• รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
    ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป

    เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว

    จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้

    วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ?
    แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
    ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง

    ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540

    สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ

    ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง

    โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

    เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

    อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน

    จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต
    ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล

    พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น

    - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6%

    - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี

    - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น

    แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้

    ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567

    แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ?

    สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย

    แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567

    ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น

    ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท
    ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท
    ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท

    เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น

    ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี

    นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท

    Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน
    ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ
    ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก

    รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น
    - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ
    - PLN บริษัทไฟฟ้า
    - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม

    แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล

    เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73%

    เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย
    ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ

    จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย

    ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%)

    ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5%

    โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง

    ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)

    อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย

    แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว
    ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน

    สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้..

    ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ

    รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara
    ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
    ╔═══════════╗
    ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download
    ╚═══════════╝
    ติดตามลงทุนแมนได้ที่
    Website - longtunman.com
    Blockdit - blockdit.com/longtunman
    Facebook - facebook.com/longtunman
    Twitter - twitter.com/longtunman
    Instagram - instagram.com/longtunman
    YouTube - youtube.com/longtunman
    TikTok - tiktok.com/@longtunman
    Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
    Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829
    Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
    References
    -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com
    -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played
    -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators
    -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html
    -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    รายงานวิเคราะห์จากเพจลงทุนแมน เกี่ยวกับสรุปวิกฤติค่าเงิน อินโดนีเซีย อ่อนสุดตั้งแต่ต้มยำกุ้ง ในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน ถ้าบอกว่า อินโดนีเซียยังเป็นประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง ที่ทุกอย่างกำลังดูดี โพสต์นี้อาจทำให้หลายคนมองภาพประเทศนี้เปลี่ยนไป เพราะตอนนี้ อินโดนีเซียกำลังเจอวิกฤติเงินรูเปียอ่อนค่าอย่างหนัก ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เลยทีเดียว จนธนาคารกลางอินโดนีเซีย ต้องนำเงินทุนสำรองมาพยุงค่าเงินรูเปียไม่ให้อ่อนค่าไปมากกว่านี้ วิกฤติค่าเงินของอินโดนีเซียรุนแรงแค่ไหน ? แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงไปแตะระดับ 16,600 รูเปียต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่ามากที่สุด ระดับเดียวกับช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 สถานการณ์ของอินโดนีเซียในครั้งนี้ อาจไม่ได้ซ้ำรอยกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เริ่มต้นจากการถล่มค่าเงินในภูมิภาค แต่เกิดขึ้นจากรากฐานเศรษฐกิจของอินโดนีเซียที่อ่อนแอลง และถูกซ้ำเติมด้วยนโยบายภาครัฐ ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับเงินสนับสนุนและการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากถึง 1.88 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และมี GDP เติบโตเฉลี่ย 5% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง บวกกับเศรษฐกิจที่เติบโตดี มีฐานประชากรกว่า 281 ล้านคน คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อีกทั้งรัฐบาลอินโดนีเซีย ดำเนินนโยบายแบบขาดดุลตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอินโดนีเซียมีกรอบนโยบายขาดดุลงบประมาณราว -3% ต่อ GDP อย่างยาวนาน จนมาถึงยุคของ ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงปลายปี 2567 ก็ยังคงเดินตามแบบแผนเดิม ๆ คือ การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล พร้อมกับนโยบายประชานิยมหลากหลายอย่าง ที่เขาได้ประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็น - ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 6.5% สูงกว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่เสนอไว้ 6% - อาหารกลางวันฟรี ให้กับประชาชนกว่า 83 ล้านคน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก และสตรีมีครรภ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 950,000 ล้านบาทต่อปี - สั่งเบรกอัตราภาษี VAT ที่จะต้องปรับขึ้นเป็น 12% ในสินค้าทุกรายการ เป็นบังคับใช้เพียงสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แน่นอนว่า การทำนโยบายประชานิยม ก็ยิ่งกดดันให้อินโดนีเซียต้องขาดดุลมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเลยกรอบ 3% ต่อ GDP ที่วางไว้ ซึ่งในปี 2568 รัฐบาลอินโดนีเซีย ตั้งเป้างบประมาณขาดดุลไว้ที่ 2.53% เพิ่มขึ้นจาก 2.29% ในปี 2567 แล้วภาพเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไร ? สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ในปี 2567 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับชาติอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ หรือ มาเลเซีย แต่หากดูในภาพรวม จะพบว่า GDP ของอินโดนีเซีย กำลังเติบโตลดลงทีละน้อย จาก 5.31% ในปี 2565 เหลือ 5.03% ในปี 2567 ในขณะที่รายได้ของรัฐ เริ่มส่งสัญญาณโตไม่ทันรายจ่าย ทำให้ภาครัฐขาดดุลมากขึ้น ปี 2565 ขาดดุล 943,236 ล้านบาท ปี 2566 ขาดดุล 994,387 ล้านบาท ปี 2567 ขาดดุล 1,070,091 ล้านบาท เมื่อมีแนวโน้มขาดดุลงบประมาณมากขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจกลับเริ่มอ่อนแรง การกู้เงินมาใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้แต่ประธานาธิบดีปราโบโวเอง ก็เคยบอกไว้ว่ามีแผนจะปรับระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP อินโดนีเซีย ไปอยู่ในระดับ 50% ภายในเวลา 5 ปี นอกจากเรื่องการขาดดุลอย่างต่อเนื่องแล้ว ประธานาธิบดีคนนี้ ยังต้องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ชื่อว่า Danantara ที่คาดว่าจะมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการกว่า 30 ล้านล้านบาท Danantara มีโมเดลคล้าย Temasek กองทุน ความมั่งคั่งแห่งชาติสิงคโปร์ ที่เน้นนำเงินของประเทศ ไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึง รัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย กว่า 40 แห่ง ที่จะถูกรวมเข้ามาเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุน เช่น - Pertamina บริษัทน้ำมันและก๊าซ - PLN บริษัทไฟฟ้า - Telkom Indonesia บริษัทโทรคมนาคม แต่ปัญหาคือ กองทุนนี้ต้องใช้เงินมหาศาลในการจัดตั้งกองทุน ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลอินโดนีเซียทำ เป็นความเสี่ยงที่หลายคนกังวล เพราะรัฐบาลหาเงินมาทำกองทุนนี้ ด้วยการตัดงบประมาณบริการสาธารณะที่จำเป็น รวมถึงการลดเงินทุนสำหรับการศึกษาระดับประถมลง 24% และลดงบประมาณการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยลง 39% ลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพลง 19% และที่สำคัญคือ การลดโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานลง 73% เรียกได้ว่า กองทุนนี้มีเงินตั้งต้นจากการลดค่าใช้จ่าย ในเศรษฐกิจ ที่เป็นอนาคตสำคัญของประเทศ จากปัญหาหลักทั้ง 2 เรื่องนี้ นั่นก็คือ การขาดดุลงบประมาณ และการลดค่าใช้จ่ายที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกังวลกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจ และศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาวของอินโดนีเซีย ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย จนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย (IDX Composite) ปรับตัวลงไปแล้ว -10% นับจากต้นปี (ยังดีกว่าดัชนี SET ของไทยที่ -14%) ซึ่งวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียได้มีการประกาศหยุดซื้อขายหุ้นชั่วคราว หลังจากดัชนีหลักทรัพย์ร่วงไป -5% โดยแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ยังเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงอีกทาง ในที่สุด ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียก็อ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนตอนนี้อยู่ในระดับที่ต่ำสุด นับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้งในช่วงปี 2540 ไปแล้ว (ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยยังห่างไกลจากช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่อ่อนค่าลงไปแตะ 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกว่า เรื่องนี้ก็อาจเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา และความท้าทายทางเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลาย แต่ถ้ารัฐบาลอินโดนีเซียภายใต้ผู้นำที่ชื่อว่า ปราโบโว ซูเบียนโต ยังทำแบบเดิม ๆ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ยังไม่ฟื้นคืน สุดท้าย ก็อาจทำให้ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซีย ร่วงหนักไปมากกว่านี้ก็ได้.. ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้ไหมว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ Danantara ของอินโดนีเซีย มีคุณทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาอีกด้วย ╔═══════════╗ ติดตามข่าวเศรษฐกิจแบบเน้น ๆ จากหลายเพจได้ใน Blockdit - คอนเทนต์แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำ 2 ล้านคน ลองใช้ฟรี blockdit.com/download ╚═══════════╝ ติดตามลงทุนแมนได้ที่ Website - longtunman.com Blockdit - blockdit.com/longtunman Facebook - facebook.com/longtunman Twitter - twitter.com/longtunman Instagram - instagram.com/longtunman YouTube - youtube.com/longtunman TikTok - tiktok.com/@longtunman Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงทุนแมน/id1543162829 Soundcloud - soundcloud.com/longtunman References -https://www.reuters.com/markets/currencies/indonesia-cbank-says-rupiah-weakness-reflects-global-domestic-factors-2025-03-25/?utm_source=chatgpt.com -https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-03-26/indonesia-stock-market-why-are-investors-fleeing-what-role-has-prabowo-played -https://tradingeconomics.com/indonesia/indicators -https://www.bps.go.id/en/statistics-table/2/MTA4NSMy/actual-government-expenditures--finance-.html -https://asiatimes.com/2025/03/danantara-indonesias-ticking-financial-time-bomb
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 880 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ประกันสังคม' ลดกระแส เตรียมปรับสูตรบำนาญ เยียวยาคนทำงานเกษียณ
    .
    ชั่วโมงนี้คงไม่มีหน่วยงานไหนมีรถทัวร์ไปลงมากเท่ากับสำนักงานประกันสังคม ภายหลังมีกระแสเรียกร้องให้มีการปรับสูตรคำนวณบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตนใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งได้รับบำนาญน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ในเรื่องนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันกลางที่ประชุมวุฒิสภาว่า เตรียมจะมีการกำหนดแนวทางในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวเร็วๆนี้
    .
    ทั้งนี้ การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม นายชูชีพ เอื้อการณ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ตั้งกระทู้ถามเรื่อง เรื่องผลกระทบการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หากไม่ทันค่าของชีพที่สูงขึ้น และแนวทางลดค่าของชีพของประชาชน การดูแล SME ทั้งระยะสั้นระยะยาว โดยนายพิพัฒน์ ตอบชี้แจงตอนหนึ่งระบุว่า จะหารือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ในหลายประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเอสเอ็มอี (SME) ควรจะดูแลอย่างไร ขณะเดียวกันนอกจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วจะต้องดูแล 13 อาชีพ ให้ได้รับการอัพสกิล รีสกิลยกระดับฝีมือแรงงาน เว้นกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย แต่ก็จะพยามดูแลให้ได้มากที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับสูตรคำนวณดูแลเยียวยา ของผู้ทำงานประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39
    .
    "กระทรวงแรงงานได้คิดว่าเมื่อผู้ใช้แรงงานได้เกษียณอายุไปจะทำอย่างไร ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำประชาพิจารณ์คาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ ว่าหากเกษียณอายุ 60 ปีไปแล้ว ยังมีอายุอีก 20 ถึง30 ปี เงินในส่วนนั้นจะทำอย่างไรให้สามารถยังชีพอยู่ได้หากไม่มีบุตรหลานคอยดูแล หากยืดอายุกองทุนประกันสังคมได้ จากนั้นจะคิดสูตรว่า ในแต่ละปีการประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จะมีการขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนได้อย่างไร หากอีก2 ปีข้างหน้ามีการเดินสู่เป้าหมายที่ชัดเจน จะพิจารณาต่อว่ากองทุนประกันสังคมจะให้เงินสำหรับสงเคราะห์ผู้เกษียณอายุเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไหร่เพื่อยังชีพ" นายพิพัฒน์ ระบุ
    .
    ขณะที่ นางสาวรักชนก ศรีนอก ส.ส.กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาการบริหารกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะเรื่องการลงทุนที่ขาดธรรมาภิบาล โดยการใช้เงินกองทุนประกันสังคมจำนวน 2.6 ล้านล้านบาท ที่ไม่โปร่งใสโดยเฉพาะการลงทุนที่อาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น การซื้ออาคารย่านพระราม 9 มูลค่า 7,000 ล้านบาทในขณะที่ราคาช่วงประเมินปี 2565 อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท โดยปีแรกมีอัตราการเช่าเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น และปัจจุบันก็มีผู้เช่าไม่ถึงครึ่ง
    .
    ด้าน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า รัฐมนตรีไม่มีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวแม้กระทั่งรับรู้ ไม่มีสิทธิไปแต่งตั้งบอร์ดต่างๆ จนเมื่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พิจารณาเสร็จแล้ว ตนถึงจะมีสิทธิลงนามแต่งตั้งเท่านั้น ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินตอนวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 แล้วคนที่ซื้อมาลงทุน มีการรีโนเวทอย่างไร ส่วนตัวไม่ทราบ เนื่องจากการซื้อขายนั้นจะใช้การประเมินโดยบริษัทที่มีใบอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ประเมิน
    ............
    Sondhi X
    'ประกันสังคม' ลดกระแส เตรียมปรับสูตรบำนาญ เยียวยาคนทำงานเกษียณ . ชั่วโมงนี้คงไม่มีหน่วยงานไหนมีรถทัวร์ไปลงมากเท่ากับสำนักงานประกันสังคม ภายหลังมีกระแสเรียกร้องให้มีการปรับสูตรคำนวณบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตนใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งได้รับบำนาญน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ในเรื่องนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันกลางที่ประชุมวุฒิสภาว่า เตรียมจะมีการกำหนดแนวทางในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวเร็วๆนี้ . ทั้งนี้ การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 10 มีนาคม นายชูชีพ เอื้อการณ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้ตั้งกระทู้ถามเรื่อง เรื่องผลกระทบการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หากไม่ทันค่าของชีพที่สูงขึ้น และแนวทางลดค่าของชีพของประชาชน การดูแล SME ทั้งระยะสั้นระยะยาว โดยนายพิพัฒน์ ตอบชี้แจงตอนหนึ่งระบุว่า จะหารือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย ในหลายประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเอสเอ็มอี (SME) ควรจะดูแลอย่างไร ขณะเดียวกันนอกจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วจะต้องดูแล 13 อาชีพ ให้ได้รับการอัพสกิล รีสกิลยกระดับฝีมือแรงงาน เว้นกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย แต่ก็จะพยามดูแลให้ได้มากที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับสูตรคำนวณดูแลเยียวยา ของผู้ทำงานประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 . "กระทรวงแรงงานได้คิดว่าเมื่อผู้ใช้แรงงานได้เกษียณอายุไปจะทำอย่างไร ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำประชาพิจารณ์คาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ ว่าหากเกษียณอายุ 60 ปีไปแล้ว ยังมีอายุอีก 20 ถึง30 ปี เงินในส่วนนั้นจะทำอย่างไรให้สามารถยังชีพอยู่ได้หากไม่มีบุตรหลานคอยดูแล หากยืดอายุกองทุนประกันสังคมได้ จากนั้นจะคิดสูตรว่า ในแต่ละปีการประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 จะมีการขยายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนได้อย่างไร หากอีก2 ปีข้างหน้ามีการเดินสู่เป้าหมายที่ชัดเจน จะพิจารณาต่อว่ากองทุนประกันสังคมจะให้เงินสำหรับสงเคราะห์ผู้เกษียณอายุเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไหร่เพื่อยังชีพ" นายพิพัฒน์ ระบุ . ขณะที่ นางสาวรักชนก ศรีนอก ส.ส.กทม. พรรคประชาชน ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาการบริหารกองทุนประกันสังคมโดยเฉพาะเรื่องการลงทุนที่ขาดธรรมาภิบาล โดยการใช้เงินกองทุนประกันสังคมจำนวน 2.6 ล้านล้านบาท ที่ไม่โปร่งใสโดยเฉพาะการลงทุนที่อาจจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น การซื้ออาคารย่านพระราม 9 มูลค่า 7,000 ล้านบาทในขณะที่ราคาช่วงประเมินปี 2565 อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท โดยปีแรกมีอัตราการเช่าเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น และปัจจุบันก็มีผู้เช่าไม่ถึงครึ่ง . ด้าน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงว่า รัฐมนตรีไม่มีสิทธิเข้าไปยุ่งเกี่ยวแม้กระทั่งรับรู้ ไม่มีสิทธิไปแต่งตั้งบอร์ดต่างๆ จนเมื่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พิจารณาเสร็จแล้ว ตนถึงจะมีสิทธิลงนามแต่งตั้งเท่านั้น ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินตอนวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 แล้วคนที่ซื้อมาลงทุน มีการรีโนเวทอย่างไร ส่วนตัวไม่ทราบ เนื่องจากการซื้อขายนั้นจะใช้การประเมินโดยบริษัทที่มีใบอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้ประเมิน ............ Sondhi X
    Like
    Love
    Sad
    Angry
    12
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2538 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายจ้างสวนกลับ 'ทักษิณ' ขึ้นค่าแรงใจไม่แคบ แต่ภาครัฐไร้เยียวยา
    .
    การปราศรัยหาเสียงของ 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะพูดในเรื่องใดก็ล้วนแต่เป็นประเด็นแทบทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องประเด็นเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้ระหว่างหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดหนองคายได้พูดถึงปัญหาการขึ้นค่าแรงตอนหนึ่งว่า “ค่าแรงขอขึ้นไปแล้ว แต่มีคนขวางอยู่ คนพวกนี้ไม่รู้หัวใจทำด้วยอะไร ชอบจ้างคนค่าแรงถูก นายจ้างเฮงซวย แบบนี้ไม่น่ารัก นายจ้างต้องใจกว้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างจะได้ทุ่มเททำงาน” ซึ่งจากประเด็นนี้เองทำให้ฝ่ายเอกชนออกมาตอบโต้ด้วยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ
    .
    นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) ฝ่ายนายจ้าง อธิบายว่า ฝ่ายนายจ้างไม่ได้ขัดขวางการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแต่อย่างใด แต่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศในบางอาชีพหรือบางกิจการนั้น ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
    .
    “ไม่ได้เกี่ยวกับฝ่ายนายจ้างใจกว้าง หรือใจแคบ ถ้าหากพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ตัวเลขอาจจะไม่ถึง 400 บาทอยู่แล้ว แต่เราก็ยังให้มีการปรับขึ้นถึง 400 บาทไปในหลายๆจังหวัด แล้วอย่างนี้จะเรียกว่า ใจแคบอยู่อีกหรือ ทางฝ่ายนายจ้างก็ให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำมาโดยตลอดทุกปี ไม่เคยไม่ให้ปรับ แต่ว่าต้องปรับตามเกณฑ์และสูตรที่กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปรับตามอำเภอใจ” นายอรรถยุทธ กล่าว
    .
    นายอรรถยุทธ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของมาตรการที่ช่วยเหลือนายจ้างสถานประกอบการ จะต้องทวงถามไปถึงฝ่ายรัฐบาล แต่เบื้องต้นยังไม่เห็นรายละเอียดมาตรการการช่วยเหลือนายจ้างออกมา โดยนายจ้างที่อยู่ในจังหวัดที่มีกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง
    .
    นางสาวศุภานัน ปลอดเหตุ กรรมการค่าจ้าง ฝ่ายนายจ้าง ยืนยันว่า ฝ่ายนายจ้างได้มองถึงภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของคนไทย โดยการประชุมพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้ง มีหน่วยงานหลายส่วนหารือกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็เป็นการพิจารณาข้อมูลตัวเลขตามความเหมาะสมและตามกฎหมาย
    .
    “ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น เราทำเพื่อลูกจ้างและประเทศชาติให้อยู่ได้ ไม่ได้ทำเพื่อนายจ้างฝ่ายเดียว ยังยืนยันว่าฝ่ายนายจ้างไม่ได้มีการขัดขวางแต่อย่างใด ทุกคนสนับสนุนให้ปรับตามสภาพเศรษฐกิจที่เป็นจริง ไม่ใช่ปรับค่าจ้างให้ตัวเลขสูง ลูกจ้างอยู่ได้ชั่วคราว นายจ้างอาจจะต้องปรับตัวหาวิธีการจ้างงานแบบใหม่ๆ หรืออาจจะไม่ใช้กำลังคนเป็นแรงงาน แล้วแรงงานจะอยู่อย่างไร” นางสาวศุภานัน กล่าว
    ..............
    Sondhi X
    นายจ้างสวนกลับ 'ทักษิณ' ขึ้นค่าแรงใจไม่แคบ แต่ภาครัฐไร้เยียวยา . การปราศรัยหาเสียงของ 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะพูดในเรื่องใดก็ล้วนแต่เป็นประเด็นแทบทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่เรื่องประเด็นเศรษฐกิจ โดยก่อนหน้านี้ระหว่างหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดหนองคายได้พูดถึงปัญหาการขึ้นค่าแรงตอนหนึ่งว่า “ค่าแรงขอขึ้นไปแล้ว แต่มีคนขวางอยู่ คนพวกนี้ไม่รู้หัวใจทำด้วยอะไร ชอบจ้างคนค่าแรงถูก นายจ้างเฮงซวย แบบนี้ไม่น่ารัก นายจ้างต้องใจกว้างกับลูกจ้าง ลูกจ้างจะได้ทุ่มเททำงาน” ซึ่งจากประเด็นนี้เองทำให้ฝ่ายเอกชนออกมาตอบโต้ด้วยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ . นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (บอร์ดค่าจ้าง) ฝ่ายนายจ้าง อธิบายว่า ฝ่ายนายจ้างไม่ได้ขัดขวางการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแต่อย่างใด แต่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศในบางอาชีพหรือบางกิจการนั้น ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม และหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด . “ไม่ได้เกี่ยวกับฝ่ายนายจ้างใจกว้าง หรือใจแคบ ถ้าหากพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ตัวเลขอาจจะไม่ถึง 400 บาทอยู่แล้ว แต่เราก็ยังให้มีการปรับขึ้นถึง 400 บาทไปในหลายๆจังหวัด แล้วอย่างนี้จะเรียกว่า ใจแคบอยู่อีกหรือ ทางฝ่ายนายจ้างก็ให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำมาโดยตลอดทุกปี ไม่เคยไม่ให้ปรับ แต่ว่าต้องปรับตามเกณฑ์และสูตรที่กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการปรับตามอำเภอใจ” นายอรรถยุทธ กล่าว . นายอรรถยุทธ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของมาตรการที่ช่วยเหลือนายจ้างสถานประกอบการ จะต้องทวงถามไปถึงฝ่ายรัฐบาล แต่เบื้องต้นยังไม่เห็นรายละเอียดมาตรการการช่วยเหลือนายจ้างออกมา โดยนายจ้างที่อยู่ในจังหวัดที่มีกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ก็อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง . นางสาวศุภานัน ปลอดเหตุ กรรมการค่าจ้าง ฝ่ายนายจ้าง ยืนยันว่า ฝ่ายนายจ้างได้มองถึงภาพรวมภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของคนไทย โดยการประชุมพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้ง มีหน่วยงานหลายส่วนหารือกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็เป็นการพิจารณาข้อมูลตัวเลขตามความเหมาะสมและตามกฎหมาย . “ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น เราทำเพื่อลูกจ้างและประเทศชาติให้อยู่ได้ ไม่ได้ทำเพื่อนายจ้างฝ่ายเดียว ยังยืนยันว่าฝ่ายนายจ้างไม่ได้มีการขัดขวางแต่อย่างใด ทุกคนสนับสนุนให้ปรับตามสภาพเศรษฐกิจที่เป็นจริง ไม่ใช่ปรับค่าจ้างให้ตัวเลขสูง ลูกจ้างอยู่ได้ชั่วคราว นายจ้างอาจจะต้องปรับตัวหาวิธีการจ้างงานแบบใหม่ๆ หรืออาจจะไม่ใช้กำลังคนเป็นแรงงาน แล้วแรงงานจะอยู่อย่างไร” นางสาวศุภานัน กล่าว .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1567 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะกรรมการไตรภาคีค่าจ้าง มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด แต่ได้ถึง 400 บาทเฉพาะจังหวัดภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง กับ 1 อำเภอ คือ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2568

