• กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
    กลอนเจ็ด ‘ชีเจวี๋ย’สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ เล่าถึงกลอนจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาคแรก> ที่มีชื่อว่า ‘เกาเติง’ ของตู้ฝู่ ซึ่งเป็นกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะจังหวะเฉพาะเรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ โดยคุยกันว่ากลอนบทนั้นเป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร วันนี้เรามาคุยกันถึงกลอนเจ็ดอีกประเภทหนึ่งจากเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ> เช่นกัน ซึ่งในฉากที่นางเอกและพระเอกร่ำลากันกลางทุ่งดอกคาโนลาสีเหลืองก่อนพระเอกต้องเดินทางไปยังแคว้นเป่ยฉีนั้น นางเอกบอกพระเอกว่า นางจะถือกิ่งดอกอิงฮวา (ดอกซากุระ) รอพระเอกกลับมา เชื่อว่าเพื่อนเพจคงเข้าใจจากบริบทของฉากนี้อยู่แล้วว่าดอกอิงฮวาหรือซากุระนี้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก การถือกิ่งซากุระนี้ไม่ได้ถอดวรรคมาจากบทกวี หากแต่เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกล่าวถึงในบทกวีที่มีชื่อว่า ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ (折枝花赠行) เป็นผลงานของกวีสมัยถังที่มีชื่อว่า หยวนเจิ่น ซึ่งเรื่องนี้ Storyฯ เคยแปลและเขียนถึงไปแล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355) แต่ที่จะยกมาคุยกันอีกในวันนี้คือประเด็นต่อเนื่องเรื่องกลอนเจ็ดที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหากใครพลาดยังไม่ได้อ่านของสัปดาห์ที่แล้ว ควรกลับไปอ่านมาก่อนเพื่อทำความเข้าใจนะคะ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02zNLqAnmVP4BKMdSasLRsryL1cWdbRnP5fovkVQsUJovx28SGUp66Az77AR4uDcBhl) Storyฯ พูดไปในบทความที่แล้วว่า บ่อยครั้งที่เราเห็นคำแปลบทกวีจีนที่ได้ใจความและ/หรือได้ความไพเราะ เราไม่รู้เลยว่าคำแปลนั้นตกหล่นเอกลักษณ์เฉพาะทางเทคนิคการใช้คำของกลอนจีนไป บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ ที่ Storyฯ เคยแปลไว้ก็เช่นกัน ครั้นวันนี้จะมาแปลใหม่ให้สะท้อนเอกลักษณ์เหล่านี้ก็รู้สึกว่าตัวเองความสามารถไม่ถึงกลอนเจ็ดอักษรของจีน เรียกได้ทั่วไปว่า ‘ชีเหยียน’ (七言) ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องมีเสียงพ้องเสียงคล้องจองอย่างไรหรือไม่ ยกเว้นกลอนเจ็ดสองประเภทที่มีเอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะตัวคือ (1) ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) และ (2) ‘ชีเหยียนลวี่เจวี๋ย’ (七言律绝) หรือ ‘ชีเหยียนเจวี๋ยจวี้’ (七言绝句) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีเจวี๋ย’ (七绝) (อนึ่ง คำว่า ‘ลวี่’ แปลว่ากฎกติกา)‘ชีลวี่’ และ ‘ชีเจวี๋ย’ ต่างกันอย่างไร? สัปดาห์ที่แล้วที่คุยกัน เราเห็นแล้วว่า กลอนเจ็ดชีลวี่หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงเข้มเบาที่ตายตัว