มีอรรถจะเขียน เรื่องเล่า อรรถบท ที่อยาก อรรถาธิบาย ให้เกิด อรรถประโยชน์ โดยไม่ลืม อรรถรส ตาม อรรถกวี
  • 4 โพสต์
  • 4 รูปภาพ
  • 0 วิดีโอ
  • Account Executive ที่ Free Lance
  • Lives in เมืองนนทบุรี
  • ตั้งแต่ กรุงเทพ
  • Studied นิเทศศาสตร์ ที่ ม.หอการค้าไทย
  • มีความซับซ้อน
  • 11/06/1979
  • ติดตามแล้วโดย 1 คน
อัปเดตล่าสุด
  • 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    กฎหมายเพื่อความปลอดภัย กับ ปรากฎการณ์ประชาชนถ่ายคลิปปรับไม่ออกใบเสร็จ

    ไม่เถียงครับ ว่าขับรถด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง อุบัติเหตุถ้าจะเกิด จะเกิดการบาดเจ็บน้อยกว่า ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ "ความเร็ว" คือต้นเหตุของอุบัติเหตุจริงๆ หรือ??

    ตามสถิติของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 14,122 ราย บาดเจ็บ 808,705 ราย

    เป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 90.53% และจากรถยนต์ 9.47% และช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 17.00 - 18.00 น. คิดเป็นสัดส่วน 7.95% ของอุบัติเหตุทั้งหมด

    เจาะลึกลงมาในกรุงเทพฯ ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 922 ราย บาดเจ็บ 143,182 ราย เป็นเหตุจากรถจักรยานยนต์ 92.15% และรถยนต์ 7.85%

    ช่วงเวลาที่มีผู้ประสบภัยสุงสุด คือ
    17.00 - 18.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.72% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
    08.00 - 09.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.70% ของการเกิดเหตุทั้งวัน
    และ 07.00 - 08.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.65% ของการเกิดเหตุทั้งวัน

    ใช่ครับ มันคือช่วงเวลารถติด!! ไม่ใช่เวลาใช้ความเร็ว

    ลงลึกอีกอย่าง แขวงที่มีเหตุสูงสุด 5 อันดับ
    1. คลองตัน
    2. แสมดำ
    3. ลาดพร้าว
    4. หัวหมาก
    5. สวนหลวง

    ล้วนแล้วแต่รถติดมหากาฬทั้งสิ้น

    รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564 โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย เมื่อกรกฎาคม 2564 ระบุว่า สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากบุคคล เหตุจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีเพียง 19% แม้ว่าจะมากเป็นลำดับที่ 3 แต่หากเทียงกับ การเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุอื่นๆ ที่สูงถึง 58% เรียกว่า น้อยกว่าครึ่ง

    แม้กระทั่ง ข้อมูลจากสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ยังระบุว่า 3 กลุ่มเสี่ยงสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้สูงอายุ และ คนเดินเท้า

    มันเลยอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือตัวเลขที่เหมาะสมแล้วหรือ? กฎหมายกำลังเกาที่คัน หรือว่าใครที่อยากคัน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรถึงการจ่ายค่าปรับไม่มีใบเสร็จ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมากขึ้นหรือไม่?

    มีคำอ้างอิงว่า ในเมืองใหญ่หลายๆ ประเทศ จำกัดความเร็วที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ผิดครับ แต่ความเร็วถัดมาคือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 80 กิโลเมตร มันก็น้อยกว่าจำกัดความเร็วในถนนสายอื่นๆ ของเมืองใหญ่ๆ ที่มักจะกำหนดที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน

    ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับการ จำกัดความเร็ว แต่สำหรับในเมือง เร่งเครื่องถึง 80 ก็ต้องแตะเบรกเพื่อเข้าไฟแดงถัดไปแล้ว การขับเร็วเกินกำหนด โอกาสมีไม่มาก แต่อยากเขียนเรื่องนี้เพื่อถามหาความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมาย และการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจทำมาหารับประทานมากกว่า

    เพราะหากต้องการลดอุบัติเหตุจริงๆ เลื่อนขึ้นไปอ่านรายงานต่างๆ แล้วหาวิธีเพิ่มเติมจากต้นตอของปัญหา มันก็จะแก้ได้ตรงจุดขึ้น ดีกว่าแก้เรื่องที่ไม่ใช่ปัญหา เพราะมันก็จะไม่สามารถลบปัญหาออกไปได้
    60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กฎหมายเพื่อความปลอดภัย กับ ปรากฎการณ์ประชาชนถ่ายคลิปปรับไม่ออกใบเสร็จ ไม่เถียงครับ ว่าขับรถด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง อุบัติเหตุถ้าจะเกิด จะเกิดการบาดเจ็บน้อยกว่า ความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ "ความเร็ว" คือต้นเหตุของอุบัติเหตุจริงๆ หรือ?? ตามสถิติของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 14,122 ราย บาดเจ็บ 808,705 ราย เป็นอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 90.53% และจากรถยนต์ 9.47% และช่วงเวลาที่เกิดเหตุสูงสุดคือ 17.00 - 18.00 น. คิดเป็นสัดส่วน 7.95% ของอุบัติเหตุทั้งหมด เจาะลึกลงมาในกรุงเทพฯ ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 922 ราย บาดเจ็บ 143,182 ราย เป็นเหตุจากรถจักรยานยนต์ 92.15% และรถยนต์ 7.85% ช่วงเวลาที่มีผู้ประสบภัยสุงสุด คือ 17.00 - 18.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.72% ของการเกิดเหตุทั้งวัน 08.00 - 09.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.70% ของการเกิดเหตุทั้งวัน และ 07.00 - 08.00 น. มีเหตุคิดเป็น 6.65% ของการเกิดเหตุทั้งวัน ใช่ครับ มันคือช่วงเวลารถติด!! ไม่ใช่เวลาใช้ความเร็ว ลงลึกอีกอย่าง แขวงที่มีเหตุสูงสุด 5 อันดับ 1. คลองตัน 2. แสมดำ 3. ลาดพร้าว 4. หัวหมาก 5. สวนหลวง ล้วนแล้วแต่รถติดมหากาฬทั้งสิ้น รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564 โดย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย เมื่อกรกฎาคม 2564 ระบุว่า สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากบุคคล เหตุจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด มีเพียง 19% แม้ว่าจะมากเป็นลำดับที่ 3 แต่หากเทียงกับ การเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุอื่นๆ ที่สูงถึง 58% เรียกว่า น้อยกว่าครึ่ง แม้กระทั่ง ข้อมูลจากสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ยังระบุว่า 3 กลุ่มเสี่ยงสำคัญของอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้แก่ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้สูงอายุ และ คนเดินเท้า มันเลยอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามว่า 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คือตัวเลขที่เหมาะสมแล้วหรือ? กฎหมายกำลังเกาที่คัน หรือว่าใครที่อยากคัน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจราจรถึงการจ่ายค่าปรับไม่มีใบเสร็จ ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จาก 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงมากขึ้นหรือไม่? มีคำอ้างอิงว่า ในเมืองใหญ่หลายๆ ประเทศ จำกัดความเร็วที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ผิดครับ แต่ความเร็วถัดมาคือ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 80 กิโลเมตร มันก็น้อยกว่าจำกัดความเร็วในถนนสายอื่นๆ ของเมืองใหญ่ๆ ที่มักจะกำหนดที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเช่นกัน ไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับการ จำกัดความเร็ว แต่สำหรับในเมือง เร่งเครื่องถึง 80 ก็ต้องแตะเบรกเพื่อเข้าไฟแดงถัดไปแล้ว การขับเร็วเกินกำหนด โอกาสมีไม่มาก แต่อยากเขียนเรื่องนี้เพื่อถามหาความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎหมาย และการเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจทำมาหารับประทานมากกว่า เพราะหากต้องการลดอุบัติเหตุจริงๆ เลื่อนขึ้นไปอ่านรายงานต่างๆ แล้วหาวิธีเพิ่มเติมจากต้นตอของปัญหา มันก็จะแก้ได้ตรงจุดขึ้น ดีกว่าแก้เรื่องที่ไม่ใช่ปัญหา เพราะมันก็จะไม่สามารถลบปัญหาออกไปได้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 167 มุมมอง 0 รีวิว
  • อันตราย...ติดหลัง?

    ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในกรณีเพลิงไหม้รถทัศนศึกษา ด้วยความคาราวะอย่างสุดหัวใจ

    ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เอาไว้เตือนตัวเอง และคนที่ผ่านมาอ่าน

    ในฐานะ อดีต Columnist นิตยสาร Gas for Cars นิตยสารเกี่ยวกับแก๊สรถยนต์มาหลายปี ผ่านละลอกคลื่นขึ้น-ลงของแก๊สรถยนต์มานาน มีโอกาสได้ศึกษา สัมภาษณ์ พูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ Gas รถยนต์, เจ้าของอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์, วิศวกรแก๊สรถยนต์ เลยไปถึงช่างติดตั้งแก๊สรถยนต์, ผู้ตรวจสภาพแก๊สรถยนต์ ยาวถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวกับแก๊สรถยนต์ และในฐานะของ คนขับรถติดแก๊ส ขอฟันธงว่า

    "แก๊สอันตราย" ... ต่อเมื่อคนใช้แก๊ส ไม่เคารพความปลอดภัย

    จากรายละเอียดรถบัสที่ปรากฎตามสื่อ
    - รถมีการใช้งาน คัสซี มาตั้้งแต่ปี 2513 (หรือใช้โครงรถมาแล้ว 54 ปี)
    - มีการติดตั้้งถังแก๊ส CNG (NGV) สูงถึง 11 ถัง จากการขออนุญาตไว้เพียง 6 ถัง
    - เกิดเหตุ เพลาล้อรถหัก ครูดกับพื้นถนน
    - ท่อแก๊สหลุด ทำให้แก๊สกระจายตัวในห้องโดยสาร
    - เกิดประกายไฟ

    การจดทะเบียนรถ ในเอกสารทะเบียนรถจะระบุ "เลขตัวถัง" ที่เป็นเลขที่ตีประทับไว้บนแชสซีของรถ ไม่ว่ารถบัสจะถูกดัดแปลงไปกี่ครั้ง หากยังใช้เลขตัวถังเดิม นั่นก็แปลว่า โครงรถ ใช้มาแล้วกว่า 50 ปี

    แก๊ส CNG(NGV) เป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงมากๆ ทำให้ถังแก๊สต้องทำด้วยเหล็กหนา เพื่อให้สามารถรับแรงดันแก๊สได้ นั่นแปลว่า ถัง CNG(NGV) แต่ละใบ "หนักมาก!"

    โดยถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร จะมีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78-80 กิโลกรัม ซึ่งถัง 70 ลิตร คือถังสำหรับรถยนต์ทั่วไป ไม่ใช่กับรถโดยสาร ถังแก๊สสำหรับรถโดยสาร รวมแก๊สแล้ว แต่ละใบจะหนักประมาณ 120 กิโลกรัม

    ถังแก๊ส 11 ใบ น้ำหนักรวมจึงทำให้รถแบกน้ำหนัก 880 - 1,320 กิโลกรัม หรือรถต้องรับน้ำหนัก 1 ตันเป็น Default ยังไม่รวมน้ำหนักเครื่องยนต์ อุปกรณ์เสริมต่างๆ บนรถ และ "ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร" ทั้งๆ ที่หากทำตามที่จดทะเบียนไว้ รถจะแบกน้ำหนักเพียง 480-720 กิโลกรัมเท่านั้น (เติมแก๊สเต็มยังหนักไม่เท่า น้ำหนักรวมถังเปล่าๆ 11 ใบบนรถเลย)

    เมื่อแบกน้ำหนักมากๆ เพลาล้ออายุ 50 ปี วิ่งทุกวันๆ จะทนไหวหรือ??

    ไม่ว่าท่อแก๊สจะหลุดก่อนเพลาครูดถนน หรือรถครูดถนนก่อนท่อแก๊สหลุด ถังที่ไม่ได้ติดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย วาล์วเซฟตี้ของถังแก๊สจึงไม่ถูกต่ออย่างถูกต้อง ทำให้แก๊ส CNG(NGV) ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ จึงลอยตัว เต็มเพดานรถ....และสะสมรวมตัวอยู่ที่หลังคารถ ภายในตัวรถ รวมกับผู้โดยสารในรถทุกๆ คน..ไม่มีทางระบายออก

    เมื่อเกิดประกายไฟ....

    หากเพียงเจ้าของรถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย วันนี้เราคงไม่ต้องเสียน้ำตา ไม่ว่าใคร จะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่มีใครสมควรเสียชีวิตด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาณในความปลอดภัยทั้งสิ้น

