• น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากที่ ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้เดินทางจากประเทศศรีลังกา มาถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 และครบกำหนดกักตัว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 และย้ายเข้ามาตรวจรักษาอาการป่วย บาดเจ็บ ที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง จนถึงปัจจุบันครบรอบ 1 ปี 4 เดือนแล้ว อาการป่วยของช้างยังมีอาการขาหน้าด้านซ้าย มีอาการเหยียดตึงอย่างเห็นได้ชัด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/travel/detail/9670000111719

    #MGROnline #ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย #สถาบันคชบาลแห่งชาติ #ลำปาง #ช้าง #พลายศักดิ์สุรินทร์
    น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากที่ ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้เดินทางจากประเทศศรีลังกา มาถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 และครบกำหนดกักตัว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 และย้ายเข้ามาตรวจรักษาอาการป่วย บาดเจ็บ ที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง จนถึงปัจจุบันครบรอบ 1 ปี 4 เดือนแล้ว อาการป่วยของช้างยังมีอาการขาหน้าด้านซ้าย มีอาการเหยียดตึงอย่างเห็นได้ชัด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9670000111719 • #MGROnline #ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย #สถาบันคชบาลแห่งชาติ #ลำปาง #ช้าง #พลายศักดิ์สุรินทร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 0 รีวิว
  • บันทึกเตือนความจำ
    ภัยธรรมชาติที่เกิดจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้วนำมาซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ไหลหลั่งลงสู่แหล่งน้ำ จำนวนมหาศาล ไหลบ่าจากป่าสู่เมืองในที่ลุ่มต่ำ ในทางกลับกันเชื่อแน่ว่าไม่ช้าก็เร็วเราน่าจะเจอกับเหตุการณ์ในขั้วตรงกันข้ามคือแล้ง ร้อนสุดโต่งแน่

    กันยายนต่อเนื่องถึงตุลาคม ฝนตกต่อเนื่องจนเกิดมวลน้ำจำนวนมหาศาลจากต้นน้ำแม่แตง ไหลเข้าสู่ลำน้ำแม่แตง สายน้ำแห่งการท่องเที่ยวธรรมชาติของเชียงใหม่ ที่ตลอดสองข้างลำน้ำมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก รวมทั้งปางช้างต่างๆเรียงรายตลอดลำน้ำแม่แตง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาจากรายงานของสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (๒๕๕๘-๒๕๖๗) พบว่ามีปางช้างถึง ๔๙ ปาง (ช้างจำนวน ๕๔๖ เชือก)

    เหตุระทึกเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่บ่ายวันพฤหัสที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ มวลน้ำจำนวนมากไหลบ่าล้นตลิ่งทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่แตงอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องจนถึงเช้ามืดวันศุกร์ น้ำเพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว ช้างส่วนใหญ่ถูกอพยพนำขึ้นไปผูกล่ามไว้ในที่สูง ในขณะที่ปางช้างขนาดใหญ่ (มีช้างมากกว่าหนึ่งร้อยเชือก) ของมูลนิธิช้างและสิ่งแวดล้อม ยังคงสาละวนและพยายามขนย้ายช้างและสัตว์อื่นๆอีกนับพันอาทิ สุนัข แมว แพะ โค กระบือ และสุกร ซึ่งยังคงไม่ทันการณ์ เป็นผลให้มวลน้ำจำนวนมหึมาไหลเข้าสู่ปางช้าง (ระดับน้ำสูงมากกว่า ๑.๕-๒.๐ เมตร เมื่อประเมินด้วยสายตา) การขนย้ายช้างนับร้อย เป็นเรื่องที่ยากและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมากทั้งชีวิตคนและช้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อช้างเหล่านี้มิได้ถูกฝึกหรือสื่อสารกับคนเลี้ยงอย่างใกล้ชิดมาก่อน เราเริ่มจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะพอช่วยเหลือสนับสนุนอะไรได้บ้าง

    คณะของสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เริ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเมื่อเช้าตรู่ของวันศุกร์ จากการร้องขอของเจ้าหน้าที่มูลนิธิทางโทรศัพท์ โดยเบื้องต้นรับทราบมาว่าให้ช่วยเคลื่อนย้ายและดูแลช้างเพศผู้ที่ยังอยู่ในคอกแต่ไม่สามารถออกมาได้ ในขณะที่ระดับน้ำกำลงัเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะทำงานถูกตามตัว รวมทีมและประชุมอย่างเร่งด่วน และออกเดินทางในช่วงสายของวันนั้น
    เมื่อแรกไปถึงพบว่าเส้นทางเข้าถึงปางช้างถูกตัดขาด ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก การติดต่อด้วยโทรศัพท์ไม่สามารถทำได้ ต้องสื่อสารผ่านวิทยุสื่อสารคลื่นสั้นเท่านั้น คณะจึงต้องรอจนถึงบ่ายแก่ๆจึงได้เรือจากหน่วยกู้ภัย จ.กาฬสินธิ์ ข้ามน้ำเพื่อไปดูช้างตัวผู้ในคอกต่างๆเพื่อประเมินสถานการณ์ เราพบว่าช้างตัวผู้ยังอยู่ครบทั้งสิบเชือก ในสภาพที่ช้างลอยคออยู่ภายในคอก แต่ที่แปลกใจคือยังมีช้างตัวเมียอีกหลายสิบเชือกติดค้างอยู่ในคอกด้วย บ้างก็พิการขาเป๋ ตาบอด และยังทราบอีกว่าช้างอีกหลายเชือกได้สูญหายลอยไปกับน้ำด้วย เมื่อช่วงก่อนหน้า ซึ่งต่อมาพบ
    ซากของช้างฟ้าใส(วันเฉลิม)และพลอยทอง เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งต่อการสูญเสีย
    คณะจึงตัดสินใจแบ่งทีมงานออกเป็น ๒ ทีมเพื่อช่วยเหลือช้างให้ครอบคลุมทั้งสองกลุ่ม

    การดำเนินการในภาวะวิกฤติและเร่งด่วนเช่นนี้
    โดยหลักการแล้ว หากพบว่าช้างกับควาญสามารถสื่อสารกันได้ก็จะให้ควาญช้างเป็นผู้นำและกำหนดทิศทางการเดินของช้างเพื่อความปลอดภัย เพราะช้างเองมักเดินเฉพาะเส้นทางที่เคยชิน ซึ่งในกรณีนี้ช้างมักคุ้นชินกับการเดินแบบอิสระในทุ่งกว้างที่อยู่ติดกับน้ำแม่แตง ที่กำลังไหลเชี่ยว นับว่าอันตรายอย่างยิ่ง ฉะนั้นจึงจำเป็นที่ช้างเหล่านี้จะต้องมีควาญเป็นผู้ควบคุมทิศทาง

    ในกรณีช้างเพศเมียหรือช้างที่ไม่ดุร้าย
    หากช้างกับควาญมิได้มีปฏิสัมพันธ์กันมาก่อน หรือมีแต่เพียงเล็กน้อย ในทางทฤษฎีที่มีการเคลื่อนย้ายช้างป่ามักวางยาซึมและนำทางด้วยผ้าพรางแสงตลอดทางเดินเพื่อนำช้างไปยังจุดที่ต้องการ แต่ในกรณีนี้มีน้ำท่วมสูงจึงค่อนข้างเสี่ยงที่จะวางยาซึม (ยาซึมช้างมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ ทำให้งวงตกลงสู่พื้น) โดยในวันนั้นคณะทำงานที่ประกอบด้วยสัตวแพทย์ ควาญช้างจากสถาบันคชบาลแห่งชาติ ควาญพี่เบิ้ม(ปางที่อยู่ติดกัน) และภัทรฟาร์ม ซึ่งมีความชำนาญ ร่วมกับควาญช้างของมูลนิธิช่วยกันควบคุมและกำหนดเส้นทางด้วยเชือกให้ช้างเดินไปยังจุดที่ปลอดภัย แต่ก็ทุลักทุเลพอควรด้วยเพราะควาญกับช้างสื่อสารกันแทบไม่รู้เรื่อง วันนั้นทีมเราช่วยเหลือช้างตัวเมียได้บางส่วนจนกระทั่งมืดค่ำจึงยุติภารกิจในเวลา ๑๙.๓๐ น.