โดยวรรคแรกและวรรคสุดท้ายต้องมีจังหวะเดียวกัน และวรรคหลังของประโยคกลางจะมีจังหวะเสียงเดียวกับวรรคแรกของประโยคกลางอีกประโยคหนึ่งทีนี้มาดูกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย กันบ้างโดยใช้บทกวี ‘หักกิ่งบุปผามอบอำลา’ นี้เป็นตัวอย่าง (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นว่า เอกลักษณ์ทางเทคนิคเฉพาะของกลอนประเภทนี้คือ- มีเจ็ดอักษรในแต่ละวรรค แต่จะมีทั้งหมดเพียงสองวรรคคู่ รวมสี่วรรค ซึ่งเท่ากับว่ามีความยาวเพียงครึ่งเดียวของกลอนเจ็ดชีลวี่- ยังคงมีแบบแผนของจังหวะเสียงหนักเบาเหมือนกับกลอนเจ็ดชีลวี่ และมาตรฐานแบบแผนจังหวะนี้มีสี่แบบเช่นกัน- วรรคแรกและวรรคสุดท้ายของกลอนมีจังหวะเหมือนกัน เช่นเดียวกับกลอนเจ็ดชีลวี่- เนื่องจากจำนวนวรรคตรงกลางสั้นกว่าชีลวี่ ดังนั้นแบบแผนจังหวะของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยในวรรคที่เหลือจึงตายตัว กล่าวคือ วรรคหลังของประโยคแรกมีจังหวะเหมือนกันกับวรรคแรกของประโยคสองและสัปดาห์ที่แล้วเราคุยถึงว่ากลอนที่ดีมีหัวข้อที่ชัดเจนและทุกวรรคช่วยเสริมหัวข้อนี้ อีกทั้งมีการใช้คำที่มีความเป็นคู่ ไม่ว่าจะคู่เหมือนหรือคู่ขัดแย้ง ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในกลอนเจ็ดชีเจวี๋ยนี้เช่นกันเพื่อนเพจบางท่านอาจคิดว่ากลอนเจ็ดชีลวี่ยาวกว่าจึงแต่งยากกว่า แต่จริงๆ แล้วกลับกันค่ะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยมีข้อจำกัดของจังหวะเสียงมากกว่า ดังนั้น เมื่อจำนวนอักษรน้อยลง การสื่อความหมายและการสร้างลูกเล่นความเป็นคู่ภายใต้แบบแผนที่ตายตัวเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก และนี่คือสาเหตุที่ว่ามันถูกเรียกว่า ‘เจวี๋ย’ ซึ่งแปลว่า ‘ที่สุด’ หรือ Ultimate นั่นเองเมื่อเอ่ยถึง สุดยอดแห่ง ‘ชีลวี่’ จะนึกถึงบทกวี ‘เกาเติง’ ที่คุยไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่หากพูดถึงสุดยอดแห่ง ‘ชีเจวี๋ย’ จะมีคำตอบที่หลากหลาย โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่ากลอนเจ็ดชีเจวี๋ยที่ดังๆ ล้วนมีคุณสมบัติครบถ้วนด้านแบบแผนจังหวะ ดังนั้นความแตกต่างจึงวัดกันที่ความกินใจของเนื้อหา ความไพเราะของภาษาที่ใช้ และลูกเล่นด้านความเป็นคู่ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่วัดกันยากมากในบริบทของอักษรเพียงสี่วรรค จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นคำตอบที่หลากหลายว่ากลอนใดเป็น ‘ที่สุด’ ของกลอนเจ็ดชีเจวี๋ย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://sail957.pixnet.net/blog/post/556471418 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/七言绝句/10272877 https://www.163.com/dy/article/FMOMPMIE0544516W.html https://m.gushici.com/t_467188 https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=35fbbd5372f3870ada7ea3d1 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีเจวี๋ย #กวีสมัยถัง #หยวนเจิ่น #อิงฮวา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 533 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    สุดยอดกลอนเจ็ด ‘ชีลวี่’ จาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค1>สวัสดีค่ะ Storyฯ ย้อนกลับไปดูภาคแรกของ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร> เพื่อทวนความทรงจำรอดูภาคสอง เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูภาคแรกนี้ต้องจำได้ว่าในงานสังสรรค์ชมบทกวี พระเอกได้ยืมกลอนจากกวีเอกตู้ฝู่มาใช้โดยมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถแต่งกลอนที่ดีกว่าได้เพราะกลอนบทนี้ของตู้ฝู่ถูกยกย่องให้เป็น ‘ที่สุด’ Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจทั้งหลายที่เคยได้ยินคำแปลของกลอนบทนี้คง ‘เอ๊ะ’ เหมือนกันว่ามันเป็น ‘ที่สุด’ อย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กันก่อนอื่นขอแนะนำเกี่ยวกับกวีตู้ฝู่และกลอนบทนี้ กวีตู้ฝู่เป็นกวีเอกสมัยถัง (ค.ศ. 712–770) ถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดกวีและถูกขนานนามว่า ‘ราชันกวี’ และกลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เติงเกา’ (登高 แปลว่าปีนขึ้นที่สูง) เบื้องหลังของกลอนนี้คือ เป็นช่วงปี ค.ศ. 766 ซึ่งผ่านเหตุการณ์กบฏอันลู่ซานไปได้หลายปีแล้วแต่บ้านเมืองยังไม่สงบ สหายต่างสิ้นชีพกันไปเกือบหมด ตัวตู้ฝู่เองก็มีโรครุมเร้า เดิมอาศัยใต้ร่มบารมีของเหยียนอู่ เมื่อสิ้นเหยียนอู่ก็ไร้ที่พึ่งพาจำต้องเดินทางจากเมืองหลวงไป ตอนที่ตู้ฝู่แต่งกลอนบทนี้คือช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่เขาแวะพักฟื้นที่เขตขุยโจว (ปัจจุบันใกล้ฉงชิ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแยงซีเกียง หรือฉางเจียงที่กล่าวถึงในบทกลอน) วันหนึ่งเขาปีนขึ้นหอสูงนอกเมืองไป๋ตี้ มองทิวทัศน์ก็รำลึกถึงอดีตและรู้สึกสะท้อนใจกับชีวิตที่ต้องระหกระเหินแม้ร่างกายเจ็บป่วย กลอนบทนี้สี่วรรคแรกจึงบรรยายถึงความงามแบบเศร้าๆ ของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้เปลี่ยนสี สี่วรรคสุดท้ายบรรยายถึงสภาพตนเองที่มีแต่ความโศกเศร้าเป็นเพื่อน แม้แต่จะกินเหล้าดับทุกข์ก็ยังทำไม่ได้เพราะว่าร่างกายไม่เอื้ออำนวย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาคแรก> จึงมีฉากที่มีคนถามว่า พระเอกอายุยังน้อยจะสามารถแต่งกลอนที่แฝงด้วยความทุกข์ความเศร้าของคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวในชีวิตมาได้อย่างไรกลอนบทนี้ถูกยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดอักษรที่มีลักษณะเฉพาะ หรือที่เรียกว่า ‘ชีเหยียนลวี่ซือ’ (七言律诗) เรียกสั้นๆ ว่า ‘ชีลวี่’ (七律) ที่บอกว่ามีลักษณะเฉพาะเพราะว่ากลอนเจ็ดชีลวี่นี้หมายถึงกลอนเจ็ดสี่วรรคคู่ รวมแปดวรรค แต่ละวรรคมีเจ็ดอักษร มีแบบแผนจังหวะเสียงที่ตายตัว ทีนี้เรามาดูกันว่ามันเป็น ‘สุดยอด’ อย่างไรประเด็นแรกคือ หัวข้อ --- กลอนที่ดีจะพัฒนาถ้อยคำขึ้นรอบๆ หัวข้อของกลอน ในที่นี้หัวข้อคือ ความเศร้าของสารทฤดู ภาพทิวทัศน์คือใบไม้เปลี่ยนสีและธรรมชาติที่แฝงด้วยความเศร้า ความในใจคือความโศกเศร้าเชื่อมโยงกับสารทฤดู ทุกวรรคทุกประโยคล้วนส่งเสริมหัวข้อนี้แต่บรรยายให้เห็นราวภาพวาด แต่ข้อจำกัดของกลอนเจ็ดชีลวี่คือพอเข้าประโยคที่สามต้องเปลี่ยนเรื่อง... ใช่ค่ะ เปลี่ยนเรื่องโดยไม่หลุดจากหัวข้อ ดังนั้นเราจึงเห็นสองประโยคแรกเป็นการบรรยายทิวทัศน์ และประโยคสามเปลี่ยนมาพูดถึงตัวกวีเองแต่คุณสมบัติตามประเด็นแรกนี้หาไม่ยากในกลอนที่โด่งดังทั้งหลาย เรามาดูประเด็นที่เข้มข้นมากขึ้นกันประเด็นที่สองคือ แบบแผนจังหวะและเสียง --- กลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเฉพาะเจาะจงอยู่สี่แบบ และจังหวะที่ว่านี้คือจังหวะความเข้มเบาของเสียงอักษร โดย ‘เบา’ หมายถึงเสียงกลาง ซึ่งท่านที่เรียนภาษาจีนจะทราบว่าจริงๆ แล้วภาษาจีนไม่มีเสียงกลางเหมือนไทยแต่ผันเป็นสี่เสียง และอักษรที่อยู่ในกลุ่มเสียงเบานี้ส่วนใหญ่เป็นอักษรในเสียงสองหรืออาจเป็นอักษรเสียงแรก ส่วน ‘เข้ม’ คือหมายถึงเสียงอื่น แต่ในประเด็นนี้มีความละเอียดอ่อนของการผันเสียง เช่น หากเป็นอักษรแรกตอนเริ่มวรรคหรือหลังกลางวรรค เสียงเบาอาจผันเป็นเสียงเข้มได้ ฟังแล้วอาจงงแต่เราไม่ได้อยากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญก็อย่าไปเครียดกับมันค่ะ สรุปได้สั้นๆ ว่ากลอนเจ็ดชีลวี่มีแบบแผนจังหวะเบาเข้มที่ชัดเจน ซึ่งกวีต้องรู้ว่าอักษรใดคือเสียงเบา อักษรใดคือเสียงเข้ม และต้องเลือกใช้อักษรที่ให้เสียงเบาเข้มตามแบบแผนจังหวะที่เลือก ดังที่กล่าวมาข้างต้น ชีลวี่มีสี่แบบแผนจังหวะมาตรฐาน ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ล้วนให้อิสระกับจังหวะของประโยคแรกและประโยคสุดท้าย แต่เข้มงวดเรื่องการเชื่อมโยงทางจังหวะของวรรคอื่นๆ อย่าเพิ่งงงค่ะ เรามาดูกลอน ‘เติงเกา’ เป็นตัวอย่าง เอกลักษณ์ของแบบแผนชีลวี่สรุปได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบขวาล่าง) - จังหวะของวรรคท้ายในประโยคแรกและประโยคสามเหมือนกัน และต่อเนื่องมาถึงจังหวะของวรรคแรกในประโยคสองและวรรคแรกในประโยคสุดท้ายก็เหมือนกัน - ลงท้ายทุกประโยคด้วยเสียงเบาซึ่งทำให้จำนวนอักษรที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นมีจำนวนจำกัดยิ่งขึ้น และ - จังหวะเข้มเบาของวรรคแรกและวรรคจบต้องเหมือนกันเชื่อว่าเพื่อนเพจคงรู้สึกเหมือน Storyฯ แล้วว่า การที่จะใช้อักษรให้สื่อความหมายได้ตามต้องการและยังอยู่ในกรอบแบบแผนจังหวะเสียงที่ว่ามานี้ยากมากและกวีผู้นั้นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาสูงมาก เท่านี้ยังไม่พอ ดีกรีความเข้มข้นของภาษาของกลอนบทนี้คือประเด็นสุดท้ายจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายคือ ความเป็นคู่ --- หลายคนมักเข้าใจว่ากลอนจีนต้องมีความคล้องจองของคำ แต่ถ้าเพื่อนเพจดูจากคำออกเสียงที่ Storyฯ ใส่มาให้จะเห็นว่าเสียงไม่คล้องจองกันเลย