• KLIA Aerotrain รถไฟฟ้าสนามบินเคแอลกลับมาแล้ว

    ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) ประเทศมาเลเซีย ได้กลับมาเปิดให้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่ชื่อว่า KLIA Aerotrain อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 เชื่อมระหว่างอาคาร 1 (Terminal 1) กับอาคารผู้โดยสารรอง (Sattlelite) ซึ่งมีเที่ยวบินเส้นทางระยะไกลจำนวนมาก หลังบริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต โฮลดิ้ง เบอร์ฮัด (MAHB) ผู้บริหารสนามบินตัดสินใจปิดปรับปรุงยาวนานกว่า 28 เดือน ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างสองอาคาร ต้องไปขึ้นรถบัสที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้ให้ และเสียเวลาเดินทางมากกว่าปกติ

    KLIA Aerotrain เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2541 พร้อมกับการย้ายสนามบิน จากท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ (SZB) โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับแอดทรานซ์ (Adtranz) รุ่น CX-100 จำนวน 3 คัน แนวเส้นทางจะลอดทางขับเครื่องบิน (แท็กซี่เวย์) ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง หนักที่สุดคือวันที่ 1 มี.ค. 2566 ขบวนรถขัดข้อง มีผู้โดยสาร 114 คนติดค้าง ทำให้ MAHB ตัดสินใจหยุดให้บริการชั่วคราวเป็นต้นมา

    MAHB ปรับปรุง KLIA Aerotrain ใหม่ ด้วยงบลงทุน 456 ล้านริงกิต เปลี่ยนมาใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ อัลสตอม (Alstom) รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 อาร์ (Innovia APM 300R) มีทั้งหมด 3 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 270 คนต่อเที่ยว เดินรถด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางระหว่างสองอาคารเหลือเพียง 3 นาที ผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดหวังว่าจะทำให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคชั้นนำในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน และต้อนรับปีการท่องเที่ยวมาเลเซีย หรือ Visit Malaysia 2026

    ข้อมูลจาก CAPA Centre for Aviation พบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 57.1 ล้านคน ข้อมูลจาก Flightradar 24 พบว่ามีเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสิงคโปร์ (SIN) มากที่สุดถึง 270 เที่ยวบิน ตามมาด้วยจาการ์ตา (CGK) 184 เที่ยวบิน โกตากินาบาลู (BKI) 172 เที่ยวบิน กูชิง (KCH) 152 เที่ยวบิน ปีนัง (PEN) 143 เที่ยวบิน ลังกาวี (LGK) 132 เที่ยวบิน บาหลี (DPS) 105 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (JHB) 87 เที่ยวบิน กว่างโจว (CAN) 83 เที่ยวบินและโกตาบาห์รู (KBR) 80 เที่ยวบิน

    อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมี 4 ประเทศที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานชางงี สิงคโปร์ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา อินโดนีเซีย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย

    #Newskit
    KLIA Aerotrain รถไฟฟ้าสนามบินเคแอลกลับมาแล้ว ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) ประเทศมาเลเซีย ได้กลับมาเปิดให้บริการระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติที่ชื่อว่า KLIA Aerotrain อีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 เชื่อมระหว่างอาคาร 1 (Terminal 1) กับอาคารผู้โดยสารรอง (Sattlelite) ซึ่งมีเที่ยวบินเส้นทางระยะไกลจำนวนมาก หลังบริษัท มาเลเซีย แอร์พอร์ต โฮลดิ้ง เบอร์ฮัด (MAHB) ผู้บริหารสนามบินตัดสินใจปิดปรับปรุงยาวนานกว่า 28 เดือน ทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างสองอาคาร ต้องไปขึ้นรถบัสที่ทางสนามบินจัดเตรียมไว้ให้ และเสียเวลาเดินทางมากกว่าปกติ KLIA Aerotrain เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2541 พร้อมกับการย้ายสนามบิน จากท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ (SZB) โดยใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับแอดทรานซ์ (Adtranz) รุ่น CX-100 จำนวน 3 คัน แนวเส้นทางจะลอดทางขับเครื่องบิน (แท็กซี่เวย์) ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาขัดข้องบ่อยครั้ง หนักที่สุดคือวันที่ 1 มี.ค. 2566 ขบวนรถขัดข้อง มีผู้โดยสาร 114 คนติดค้าง ทำให้ MAHB ตัดสินใจหยุดให้บริการชั่วคราวเป็นต้นมา MAHB ปรับปรุง KLIA Aerotrain ใหม่ ด้วยงบลงทุน 456 ล้านริงกิต เปลี่ยนมาใช้ขบวนรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับ อัลสตอม (Alstom) รุ่นอินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 อาร์ (Innovia APM 300R) มีทั้งหมด 3 คัน รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 270 คนต่อเที่ยว เดินรถด้วยความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางระหว่างสองอาคารเหลือเพียง 3 นาที ผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดหวังว่าจะทำให้เป็นศูนย์กลางการบินระดับภูมิภาคชั้นนำในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารใช้บริการมากกว่า 100,000 คนต่อวัน และต้อนรับปีการท่องเที่ยวมาเลเซีย หรือ Visit Malaysia 2026 ข้อมูลจาก CAPA Centre for Aviation พบว่าในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 57.1 ล้านคน ข้อมูลจาก Flightradar 24 พบว่ามีเที่ยวบินต่อสัปดาห์ไปยังสิงคโปร์ (SIN) มากที่สุดถึง 270 เที่ยวบิน ตามมาด้วยจาการ์ตา (CGK) 184 เที่ยวบิน โกตากินาบาลู (BKI) 172 เที่ยวบิน กูชิง (KCH) 152 เที่ยวบิน ปีนัง (PEN) 143 เที่ยวบิน ลังกาวี (LGK) 132 เที่ยวบิน บาหลี (DPS) 105 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (JHB) 87 เที่ยวบิน กว่างโจว (CAN) 83 เที่ยวบินและโกตาบาห์รู (KBR) 80 เที่ยวบิน อนึ่ง ในภูมิภาคอาเซียนมี 4 ประเทศที่มีระบบขนส่งผู้โดยสารภายในสนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานชางงี สิงคโปร์ ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ท่าอากาศยานซูการ์โน-ฮัตตา อินโดนีเซีย และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประเทศไทย #Newskit
    0 Comments 0 Shares 261 Views 0 Reviews
  • ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism

    นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง

    ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน

    สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

    นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive

    อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

    #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    Like
    8
    1 Comments 0 Shares 1573 Views 0 Reviews
  • ส่องไทยเที่ยวมาเลย์ฯ ครึ่งปี 8.1 แสนคน

    ในขณะที่กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง 1 ม.ค. ถึง 15 ก.ย. 2567 พบว่ามีจำนวน 24,810,988 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวจีนสูงสุด 5,002,975 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 3,517,586 คน อินเดีย 1,442,978 คน เกาหลีใต้ 1,316,895 คน และรัสเซีย 1,119,768 คน

    มาดูกันที่การท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia) เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 รวม 11,808,937 คน สร้างรายได้ 45,422 ล้านริงกิต โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,276,007 คน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 1,786,630 คน จีน 1,449,711 คน ไทย 813,783 คน และบรูไน 565,999 คน

    ส่วนรูปแบบการเดินทาง พบว่าทางบก 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านด่านทัมบักยะโฮร์ รัฐยะโฮร์มากที่สุด 2,711,430 คน รองลงมาคือ ด่านเกอลังปาตาห์ รัฐยะโฮร์ 1,976,578 คน ทั้งสองด่านติดกับสิงคโปร์ อันดับสาม ด่านสุไหงตูจูห์ รัฐซาราวัก 326,038 คน ติดกับบรูไน อันดับสี่ ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดะห์ 267,902 คน และด่านปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส 198,546 คน ทั้งสองด่านติดกับประเทศไทย

    ทางอากาศ 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) มากที่สุด 1,926,191 คน รองลงมาคือ กัวลาลัมเปอร์ 2 (KLIA 2) 1,749,623 คน อันดับสาม สนามบินบายันเลอปัซ รัฐปีนัง (PEN) 523,920 คน อันดับสี่ สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) ซาบาห์ 290,021 คน และอันดับ 5 สนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 63,244 คน

    ที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร (Excursionist Arrivals) รวม 5,670,061 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,121,879 คน รองลงมาคือ ไทย 361,035 คน บรูไน 319,421 คน อินโดนีเซีย 244,481 คน และจีน 157,702 คน โดยพบว่าเดินทางผ่านทางบกมากที่สุด 91.7% รองลงมาคือทางอากาศ 6.1% ทางรถไฟ 1.9% และทางทะเล 0.4%