    วันนี้(23 ธ.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน ได้มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 ประกอบด้วยฝ่ายภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง มาประชุมครบองค์ประชุมเพื่อพิจารณาการปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศในบางอาชีพ และบางกิจการ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเป็นการประชุมบอร์ดไตรภาคีครั้งที่ 2 หลังเลื่อนจากวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกมาระบุว่า ต้องการที่จะได้ตัวเลข 400 บาททั่วประเทศ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000123098

    #MGROnline #ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ #400บาท
    คณะกรรมการไตรภาคีค่าจ้าง มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัด แต่ได้ถึง 400 บาทเฉพาะจังหวัดภูเก็ต, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง กับ 1 อำเภอ คือ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2568 • วันนี้(23 ธ.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน ได้มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 ประกอบด้วยฝ่ายภาครัฐ ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง มาประชุมครบองค์ประชุมเพื่อพิจารณาการปรับค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศในบางอาชีพ และบางกิจการ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเป็นการประชุมบอร์ดไตรภาคีครั้งที่ 2 หลังเลื่อนจากวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกมาระบุว่า ต้องการที่จะได้ตัวเลข 400 บาททั่วประเทศ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000123098 • #MGROnline #ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ #400บาท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 711 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เห็นด้วยกับการยกระดับรายได้ของแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยมีความผันผวน และเปราะบางจากภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อประเทศและภาคธุรกิจไทยให้เผชิญกับความท้าทายรอบด้าน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000118127

    #MGROnline #แรงงานไทย
    คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เห็นด้วยกับการยกระดับรายได้ของแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยมีความผันผวน และเปราะบางจากภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อประเทศและภาคธุรกิจไทยให้เผชิญกับความท้าทายรอบด้าน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000118127 • #MGROnline #แรงงานไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 424 มุมมอง 0 รีวิว