    ในกรณีช้างเพศผู้ เราไม่สามารถวางยาซึมช้างในขณะที่ยังอยู่ในน้ำได้ ซึ่งจากข้อมูลที่ทีมงานได้รับพบว่าช้างทุกเชือกไม่เคยผ่านการฝึกและบางเชือกมีประวัติทำร้ายคนมาก่อน จึงเกิดคำถามว่าหากเคลื่อนย้ายออกมาได้แล้วจะนำช้างไปผูกล่ามอย่างไร ที่ไหน ทั้งในภาวะซึมหรือปกติ ด้วยเพราะช้างไม่คุ้นเคยกับคนหรือช้างใดๆ ช้างแต่ละเชือกอยุ่ตัวเดียวในคอกมานาน ซึ่งจากการประเมินพบว่าช้างทุกเชือกยังมีสภาพร่างกายปกติ (ยกเว้นพลายขุนเดชที่บาดเจ็บที่ขาหน้า) ดังนั้นจึงใช้วิธีวางแท่นพยุงให้ช้างสามารถใช้งวงยึดพยุงมิให้จมน้ำ หากพบว่าระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก เพราะจากประสบการณ์ตรงของคณะทำงานพบว่าช้างมักลอยน้ำและอยู่ในน้ำได้นานถึง ๒ วัน ๑ คืนในสภาพน้ำนิ่ง โดยไม่เกิดอันตราย ซึ่งจากสภาพช้างภายในคอกพบว่ากระแสน้ำยังคงไหลแต่ไม่เชี่ยวมากนักเมื่อเทียบกับในลำน้ำ ช้างน่าจะยังพอพยุงตัวเองไว้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ด้วยเพราะธรรมชาติของน้ำทางภาคเหนือมักมาเร็วไปเร็ว ไม่น่าจะท่วมนาน เราจึงกำหนดให้ทำแพต้นกล้วยไว้ให้ช้างเพื่อช่วยพยุง ต้นกล้วยยังเป็นอาหารและมีน้ำช่วยประทังชีวิตให้ช้างได้อีกด้วย ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังพลายขุนเดชเป็นพิเศษ
    โชคดีในช่วงเย็นของวันเดียวกันระดับน้ำเริ่มลดระดับลง เป็นสัญญาณว่าน้ำน่าจะลดลงเป็นปกติในไม่ช้า

    วันรุ่งขึ้นระดับน้ำลดลง เหลือเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต่ำ ช้างเพศเมียถูกเคลื่อนย้ายขึ้นที่สูง ช้างตัวผู้ยังอยู่ในคอกของตัวเอง แต่ทุกตัวยังมีชีวิตอยู่แม้บางเชือกอาจแสดงอาการอ่อนเพลียบ้าง ดังนั้นการฟื้นฟูสุขภาพกาย และสภาวะจิตใจของช้างและควาญจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโรคต่างๆที่มาหลังน้ำท่วม ก็ดี น้ำป่าที่อาจเข้าสู่ร่างกายช้างในช่วงก่อนหน้าทั้งทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารก็ดี ดินโคลนที่มีรสชาดเย้ายวนต่อการลิ้มลองของช้างก็ดี หรือแม้กระทั่งอาหารที่อาจปนเปื้อน ที่ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วยของช้างเหล่านี้ได้ และสภาพจิตใจของช้างที่อาจตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เหล่านี้จำเป็นต้องฟื้นฟูและเฝ้าระวังกันต่อไป

    สรุปยอดรวมช้างในปางก่อนเกิดเหตุ จำนวน ๑๑๘ เชือก ภายหลังน้ำลด พบช้างเพศเมีย ๑๐๖ เชือก เป็นช้างเพศผู้ ๑๐ เชือก สูญหายและเสียชีวิต ๒ เชือก

    วันนี้ฝนตกเบาบางลงแล้ว แต่หากเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันอีก การเรียนรู้บทเรียนและเตรียมแผนเผชิญเหตุทั้งของปางและผู้เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่ต้องจัดทำ
    แม้ในวันนี้ช้างบ้านของไทยจะมีสถานะเป็นทรัพย์สินของผู้ถือครองตามกฎหมาย (พรบ.สัตว์พาหนะ ) แต่จากเหตุการณ์หลายๆครั้งที่ผ่านมา ล้วนกระทบจิตใจคนไทยส่วนใหญ่ หลายส่วนยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองติดตามอย่างใกล้ชิด จึงเป็นสิ่งที่ทุกท่านพึงตระหนักให้ดีว่า "ช้าง" มีสถานะยิ่งกว่าทรัพย์สิน แต่เขาคือสิ่งที่มีคุณค่า ที่สูงค่าอันประเมินมูลค่ามิได้ ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยเราทุกคน

    ปล. ขอบคุณภาพมุมสูงจากคุณน้ำหนึ่ง

    https://www.facebook.com/share/p/zPKFtdBiFkUnLwdL/
    บันทึกเตือนความจำ ภัยธรรมชาติที่เกิดจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้วนำมาซึ่งปริมาณน้ำฝนที่ไหลหลั่งลงสู่แหล่งน้ำ จำนวนมหาศาล ไหลบ่าจากป่าสู่เมืองในที่ลุ่มต่ำ ในทางกลับกันเชื่อแน่ว่าไม่ช้าก็เร็วเราน่าจะเจอกับเหตุการณ์ในขั้วตรงกันข้ามคือแล้ง ร้อนสุดโต่งแน่ กันยายนต่อเนื่องถึงตุลาคม ฝนตกต่อเนื่องจนเกิดมวลน้ำจำนวนมหาศาลจากต้นน้ำแม่แตง ไหลเข้าสู่ลำน้ำแม่แตง สายน้ำแห่งการท่องเที่ยวธรรมชาติของเชียงใหม่ ที่ตลอดสองข้างลำน้ำมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก รวมทั้งปางช้างต่างๆเรียงรายตลอดลำน้ำแม่แตง ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาจากรายงานของสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (๒๕๕๘-๒๕๖๗) พบว่ามีปางช้างถึง ๔๙ ปาง (ช้างจำนวน ๕๔๖ เชือก) เหตุระทึกเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่บ่ายวันพฤหัสที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ มวลน้ำจำนวนมากไหลบ่าล้นตลิ่งทั้งสองฝั่งของลำน้ำแม่แตงอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องจนถึงเช้ามืดวันศุกร์ น้ำเพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว ช้างส่วนใหญ่ถูกอพยพนำขึ้นไปผูกล่ามไว้ในที่สูง ในขณะที่ปางช้างขนาดใหญ่ (มีช้างมากกว่าหนึ่งร้อยเชือก) ของมูลนิธิช้างและสิ่งแวดล้อม ยังคงสาละวนและพยายามขนย้ายช้างและสัตว์อื่นๆอีกนับพันอาทิ สุนัข แมว แพะ โค กระบือ และสุกร ซึ่งยังคงไม่ทันการณ์ เป็นผลให้มวลน้ำจำนวนมหึมาไหลเข้าสู่ปางช้าง (ระดับน้ำสูงมากกว่า ๑.๕-๒.๐ เมตร เมื่อประเมินด้วยสายตา) การขนย้ายช้างนับร้อย เป็นเรื่องที่ยากและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียมากทั้งชีวิตคนและช้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อช้างเหล่านี้มิได้ถูกฝึกหรือสื่อสารกับคนเลี้ยงอย่างใกล้ชิดมาก่อน เราเริ่มจับตาอย่างใกล้ชิดว่าจะพอช่วยเหลือสนับสนุนอะไรได้บ้าง คณะของสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เริ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเมื่อเช้าตรู่ของวันศุกร์ จากการร้องขอของเจ้าหน้าที่มูลนิธิทางโทรศัพท์ โดยเบื้องต้นรับทราบมาว่าให้ช่วยเคลื่อนย้ายและดูแลช้างเพศผู้ที่ยังอยู่ในคอกแต่ไม่สามารถออกมาได้ ในขณะที่ระดับน้ำกำลงัเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะทำงานถูกตามตัว รวมทีมและประชุมอย่างเร่งด่วน และออกเดินทางในช่วงสายของวันนั้น เมื่อแรกไปถึงพบว่าเส้นทางเข้าถึงปางช้างถูกตัดขาด ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก การติดต่อด้วยโทรศัพท์ไม่สามารถทำได้ ต้องสื่อสารผ่านวิทยุสื่อสารคลื่นสั้นเท่านั้น คณะจึงต้องรอจนถึงบ่ายแก่ๆจึงได้เรือจากหน่วยกู้ภัย จ.