• โรงพยาบาลธนบุรี สลัดภาพหมอบุญ

    กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ภายใต้ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG อำนาจเบ็ดเสร็จไม่ได้เป็นของกลุ่มหมอบุญ นพ.บุญ วนาสิน ที่หลบหนีคดีฉ้อโกงและฟอกเงินไปอยู่ต่างประเทศอีกต่อไป แต่กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งใน THG ภายใต้การนำของ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ กำลังเข้ามากอบกู้สถานการณ์ แม้ยี่ห้อหมอบุญกับโรงพยาบาลธนบุรี จะกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังไม่เคยใช้บริการก็ตาม

    ก่อนหน้านี้มีการแต่งตั้ง ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช และอดีตรองคณบดีฝ่ายพันธกิจบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลธนบุรี หลังเกษียณอายุงานเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็เป็นคณะกรรมการบริษัทฯ ในเครือ THG มาตั้งแต่ปี 2559

    นพ.วิศิษฎ์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ระบุว่าในปี 2568 จะเปิดคลินิกเฉพาะทาง เริ่มจากคลินิกการนอนหลับ ต่อด้วยกลุ่มเด็กแรกเกิด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมกับเน้นกลุ่มลูกค้าผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพ ลูกค้าองค์กร และผู้ป่วยต่างชาติจากโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง อีกด้านหนึ่ง จะเปิดอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่ต้นปี 2568 ดึงบุคลากรรุ่นใหม่ Gen Z เข้ามาเสริมทัพ เปลี่ยนระบบค่าตอบแทนใหม่ และสร้างอินฟลูเอนเซอร์จากบุคลากรในโรงพยาบาล

    สำหรับโครงการของ นพ.บุญที่เกี่ยวข้องกับ THG มีเพียงโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ เท่านั้นที่ใช้เงินบริษัทลงทุน ไม่ใช่เงินส่วนตัวของ นพ.บุญ ส่วนธุรกิจทางการแพทย์ 5 โครงการที่ไม่มีอยู่จริง นพ.บุญทำเองไม่เกี่ยวกับ THG ด้านศูนย์มะเร็งย่านปิ่นเกล้า และแผนการสร้างโรงพยาบาลในเวียดนาม หลังบริษัทฯ ทำเอ็มโอยูช่วงปี 2565-2566 เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้อย่างละเอียดแล้วจึงตัดสินใจไม่ลงทุนทั้งสองโครงการ

    นพ.บุญได้ลาออกจาก THG มาตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. 2565 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน ส่วนนางจารุวรรณ วนาสิน อดีตภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน บุตรสาว นพ.บุญ แม้ยังไม่ได้แจ้งขอลาออกจากกรรมการบริษัทฯ และยังไม่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด แต่ทั้งสองไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจ จึงไม่มีอำนาจกระทำการใดๆ ในนามบริษัทฯ และการดำเนินงานของบริษัทฯ ยังเป็นปกติ

    ปัจจุบัน นางจารุวรรณถือหุ้น THG จำนวน 14.22% บริษัท ราชธานีพัฒนาการ (2014) จำกัด ถือหุ้น 3.70% น.ส.ณวรา กุญชร ณ อยุธยา อดีตลูกสะใภ้ถือหุ้น 3.03% และ นพ.บุญ ถือหุ้น 0.68% ส่วน น.ส.นลินให้การกับตำรวจว่ามีเพียง 10,000 หุ้นเท่านั้น

    #Newskit
    โรงพยาบาลธนบุรี สลัดภาพหมอบุญ กลุ่มโรงพยาบาลธนบุรี ภายใต้ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG อำนาจเบ็ดเสร็จไม่ได้เป็นของกลุ่มหมอบุญ นพ.บุญ วนาสิน ที่หลบหนีคดีฉ้อโกงและฟอกเงินไปอยู่ต่างประเทศอีกต่อไป แต่กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งใน THG ภายใต้การนำของ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ กำลังเข้ามากอบกู้สถานการณ์ แม้ยี่ห้อหมอบุญกับโรงพยาบาลธนบุรี จะกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังไม่เคยใช้บริการก็ตาม ก่อนหน้านี้มีการแต่งตั้ง ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช และอดีตรองคณบดีฝ่ายพันธกิจบริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลธนบุรี หลังเกษียณอายุงานเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็เป็นคณะกรรมการบริษัทฯ ในเครือ THG มาตั้งแต่ปี 2559 นพ.วิศิษฎ์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ระบุว่าในปี 2568 จะเปิดคลินิกเฉพาะทาง เริ่มจากคลินิกการนอนหลับ ต่อด้วยกลุ่มเด็กแรกเกิด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมกับเน้นกลุ่มลูกค้าผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพ ลูกค้าองค์กร และผู้ป่วยต่างชาติจากโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง อีกด้านหนึ่ง จะเปิดอาคารผู้ป่วยนอกแห่งใหม่ต้นปี 2568 ดึงบุคลากรรุ่นใหม่ Gen Z เข้ามาเสริมทัพ เปลี่ยนระบบค่าตอบแทนใหม่ และสร้างอินฟลูเอนเซอร์จากบุคลากรในโรงพยาบาล สำหรับโครงการของ นพ.บุญที่เกี่ยวข้องกับ THG มีเพียงโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ เท่านั้นที่ใช้เงินบริษัทลงทุน ไม่ใช่เงินส่วนตัวของ นพ.บุญ ส่วนธุรกิจทางการแพทย์ 5 โครงการที่ไม่มีอยู่จริง นพ.บุญทำเองไม่เกี่ยวกับ THG ด้านศูนย์มะเร็งย่านปิ่นเกล้า และแผนการสร้างโรงพยาบาลในเวียดนาม หลังบริษัทฯ ทำเอ็มโอยูช่วงปี 2565-2566 เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้อย่างละเอียดแล้วจึงตัดสินใจไม่ลงทุนทั้งสองโครงการ นพ.บุญได้ลาออกจาก THG มาตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. 2565 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน ส่วนนางจารุวรรณ วนาสิน อดีตภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน บุตรสาว นพ.บุญ แม้ยังไม่ได้แจ้งขอลาออกจากกรรมการบริษัทฯ และยังไม่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากคดียังไม่ถึงที่สุด แต่ทั้งสองไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจ จึงไม่มีอำนาจกระทำการใดๆ ในนามบริษัทฯ และการดำเนินงานของบริษัทฯ ยังเป็นปกติ ปัจจุบัน นางจารุวรรณถือหุ้น THG จำนวน 14.22% บริษัท ราชธานีพัฒนาการ (2014) จำกัด ถือหุ้น 3.70% น.ส.ณวรา กุญชร ณ อยุธยา อดีตลูกสะใภ้ถือหุ้น 3.03% และ นพ.บุญ ถือหุ้น 0.68% ส่วน น.ส.นลินให้การกับตำรวจว่ามีเพียง 10,000 หุ้นเท่านั้น #Newskit
    Like
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 642 มุมมอง 0 รีวิว
  • อวสานหมอบุญ ฮีโร่ของคนไทย

    การออกหมายจับ นพ.บุญ วนาสิน อายุ 86 ปี ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี พร้อมด้วยนางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ฟอกเงิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 หลังร่วมกับพวกรวม 9 คน หลอกลวงผู้เสียหายระดับนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมลงทุน แล้วไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564 ล้านบาท

    นับเป็นการปิดฉากหน้ากากคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวที่นักการเมืองบางพรรค สื่อกระแสหลักบางค่าย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด mRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส และด้อยค่ารัฐบาลขณะนั้นที่กำลังจัดการปัญหาโควิด-19 แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนตามที่กล่าวอ้าง การออกข่าวส่งผลต่อราคาหุ้น บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG)

    กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุด คือ 2 ล้านบาท ชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 42 เดือน จึงได้ให้ภรรยาเป็นประธานกรรมการบริษัท

    แต่คณะกรรมการตรวจสอบภายในพบรายการธุรกรรมน่าสงสัย 3 รายการ 210 ล้านบาท ทำให้กลุ่มวนาสินยอมเปิดทางให้กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง แต่งตั้ง นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โดยลดบทบาท นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ คนใกล้ชิด นพ.บุญ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานกลุ่มโรงพยาบาลในเครือที่ 1 ส่วน น.ส.นลิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ความยั่งยืน แต่นางจารุวรรณยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

    สำหรับพฤติการณ์พบว่า นพ.บุญสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกสื่อ อ้างการลงทุนที่น่าสนใจ 5 โครงการ ให้ตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ระดมเงินลงทุนให้ นพ.บุญ และครอบครัว รวมทั้ง นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยและได้จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยล่วงหน้า เซ็นสลักหลังนางจารุวรรณ และอดีตลูกสะใภ้ในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ ช่วงแรกให้ดอกเบี้ย ช่วงหลังไม่มีการจ่าย และเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฎว่าเช็คเด้ง

    นพ.บุญออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ CX712 ไปยังฮ่องกง

    #Newskit
    อวสานหมอบุญ ฮีโร่ของคนไทย การออกหมายจับ นพ.บุญ วนาสิน อายุ 86 ปี ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี พร้อมด้วยนางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ฟอกเงิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 หลังร่วมกับพวกรวม 9 คน หลอกลวงผู้เสียหายระดับนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมลงทุน แล้วไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564 ล้านบาท นับเป็นการปิดฉากหน้ากากคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวที่นักการเมืองบางพรรค สื่อกระแสหลักบางค่าย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด mRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส และด้อยค่ารัฐบาลขณะนั้นที่กำลังจัดการปัญหาโควิด-19 แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนตามที่กล่าวอ้าง การออกข่าวส่งผลต่อราคาหุ้น บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุด คือ 2 ล้านบาท ชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 42 เดือน จึงได้ให้ภรรยาเป็นประธานกรรมการบริษัท แต่คณะกรรมการตรวจสอบภายในพบรายการธุรกรรมน่าสงสัย 3 รายการ 210 ล้านบาท ทำให้กลุ่มวนาสินยอมเปิดทางให้กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง แต่งตั้ง นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โดยลดบทบาท นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ คนใกล้ชิด นพ.บุญ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานกลุ่มโรงพยาบาลในเครือที่ 1 ส่วน น.ส.นลิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ความยั่งยืน แต่นางจารุวรรณยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท สำหรับพฤติการณ์พบว่า นพ.บุญสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกสื่อ อ้างการลงทุนที่น่าสนใจ 5 โครงการ ให้ตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ระดมเงินลงทุนให้ นพ.บุญ และครอบครัว รวมทั้ง นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยและได้จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยล่วงหน้า เซ็นสลักหลังนางจารุวรรณ และอดีตลูกสะใภ้ในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ ช่วงแรกให้ดอกเบี้ย ช่วงหลังไม่มีการจ่าย และเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฎว่าเช็คเด้ง นพ.บุญออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ CX712 ไปยังฮ่องกง #Newskit
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1087 มุมมอง 0 รีวิว