The Money Formula สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การใช้อนุพันธ์ และอธิบายเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับอนุพันธ์ ที่ในการจัดการความเสี่ยง(หรือการเก็งกำไร?) โดยกูรูผู้เป็นอาจารย์สอนและอยู่ในอาชีพ Quant (นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ Quantiative Analyst) ผู้เขียนยังเล่าถึงรายละเอียดของวิชาชีพของพวกเขา และยังยืนยันว่าทฤษฎีต่างๆรวมไปถึงแบบจำลองทางการเงินนั้น ใช้ไม่ได้ทั้งหมด!
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้สนใจเรื่องการเงิน ธนาคาร ตลาดหุ้น และรวมไปถึงเศรษฐกิจหมภาค ถ้าหากไม่มีพื้นฐานหรือไม่ได้สนใจ จะทำให้อ่านหนังสือเล่มนี้แบบทรมานและมีความรู้สึกถึงความยากในเนื้อหาเป็นอย่างมาก เราเองกว่าจะอ่านเล่มนี้จบใช้พลังงานไปเยอะเลย
ผู้เขียนตั้งใจเขียน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอาชีพควอนท์(Quant)และแนวคิดของพวกเขา เนื้อหาเริ่มจากเหตุการต้นศษวรรตที่ 18 โดยมีนักคณิตศาสตร์/ฟิสิกส์ 2คนที่มีแนวคิดต่างกันคือ ไอแซก นิวตัน และจอห์น ลอว์ คนแรกเป็นนักฟิสิกส์ที่เรารู้จักกันดี เขาเข้าไปอยู่ในแวดวงการเงินและเป็นผู้ที่ยึดถือหลักการหนุนหลังการพิมพ์เงินด้วยสินทรัพท์หลักเช่นทองคำ ส่วนอีกคนจอห์น ลอว์ เขานำหลักาการของเขาไปใช้กับประเทศฝรั่งเศสเขานำตัวเข้าไปเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ฟิลิป เขาใช้แนวคิดของเขาเพื่อให้ฝรั่งเศสหลุดพ้นจากการเป็นหนี้มหาศาลของพระเจ้าหลุยส์ที่14 โดยการ ปลดการเชื่อมโยงค่าเงินกับโลหะมีค่า ซื้อหนี้ของรัฐบาล ออกหุ้นเพิ่มทุนและพิมพ์เงินเพื่อมาซื้อหุ้น ในท้ายที่สุดฟองสบู่ก็แตก แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของการเอาสินทรัพย์ที่ด้อยมูลค่านำมาค้ำประกันหนี้เพื่อกู้เงินต่อไป อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงทฤษฎีทางการเงินต่างๆ ที่เป็นทฤษฎีหลักหลายทฤษฎีว่าไม่น่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง เช่น ทฤษฎีความมีประสิทธิภาพของตลาด , ทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่านกราฟเทคนิค เป็นต้น ซึ่งถ้าทฤษฎีเหล่านี้เป็นจริงพวกมันต้องบอกการล่มสลายของตลาดได้แต่ในความเป็นจริง ไม่มีทฤษฎีไหนทายถูกได้เลย
และก็มาถึงเรื่องของชาวควอนท์กัน ควอนท์คือนักคณิตศาสตร์ , ผู้ทีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่เก่งเรื่องการคำนวณแล้วมาทำงานในสายการเงิน โดยใช้การคำนวณค่าทางการเงิน สถิติ และประเมินมูลค่า โดยชาวควอนท์เน้นเรื่องการบริหารรายได้และบริหารความเสี่ยงไปด้วย โดยชาวควอนท์แก้ไขปัญหาเรื่องการลงทุนที่มีความเสี่ยงจากการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่าออปชั่น (อธิบายไม่ถูก 555) ซึ่งในหนังสืออธิบายได้ดีและยกตัวอย่างด้วย ต่อมาจากออปชั่นก็อัพเกรดเป็นอนุพันธ์ เพื่อบริหารความเสี่ยงแต่ก็กลายเป็นแหล่งเก็งกำไร และสร้างความเสียหายต่อระบบการเงินเช่นในปี 2008 มาแล้ว
ท้ายเล่มผู้เขียนได้อธิบายถึงอาชีพของเขาไว้อย่างน่าสนใจ และจะดีมากถ้าหากสนใจในอาชีพนี้ และเขายังเห็นปัญหาทางการเงินปัจจุบันที่เกิดจากเพื่อนร่วมอาชีพของเขา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
อ่านจบแล้วทำให้รู้จักอาชีพสายควอนท์ ได้รับรู้เรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ทางการเงินบางเหตุการณ์ และได้รู้ถึงที่มาของทฤษฎีทางการเงินต่างๆ
#TheMoneyFormula #สมการแสนล้านพลิกกระดานวอลสตรีท #รีวิวหนังสือ
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การใช้อนุพันธ์ และอธิบายเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับอนุพันธ์ ที่ในการจัดการความเสี่ยง(หรือการเก็งกำไร?) โดยกูรูผู้เป็นอาจารย์สอนและอยู่ในอาชีพ Quant (นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ Quantiative Analyst) ผู้เขียนยังเล่าถึงรายละเอียดของวิชาชีพของพวกเขา และยังยืนยันว่าทฤษฎีต่างๆรวมไปถึงแบบจำลองทางการเงินนั้น ใช้ไม่ได้ทั้งหมด!