กาฬสินธิ์ ข้ามน้ำเพื่อไปดูช้างตัวผู้ในคอกต่างๆเพื่อประเมินสถานการณ์ เราพบว่าช้างตัวผู้ยังอยู่ครบทั้งสิบเชือก ในสภาพที่ช้างลอยคออยู่ภายในคอก แต่ที่แปลกใจคือยังมีช้างตัวเมียอีกหลายสิบเชือกติดค้างอยู่ในคอกด้วย บ้างก็พิการขาเป๋ ตาบอด และยังทราบอีกว่าช้างอีกหลายเชือกได้สูญหายลอยไปกับน้ำด้วย เมื่อช่วงก่อนหน้า ซึ่งต่อมาพบ ซากของช้างฟ้าใส(วันเฉลิม)และพลอยทอง เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งต่อการสูญเสีย คณะจึงตัดสินใจแบ่งทีมงานออกเป็น ๒ ทีมเพื่อช่วยเหลือช้างให้ครอบคลุมทั้งสองกลุ่ม การดำเนินการในภาวะวิกฤติและเร่งด่วนเช่นนี้ โดยหลักการแล้ว หากพบว่าช้างกับควาญสามารถสื่อสารกันได้ก็จะให้ควาญช้างเป็นผู้นำและกำหนดทิศทางการเดินของช้างเพื่อความปลอดภัย เพราะช้างเองมักเดินเฉพาะเส้นทางที่เคยชิน ซึ่งในกรณีนี้ช้างมักคุ้นชินกับการเดินแบบอิสระในทุ่งกว้างที่อยู่ติดกับน้ำแม่แตง ที่กำลังไหลเชี่ยว นับว่าอันตรายอย่างยิ่ง ฉะนั้นจึงจำเป็นที่ช้างเหล่านี้จะต้องมีควาญเป็นผู้ควบคุมทิศทาง ในกรณีช้างเพศเมียหรือช้างที่ไม่ดุร้าย หากช้างกับควาญมิได้มีปฏิสัมพันธ์กันมาก่อน หรือมีแต่เพียงเล็กน้อย ในทางทฤษฎีที่มีการเคลื่อนย้ายช้างป่ามักวางยาซึมและนำทางด้วยผ้าพรางแสงตลอดทางเดินเพื่อนำช้างไปยังจุดที่ต้องการ แต่ในกรณีนี้มีน้ำท่วมสูงจึงค่อนข้างเสี่ยงที่จะวางยาซึม (ยาซึมช้างมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ ทำให้งวงตกลงสู่พื้น) โดยในวันนั้นคณะทำงานที่ประกอบด้วยสัตวแพทย์ ควาญช้างจากสถาบันคชบาลแห่งชาติ ควาญพี่เบิ้ม(ปางที่อยู่ติดกัน) และภัทรฟาร์ม ซึ่งมีความชำนาญ ร่วมกับควาญช้างของมูลนิธิช่วยกันควบคุมและกำหนดเส้นทางด้วยเชือกให้ช้างเดินไปยังจุดที่ปลอดภัย แต่ก็ทุลักทุเลพอควรด้วยเพราะควาญกับช้างสื่อสารกันแทบไม่รู้เรื่อง วันนั้นทีมเราช่วยเหลือช้างตัวเมียได้บางส่วนจนกระทั่งมืดค่ำจึงยุติภารกิจในเวลา ๑๙.๓๐ น. ในกรณีช้างเพศผู้ เราไม่สามารถวางยาซึมช้างในขณะที่ยังอยู่ในน้ำได้ ซึ่งจากข้อมูลที่ทีมงานได้รับพบว่าช้างทุกเชือกไม่เคยผ่านการฝึกและบางเชือกมีประวัติทำร้ายคนมาก่อน จึงเกิดคำถามว่าหากเคลื่อนย้ายออกมาได้แล้วจะนำช้างไปผูกล่ามอย่างไร ที่ไหน ทั้งในภาวะซึมหรือปกติ ด้วยเพราะช้างไม่คุ้นเคยกับคนหรือช้างใดๆ ช้างแต่ละเชือกอยุ่ตัวเดียวในคอกมานาน ซึ่งจากการประเมินพบว่าช้างทุกเชือกยังมีสภาพร่างกายปกติ (ยกเว้นพลายขุนเดชที่บาดเจ็บที่ขาหน้า) ดังนั้นจึงใช้วิธีวางแท่นพยุงให้ช้างสามารถใช้งวงยึดพยุงมิให้จมน้ำ หากพบว่าระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก เพราะจากประสบการณ์ตรงของคณะทำงานพบว่าช้างมักลอยน้ำและอยู่ในน้ำได้นานถึง ๒ วัน ๑ คืนในสภาพน้ำนิ่ง โดยไม่เกิดอันตราย ซึ่งจากสภาพช้างภายในคอกพบว่ากระแสน้ำยังคงไหลแต่ไม่เชี่ยวมากนักเมื่อเทียบกับในลำน้ำ ช้างน่าจะยังพอพยุงตัวเองไว้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ด้วยเพราะธรรมชาติของน้ำทางภาคเหนือมักมาเร็วไปเร็ว ไม่น่าจะท่วมนาน เราจึงกำหนดให้ทำแพต้นกล้วยไว้ให้ช้างเพื่อช่วยพยุง ต้นกล้วยยังเป็นอาหารและมีน้ำช่วยประทังชีวิตให้ช้างได้อีกด้วย ทั้งนี้ให้เฝ้าระวังพลายขุนเดชเป็นพิเศษ โชคดีในช่วงเย็นของวันเดียวกันระดับน้ำเริ่มลดระดับลง เป็นสัญญาณว่าน้ำน่าจะลดลงเป็นปกติในไม่ช้า วันรุ่งขึ้นระดับน้ำลดลง เหลือเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต่ำ ช้างเพศเมียถูกเคลื่อนย้ายขึ้นที่สูง ช้างตัวผู้ยังอยู่ในคอกของตัวเอง แต่ทุกตัวยังมีชีวิตอยู่แม้บางเชือกอาจแสดงอาการอ่อนเพลียบ้าง ดังนั้นการฟื้นฟูสุขภาพกาย และสภาวะจิตใจของช้างและควาญจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะโรคต่างๆที่มาหลังน้ำท่วม ก็ดี น้ำป่าที่อาจเข้าสู่ร่างกายช้างในช่วงก่อนหน้าทั้งทางเดินหายใจ ทางเดินอาหารก็ดี ดินโคลนที่มีรสชาดเย้ายวนต่อการลิ้มลองของช้างก็ดี หรือแม้กระทั่งอาหารที่อาจปนเปื้อน ที่ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วยของช้างเหล่านี้ได้ และสภาพจิตใจของช้างที่อาจตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การไม่คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เหล่านี้จำเป็นต้องฟื้นฟูและเฝ้าระวังกันต่อไป สรุปยอดรวมช้างในปางก่อนเกิดเหตุ จำนวน ๑๑๘ เชือก ภายหลังน้ำลด พบช้างเพศเมีย ๑๐๖ เชือก เป็นช้างเพศผู้ ๑๐ เชือก สูญหายและเสียชีวิต ๒ เชือก วันนี้ฝนตกเบาบางลงแล้ว แต่หากเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันอีก การเรียนรู้บทเรียนและเตรียมแผนเผชิญเหตุทั้งของปางและผู้เกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่ต้องจัดทำ แม้ในวันนี้ช้างบ้านของไทยจะมีสถานะเป็นทรัพย์สินของผู้ถือครองตามกฎหมาย (พรบ.สัตว์พาหนะ ) แต่จากเหตุการณ์หลายๆครั้งที่ผ่านมา ล้วนกระทบจิตใจคนไทยส่วนใหญ่ หลายส่วนยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองติดตามอย่างใกล้ชิด จึงเป็นสิ่งที่ทุกท่านพึงตระหนักให้ดีว่า "ช้าง" มีสถานะยิ่งกว่าทรัพย์สิน แต่เขาคือสิ่งที่มีคุณค่า ที่สูงค่าอันประเมินมูลค่ามิได้ ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยเราทุกคน ปล. ขอบคุณภาพมุมสูงจากคุณน้ำหนึ่ง https://www.facebook.com/share/p/zPKFtdBiFkUnLwdL/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 149 มุมมอง 0 รีวิว