ศาลารอรถเมล์ 2-3 แสน แพงสมฐานะยุคชัชชาติ
กลายเป็นที่วิจารณ์สนั่นโซเชียลฯ เมื่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยุคผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เผยโฉมศาลาที่พักผู้โดยสารฯ โฉมใหม่ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Type C2 ขนาด 2x3 เมตร 3 ที่นั่ง และ Type C3 ขนาด 2x6 เมตร 6 ที่นั่ง โดยในปีงบประมาณ 2566 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 30 หลัง ปีงบประมาณ 2567 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 60 หลัง อยู่ระหว่างก่อสร้าง 29 หลัง และปีงบประมาณ 2568 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง 300 หลัง ทั่วกรุงเทพฯ
ปรากฎว่ากลายเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสม เพราะตามรายงานข่าวระบุว่า ศาลารอรถเมล์ Type C2 แบบ 3 ที่นั่ง ใช้งบประมาณ 230,000 บาทต่อหลัง และ Type C3 แบบ 6 ที่นั่ง ใช้งบประมาณ 320,000 บาทต่อหลัง ซึ่งพิจารณาจากวัสดุแล้วแพงกว่าบ้านน็อกดาวน์
ไม่นับรวมเสียงสะท้อนจากผู้ใช้รถเมล์ว่า แม้จะดูดีทันสมัย แต่แทบใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้เลย เพราะที่นั่งริมสุดและด้านหลังพอดีกับขอบหลังคา อีกทั้งทำหลังคาเชิดขึ้น แดดส่องถึง ฝนตกลงมาถึง แถมจำนวนที่นั่งน้อยเกินไป ส่วนที่นั่งที่ทำจากพลาสติก เกรงว่าจะไม่คงทนถาวรเมื่อเทียบกับที่นั่งสแตนเลสหรือปูน อีกทั้งบางจุดยังติดตั้งทับทางเดินสำหรับผู้พิการ บางจุดเช่น BTS กรุงธนบุรี เป็นมุมอับสายตามีต้นไม้บัง รถเมล์ไม่จอด
ร้อนไปถึงนายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง ชี้แจงว่า งบประมาณก่อสร้างครอบคลุมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค งานฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก งานเชื่อมประกอบโครงสร้างเหล็ก งานหลังคาเมทัลชีท งานรางน้ำ งานม้านั่ง งานระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายใน และงานบรรจบไฟฟ้าสาธารณะกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นต้น
ยืนยันว่าราคาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเมื่อประกวดราคาอิเล็คทรอนิกส์ (e-bidding) ราคาจึงต่ำลงอีก นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถบังแดดบังฝนด้วยหลังคาขนาดใหญ่และแผ่นอะคริลิกใสด้านหลัง มีพื้นที่นั่งคอยเหมาะสม สวยงามกลมกลืน ไม่บดบังทัศนียภาพ ไม่สร้างจุดอับสายตา และประหยัดพื้นที่ทางเท้า ไม่กีดขวางทางเดินอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกรายละเอียดค่าก่อสร้างจากเอกสารประกวดราคา พบว่าราคากลางบวกค่าแฟคเตอร์ (Factor) หนักไปทางงานโครงสร้างประมาณ 88,000-131,000 บาท โดยเฉพาะงานเสา งานโครงรับเก้าอี้ งานโครงรับแผ่นอลูมิเนียมและอครีลิคที่เชื่อมประกอบจากโรงงาน ประกอบกับงานไฟฟ้าแสงสว่างประมาณ 46,000-47,000 บาท ส่วนงานตกแต่ง สัญลักษณ์และป้ายข้อมูลประมาณ 39,000-48,000 บาทเศษ จึงเป็นที่กังขาว่าจะคุ้มค่ากับเงินภาษีประชาชนหรือไม่
#Newskit ศาลารอรถเมล์ 2-3 แสน แพงสมฐานะยุคชัชชาติ
กลายเป็นที่วิจารณ์สนั่นโซเชียลฯ เมื่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) ยุคผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เผยโฉมศาลาที่พักผู้โดยสารฯ โฉมใหม่ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ Type C2 ขนาด 2x3 เมตร 3 ที่นั่ง และ Type C3 ขนาด 2x6 เมตร 6 ที่นั่ง โดยในปีงบประมาณ 2566 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 30 หลัง ปีงบประมาณ 2567 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 60 หลัง อยู่ระหว่างก่อสร้าง 29 หลัง และปีงบประมาณ 2568 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้าง 300 หลัง ทั่วกรุงเทพฯ
ปรากฎว่ากลายเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสม เพราะตามรายงานข่าวระบุว่า ศาลารอรถเมล์ Type C2 แบบ 3 ที่นั่ง ใช้งบประมาณ 230,000 บาทต่อหลัง และ Type C3 แบบ 6 ที่นั่ง ใช้งบประมาณ 320,000 บาทต่อหลัง ซึ่งพิจารณาจากวัสดุแล้วแพงกว่าบ้านน็อกดาวน์
ไม่นับรวมเสียงสะท้อนจากผู้ใช้รถเมล์ว่า แม้จะดูดีทันสมัย แต่แทบใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้เลย เพราะที่นั่งริมสุดและด้านหลังพอดีกับขอบหลังคา อีกทั้งทำหลังคาเชิดขึ้น แดดส่องถึง ฝนตกลงมาถึง แถมจำนวนที่นั่งน้อยเกินไป ส่วนที่นั่งที่ทำจากพลาสติก เกรงว่าจะไม่คงทนถาวรเมื่อเทียบกับที่นั่งสแตนเลสหรือปูน อีกทั้งบางจุดยังติดตั้งทับทางเดินสำหรับผู้พิการ บางจุดเช่น BTS กรุงธนบุรี เป็นมุมอับสายตามีต้นไม้บัง รถเมล์ไม่จอด
ร้อนไปถึงนายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง ชี้แจงว่า งบประมาณก่อสร้างครอบคลุมงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค งานฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก งานเชื่อมประกอบโครงสร้างเหล็ก งานหลังคาเมทัลชีท งานรางน้ำ งานม้านั่ง งานระบบไฟฟ้าแสงสว่างภายใน และงานบรรจบไฟฟ้าสาธารณะกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นต้น
ยืนยันว่าราคาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเมื่อประกวดราคาอิเล็คทรอนิกส์ (e-bidding) ราคาจึงต่ำลงอีก นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถบังแดดบังฝนด้วยหลังคาขนาดใหญ่และแผ่นอะคริลิกใสด้านหลัง มีพื้นที่นั่งคอยเหมาะสม สวยงามกลมกลืน ไม่บดบังทัศนียภาพ ไม่สร้างจุดอับสายตา และประหยัดพื้นที่ทางเท้า ไม่กีดขวางทางเดินอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกรายละเอียดค่าก่อสร้างจากเอกสารประกวดราคา พบว่าราคากลางบวกค่าแฟคเตอร์ (Factor) หนักไปทางงานโครงสร้างประมาณ 88,000-131,000 บาท โดยเฉพาะงานเสา งานโครงรับเก้าอี้ งานโครงรับแผ่นอลูมิเนียมและอครีลิคที่เชื่อมประกอบจากโรงงาน ประกอบกับงานไฟฟ้าแสงสว่างประมาณ 46,000-47,000 บาท ส่วนงานตกแต่ง สัญลักษณ์และป้ายข้อมูลประมาณ 39,000-48,000 บาทเศษ จึงเป็นที่กังขาว่าจะคุ้มค่ากับเงินภาษีประชาชนหรือไม่
#Newskit