อวสานหมอบุญ ฮีโร่ของคนไทย

การออกหมายจับ นพ.บุญ วนาสิน อายุ 86 ปี ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี พร้อมด้วยนางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ฟอกเงิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 หลังร่วมกับพวกรวม 9 คน หลอกลวงผู้เสียหายระดับนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมลงทุน แล้วไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564 ล้านบาท

นับเป็นการปิดฉากหน้ากากคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวที่นักการเมืองบางพรรค สื่อกระแสหลักบางค่าย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด mRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส และด้อยค่ารัฐบาลขณะนั้นที่กำลังจัดการปัญหาโควิด-19 แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนตามที่กล่าวอ้าง การออกข่าวส่งผลต่อราคาหุ้น บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG)

กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุด คือ 2 ล้านบาท ชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 42 เดือน จึงได้ให้ภรรยาเป็นประธานกรรมการบริษัท

แต่คณะกรรมการตรวจสอบภายในพบรายการธุรกรรมน่าสงสัย 3 รายการ 210 ล้านบาท ทำให้กลุ่มวนาสินยอมเปิดทางให้กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง แต่งตั้ง นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โดยลดบทบาท นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ คนใกล้ชิด นพ.บุญ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานกลุ่มโรงพยาบาลในเครือที่ 1 ส่วน น.ส.นลิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ความยั่งยืน แต่นางจารุวรรณยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท

สำหรับพฤติการณ์พบว่า นพ.บุญสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกสื่อ อ้างการลงทุนที่น่าสนใจ 5 โครงการ ให้ตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ระดมเงินลงทุนให้ นพ.บุญ และครอบครัว รวมทั้ง นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยและได้จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยล่วงหน้า เซ็นสลักหลังนางจารุวรรณ และอดีตลูกสะใภ้ในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ ช่วงแรกให้ดอกเบี้ย ช่วงหลังไม่มีการจ่าย และเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฎว่าเช็คเด้ง

นพ.บุญออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ CX712 ไปยังฮ่องกง

#Newskit
อวสานหมอบุญ ฮีโร่ของคนไทย การออกหมายจับ นพ.บุญ วนาสิน อายุ 86 ปี ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี พร้อมด้วยนางจารุวรรณ วนาสิน อายุ 79 ปี ภรรยา และ น.ส.นลิน วนาสิน อายุ 51 ปี บุตรสาวในข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ฟอกเงิน และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 หลังร่วมกับพวกรวม 9 คน หลอกลวงผู้เสียหายระดับนักธุรกิจชั้นนำระดับประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมลงทุน แล้วไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ มีผู้เสียหาย 527 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 7,564 ล้านบาท นับเป็นการปิดฉากหน้ากากคนดี ฮีโร่ของคนไทย อัศวินม้าขาวที่นักการเมืองบางพรรค สื่อกระแสหลักบางค่าย และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในไทย ต่างยกย่องในฐานะที่ประกาศตนว่าจะจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด mRNA ที่สังคมไทยส่วนหนึ่งถูกทำให้เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด จำนวน 20 ล้านโดส และด้อยค่ารัฐบาลขณะนั้นที่กำลังจัดการปัญหาโควิด-19 แต่สุดท้ายนอกจากไม่มีการลงนามในสัญญานำเข้าวัคซีนตามที่กล่าวอ้าง การออกข่าวส่งผลต่อราคาหุ้น บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) กระทั่งเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 สำนักงาน ก.ล.ต. ลงโทษทางแพ่ง นพ.บุญ ในอัตราสูงสุด คือ 2 ล้านบาท ชดใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด 2,348,834 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 42 เดือน จึงได้ให้ภรรยาเป็นประธานกรรมการบริษัท แต่คณะกรรมการตรวจสอบภายในพบรายการธุรกรรมน่าสงสัย 3 รายการ 210 ล้านบาท ทำให้กลุ่มวนาสินยอมเปิดทางให้กลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง แต่งตั้ง นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม โดยลดบทบาท นพ.ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ คนใกล้ชิด นพ.บุญ เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานกลุ่มโรงพยาบาลในเครือที่ 1 ส่วน น.ส.นลิน เป็นประธานเจ้าหน้าที่ความยั่งยืน แต่นางจารุวรรณยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท สำหรับพฤติการณ์พบว่า นพ.บุญสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการออกสื่อ อ้างการลงทุนที่น่าสนใจ 5 โครงการ ให้ตัวแทน (โบรกเกอร์) บริษัทหลักทรัพย์ระดมเงินลงทุนให้ นพ.บุญ และครอบครัว รวมทั้ง นพ.บุญ ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยให้ดอกเบี้ยและได้จ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยล่วงหน้า เซ็นสลักหลังนางจารุวรรณ และอดีตลูกสะใภ้ในเช็คทุกใบของ นพ.บุญ มอบให้แก่ผู้ให้กู้ ช่วงแรกให้ดอกเบี้ย ช่วงหลังไม่มีการจ่าย และเมื่อนำเช็คไปขึ้นเงินตามวันเวลาที่สั่งจ่าย ปรากฎว่าเช็คเด้ง นพ.บุญออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2567 เวลา 14.25 น. โดยสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิก เที่ยวบินที่ CX712 ไปยังฮ่องกง #Newskit
Like
10
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1083 มุมมอง 0 รีวิว