ชี้ช่องจบปัญหา 'อัลไพน์' กฤษฎีกา เสนอสองทาง 'งบเยียวยา-ออกกฎหมาย'
.
กรณีพิพาทที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ที่เหมือนจบแต่ไม่จบ เพราะด้านหนึ่งถูกโฟกัสไปในเรื่องทางการเมืองที่ว่าด้วยการเอาคืนพรรคเพื่อไทยของพรรคภูมิใจไทยในฐานะเจ้ากระทรวงมหาดไทย แต่ในแง่มุมของกฎหมายนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญที่กำลังรอการดำเนินการว่าครอบครัวชินวัตรในฐานะเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการอย่างไร
.
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่า มีแนวคำวินิจฉัยการเพิกถอนที่ดินอัลไพน์ของคณะกรรมการกฤษฎีกามาตั้งแต่ปี 2544 และหลักของคำวินิจฉัย คือ ที่ดินที่ได้มาโดยมรดกต้องทำเป็นไปตามที่เจ้าของมรดกกำหนด เมื่อต้องการให้ตกแก่วัดก็ต้องตกแก่วัด ซึ่งการเพิกถอนที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ขอให้ไปถามจากกระทรวงมหาดไทยว่าจะหาทางแก้ไขเยียวยาให้กับประชาชนที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งต้องไปว่ากันอีกรอบหนึ่ง
.
"ต้องตรวจสอบว่ามีการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอะไรหรือไม่ เพราะว่าจริง ๆ แล้ว เราต้องเสียเงินชดเชยให้กับผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ได้มาโดยสุจริต ต้องไปดูว่าคำสั่งทางปกครองออกมาและถูกยกเลิกไปนั้นชอบหรือไม่ และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ"
.
นายปกรณ์ ยอมรับว่า งบประมาณที่จะนำมาเยียวยานั้นส่วนตัวไม่ทราบว่าจะต้องนำเงินมาจากส่วนใด แต่หากจำเป็นจะต้องแก้ไขเยียวยาก็สามารถของบประมาณจากรัฐบาลได้ ซึ่งงบปกติน่าจะไม่มี เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งงบไว้ และไม่มีใครคิดว่าจะเกิด จึงต้องหารือกับสำนักงบประมาณว่ามีแหล่งเงินจากที่ใดบ้าง อย่างไรก็ตาม คิดว่ามีหลายวิธีที่จะแก้ไข ซึ่งต้องรอ รมว.มหาดไทย และอธิบดีกรมที่ดิน มาแนะนำว่าจะหาทางแก้อย่างไร
.
นายปกรณ์ ส่วนประเด็นปัญหาด้านกฎหมายมีเพียงว่า ถ้าคำสั่งทางปกครองไม่ชอบก็เพิกถอนเสีย และหากเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไปแล้ว และมีผลกระทบต่อบุคคลที่สุจริตก็ต้องเยียวยากันในทางกฎหมายมีเพียงแค่นั้น ส่วนในทางบริหารก็ไปว่ากัน
.
สำหรับข้อเสนอที่ว่าให้ออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนเป็นที่ดินเอกชนนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า การโอนที่ดินซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ต้องตามเป็นตามกฏหมายอยู่แล้ว ไม่ได้มีอะไร ซึ่งก็แล้วแต่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยว่าจะพิจารณาว่าทางใดเหมาะสมหรือสมควร ควรรอถาม รมว.มหาดไทยจะเหมาะสมกว่า
.............
Sondhi X
อ่านเพิ่มเติม .
กรณีพิพาทที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ที่เหมือนจบแต่ไม่จบ เพราะด้านหนึ่งถูกโฟกัสไปในเรื่องทางการเมืองที่ว่าด้วยการเอาคืนพรรคเพื่อไทยของพรรคภูมิใจไทยในฐานะเจ้ากระทรวงมหาดไทย แต่ในแง่มุมของกฎหมายนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญที่กำลังรอการดำเนินการว่าครอบครัวชินวัตรในฐานะเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการอย่างไร
.
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่า มีแนวคำวินิจฉัยการเพิกถอนที่ดินอัลไพน์ของคณะกรรมการกฤษฎีกามาตั้งแต่ปี 2544 และหลักของคำวินิจฉัย คือ ที่ดินที่ได้มาโดยมรดกต้องทำเป็นไปตามที่เจ้าของมรดกกำหนด เมื่อต้องการให้ตกแก่วัดก็ต้องตกแก่วัด ซึ่งการเพิกถอนที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ขอให้ไปถามจากกระทรวงมหาดไทยว่าจะหาทางแก้ไขเยียวยาให้กับประชาชนที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งต้องไปว่ากันอีกรอบหนึ่ง
.
"ต้องตรวจสอบว่ามีการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอะไรหรือไม่ เพราะว่าจริง ๆ แล้ว เราต้องเสียเงินชดเชยให้กับผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ได้มาโดยสุจริต ต้องไปดูว่าคำสั่งทางปกครองออกมาและถูกยกเลิกไปนั้นชอบหรือไม่ และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ"
.