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้สนใจเรื่องการเงิน ธนาคาร ตลาดหุ้น และรวมไปถึงเศรษฐกิจหมภาค ถ้าหากไม่มีพื้นฐานหรือไม่ได้สนใจ จะทำให้อ่านหนังสือเล่มนี้แบบทรมานและมีความรู้สึกถึงความยากในเนื้อหาเป็นอย่างมาก เราเองกว่าจะอ่านเล่มนี้จบใช้พลังงานไปเยอะเลย
ผู้เขียนตั้งใจเขียน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอาชีพควอนท์(Quant)และแนวคิดของพวกเขา เนื้อหาเริ่มจากเหตุการต้นศษวรรตที่ 18 โดยมีนักคณิตศาสตร์/ฟิสิกส์ 2คนที่มีแนวคิดต่างกันคือ ไอแซก นิวตัน และจอห์น ลอว์ คนแรกเป็นนักฟิสิกส์ที่เรารู้จักกันดี เขาเข้าไปอยู่ในแวดวงการเงินและเป็นผู้ที่ยึดถือหลักการหนุนหลังการพิมพ์เงินด้วยสินทรัพท์หลักเช่นทองคำ ส่วนอีกคนจอห์น ลอว์ เขานำหลักาการของเขาไปใช้กับประเทศฝรั่งเศสเขานำตัวเข้าไปเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ฟิลิป เขาใช้แนวคิดของเขาเพื่อให้ฝรั่งเศสหลุดพ้นจากการเป็นหนี้มหาศาลของพระเจ้าหลุยส์ที่14 โดยการ ปลดการเชื่อมโยงค่าเงินกับโลหะมีค่า ซื้อหนี้ของรัฐบาล ออกหุ้นเพิ่มทุนและพิมพ์เงินเพื่อมาซื้อหุ้น ในท้ายที่สุดฟองสบู่ก็แตก แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของการเอาสินทรัพย์ที่ด้อยมูลค่านำมาค้ำประกันหนี้เพื่อกู้เงินต่อไป อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงทฤษฎีทางการเงินต่างๆ ที่เป็นทฤษฎีหลักหลายทฤษฎีว่าไม่น่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง เช่น ทฤษฎีความมีประสิทธิภาพของตลาด , ทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่านกราฟเทคนิค เป็นต้น ซึ่งถ้าทฤษฎีเหล่านี้เป็นจริงพวกมันต้องบอกการล่มสลายของตลาดได้แต่ในความเป็นจริง ไม่มีทฤษฎีไหนทายถูกได้เลย
และก็มาถึงเรื่องของชาวควอนท์กัน ควอนท์คือนักคณิตศาสตร์ , ผู้ทีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่เก่งเรื่องการคำนวณแล้วมาทำงานในสายการเงิน โดยใช้การคำนวณค่าทางการเงิน สถิติ และประเมินมูลค่า โดยชาวควอนท์เน้นเรื่องการบริหารรายได้และบริหารความเสี่ยงไปด้วย โดยชาวควอนท์แก้ไขปัญหาเรื่องการลงทุนที่มีความเสี่ยงจากการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่าออปชั่น (อธิบายไม่ถูก 555) ซึ่งในหนังสืออธิบายได้ดีและยกตัวอย่างด้วย ต่อมาจากออปชั่นก็อัพเกรดเป็นอนุพันธ์ เพื่อบริหารความเสี่ยงแต่ก็กลายเป็นแหล่งเก็งกำไร และสร้างความเสียหายต่อระบบการเงินเช่นในปี 2008 มาแล้ว
ท้ายเล่มผู้เขียนได้อธิบายถึงอาชีพของเขาไว้อย่างน่าสนใจ และจะดีมากถ้าหากสนใจในอาชีพนี้ และเขายังเห็นปัญหาทางการเงินปัจจุบันที่เกิดจากเพื่อนร่วมอาชีพของเขา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
อ่านจบแล้วทำให้รู้จักอาชีพสายควอนท์ ได้รับรู้เรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ทางการเงินบางเหตุการณ์ และได้รู้ถึงที่มาของทฤษฎีทางการเงินต่างๆ
#TheMoneyFormula #สมการแสนล้านพลิกกระดานวอลสตรีท #รีวิวหนังสือ
The Money Formula สมการแสนล้าน พลิกกระดานวอลสตรีท
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การใช้อนุพันธ์ และอธิบายเนื้อหาวิชาการเกี่ยวกับอนุพันธ์ ที่ในการจัดการความเสี่ยง(หรือการเก็งกำไร?) โดยกูรูผู้เป็นอาจารย์สอนและอยู่ในอาชีพ Quant (นักวิเคราะห์เชิงปริมาณ Quantiative Analyst) ผู้เขียนยังเล่าถึงรายละเอียดของวิชาชีพของพวกเขา และยังยืนยันว่าทฤษฎีต่างๆรวมไปถึงแบบจำลองทางการเงินนั้น ใช้ไม่ได้ทั้งหมด!