    ผู้ร้ายตัวจริง จึงเป็นใครก็ตามที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของความปลอดภัย
    หาใช่.. การใช้แก๊ส
    หาใช่.. การทัศนศึกษา
    อันตราย...ติดหลัง? ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในกรณีเพลิงไหม้รถทัศนศึกษา ด้วยความคาราวะอย่างสุดหัวใจ ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เอาไว้เตือนตัวเอง และคนที่ผ่านมาอ่าน ในฐานะ อดีต Columnist นิตยสาร Gas for Cars นิตยสารเกี่ยวกับแก๊สรถยนต์มาหลายปี ผ่านละลอกคลื่นขึ้น-ลงของแก๊สรถยนต์มานาน มีโอกาสได้ศึกษา สัมภาษณ์ พูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ Gas รถยนต์, เจ้าของอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์, วิศวกรแก๊สรถยนต์ เลยไปถึงช่างติดตั้งแก๊สรถยนต์, ผู้ตรวจสภาพแก๊สรถยนต์ ยาวถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวกับแก๊สรถยนต์ และในฐานะของ คนขับรถติดแก๊ส ขอฟันธงว่า "แก๊สอันตราย" ... ต่อเมื่อคนใช้แก๊ส ไม่เคารพความปลอดภัย จากรายละเอียดรถบัสที่ปรากฎตามสื่อ - รถมีการใช้งาน คัสซี มาตั้้งแต่ปี 2513 (หรือใช้โครงรถมาแล้ว 54 ปี) - มีการติดตั้้งถังแก๊ส CNG (NGV) สูงถึง 11 ถัง จากการขออนุญาตไว้เพียง 6 ถัง - เกิดเหตุ เพลาล้อรถหัก ครูดกับพื้นถนน - ท่อแก๊สหลุด ทำให้แก๊สกระจายตัวในห้องโดยสาร - เกิดประกายไฟ การจดทะเบียนรถ ในเอกสารทะเบียนรถจะระบุ "เลขตัวถัง" ที่เป็นเลขที่ตีประทับไว้บนแชสซีของรถ ไม่ว่ารถบัสจะถูกดัดแปลงไปกี่ครั้ง หากยังใช้เลขตัวถังเดิม นั่นก็แปลว่า โครงรถ ใช้มาแล้วกว่า 50 ปี แก๊ส CNG(NGV) เป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงมากๆ ทำให้ถังแก๊สต้องทำด้วยเหล็กหนา เพื่อให้สามารถรับแรงดันแก๊สได้ นั่นแปลว่า ถัง CNG(NGV) แต่ละใบ "หนักมาก!" โดยถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร จะมีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78-80 กิโลกรัม ซึ่งถัง 70 ลิตร คือถังสำหรับรถยนต์ทั่วไป ไม่ใช่กับรถโดยสาร ถังแก๊สสำหรับรถโดยสาร รวมแก๊สแล้ว แต่ละใบจะหนักประมาณ 120 กิโลกรัม ถังแก๊ส 11 ใบ น้ำหนักรวมจึงทำให้รถแบกน้ำหนัก 880 - 1,320 กิโลกรัม หรือรถต้องรับน้ำหนัก 1 ตันเป็น Default ยังไม่รวมน้ำหนักเครื่องยนต์ อุปกรณ์เสริมต่างๆ บนรถ และ "ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร" ทั้งๆ ที่หากทำตามที่จดทะเบียนไว้ รถจะแบกน้ำหนักเพียง 480-720 กิโลกรัมเท่านั้น (เติมแก๊สเต็มยังหนักไม่เท่า น้ำหนักรวมถังเปล่าๆ 11 ใบบนรถเลย) เมื่อแบกน้ำหนักมากๆ เพลาล้ออายุ 50 ปี วิ่งทุกวันๆ จะทนไหวหรือ?? ไม่ว่าท่อแก๊สจะหลุดก่อนเพลาครูดถนน หรือรถครูดถนนก่อนท่อแก๊สหลุด ถังที่ไม่ได้ติดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย วาล์วเซฟตี้ของถังแก๊สจึงไม่ถูกต่ออย่างถูกต้อง ทำให้แก๊ส CNG(NGV) ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ จึงลอยตัว เต็มเพดานรถ....และสะสมรวมตัวอยู่ที่หลังคารถ ภายในตัวรถ รวมกับผู้โดยสารในรถทุกๆ คน..ไม่มีทางระบายออก เมื่อเกิดประกายไฟ.... หากเพียงเจ้าของรถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย วันนี้เราคงไม่ต้องเสียน้ำตา ไม่ว่าใคร จะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่มีใครสมควรเสียชีวิตด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาณในความปลอดภัยทั้งสิ้น ผู้ร้ายตัวจริง จึงเป็นใครก็ตามที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของความปลอดภัย หาใช่.. การใช้แก๊ส หาใช่.. การทัศนศึกษา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 172 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 37 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 46 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม