วันนี้เรามาคุยกันเรื่องลวดลายเหนือหว่างคิ้วหรือที่เรียกกันว่า “ฮวาเตี้ยน” (花钿)
ความมีอยู่ว่า
... ฝูหรงรักสวยรักงาม จะทนให้คนชี้นิ้วซุบซิบเรื่องรอยแผลเป็นขนาดเม็ดงาบนหน้าผากนางได้อย่างไร? ยังดีที่ตำแหน่งนี้เหมาะเจาะ นางติดลายฮวาเตี้ยนทุกวันไว้กลบรอยแผล ลวดลายของฮวาเตี้ยนน้อยใหญ่ บ้างลายจุด บ้างลายกลีบบุปผา เปลี่ยนไปทุกวัน เสริมความงดงามของนางยิ่งขึ้นไปอีก ...
- จากเรื่อง <เส้นทางของฮองเฮาคนโปรด> ผู้แต่ง เซี่ยวเจียเหริน
(หมายเหตุ ละครเรื่อง <กรุ่นรักกลิ่นบุปผา> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)
ฮวาเตี้ยนเป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้แต่งหน้าสตรีในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานและที่มาของฮวาเตี้ยนมีคนเคยเขียนถึงมากแล้ว Storyฯ จะไม่พูดถึง แต่ที่วันนี้จะมาคุยกันเรื่องฮวาเตี้ยน เพราะเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงจะคิดเหมือน Storyฯ ว่ามันคือการทาสีแต้มชาด แต่พอไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงรู้ว่า ไม่ใช่ค่ะ
จริงๆ แล้วฮวาเตี้ยนเป็นการ “แปะ” ไม่ใช่ “วาด” วัสดุที่ใช้แปะนั้นแรกเริ่มเลยคือกระดาษสีและทองคำเปลวที่ตัดเป็นลวดลาย ต่อมามีการใช้วัสดุอื่น เช่นไข่มุกและเปลือกหอย และยังมีวัสดุอื่นที่ทำเอา Storyฯ ถึงกับทึ่งในความคิดสร้างสรรค์ เพราะมีกระดูกแก้มปลา เกล็ดปลา ขนนก ปีกแมลงปอ ฯลฯ ย้อมสีอีกด้วย
แล้วใช้อะไรแปะ? เขาใช้กาวที่ทำมาจากกระเพาะปลาเรียกว่า “เฮ้อเจี่ยว” (呵胶) เวลาจะใช้ให้อังลมปาก (เป็นที่มาของคำว่า “เฮ้อ”) หรือแตะน้ำหรือน้ำลายเล็กน้อย ก็สามารถแปะติดได้ทนทานหลายวัน เวลาจะเอาออกก็ใช้น้ำอุ่นร้อนทาให้ชุ่มก็เอาออกได้ สมัยโบราณมีการใช้กาวชนิดนี้เชื่อมติดขนนกในการทำลูกธนูด้วย
กระแสนิยมฮวาเตี้ยนเริ่มจางลงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ใช้กันเฉพาะในวังหลัง และใช้วัสดุมีค่าเช่นไข่มุก ตามภาพ) พอมาถึงยุคสมัยราชวงศ์หมิงจะมีการใช้ฮวาเตี้ยนเฉพาะในงานทางการและลวดลายเบาบางลง และไม่มีใช้ฮวาเตี้ยนอีกเลยเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์ชิง
Storyฯ พยายามหาว่าตกลงมีการใช้วาดหรือแต้มสีหรือไม่ แต่ก็ไม่เห็นมีข้อมูลบ่งบอกว่ามี เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมมาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)
Credit รูปภาพจาก:
https://waynesan.com/ruyi-pavilion/
http://www.cunman.com/new/decad6397de34fe9b1cdca62cb53623e
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://culture.gansudaily.com.cn/system/2020/09/01/030144072.shtml
http://www.guoxue.com/?p=11516
https://zhidao.baidu.com/question/558092075.html
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E8%8A%B1%E9%88%BF%E5%A6%9D
#กรุ่นรักกลิ่นบุปผา #วังเดียวดาย #ประเพณีจีนโบราณ #ฮวาเตี้ยน #StoryfromStory
ความมีอยู่ว่า
... ฝูหรงรักสวยรักงาม จะทนให้คนชี้นิ้วซุบซิบเรื่องรอยแผลเป็นขนาดเม็ดงาบนหน้าผากนางได้อย่างไร? ยังดีที่ตำแหน่งนี้เหมาะเจาะ นางติดลายฮวาเตี้ยนทุกวันไว้กลบรอยแผล ลวดลายของฮวาเตี้ยนน้อยใหญ่ บ้างลายจุด บ้างลายกลีบบุปผา เปลี่ยนไปทุกวัน เสริมความงดงามของนางยิ่งขึ้นไปอีก ...