    ก่อนหน้านี้ในรายงานประจำปี 2023 พบว่าประเทศมาเลเซียต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศรวม 20,141,846 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 71,308.5 ล้านริงกิต โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 8,308,230 คน อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3,108,165 คน อันดับ 3 ประเทศไทย 1,551,282 คน อันดับ 4 จีน 1,474,114 คน และอันดับ 5 บรูไน 811,833 คน

    ส่วนนักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร มีทั้งหมด 8,822,462 คน โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 6,520,323 คน อันดับ 2 ประเทศไทย 748,876 คน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 371,227 คน อันดับ 4 บรูไน 304,378 คน และอันดับ 5 จีน 139,198 คน

    #Newskit #TourismMalaysia #การท่องเที่ยวมาเลเซีย
    ส่องไทยเที่ยวมาเลย์ฯ ครึ่งปี 8.1 แสนคน ในขณะที่กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของไทย รายงานจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง 1 ม.ค. ถึง 15 ก.ย. 2567 พบว่ามีจำนวน 24,810,988 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวจีนสูงสุด 5,002,975 คน รองลงมาคือ มาเลเซีย 3,517,586 คน อินเดีย 1,442,978 คน เกาหลีใต้ 1,316,895 คน และรัสเซีย 1,119,768 คน มาดูกันที่การท่องเที่ยวมาเลเซีย (Tourism Malaysia) เปิดเผยจำนวนนักท่องเที่ยวมาไทยสะสมระหว่าง ม.ค. ถึง มิ.ย. 2567 รวม 11,808,937 คน สร้างรายได้ 45,422 ล้านริงกิต โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,276,007 คน รองลงมาคือ อินโดนีเซีย 1,786,630 คน จีน 1,449,711 คน ไทย 813,783 คน และบรูไน 565,999 คน ส่วนรูปแบบการเดินทาง พบว่าทางบก 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านด่านทัมบักยะโฮร์ รัฐยะโฮร์มากที่สุด 2,711,430 คน รองลงมาคือ ด่านเกอลังปาตาห์ รัฐยะโฮร์ 1,976,578 คน ทั้งสองด่านติดกับสิงคโปร์ อันดับสาม ด่านสุไหงตูจูห์ รัฐซาราวัก 326,038 คน ติดกับบรูไน อันดับสี่ ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดะห์ 267,902 คน และด่านปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส 198,546 คน ทั้งสองด่านติดกับประเทศไทย ทางอากาศ 5 อันดับแรก มีผู้เดินทางผ่านสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KLIA) มากที่สุด 1,926,191 คน รองลงมาคือ กัวลาลัมเปอร์ 2 (KLIA 2) 1,749,623 คน อันดับสาม สนามบินบายันเลอปัซ รัฐปีนัง (PEN) 523,920 คน อันดับสี่ สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) ซาบาห์ 290,021 คน และอันดับ 5 สนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 63,244 คน ที่น่าสนใจก็คือ นักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร (Excursionist Arrivals) รวม 5,670,061 คน โดยพบว่ามีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์สูงสุด 4,121,879 คน รองลงมาคือ ไทย 361,035 คน บรูไน 319,421 คน อินโดนีเซีย 244,481 คน และจีน 157,702 คน โดยพบว่าเดินทางผ่านทางบกมากที่สุด 91.7% รองลงมาคือทางอากาศ 6.1% ทางรถไฟ 1.9% และทางทะเล 0.4% ก่อนหน้านี้ในรายงานประจำปี 2023 พบว่าประเทศมาเลเซียต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศรวม 20,141,846 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 71,308.5 ล้านริงกิต โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 8,308,230 คน อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3,108,165 คน อันดับ 3 ประเทศไทย 1,551,282 คน อันดับ 4 จีน 1,474,114 คน และอันดับ 5 บรูไน 811,833 คน ส่วนนักท่องเที่ยวแบบทัศนาจร มีทั้งหมด 8,822,462 คน โดยพบว่าอันดับ 1 สิงคโปร์ 6,520,323 คน อันดับ 2 ประเทศไทย 748,876 คน อันดับ 3 อินโดนีเซีย 371,227 คน อันดับ 4 บรูไน 304,378 คน และอันดับ 5 จีน 139,198 คน #Newskit #TourismMalaysia #การท่องเที่ยวมาเลเซีย
    Like
    Love
    9
    1 Comments 1 Shares 1675 Views 0 Reviews