อริยสาวกพึงศึกษาการอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
สัทธรรมลำดับที่ : 962
ชื่อบทธรรม :- การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=962
เนื้อความทั้งหมด :-
--การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์
มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหรือป่าเปลี่ยว”.
--อุบาลี ! เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=อรญฺญวนปตฺถานิ+ปนฺตานิ+เสนาสนานิ
อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ยาก ความอยู่คนเดียว
เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิอยู่.
--อุบาลี ! ผู้ใดพูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยว”
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=วนานิ+สมาธึ
ดังนี้
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป.
--อุบาลี ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่.
ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์(๑๔ ฟุต)*--๑ หรือเจ็ดรัตน์ครึ่ง
มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า
“เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา”
ดังนี้;
ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น, เพราะเหตุไร ?
--อุบาลี ! เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้.
ครั้งนั้น
กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า
“ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็นอะไรที่ไหนไป
ดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา”
ดังนี้;
กระต่าย หรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น
โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึก,
นี้ฉันใด;
--อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่า หรือป่าเปลี่ยว”
ดังนี้
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้คือ จิตจักจมลง หรือจิตจักปลิวไป.
--อุบาลี ! เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์,
ดังนี้.-
*--๑. หนึ่งรัตน์เท่ากับ ๒ วิทัตถิ,
เท่าที่ทดสอบกันในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า หนึ่งวิทัตถิ ประมาณเท่ากับ ๑ ฟุต.--
(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่ามิได้เหมาะสำหรับทุกคน.
ผู้ใดคิดว่าจักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอันไม่มีอาสวะ
ด้วยเหตุเพียงสักว่าอยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้
เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ตามถึงประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ;
ดังนั้นพระองค์จึงตรัสกะภิกษุอุบาลีว่า : -)
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/172/99.
http://etipitaka.com/read/thai/24/172/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=962
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82&id=962
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82
ลำดับสาธยายธรรม : 82 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_82.mp3
สัทธรรมลำดับที่ : 962
ชื่อบทธรรม :- การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=962
เนื้อความทั้งหมด :-
--การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์
มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหรือป่าเปลี่ยว”.
--อุบาลี ! เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=อรญฺญวนปตฺถานิ+ปนฺตานิ+เสนาสนานิ
อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ยาก ความอยู่คนเดียว
เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิอยู่.
--อุบาลี ! ผู้ใดพูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยว”
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=วนานิ+สมาธึ
ดังนี้
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป.
--อุบาลี ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่.
ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์(๑๔ ฟุต)*--๑ หรือเจ็ดรัตน์ครึ่ง
มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า
“เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา”
ดังนี้;
ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น, เพราะเหตุไร ?
--อุบาลี ! เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้.
ครั้งนั้น
กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า
“ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็นอะไรที่ไหนไป
ดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา”
ดังนี้;
กระต่าย หรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น
โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึก,
นี้ฉันใด;
--อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่า หรือป่าเปลี่ยว”
ดังนี้
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้คือ จิตจักจมลง หรือจิตจักปลิวไป.
--อุบาลี ! เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์,
ดังนี้.-
*--๑. หนึ่งรัตน์เท่ากับ ๒ วิทัตถิ,
เท่าที่ทดสอบกันในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า หนึ่งวิทัตถิ ประมาณเท่ากับ ๑ ฟุต.--
(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่ามิได้เหมาะสำหรับทุกคน.
ผู้ใดคิดว่าจักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอันไม่มีอาสวะ
ด้วยเหตุเพียงสักว่าอยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้
เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ตามถึงประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ;
ดังนั้นพระองค์จึงตรัสกะภิกษุอุบาลีว่า : -)
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/172/99.
http://etipitaka.com/read/thai/24/172/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=962
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82&id=962
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82
ลำดับสาธยายธรรม : 82 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_82.mp3
อริยสาวกพึงศึกษาการอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
สัทธรรมลำดับที่ : 962
ชื่อบทธรรม :- การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=962
เนื้อความทั้งหมด :-
--การอยู่ป่ากับการเจริญสมาธิสำหรับภิกษุบางรูป
--“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์
มีความประสงค์จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหรือป่าเปลี่ยว”.
