใจในความรู้ตัวเองสูง ตัวเขาได้รับทุนและสามารถเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่เป็นศูนย์รวมของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ รวมไปถึงนักคณิตศาสตร์ระดับโลก ที่ย้ายหนีสงครามมาจากยุโรป ในนั้นมีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อยู่สอนที่นั่นด้วย ตัวจอห์น แนช เรียนจนเกือบจบ เขาคิดเฟื่องในสิ่งที่คนอื่นคิด หาวิธีแก้ไขโจทน์หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนใคร และใช้การคิดแบบทางอ้อม แต่จนแล้วจนรอดเขาไม่สามารถเขียนงานวิจัยเพื่อที่จะจบปริญญาเอกได้เลย และแล้วเขากลับมาปิ๊งกับทฤษฎีเกม ที่เคยมีการเขียนขึ้นมาโดย จอห์น ฟอน นอยมันน์ และเพื่อน แต่ดูเหมือนทฤษฎีที่เขียนขึ้นมายังใช้งานได้ไม่ดีนัก แนชเขาจึงคิดทฤษฎีเกมที่เป็นทฤษฎีทางผลประโยชน์ที่ไม่ได้มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบร้อยเปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงมีเงื่อนไขอื่นๆด้วย จนเขาส่งงานเขียนทฤษฎีเกมจำนวน 27หน้า เป็นงานจบปริญญาเอกของเขา
หลังจากแนชเรียนจบ เขาได้ทำงานกับบริษัทที่เป็นหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งให้รัฐบาล บริษัทนี้ทำหน้าที่วิเคราะห์ประเทศที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น ต่อมาเขาต้องออกจากงานนี้และเขาผันตัวเองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ที่แนชต้องการจะเข้าไปสอนคือที่ฮาร์วาร์ดและพรินซ์ตัน ไม่รับเขาเข้าทำงาน เขาจึงต้องไปสอนที่หมาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ขณะนั้นแนชเริ่มทำตัวแปลกๆ เขามีอาการหวาดกลัว และมีความคิดว่ามีทั้งมนุษย์ต่างดาว หรือประเทศคอมมิวนิสต์จะมาทำลายประเทศ และมีคนเหล่านั้นจะมาจับตัวเขา เขาถูกจับเขาไปในโรงพยาบาลจิตเวชหลายครั้ง จากทั้งในมหาวิทยาลัย จากภรรยา และจากแม่ การป่วยทำให้เขาไม่มีงานทำ ต้องหย่ากับภรรยา และแทบไม่ได้เลี้ยงลูกเลย บางช่วงเขาถึงกับต้องอยู่แบบคนไร้บ้าน เขาไม่เหลือใครเลย
ท้ายที่สุดหลังจากสูญเสียเวลาจากการป่วยไป 25ปี เขาเริ่มนิ่งขึ้นและสามารถเขียนงานวิจัยได้ สอนหนังสือได้ และเมื่อครบรอบ 50ปีจากการกำเนิดทฤษฎีเกม เขาได้รับเชิญเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์พร้อมกับอีกสองท่านที่ได้นำเอาทฤษฎีเกมที่แนชพัฒนาขึ้นมา ต่อยอดใช้งานได้จริง เขากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ได้สานสัมพันธ์กับลูกชายทั้งสอง และได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สองอีกครั้งในวัยเจ็ดสิบสามปี เขายังคงทำงานเงียบๆ พยายามคิดค้นงานวิจัยใหม่ และกลับมามีชีวติใหม่อีกครั้ง
มีหลายเรื่องที่ในภาพยนตร์ไม่สามารถใส่ลงไปในเนื้อเรื่องได้ แต่สามารถอ่านได้ในหนังสือเล่มนี้ เช่น ประวัติความเป็นมาของคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ของแนช , ชีวิตในวัยเด็กของเขาและความสนใจของเขา , ความโดดเด่นของเขาสมัยที่เป็นนักเรียน , ความคิดและการใช้ชีวิตทางสังคมที่มีปัญหาสำหรับเขา , มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ทั้งในเรื่อง การดึงเอาสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกมาอยู่ที่นี่(แทนที่จะเป็นฮาร์วาร์ด) บรรยากาศในการเรียน การสอน การทำวิจัย และชีวิตความเป็นอยู่ , เรื่องราวของภรรยาคนแรกเอเลนอร์และลูกชายคนแรก และการทอดทิ้งพวกเขาอย่างไม่มีเยื่อใย , การเป็น LGBTQ ของแนช , เบื้อหลังการต่อสู้ภายในองค์กรโนเบลที่มีฝั่งสนับสนุนให้แนชได้รับรางวัลกับฝ่ายต่อต้านแนชเนื่องจากประวัติของเขาที่เคยป่วยมากช่วงก่อนหน้านี้ และอื่นๆอีกมากมาย
#ผู้ชายหลายมิติ #ABeautifulMind #รีวิวหนังสือ
ผู้ชายหลายมิติ A Beautiful Mind (2025/014)
ชีวิตของอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ระดับท็อปของอเมริกาช่วงหนึ่ง ซึ่งได้รับการนำเนื้อหาในหนังสือไปสร้างภาพยนตร์ A Beautiful Mind นั่นก็คือหนังสือที่เล่าเรื่องราวของ จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ นั่นเอง หลายๆคนอาจจะรู้จัก จอห์น แนช จากภาพยนตร์แต่ถ้าได้อ่านหนังสือร่วมด้วยจะได้รับอรรถรส และความจริงมากขึ้น มีหลายเรื่องราวที่ภาพยนตร์ได้ตัดความจริงหลายๆเรื่องเกี่ยวกับ จอห์น แนช เช่น เขามีภรรยาสองคน และมีลูกกับภรรยาทั้งสองด้วย เขามีแนวโน้มว่าจะเป็นชาว LGBTQ เป็นต้น และเรื่องที่เป็นความจริงที่เขาเป็นอัจฉริยะ , เป็นโรคทางจิตเวช และหายกลับมาเกือบปกติ จนในท้ายที่สุดเขาได้รับรางวัลโนเบล