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้สนใจเรื่องการเงิน ธนาคาร ตลาดหุ้น และรวมไปถึงเศรษฐกิจหมภาค ถ้าหากไม่มีพื้นฐานหรือไม่ได้สนใจ จะทำให้อ่านหนังสือเล่มนี้แบบทรมานและมีความรู้สึกถึงความยากในเนื้อหาเป็นอย่างมาก เราเองกว่าจะอ่านเล่มนี้จบใช้พลังงานไปเยอะเลย
ผู้เขียนตั้งใจเขียน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอาชีพควอนท์(Quant)และแนวคิดของพวกเขา เนื้อหาเริ่มจากเหตุการต้นศษวรรตที่ 18 โดยมีนักคณิตศาสตร์/ฟิสิกส์ 2คนที่มีแนวคิดต่างกันคือ ไอแซก นิวตัน และจอห์น ลอว์ คนแรกเป็นนักฟิสิกส์ที่เรารู้จักกันดี เขาเข้าไปอยู่ในแวดวงการเงินและเป็นผู้ที่ยึดถือหลักการหนุนหลังการพิมพ์เงินด้วยสินทรัพท์หลักเช่นทองคำ ส่วนอีกคนจอห์น ลอว์ เขานำหลักาการของเขาไปใช้กับประเทศฝรั่งเศสเขานำตัวเข้าไปเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ฟิลิป เขาใช้แนวคิดของเขาเพื่อให้ฝรั่งเศสหลุดพ้นจากการเป็นหนี้มหาศาลของพระเจ้าหลุยส์ที่14 โดยการ ปลดการเชื่อมโยงค่าเงินกับโลหะมีค่า ซื้อหนี้ของรัฐบาล ออกหุ้นเพิ่มทุนและพิมพ์เงินเพื่อมาซื้อหุ้น ในท้ายที่สุดฟองสบู่ก็แตก แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของการเอาสินทรัพย์ที่ด้อยมูลค่านำมาค้ำประกันหนี้เพื่อกู้เงินต่อไป อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงทฤษฎีทางการเงินต่างๆ ที่เป็นทฤษฎีหลักหลายทฤษฎีว่าไม่น่าเชื่อถืออย่างไรบ้าง เช่น ทฤษฎีความมีประสิทธิภาพของตลาด , ทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่านกราฟเทคนิค เป็นต้น ซึ่งถ้าทฤษฎีเหล่านี้เป็นจริงพวกมันต้องบอกการล่มสลายของตลาดได้แต่ในความเป็นจริง ไม่มีทฤษฎีไหนทายถูกได้เลย
และก็มาถึงเรื่องของชาวควอนท์กัน ควอนท์คือนักคณิตศาสตร์ , ผู้ทีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกร ที่เก่งเรื่องการคำนวณแล้วมาทำงานในสายการเงิน โดยใช้การคำนวณค่าทางการเงิน สถิติ และประเมินมูลค่า โดยชาวควอนท์เน้นเรื่องการบริหารรายได้และบริหารความเสี่ยงไปด้วย โดยชาวควอนท์แก้ไขปัญหาเรื่องการลงทุนที่มีความเสี่ยงจากการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เรียกว่าออปชั่น (อธิบายไม่ถูก 555) ซึ่งในหนังสืออธิบายได้ดีและยกตัวอย่างด้วย ต่อมาจากออปชั่นก็อัพเกรดเป็นอนุพันธ์ เพื่อบริหารความเสี่ยงแต่ก็กลายเป็นแหล่งเก็งกำไร และสร้างความเสียหายต่อระบบการเงินเช่นในปี 2008 มาแล้ว
ท้ายเล่มผู้เขียนได้อธิบายถึงอาชีพของเขาไว้อย่างน่าสนใจ และจะดีมากถ้าหากสนใจในอาชีพนี้ และเขายังเห็นปัญหาทางการเงินปัจจุบันที่เกิดจากเพื่อนร่วมอาชีพของเขา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
อ่านจบแล้วทำให้รู้จักอาชีพสายควอนท์ ได้รับรู้เรื่องที่มาของวิกฤตการณ์ทางการเงินบางเหตุการณ์ และได้รู้ถึงที่มาของทฤษฎีทางการเงินต่างๆ
#TheMoneyFormula #สมการแสนล้านพลิกกระดานวอลสตรีท #รีวิวหนังสือ
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
5 มุมมอง
0 รีวิว