--อุบาลี ! เสนาสนะอันสงัด คือป่าหรือป่าเปลี่ยว
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=อรญฺญวนปตฺถานิ+ปนฺตานิ+เสนาสนานิ
อยู่ได้ยาก ปวิเวกทำได้ยาก ความอยู่คนเดียว
เป็นสิ่งที่ยินดีได้ยาก ป่ามักจะนำไปเสีย ซึ่งใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิอยู่.
--อุบาลี ! ผู้ใดพูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่าหรือป่าเปลี่ยว”
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=วนานิ+สมาธึ
ดังนี้
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้ คือ จิตจักจมลงหรือจิตจักปลิวไป.
--อุบาลี ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ มีอยู่.
ช้างพลายสูงเจ็ดรัตน์(๑๔ ฟุต)*--๑ หรือเจ็ดรัตน์ครึ่ง
มาสู่ที่นั้นแล้วคิดว่า
“เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา”
ดังนี้;
ช้างนั้น กระทำได้ดังนั้น, เพราะเหตุไร ?
--อุบาลี ! เพราะเหตุว่า ช้างนั้นตัวใหญ่ จึงอาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึกได้.
ครั้งนั้น
กระต่ายหรือแมวป่า มาเห็นช้างนั้นแล้วคิดว่า
“ช้างจะเป็นอะไรที่ไหนมา เราก็จะเป็นอะไรที่ไหนไป
ดังนั้น เราจะลงสู่ห้วงน้ำนี้ แล้วเล่นน้ำ ล้างหูบ้าง เล่นน้ำ ล้างหลังบ้าง
แล้วพึงอาบพึงดื่ม พึงขึ้นจากห้วงน้ำแล้วหลีกไปตามปรารถนา”
ดังนี้;
กระต่าย หรือแมวป่านั้น กระโจนลงสู่ห้วงน้ำนั้น
โดยไม่พิจารณา ผลที่มันหวังได้ก็คือ จมดิ่งลงไป หรือลอยไปตามกระแสน้ำ.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะว่ากระต่ายหรือแมวป่านั้นตัวมันเล็ก จึงไม่อาจหยั่งลงในห้วงน้ำลึก,
นี้ฉันใด;
--อุบาลี ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ผู้ใด พูดว่า
“เราไม่ได้สมาธิ เราจักไปอยู่ในเสนาสนะอันสงัดคือป่า หรือป่าเปลี่ยว”
ดังนี้
เขานั้น พึงหวังผลข้อนี้คือ จิตจักจมลง หรือจิตจักปลิวไป.
--อุบาลี ! เธอ จงอยู่ในหมู่สงฆ์เถิด ความผาสุกจักมีแก่เธอผู้อยู่ในหมู่สงฆ์,
ดังนี้.-
*--๑. หนึ่งรัตน์เท่ากับ ๒ วิทัตถิ,
เท่าที่ทดสอบกันในประเทศไทยแล้ว ปรากฏว่า หนึ่งวิทัตถิ ประมาณเท่ากับ ๑ ฟุต.--
(เนื้อความข้อนี้แสดงว่า การออกไปอยู่ป่ามิได้เหมาะสำหรับทุกคน.
ผู้ใดคิดว่าจักบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน กระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอันไม่มีอาสวะ
ด้วยเหตุเพียงสักว่าอยู่ป่าอย่างเดียวนั้น ไม่อาจจะสำเร็จได้
เพราะไม่ชื่อว่า เป็นผู้ตามถึงประโยชน์ตน (อนุปฺปตฺตสทตฺถ) ได้ด้วยเหตุสักว่าการอยู่ป่า ;
ดังนั้นพระองค์จึงตรัสกะภิกษุอุบาลีว่า : -)
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. 24/172/99.
http://etipitaka.com/read/thai/24/172/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ทสก. อํ. ๒๔/๒๑๖/๙๙.
http://etipitaka.com/read/pali/24/216/?keywords=%E0%B9%99%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=962
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82&id=962
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=82
ลำดับสาธยายธรรม : 82 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_82.mp3
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
3 มุมมอง
0 รีวิว