ผมใช้ชีวิตอยู่กับจอห์น แนช ทั้งในหนังสือและดูหนังมา 10วัน ชีวิตของเขาน่าเห็นใจมาก ที่จริงแล้วเขามีปัญหาในการเข้าสังคมตั้งแต่เด็กๆ และยังเป็นพวกอัจฉริยะที่เย่อหยิ่งมั่นใจในความรู้ตัวเองสูง ตัวเขาได้รับทุนและสามารถเขาเรียนที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่เป็นศูนย์รวมของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ รวมไปถึงนักคณิตศาสตร์ระดับโลก ที่ย้ายหนีสงครามมาจากยุโรป ในนั้นมีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อยู่สอนที่นั่นด้วย ตัวจอห์น แนช เรียนจนเกือบจบ เขาคิดเฟื่องในสิ่งที่คนอื่นคิด หาวิธีแก้ไขโจทน์หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีที่ไม่เหมือนใคร และใช้การคิดแบบทางอ้อม แต่จนแล้วจนรอดเขาไม่สามารถเขียนงานวิจัยเพื่อที่จะจบปริญญาเอกได้เลย และแล้วเขากลับมาปิ๊งกับทฤษฎีเกม ที่เคยมีการเขียนขึ้นมาโดย จอห์น ฟอน นอยมันน์ และเพื่อน แต่ดูเหมือนทฤษฎีที่เขียนขึ้นมายังใช้งานได้ไม่ดีนัก แนชเขาจึงคิดทฤษฎีเกมที่เป็นทฤษฎีทางผลประโยชน์ที่ไม่ได้มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบร้อยเปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงมีเงื่อนไขอื่นๆด้วย จนเขาส่งงานเขียนทฤษฎีเกมจำนวน 27หน้า เป็นงานจบปริญญาเอกของเขา
หลังจากแนชเรียนจบ เขาได้ทำงานกับบริษัทที่เป็นหน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลส่งให้รัฐบาล บริษัทนี้ทำหน้าที่วิเคราะห์ประเทศที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น ต่อมาเขาต้องออกจากงานนี้และเขาผันตัวเองมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ที่แนชต้องการจะเข้าไปสอนคือที่ฮาร์วาร์ดและพรินซ์ตัน ไม่รับเขาเข้าทำงาน เขาจึงต้องไปสอนที่หมาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ขณะนั้นแนชเริ่มทำตัวแปลกๆ เขามีอาการหวาดกลัว และมีความคิดว่ามีทั้งมนุษย์ต่างดาว หรือประเทศคอมมิวนิสต์จะมาทำลายประเทศ และมีคนเหล่านั้นจะมาจับตัวเขา เขาถูกจับเขาไปในโรงพยาบาลจิตเวชหลายครั้ง จากทั้งในมหาวิทยาลัย จากภรรยา และจากแม่ การป่วยทำให้เขาไม่มีงานทำ ต้องหย่ากับภรรยา และแทบไม่ได้เลี้ยงลูกเลย บางช่วงเขาถึงกับต้องอยู่แบบคนไร้บ้าน เขาไม่เหลือใครเลย
ท้ายที่สุดหลังจากสูญเสียเวลาจากการป่วยไป 25ปี เขาเริ่มนิ่งขึ้นและสามารถเขียนงานวิจัยได้ สอนหนังสือได้ และเมื่อครบรอบ 50ปีจากการกำเนิดทฤษฎีเกม เขาได้รับเชิญเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์พร้อมกับอีกสองท่านที่ได้นำเอาทฤษฎีเกมที่แนชพัฒนาขึ้นมา ต่อยอดใช้งานได้จริง เขากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ได้สานสัมพันธ์กับลูกชายทั้งสอง และได้แต่งงานกับภรรยาคนที่สองอีกครั้งในวัยเจ็ดสิบสามปี เขายังคงทำงานเงียบๆ พยายามคิดค้นงานวิจัยใหม่ และกลับมามีชีวติใหม่อีกครั้ง
มีหลายเรื่องที่ในภาพยนตร์ไม่สามารถใส่ลงไปในเนื้อเรื่องได้ แต่สามารถอ่านได้ในหนังสือเล่มนี้ เช่น ประวัติความเป็นมาของคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ของแนช , ชีวิตในวัยเด็กของเขาและความสนใจของเขา , ความโดดเด่นของเขาสมัยที่เป็นนักเรียน , ความคิดและการใช้ชีวิตทางสังคมที่มีปัญหาสำหรับเขา , มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ทั้งในเรื่อง การดึงเอาสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกมาอยู่ที่นี่(แทนที่จะเป็นฮาร์วาร์ด) บรรยากาศในการเรียน การสอน การทำวิจัย และชีวิตความเป็นอยู่ , เรื่องราวของภรรยาคนแรกเอเลนอร์และลูกชายคนแรก และการทอดทิ้งพวกเขาอย่างไม่มีเยื่อใย , การเป็น LGBTQ ของแนช , เบื้อหลังการต่อสู้ภายในองค์กรโนเบลที่มีฝั่งสนับสนุนให้แนชได้รับรางวัลกับฝ่ายต่อต้านแนชเนื่องจากประวัติของเขาที่เคยป่วยมากช่วงก่อนหน้านี้ และอื่นๆอีกมากมาย
#ผู้ชายหลายมิติ #ABeautifulMind #รีวิวหนังสือ
0 Comments
0 Shares
17 Views
0 Reviews