- จากเรื่อง <เส้นทางของฮองเฮาคนโปรด> ผู้แต่ง เซี่ยวเจียเหริน
(หมายเหตุ ละครเรื่อง <กรุ่นรักกลิ่นบุปผา> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)
ฮวาเตี้ยนเป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้แต่งหน้าสตรีในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานและที่มาของฮวาเตี้ยนมีคนเคยเขียนถึงมากแล้ว Storyฯ จะไม่พูดถึง แต่ที่วันนี้จะมาคุยกันเรื่องฮวาเตี้ยน เพราะเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงจะคิดเหมือน Storyฯ ว่ามันคือการทาสีแต้มชาด แต่พอไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงรู้ว่า ไม่ใช่ค่ะ
จริงๆ แล้วฮวาเตี้ยนเป็นการ “แปะ” ไม่ใช่ “วาด” วัสดุที่ใช้แปะนั้นแรกเริ่มเลยคือกระดาษสีและทองคำเปลวที่ตัดเป็นลวดลาย ต่อมามีการใช้วัสดุอื่น เช่นไข่มุกและเปลือกหอย และยังมีวัสดุอื่นที่ทำเอา Storyฯ ถึงกับทึ่งในความคิดสร้างสรรค์ เพราะมีกระดูกแก้มปลา เกล็ดปลา ขนนก ปีกแมลงปอ ฯลฯ ย้อมสีอีกด้วย
แล้วใช้อะไรแปะ? เขาใช้กาวที่ทำมาจากกระเพาะปลาเรียกว่า “เฮ้อเจี่ยว” (呵胶) เวลาจะใช้ให้อังลมปาก (เป็นที่มาของคำว่า “เฮ้อ”) หรือแตะน้ำหรือน้ำลายเล็กน้อย ก็สามารถแปะติดได้ทนทานหลายวัน เวลาจะเอาออกก็ใช้น้ำอุ่นร้อนทาให้ชุ่มก็เอาออกได้ สมัยโบราณมีการใช้กาวชนิดนี้เชื่อมติดขนนกในการทำลูกธนูด้วย
กระแสนิยมฮวาเตี้ยนเริ่มจางลงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ใช้กันเฉพาะในวังหลัง และใช้วัสดุมีค่าเช่นไข่มุก ตามภาพ) พอมาถึงยุคสมัยราชวงศ์หมิงจะมีการใช้ฮวาเตี้ยนเฉพาะในงานทางการและลวดลายเบาบางลง และไม่มีใช้ฮวาเตี้ยนอีกเลยเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์ชิง
Storyฯ พยายามหาว่าตกลงมีการใช้วาดหรือแต้มสีหรือไม่ แต่ก็ไม่เห็นมีข้อมูลบ่งบอกว่ามี เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมมาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)
Credit รูปภาพจาก:
https://waynesan.com/ruyi-pavilion/
http://www.cunman.com/new/decad6397de34fe9b1cdca62cb53623e
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://culture.gansudaily.com.cn/system/2020/09/01/030144072.shtml
http://www.guoxue.com/?p=11516
https://zhidao.baidu.com/question/558092075.html
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E8%8A%B1%E9%88%BF%E5%A6%9D
#กรุ่นรักกลิ่นบุปผา #วังเดียวดาย #ประเพณีจีนโบราณ #ฮวาเตี้ยน #StoryfromStory
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องลวดลายเหนือหว่างคิ้วหรือที่เรียกกันว่า “ฮวาเตี้ยน” (花钿)
ความมีอยู่ว่า
... ฝูหรงรักสวยรักงาม จะทนให้คนชี้นิ้วซุบซิบเรื่องรอยแผลเป็นขนาดเม็ดงาบนหน้าผากนางได้อย่างไร? ยังดีที่ตำแหน่งนี้เหมาะเจาะ นางติดลายฮวาเตี้ยนทุกวันไว้กลบรอยแผล ลวดลายของฮวาเตี้ยนน้อยใหญ่ บ้างลายจุด บ้างลายกลีบบุปผา เปลี่ยนไปทุกวัน เสริมความงดงามของนางยิ่งขึ้นไปอีก ...
