อันตราย...ติดหลัง?
ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในกรณีเพลิงไหม้รถทัศนศึกษา ด้วยความคาราวะอย่างสุดหัวใจ
ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เอาไว้เตือนตัวเอง และคนที่ผ่านมาอ่าน
ในฐานะ อดีต Columnist นิตยสาร Gas for Cars นิตยสารเกี่ยวกับแก๊สรถยนต์มาหลายปี ผ่านละลอกคลื่นขึ้น-ลงของแก๊สรถยนต์มานาน มีโอกาสได้ศึกษา สัมภาษณ์ พูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ Gas รถยนต์, เจ้าของอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์, วิศวกรแก๊สรถยนต์ เลยไปถึงช่างติดตั้งแก๊สรถยนต์, ผู้ตรวจสภาพแก๊สรถยนต์ ยาวถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวกับแก๊สรถยนต์ และในฐานะของ คนขับรถติดแก๊ส ขอฟันธงว่า
"แก๊สอันตราย" ... ต่อเมื่อคนใช้แก๊ส ไม่เคารพความปลอดภัย
จากรายละเอียดรถบัสที่ปรากฎตามสื่อ
- รถมีการใช้งาน คัสซี มาตั้้งแต่ปี 2513 (หรือใช้โครงรถมาแล้ว 54 ปี)
- มีการติดตั้้งถังแก๊ส CNG (NGV) สูงถึง 11 ถัง จากการขออนุญาตไว้เพียง 6 ถัง
- เกิดเหตุ เพลาล้อรถหัก ครูดกับพื้นถนน
- ท่อแก๊สหลุด ทำให้แก๊สกระจายตัวในห้องโดยสาร
- เกิดประกายไฟ
การจดทะเบียนรถ ในเอกสารทะเบียนรถจะระบุ "เลขตัวถัง" ที่เป็นเลขที่ตีประทับไว้บนแชสซีของรถ ไม่ว่ารถบัสจะถูกดัดแปลงไปกี่ครั้ง หากยังใช้เลขตัวถังเดิม นั่นก็แปลว่า โครงรถ ใช้มาแล้วกว่า 50 ปี
แก๊ส CNG(NGV) เป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงมากๆ ทำให้ถังแก๊สต้องทำด้วยเหล็กหนา เพื่อให้สามารถรับแรงดันแก๊สได้ นั่นแปลว่า ถัง CNG(NGV) แต่ละใบ "หนักมาก!"
โดยถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร จะมีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78-80 กิโลกรัม ซึ่งถัง 70 ลิตร คือถังสำหรับรถยนต์ทั่วไป ไม่ใช่กับรถโดยสาร ถังแก๊สสำหรับรถโดยสาร รวมแก๊สแล้ว แต่ละใบจะหนักประมาณ 120 กิโลกรัม
ถังแก๊ส 11 ใบ น้ำหนักรวมจึงทำให้รถแบกน้ำหนัก 880 - 1,320 กิโลกรัม หรือรถต้องรับน้ำหนัก 1 ตันเป็น Default ยังไม่รวมน้ำหนักเครื่องยนต์ อุปกรณ์เสริมต่างๆ บนรถ และ "ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร" ทั้งๆ ที่หากทำตามที่จดทะเบียนไว้ รถจะแบกน้ำหนักเพียง 480-720 กิโลกรัมเท่านั้น (เติมแก๊สเต็มยังหนักไม่เท่า น้ำหนักรวมถังเปล่าๆ 11 ใบบนรถเลย)
เมื่อแบกน้ำหนักมากๆ เพลาล้ออายุ 50 ปี วิ่งทุกวันๆ จะทนไหวหรือ??
ไม่ว่าท่อแก๊สจะหลุดก่อนเพลาครูดถนน หรือรถครูดถนนก่อนท่อแก๊สหลุด ถังที่ไม่ได้ติดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย วาล์วเซฟตี้ของถังแก๊สจึงไม่ถูกต่ออย่างถูกต้อง ทำให้แก๊ส CNG(NGV) ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ จึงลอยตัว เต็มเพดานรถ....และสะสมรวมตัวอยู่ที่หลังคารถ ภายในตัวรถ รวมกับผู้โดยสารในรถทุกๆ คน..ไม่มีทางระบายออก
เมื่อเกิดประกายไฟ....