นายปกรณ์ ยอมรับว่า งบประมาณที่จะนำมาเยียวยานั้นส่วนตัวไม่ทราบว่าจะต้องนำเงินมาจากส่วนใด แต่หากจำเป็นจะต้องแก้ไขเยียวยาก็สามารถของบประมาณจากรัฐบาลได้ ซึ่งงบปกติน่าจะไม่มี เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งงบไว้ และไม่มีใครคิดว่าจะเกิด จึงต้องหารือกับสำนักงบประมาณว่ามีแหล่งเงินจากที่ใดบ้าง อย่างไรก็ตาม คิดว่ามีหลายวิธีที่จะแก้ไข ซึ่งต้องรอ รมว.มหาดไทย และอธิบดีกรมที่ดิน มาแนะนำว่าจะหาทางแก้อย่างไร
.
นายปกรณ์ ส่วนประเด็นปัญหาด้านกฎหมายมีเพียงว่า ถ้าคำสั่งทางปกครองไม่ชอบก็เพิกถอนเสีย และหากเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไปแล้ว และมีผลกระทบต่อบุคคลที่สุจริตก็ต้องเยียวยากันในทางกฎหมายมีเพียงแค่นั้น ส่วนในทางบริหารก็ไปว่ากัน
.
สำหรับข้อเสนอที่ว่าให้ออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนเป็นที่ดินเอกชนนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า การโอนที่ดินซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ต้องตามเป็นตามกฏหมายอยู่แล้ว ไม่ได้มีอะไร ซึ่งก็แล้วแต่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยว่าจะพิจารณาว่าทางใดเหมาะสมหรือสมควร ควรรอถาม รมว.มหาดไทยจะเหมาะสมกว่า
.............
Sondhi X
ชี้ช่องจบปัญหา 'อัลไพน์' กฤษฎีกา เสนอสองทาง 'งบเยียวยา-ออกกฎหมาย'
.
กรณีพิพาทที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ที่เหมือนจบแต่ไม่จบ เพราะด้านหนึ่งถูกโฟกัสไปในเรื่องทางการเมืองที่ว่าด้วยการเอาคืนพรรคเพื่อไทยของพรรคภูมิใจไทยในฐานะเจ้ากระทรวงมหาดไทย แต่ในแง่มุมของกฎหมายนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญที่กำลังรอการดำเนินการว่าครอบครัวชินวัตรในฐานะเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการอย่างไร
.
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุว่า มีแนวคำวินิจฉัยการเพิกถอนที่ดินอัลไพน์ของคณะกรรมการกฤษฎีกามาตั้งแต่ปี 2544 และหลักของคำวินิจฉัย คือ ที่ดินที่ได้มาโดยมรดกต้องทำเป็นไปตามที่เจ้าของมรดกกำหนด เมื่อต้องการให้ตกแก่วัดก็ต้องตกแก่วัด ซึ่งการเพิกถอนที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ขอให้ไปถามจากกระทรวงมหาดไทยว่าจะหาทางแก้ไขเยียวยาให้กับประชาชนที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งต้องไปว่ากันอีกรอบหนึ่ง
.
"ต้องตรวจสอบว่ามีการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงอะไรหรือไม่ เพราะว่าจริง ๆ แล้ว เราต้องเสียเงินชดเชยให้กับผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ได้มาโดยสุจริต ต้องไปดูว่าคำสั่งทางปกครองออกมาและถูกยกเลิกไปนั้นชอบหรือไม่ และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบ"
.
นายปกรณ์ ยอมรับว่า งบประมาณที่จะนำมาเยียวยานั้นส่วนตัวไม่ทราบว่าจะต้องนำเงินมาจากส่วนใด แต่หากจำเป็นจะต้องแก้ไขเยียวยาก็สามารถของบประมาณจากรัฐบาลได้ ซึ่งงบปกติน่าจะไม่มี เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งงบไว้ และไม่มีใครคิดว่าจะเกิด จึงต้องหารือกับสำนักงบประมาณว่ามีแหล่งเงินจากที่ใดบ้าง อย่างไรก็ตาม คิดว่ามีหลายวิธีที่จะแก้ไข ซึ่งต้องรอ รมว.มหาดไทย และอธิบดีกรมที่ดิน มาแนะนำว่าจะหาทางแก้อย่างไร
.
นายปกรณ์ ส่วนประเด็นปัญหาด้านกฎหมายมีเพียงว่า ถ้าคำสั่งทางปกครองไม่ชอบก็เพิกถอนเสีย และหากเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไปแล้ว และมีผลกระทบต่อบุคคลที่สุจริตก็ต้องเยียวยากันในทางกฎหมายมีเพียงแค่นั้น ส่วนในทางบริหารก็ไปว่ากัน
.
สำหรับข้อเสนอที่ว่าให้ออกเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนเป็นที่ดินเอกชนนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า การโอนที่ดินซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ต้องตามเป็นตามกฏหมายอยู่แล้ว ไม่ได้มีอะไร ซึ่งก็แล้วแต่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยว่าจะพิจารณาว่าทางใดเหมาะสมหรือสมควร ควรรอถาม รมว.มหาดไทยจะเหมาะสมกว่า
.............
Sondhi X