ดังนั้นจะเห็นว่ากลอนจีนโบราณจริงแล้วให้ความสำคัญกับความคล้องจองของอักษรน้อยกว่าความเป็นคู่ ซึ่งความเป็นคู่อาจหมายถึง ‘คู่เหมือน’ หรือ ‘คู่ขัดแย้ง’ ซึ่ง Storyฯ เคยเกริ่นถึงแล้วในบทความเกี่ยวกับรหัสลับจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02a8RcKiQmJ1GyrL2pkPs4dKmeZDnuti8guSaVo2VgSTcG9obtJoguAX62Mx4DgbQLl) เพื่ออธิบายประเด็นความเป็นคู่นี้ Storyฯ เลยแปลและเรียบเรียงบทกวีนี้โดยไม่เน้นความไพเราะหรือความพลิ้วพราย แต่พยายามคงเอกลักษณ์ความเป็นคู่ของวรรคแรกและวรรคหลังของแต่ละประโยคไว้ (ดูรูปประกอบขวาบนนะคะ) จะเห็นว่าความเป็นคู่นี้มีลูกเล่นได้หลากหลาย อาทิ - คุณศัพท์ขยายนาม เช่นในประโยคแรก ลมแรง <-> น้ำใส และ ฟ้าสูง <-> ทรายขาว ; ประโยคสาม หมื่นลี้ <-> ร้อยปี- นามและกิริยา เช่นในประโยคแรก ลิงหวนไห้ <-> นกบินกลับ; - คำซ้ำๆ เหมือนกัน เช่นในประโยคที่สอง โปรยโปรย <-> ม้วนม้วน- คำที่ความหมายคล้ายคลึงด้วยจำนวนอักษรเท่ากัน เช่นในประโยคที่สอง ไร้ขอบเขต <-> ไม่สิ้นสุด- อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน เช่นในประโยคสาม วรรคแรก ‘หมั่นมาเยือน’ ให้อารมณ์ความคึกคักขัดแย้งกับวรรคหลัง ‘ปีนหอเดียวดาย’ - อารมณ์สอดคล้องกัน เช่นในประโยคสุดท้ายที่ล้วนบรรยายถึงความยากลำบากทางกายและความระทมทางใจและหากเพื่อนเพจสังเกตดีๆ นอกจากความเป็นคู่ของคำที่ใช้แล้ว จะเห็นว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้ล้วนเป็นตำแหน่งเดียวกันในวรรคแรกและวรรคหลัง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นคู่Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมจีน แต่ที่พยายามแปลและยกมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อที่เพื่อนเพจจะได้อรรถรสถึงความซับซ้อนของกวีจีนโบราณ บ่อยครั้งที่เราได้ยินคำแปลกลอนจีนที่ไพเราะสละสลวยได้อารมณ์และความหมาย แต่ไม่เคยรู้เลยว่าคำแปลนั้นไม่สามารถสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางเทคนิคของบทกลอน Storyฯ เองเวลาแปลบทกวีจีนก็มักจะมองข้ามเอกลักษณ์ทางเทคนิคเช่นกัน และเอกลักษณ์ทางเทคนิคเหล่านี้นี่เองที่ช่วยเสริมให้บทกวี ‘เติงเกา’ ของตู้ฝู่บทนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งกลอนเจ็ดชีลวี่ยาวนานกว่าหนึ่งพันปี ทีนี้เข้าใจกันแล้วนะคะว่าบทกวีนี้เป็น ‘ที่สุด’ ได้อย่างไร(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_5325467 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/604660125_121119376 https://www.toutiao.com/article/6824075960027972109/?&source=m_redirect https://www.sohu.com/a/138168554_146329https://baike.baidu.com/item/登高/7605079 https://baike.baidu.com/item/七言律诗/10294898 #หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร #กลอนเจ็ดจีนโบราณ #ชีลวี่ #เกาเติง #กวีสมัยถัง #ตู้ฝู่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 598 มุมมอง 0 รีวิว