หากเพียงเจ้าของรถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย วันนี้เราคงไม่ต้องเสียน้ำตา ไม่ว่าใคร จะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่มีใครสมควรเสียชีวิตด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาณในความปลอดภัยทั้งสิ้น
ผู้ร้ายตัวจริง จึงเป็นใครก็ตามที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของความปลอดภัย
หาใช่.. การใช้แก๊ส
หาใช่.. การทัศนศึกษา
ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในกรณีเพลิงไหม้รถทัศนศึกษา ด้วยความคาราวะอย่างสุดหัวใจ
ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เอาไว้เตือนตัวเอง และคนที่ผ่านมาอ่าน
ในฐานะ อดีต Columnist นิตยสาร Gas for Cars นิตยสารเกี่ยวกับแก๊สรถยนต์มาหลายปี ผ่านละลอกคลื่นขึ้น-ลงของแก๊สรถยนต์มานาน มีโอกาสได้ศึกษา สัมภาษณ์ พูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ Gas รถยนต์, เจ้าของอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์, วิศวกรแก๊สรถยนต์ เลยไปถึงช่างติดตั้งแก๊สรถยนต์, ผู้ตรวจสภาพแก๊สรถยนต์ ยาวถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวกับแก๊สรถยนต์ และในฐานะของ คนขับรถติดแก๊ส ขอฟันธงว่า
"แก๊สอันตราย" ... ต่อเมื่อคนใช้แก๊ส ไม่เคารพความปลอดภัย
จากรายละเอียดรถบัสที่ปรากฎตามสื่อ
- รถมีการใช้งาน คัสซี มาตั้้งแต่ปี 2513 (หรือใช้โครงรถมาแล้ว 54 ปี)
- มีการติดตั้้งถังแก๊ส CNG (NGV) สูงถึง 11 ถัง จากการขออนุญาตไว้เพียง 6 ถัง
- เกิดเหตุ เพลาล้อรถหัก ครูดกับพื้นถนน
- ท่อแก๊สหลุด ทำให้แก๊สกระจายตัวในห้องโดยสาร
- เกิดประกายไฟ
การจดทะเบียนรถ ในเอกสารทะเบียนรถจะระบุ "เลขตัวถัง" ที่เป็นเลขที่ตีประทับไว้บนแชสซีของรถ ไม่ว่ารถบัสจะถูกดัดแปลงไปกี่ครั้ง หากยังใช้เลขตัวถังเดิม นั่นก็แปลว่า โครงรถ ใช้มาแล้วกว่า 50 ปี
แก๊ส CNG(NGV) เป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงมากๆ ทำให้ถังแก๊สต้องทำด้วยเหล็กหนา เพื่อให้สามารถรับแรงดันแก๊สได้ นั่นแปลว่า ถัง CNG(NGV) แต่ละใบ "หนักมาก!"
โดยถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร จะมีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78-80 กิโลกรัม ซึ่งถัง 70 ลิตร คือถังสำหรับรถยนต์ทั่วไป ไม่ใช่กับรถโดยสาร ถังแก๊สสำหรับรถโดยสาร รวมแก๊สแล้ว แต่ละใบจะหนักประมาณ 120 กิโลกรัม
ถังแก๊ส 11 ใบ น้ำหนักรวมจึงทำให้รถแบกน้ำหนัก 880 - 1,320 กิโลกรัม หรือรถต้องรับน้ำหนัก 1 ตันเป็น Default ยังไม่รวมน้ำหนักเครื่องยนต์ อุปกรณ์เสริมต่างๆ บนรถ และ "ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร" ทั้งๆ ที่หากทำตามที่จดทะเบียนไว้ รถจะแบกน้ำหนักเพียง 480-720 กิโลกรัมเท่านั้น (เติมแก๊สเต็มยังหนักไม่เท่า น้ำหนักรวมถังเปล่าๆ 11 ใบบนรถเลย)
เมื่อแบกน้ำหนักมากๆ เพลาล้ออายุ 50 ปี วิ่งทุกวันๆ จะทนไหวหรือ??
ไม่ว่าท่อแก๊สจะหลุดก่อนเพลาครูดถนน หรือรถครูดถนนก่อนท่อแก๊สหลุด ถังที่ไม่ได้ติดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย วาล์วเซฟตี้ของถังแก๊สจึงไม่ถูกต่ออย่างถูกต้อง ทำให้แก๊ส CNG(NGV) ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ จึงลอยตัว เต็มเพดานรถ....และสะสมรวมตัวอยู่ที่หลังคารถ ภายในตัวรถ รวมกับผู้โดยสารในรถทุกๆ คน..ไม่มีทางระบายออก
เมื่อเกิดประกายไฟ....
หากเพียงเจ้าของรถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย วันนี้เราคงไม่ต้องเสียน้ำตา ไม่ว่าใคร จะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่มีใครสมควรเสียชีวิตด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาณในความปลอดภัยทั้งสิ้น
ผู้ร้ายตัวจริง จึงเป็นใครก็ตามที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของความปลอดภัย
หาใช่.. การใช้แก๊ส
หาใช่.. การทัศนศึกษา
อันตราย...ติดหลัง?
ขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในกรณีเพลิงไหม้รถทัศนศึกษา ด้วยความคาราวะอย่างสุดหัวใจ
ตั้งใจเขียนเรื่องนี้เอาไว้เตือนตัวเอง และคนที่ผ่านมาอ่าน
ในฐานะ อดีต Columnist นิตยสาร Gas for Cars นิตยสารเกี่ยวกับแก๊สรถยนต์มาหลายปี ผ่านละลอกคลื่นขึ้น-ลงของแก๊สรถยนต์มานาน มีโอกาสได้ศึกษา สัมภาษณ์ พูดคุยกับเจ้าของแบรนด์ Gas รถยนต์, เจ้าของอู่ติดตั้งแก๊สรถยนต์, วิศวกรแก๊สรถยนต์ เลยไปถึงช่างติดตั้งแก๊สรถยนต์, ผู้ตรวจสภาพแก๊สรถยนต์ ยาวถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวกับแก๊สรถยนต์ และในฐานะของ คนขับรถติดแก๊ส ขอฟันธงว่า
"แก๊สอันตราย" ... ต่อเมื่อคนใช้แก๊ส ไม่เคารพความปลอดภัย
จากรายละเอียดรถบัสที่ปรากฎตามสื่อ
- รถมีการใช้งาน คัสซี มาตั้้งแต่ปี 2513 (หรือใช้โครงรถมาแล้ว 54 ปี)
- มีการติดตั้้งถังแก๊ส CNG (NGV) สูงถึง 11 ถัง จากการขออนุญาตไว้เพียง 6 ถัง
- เกิดเหตุ เพลาล้อรถหัก ครูดกับพื้นถนน
- ท่อแก๊สหลุด ทำให้แก๊สกระจายตัวในห้องโดยสาร
- เกิดประกายไฟ
การจดทะเบียนรถ ในเอกสารทะเบียนรถจะระบุ "เลขตัวถัง" ที่เป็นเลขที่ตีประทับไว้บนแชสซีของรถ ไม่ว่ารถบัสจะถูกดัดแปลงไปกี่ครั้ง หากยังใช้เลขตัวถังเดิม นั่นก็แปลว่า โครงรถ ใช้มาแล้วกว่า 50 ปี
แก๊ส CNG(NGV) เป็นแก๊สที่มีแรงดันสูงมากๆ ทำให้ถังแก๊สต้องทำด้วยเหล็กหนา เพื่อให้สามารถรับแรงดันแก๊สได้ นั่นแปลว่า ถัง CNG(NGV) แต่ละใบ "หนักมาก!"
โดยถังเหล็กขนาดความจุประมาณ 70 ลิตร จะมีน้ำหนักประมาณ 63 กิโลกรัม เมื่อรวมกับน้ำหนักก๊าซ NGV ที่บรรจุเต็มถังอีกประมาณ 15 กิโลกรัม จะมีน้ำหนักรวมประมาณ 78-80 กิโลกรัม ซึ่งถัง 70 ลิตร คือถังสำหรับรถยนต์ทั่วไป ไม่ใช่กับรถโดยสาร ถังแก๊สสำหรับรถโดยสาร รวมแก๊สแล้ว แต่ละใบจะหนักประมาณ 120 กิโลกรัม
ถังแก๊ส 11 ใบ น้ำหนักรวมจึงทำให้รถแบกน้ำหนัก 880 - 1,320 กิโลกรัม หรือรถต้องรับน้ำหนัก 1 ตันเป็น Default ยังไม่รวมน้ำหนักเครื่องยนต์ อุปกรณ์เสริมต่างๆ บนรถ และ "ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร" ทั้งๆ ที่หากทำตามที่จดทะเบียนไว้ รถจะแบกน้ำหนักเพียง 480-720 กิโลกรัมเท่านั้น (เติมแก๊สเต็มยังหนักไม่เท่า น้ำหนักรวมถังเปล่าๆ 11 ใบบนรถเลย)
เมื่อแบกน้ำหนักมากๆ เพลาล้ออายุ 50 ปี วิ่งทุกวันๆ จะทนไหวหรือ??
ไม่ว่าท่อแก๊สจะหลุดก่อนเพลาครูดถนน หรือรถครูดถนนก่อนท่อแก๊สหลุด ถังที่ไม่ได้ติดตั้งถูกต้องตามกฎหมาย วาล์วเซฟตี้ของถังแก๊สจึงไม่ถูกต่ออย่างถูกต้อง ทำให้แก๊ส CNG(NGV) ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ จึงลอยตัว เต็มเพดานรถ....และสะสมรวมตัวอยู่ที่หลังคารถ ภายในตัวรถ รวมกับผู้โดยสารในรถทุกๆ คน..ไม่มีทางระบายออก
เมื่อเกิดประกายไฟ....
หากเพียงเจ้าของรถทุกคันที่วิ่งอยู่บนท้องถนน ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย วันนี้เราคงไม่ต้องเสียน้ำตา ไม่ว่าใคร จะเด็ก หรือผู้ใหญ่ ไม่มีใครสมควรเสียชีวิตด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาณในความปลอดภัยทั้งสิ้น
ผู้ร้ายตัวจริง จึงเป็นใครก็ตามที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของความปลอดภัย
หาใช่.. การใช้แก๊ส
หาใช่.. การทัศนศึกษา
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
173 มุมมอง
0 รีวิว