• มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ร่างใหม่อิเซตันในไทย

    การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) บนถนนพระรามที่ 4 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 หนึ่งในแมกเนต คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์แบบญี่ปุ่น "มิตซูโคชิ เดปาจิกะ" (Mitsukoshi Depachika) แห่งแรกในไทย บนพื้นที่ 4,600 ตารางเมตร ที่ชั้น B1 โซนพาเหรด (Parade) จากสถานีรถไฟฟ้า MRT ลุมพินี ทางออก 1 ขึ้นบันไดเลื่อนแล้วเลี้ยวขวา เปิดให้บริการแบบซอฟต์โอเพนนิง ก่อนเปิดเต็มรูปแบบในปี 2568

    ช่วงแนะนำถึง 31 ธ.ค. 2567 สำหรับลูกค้าสมัครสมาชิกที่บูทกิจกรรม โดยแสกนคิวอาร์โค้ด แอดไลน์และลงทะเบียน รับโบนัสพอยท์ 400 คะแนน สามารถใช้เป็นส่วนลด 50 บาทได้ที่แคชเชียร์ ในไลน์ยังมีคูปองสมาชิก 2 ใบ (ซื้อ 500 บาท ลด 35 บาท และซื้อ 800 บาท ลด 100 บาท) ใช้ได้ถึง 31 ธ.ค. 2567 ซื้อสินค้า 1,200 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จรับฟรีกระเป๋าเก็บความเย็น ถึง 30 พ.ย. 2567 โดยสมาชิกซื้อสินค้าทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน ครบ 8 คะแนนใช้เป็นส่วนลดได้ 1 บาท

    จากการสังเกตพบว่ามีทั้งสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ต่างประเทศ กับสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย อาหารสดเน้นไปที่อาหารญี่ปุ่น ผลไม้ ช็อกโกแลต อีกด้านจะรวมร้านอาหาร เครื่องดื่ม และขนมหวาน ถ้าเปรียบกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน เทียบได้กับ ทาคา มาร์เช่ (TAKA Marche') ของห้างสยามทาคาชิมายะ (Siam Takashimaya) ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่เปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี

    การเปิดตัว มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ถือเป็นการกลับมาของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่น อิเซตัน มิตซูโคชิ (Isetan Mitsukoshi) หลังจากยุติการดำเนินธุรกิจห้างอิเซตัน ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากหมดสัญญาเช่า หลังเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2535 สมัยที่ยังเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ยาวนานถึง 28 ปี แต่ที่ผ่านมาอิเซตันก็ปิดห้างสรรพสินค้าในหลายประเทศ

    กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ไม่ได้ทำห้างฯ เหมือนแต่ก่อน แต่นำ "เดปาจิกะ" เป็นคำประสมของคำว่า "เดปา" ซึ่งย่อมาจาก Department Store และ "จิกะ" แปลว่าชั้นใต้ดิน รวมกันเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกศูนย์รวมร้านค้าและร้านอาหารชั้นใต้ดินของห้างฯ เป็นไปได้ว่าเพราะมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่ชื่นชอบสินค้าและอาหารญี่ปุ่น สมัยห้างอิเซตัน ลูกค้าชาวไทยนิยมอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ที่เคยเปิดบนชั้น 5 เซ็นทรัลเวิลด์ ครั้งนี้จึงเน้นไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์เป็นหลัก

    นอกจากนี้ กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ยังร่วมลงทุนในอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 กับกลุ่มสิริวัฒนภักดีอีกด้วย

    #Newskit #OneBangkok #MITSUKOSHIDEPACHIKA
    มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ร่างใหม่อิเซตันในไทย การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) บนถนนพระรามที่ 4 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 หนึ่งในแมกเนต คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์แบบญี่ปุ่น "มิตซูโคชิ เดปาจิกะ" (Mitsukoshi Depachika) แห่งแรกในไทย บนพื้นที่ 4,600 ตารางเมตร ที่ชั้น B1 โซนพาเหรด (Parade) จากสถานีรถไฟฟ้า MRT ลุมพินี ทางออก 1 ขึ้นบันไดเลื่อนแล้วเลี้ยวขวา เปิดให้บริการแบบซอฟต์โอเพนนิง ก่อนเปิดเต็มรูปแบบในปี 2568 ช่วงแนะนำถึง 31 ธ.ค. 2567 สำหรับลูกค้าสมัครสมาชิกที่บูทกิจกรรม โดยแสกนคิวอาร์โค้ด แอดไลน์และลงทะเบียน รับโบนัสพอยท์ 400 คะแนน สามารถใช้เป็นส่วนลด 50 บาทได้ที่แคชเชียร์ ในไลน์ยังมีคูปองสมาชิก 2 ใบ (ซื้อ 500 บาท ลด 35 บาท และซื้อ 800 บาท ลด 100 บาท) ใช้ได้ถึง 31 ธ.ค. 2567 ซื้อสินค้า 1,200 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จรับฟรีกระเป๋าเก็บความเย็น ถึง 30 พ.ย. 2567 โดยสมาชิกซื้อสินค้าทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน ครบ 8 คะแนนใช้เป็นส่วนลดได้ 1 บาท จากการสังเกตพบว่ามีทั้งสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ต่างประเทศ กับสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย อาหารสดเน้นไปที่อาหารญี่ปุ่น ผลไม้ ช็อกโกแลต อีกด้านจะรวมร้านอาหาร เครื่องดื่ม และขนมหวาน ถ้าเปรียบกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน เทียบได้กับ ทาคา มาร์เช่ (TAKA Marche') ของห้างสยามทาคาชิมายะ (Siam Takashimaya) ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่เปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี การเปิดตัว มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ถือเป็นการกลับมาของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่น อิเซตัน มิตซูโคชิ (Isetan Mitsukoshi) หลังจากยุติการดำเนินธุรกิจห้างอิเซตัน ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากหมดสัญญาเช่า หลังเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2535 สมัยที่ยังเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ยาวนานถึง 28 ปี แต่ที่ผ่านมาอิเซตันก็ปิดห้างสรรพสินค้าในหลายประเทศ กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ไม่ได้ทำห้างฯ เหมือนแต่ก่อน แต่นำ "เดปาจิกะ" เป็นคำประสมของคำว่า "เดปา" ซึ่งย่อมาจาก Department Store และ "จิกะ" แปลว่าชั้นใต้ดิน รวมกันเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกศูนย์รวมร้านค้าและร้านอาหารชั้นใต้ดินของห้างฯ เป็นไปได้ว่าเพราะมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่ชื่นชอบสินค้าและอาหารญี่ปุ่น สมัยห้างอิเซตัน ลูกค้าชาวไทยนิยมอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ที่เคยเปิดบนชั้น 5 เซ็นทรัลเวิลด์ ครั้งนี้จึงเน้นไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์เป็นหลัก นอกจากนี้ กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ยังร่วมลงทุนในอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 กับกลุ่มสิริวัฒนภักดีอีกด้วย #Newskit #OneBangkok #MITSUKOSHIDEPACHIKA
    Like
    Yay
    6
    1 Comments 0 Shares 288 Views 0 Reviews
  • วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด

    จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567

    พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่

    แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4

    ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street)

    เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4

    ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569

    #Newskit #OneBangkok
    วันแบงค็อก กับห้าง‘หลง’ที่สุด จากความตั้งใจของเสี่ยเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่อยากให้ประเทศไทยมีแลนด์มาร์คพิเศษ ที่ทำให้ชาวโลกรู้สึกชื่นชมที่จะนำความเจริญ และความภาคภูมิใจมาสู่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นำมาสู่ วันแบงค็อก (One Bangkok) โครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในไทย มูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ซึ่งเช่าระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร ที่เปิดให้บริการมี 2 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด (Parade) โซนเดอะสตอรี่ส์ (The Storeys) ที่ยังไม่เปิดคือโซนโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท (POST 1928) เสียงวิจารณ์ที่ตามมานอกจากทำถนนวิทยุ ถนนพระรามที่ 4 และถนนสาทร รถติดหนักกว่าเดิมแล้ว โครงการมิกซ์ยูสที่ใหญ่และแยกเป็นหลายอาคาร ทำให้คนที่มาเยือนครั้งแรกเกิดหลงทางทันที จากเดิมที่เซ็นทรัลเวิลด์ครองแชมป์เดินแล้วหลง เจอวันแบงค็อกเข้าไปต้องเรียกพี่ แนะนำว่าถ้ามาครั้งแรก ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ลงสถานีลุมพินี ทางออก 1 ดีที่สุด มีทางเชื่อมใต้ดินไปยังโครงการ และจำไว้ว่า MRT ตั้งอยู่ในโซนพาเหรด ชั้น B1 อาคาร Tower 3 ฝั่งถนนพระรามที่ 4 ชั้น B1 พบกับบิ๊กซีมินิ ร้านอาหาร เดินเลี้ยวขวาสุดทางเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์สัญชาติญี่ปุ่น มิตซูโคชิ เดปาจิกะ (Mitsukoshi Depachika) ชั้น G เป็นลานพาเหรดสแควร์ (Parade Square) สำหรับจัดงานมินิคอนเสิร์ต ชั้น 1-2 เป็นคิงเพาเวอร์ ซิตี้บูติก (King Power City Boutique) จำหน่ายสินค้าดิวตี้ฟรี สินค้าซื้อแล้วรับกลับทันที ชั้น 3 เป็นห้างสารพัดไทย ของคิงเพาเวอร์ ชั้น 5 เป็นโรงภาพยนตร์วันอัลตร้าสกรีน (One Ultra Screen) และศูนย์อาหารฟู้ดสตรีท (Food Street) เดินไปทางซ้ายจะเป็นโซนเดอะสตอรี่ส์ ฝั่งถนนวิทยุ ประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ซึ่งทั้งสองโซนจะเชื่อมถึงกัน ตรงกลางจะเป็นวันแบงค็อกพาร์ค (One Bangkok Park) พื้นที่จัดกิจกรรมกลางแจ้ง ทางเข้าอาคาร Tower 4 ถัดไปจะเป็นวันแบงค็อกบูเลอวาร์ด (One Bangkok Boulevard) อาคารโพสต์ไนน์ทีนไนน์ตี้เอท อาคาร Tower 5 และอาคารวันแบงค็อกฟอรั่ม (One Bangkok Forum) ศูนย์ประชุมและจัดคอนเสิร์ต โดยชั้น G มีบิ๊กซี บางกอก มาร์เช่ (Big C Bangkok Marché) โมเดลฟู้ดเพลสรูปแบบใหม่ แต่ยังไม่เปิดเต็มรูปแบบ อยู่ใกล้ทางเชื่อมทางด่วนเฉลิมมหานคร ด่านลุมพินีมากที่สุด นับจากนี้จะมีโรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ตามมา และอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ปี 2569 #Newskit #OneBangkok
    Like
    Love
    6
    0 Comments 0 Shares 286 Views 0 Reviews
  • TikTok@mgronline #mgronlinetiktok #onebangkok #news1 #Thaitimes #ว่างว่างก็แวะมา
    TikTok@mgronline #mgronlinetiktok #onebangkok #news1 #Thaitimes #ว่างว่างก็แวะมา
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 701 Views 87 0 Reviews
  • พระราม 4 หอมกลิ่นความเจริญ

    การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) อสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ย่านถนนพระรามที่ 4 ในวันที่ 25 ต.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ นับเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ส่วนหนึ่งชนะประมูลที่ดินระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 30 ปี และต่อสัญญาอีก 30 ปี พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ ทีซีซี แอสเซ็ทส์ และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้

    วันแบงค็อก ประกอบด้วย พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด โซนเดอะสตอรี่ส์ และโซนโพสต์ไนน์ทีนทเวนตี้เอท มีแมกเนตหลักได้แก่ King Power City Boutique กับ Mitsukoshi ของกลุ่มอิเซตันมิตซูโคชิ อาคารสำนักงานหนึ่งในนั้นคือซิกเนเจอร์ ทาวเวอร์ สูง 65 ชั้น 436.1 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะครองแชมป์สูงที่สุดในไทย อีกด้านกำลังจะมีโรงแรมเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน แบงค็อก โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก และเฟรเซอร์ สวีทส์ เซอร์วิสอพาร์มเมนท์

    หากสำรวจตลอดแนวถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงพระโขนง พบว่ามีหลายโครงการที่พัฒนาโดยกลุ่มสิริวัฒนภักดี อาทิ สามย่านมิตรทาวน์ มิกซ์ยูส 3 อาคาร บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 ไร่ เปิดตัวเมื่อปี 2562 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้, สีลมเอจ (SILOM EDGE) อาคารสูง 24 ชั้น บริเวณแยกศาลาแดง เปิดตัวเมื่อปี 2566 พัฒนาโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้

    ส่วนบริเวณแยกพระรามที่ 4 ประกอบด้วย เดอะปาร์ค (THE PARQ) อาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น เปิดตัวเมื่อปี 2563 พัฒนาโดย เกษมทรัพย์สิริ, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ปิดปรับปรุงเมื่อปี 2562 ก่อนเปิดตัวเมื่อปี 2565 ด้วยพื้นที่กว่า 300,000 ตารางเมตร พัฒนาโดย เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์, อาคารไทยเบฟควอเตอร์ (Thaibev Quarter) สูง 18 ชั้น อดีตอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเป็นสำนักงานใหญ่ของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แล้วเสร็จเมื่อปี 2562, เอฟวายไอเซ็นเตอร์ (FYI Center) อาคารสูง 12 ชั้น 2 อาคาร เปิดตัวเมื่อปี 2560 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้

    ไม่นับรวมห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า พระราม 4 อดีตห้างคาร์ฟูร์ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2543 แข่งกับห้างโลตัส พระราม 4 ปัจจุบันเป็นของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ธุรกิจค้าปลีกของตระกูลสิริวัฒนภักดี และเมื่อเข้าไปในซอยโรงพยาบาล 1 บริเวณโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท แล้วไปออกซอยรูเบีย ก็ยังมีอาคารบีเจซี เฮ้าส์ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี อีกด้วย

    #Newskit #OneBangkok #พระราม4
    พระราม 4 หอมกลิ่นความเจริญ การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) อสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ย่านถนนพระรามที่ 4 ในวันที่ 25 ต.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ นับเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ส่วนหนึ่งชนะประมูลที่ดินระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 30 ปี และต่อสัญญาอีก 30 ปี พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ ทีซีซี แอสเซ็ทส์ และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ วันแบงค็อก ประกอบด้วย พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด โซนเดอะสตอรี่ส์ และโซนโพสต์ไนน์ทีนทเวนตี้เอท มีแมกเนตหลักได้แก่ King Power City Boutique กับ Mitsukoshi ของกลุ่มอิเซตันมิตซูโคชิ อาคารสำนักงานหนึ่งในนั้นคือซิกเนเจอร์ ทาวเวอร์ สูง 65 ชั้น 436.1 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะครองแชมป์สูงที่สุดในไทย อีกด้านกำลังจะมีโรงแรมเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน แบงค็อก โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก และเฟรเซอร์ สวีทส์ เซอร์วิสอพาร์มเมนท์ หากสำรวจตลอดแนวถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงพระโขนง พบว่ามีหลายโครงการที่พัฒนาโดยกลุ่มสิริวัฒนภักดี อาทิ สามย่านมิตรทาวน์ มิกซ์ยูส 3 อาคาร บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 ไร่ เปิดตัวเมื่อปี 2562 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้, สีลมเอจ (SILOM EDGE) อาคารสูง 24 ชั้น บริเวณแยกศาลาแดง เปิดตัวเมื่อปี 2566 พัฒนาโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ส่วนบริเวณแยกพระรามที่ 4 ประกอบด้วย เดอะปาร์ค (THE PARQ) อาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น เปิดตัวเมื่อปี 2563 พัฒนาโดย เกษมทรัพย์สิริ, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ปิดปรับปรุงเมื่อปี 2562 ก่อนเปิดตัวเมื่อปี 2565 ด้วยพื้นที่กว่า 300,000 ตารางเมตร พัฒนาโดย เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์, อาคารไทยเบฟควอเตอร์ (Thaibev Quarter) สูง 18 ชั้น อดีตอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเป็นสำนักงานใหญ่ของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แล้วเสร็จเมื่อปี 2562, เอฟวายไอเซ็นเตอร์ (FYI Center) อาคารสูง 12 ชั้น 2 อาคาร เปิดตัวเมื่อปี 2560 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ไม่นับรวมห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า พระราม 4 อดีตห้างคาร์ฟูร์ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2543 แข่งกับห้างโลตัส พระราม 4 ปัจจุบันเป็นของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ธุรกิจค้าปลีกของตระกูลสิริวัฒนภักดี และเมื่อเข้าไปในซอยโรงพยาบาล 1 บริเวณโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท แล้วไปออกซอยรูเบีย ก็ยังมีอาคารบีเจซี เฮ้าส์ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี อีกด้วย #Newskit #OneBangkok #พระราม4
    Like
    6
    0 Comments 0 Shares 280 Views 0 Reviews