- จากเรื่อง <เส้นทางของฮองเฮาคนโปรด> ผู้แต่ง เซี่ยวเจียเหริน
(หมายเหตุ ละครเรื่อง <กรุ่นรักกลิ่นบุปผา> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)
ฮวาเตี้ยนเป็นที่นิยมอย่างมากในการใช้แต่งหน้าสตรีในสมัยราชวงศ์ถัง ตำนานและที่มาของฮวาเตี้ยนมีคนเคยเขียนถึงมากแล้ว Storyฯ จะไม่พูดถึง แต่ที่วันนี้จะมาคุยกันเรื่องฮวาเตี้ยน เพราะเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงจะคิดเหมือน Storyฯ ว่ามันคือการทาสีแต้มชาด แต่พอไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจึงรู้ว่า ไม่ใช่ค่ะ
จริงๆ แล้วฮวาเตี้ยนเป็นการ “แปะ” ไม่ใช่ “วาด” วัสดุที่ใช้แปะนั้นแรกเริ่มเลยคือกระดาษสีและทองคำเปลวที่ตัดเป็นลวดลาย ต่อมามีการใช้วัสดุอื่น เช่นไข่มุกและเปลือกหอย และยังมีวัสดุอื่นที่ทำเอา Storyฯ ถึงกับทึ่งในความคิดสร้างสรรค์ เพราะมีกระดูกแก้มปลา เกล็ดปลา ขนนก ปีกแมลงปอ ฯลฯ ย้อมสีอีกด้วย
แล้วใช้อะไรแปะ? เขาใช้กาวที่ทำมาจากกระเพาะปลาเรียกว่า “เฮ้อเจี่ยว” (呵胶) เวลาจะใช้ให้อังลมปาก (เป็นที่มาของคำว่า “เฮ้อ”) หรือแตะน้ำหรือน้ำลายเล็กน้อย ก็สามารถแปะติดได้ทนทานหลายวัน เวลาจะเอาออกก็ใช้น้ำอุ่นร้อนทาให้ชุ่มก็เอาออกได้ สมัยโบราณมีการใช้กาวชนิดนี้เชื่อมติดขนนกในการทำลูกธนูด้วย
กระแสนิยมฮวาเตี้ยนเริ่มจางลงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ใช้กันเฉพาะในวังหลัง และใช้วัสดุมีค่าเช่นไข่มุก ตามภาพ) พอมาถึงยุคสมัยราชวงศ์หมิงจะมีการใช้ฮวาเตี้ยนเฉพาะในงานทางการและลวดลายเบาบางลง และไม่มีใช้ฮวาเตี้ยนอีกเลยเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์ชิง
Storyฯ พยายามหาว่าตกลงมีการใช้วาดหรือแต้มสีหรือไม่ แต่ก็ไม่เห็นมีข้อมูลบ่งบอกว่ามี เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมมาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)
Credit รูปภาพจาก:
https://waynesan.com/ruyi-pavilion/
http://www.cunman.com/new/decad6397de34fe9b1cdca62cb53623e
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://culture.gansudaily.com.cn/system/2020/09/01/030144072.shtml
http://www.guoxue.com/?p=11516
https://zhidao.baidu.com/question/558092075.html
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E8%8A%B1%E9%88%BF%E5%A6%9D
#กรุ่นรักกลิ่นบุปผา #วังเดียวดาย #ประเพณีจีนโบราณ #ฮวาเตี้ยน #StoryfromStory
1 Comments
0 Shares
89 Views
0 Reviews