• Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4)
    *****************
    เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ
    เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน
    กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ
    ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย
    มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น
    พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น
    *****************
    USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ
    สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู
    ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้
    1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563
    2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566
    3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563
    4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571
    5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold

    *****************
    รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน
    การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ
    ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
    การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น
    *****************
    EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม
    ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA
    *****************
    ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
    พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน
    สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
    เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้
    *****************
    อ้างอิง :
    • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia
    • World Gold Council https://www.gold.org/
    • EarthRights International
    Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4) ***************** เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น ***************** USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้ 1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563 2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566 3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563 4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571 5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold ***************** รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ***************** EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA ***************** ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ***************** อ้างอิง : • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia • World Gold Council https://www.gold.org/ • EarthRights International
    0 Comments 0 Shares 92 Views 0 Reviews

  • ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 Comments 0 Shares 329 Views 0 Reviews
  • Anker ได้เปิดตัว UV Printer E1 ภายใต้แบรนด์ eufyMake ซึ่งเป็น เครื่องพิมพ์ UV แบบ 3D สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ที่สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวหลากหลายประเภท เช่น ไม้, โลหะ, อะคริลิก, หนัง, แก้ว, หิน และเซรามิก

    ✅ UV Printer E1 สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวที่หลากหลาย
    - ใช้ UV light เพื่อทำให้หมึกแห้งอย่างรวดเร็ว
    - สามารถพิมพ์ลงบน ถ้วย, กระเบื้อง, กระดาษ, ผ้าใบ และวัสดุอื่นๆ

    ✅ รองรับการพิมพ์แบบ 3D และเครื่องมือแก้ไขภาพด้วย AI
    - สามารถสร้าง พื้นผิวแบบ 3D และใช้ AI ในการแก้ไขภาพ
    - รองรับการพิมพ์แบบ Direct-to-Film (DTF) ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายโอนภาพไปยังพื้นผิวที่หลากหลาย

    ✅ ขนาดกะทัดรัดและเหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
    - เครื่องพิมพ์นี้มีขนาดเล็กกว่ารุ่นอุตสาหกรรมถึง 90%
    - เหมาะสำหรับ ธุรกิจขนาดเล็ก, นักออกแบบ และผู้ใช้ทั่วไป

    ✅ การเปิดตัวและราคา
    - เปิดตัวผ่าน Kickstarter ในเดือนเมษายน 2025
    - ราคาเริ่มต้นที่ $1,499 พร้อมเงินมัดจำ $50
    - การจัดส่งเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2025 ไปยัง สหรัฐฯ, แคนาดา, ยุโรป, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์

    https://www.techspot.com/news/107560-world-first-personal-3d-texturing-uv-printer-paints.html
    Anker ได้เปิดตัว UV Printer E1 ภายใต้แบรนด์ eufyMake ซึ่งเป็น เครื่องพิมพ์ UV แบบ 3D สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ที่สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวหลากหลายประเภท เช่น ไม้, โลหะ, อะคริลิก, หนัง, แก้ว, หิน และเซรามิก ✅ UV Printer E1 สามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวที่หลากหลาย - ใช้ UV light เพื่อทำให้หมึกแห้งอย่างรวดเร็ว - สามารถพิมพ์ลงบน ถ้วย, กระเบื้อง, กระดาษ, ผ้าใบ และวัสดุอื่นๆ ✅ รองรับการพิมพ์แบบ 3D และเครื่องมือแก้ไขภาพด้วย AI - สามารถสร้าง พื้นผิวแบบ 3D และใช้ AI ในการแก้ไขภาพ - รองรับการพิมพ์แบบ Direct-to-Film (DTF) ซึ่งช่วยให้สามารถถ่ายโอนภาพไปยังพื้นผิวที่หลากหลาย ✅ ขนาดกะทัดรัดและเหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป - เครื่องพิมพ์นี้มีขนาดเล็กกว่ารุ่นอุตสาหกรรมถึง 90% - เหมาะสำหรับ ธุรกิจขนาดเล็ก, นักออกแบบ และผู้ใช้ทั่วไป ✅ การเปิดตัวและราคา - เปิดตัวผ่าน Kickstarter ในเดือนเมษายน 2025 - ราคาเริ่มต้นที่ $1,499 พร้อมเงินมัดจำ $50 - การจัดส่งเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2025 ไปยัง สหรัฐฯ, แคนาดา, ยุโรป, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ https://www.techspot.com/news/107560-world-first-personal-3d-texturing-uv-printer-paints.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    The world's first personal 3D texturing UV printer paints on almost any surface
    The UV Printer E1 from Anker's eufyMake brand allows non-business customers to print detailed color designs onto cups, tiles, paper, canvas, and numerous other materials. It supports...
    0 Comments 0 Shares 136 Views 0 Reviews
  • มีรายงานว่า รัสเซียได้เจรจาอย่างเป็นทางการกับจาการ์ตาในการขออนุญาตให้เครื่องบินของกองกำลังอวกาศรัสเซีย (VKS) ประจำการที่ฐานทัพปาปัวในจังหวัดทางตะวันออกสุดของอินโดนีเซีย

    จากรายงานของสื่อ คาดว่ารัสเซียอาจต้องการให้เครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-95 ไปประจำการที่ฐานทัพอากาศ Manuhua ซึ่งตั้งอยู่ติดกับสนามบิน Frans Kaisiepo บนเกาะ Biak ของอินโดนีเซีย ในภูมิภาคปาปัว

    ซึ่งเป็นฐานทัพอากาศที่กองทัพอากาศอินโดนีเซียไม่ได้ใช้งานแล้ว และปล่อยทิ้งร้างไว้

    ขณะเดียวกัน ออสเตรเลียถึงกับแสดงอาการร้อนรน และส่งคำถามไปยังรัฐบาลอินโดนีเซียถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งจากรายงานของสื่อออสเตรเลีย รัฐบาลจาการ์ตาได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าวแล้วเช่นกัน


    มีรายงานว่า รัสเซียได้เจรจาอย่างเป็นทางการกับจาการ์ตาในการขออนุญาตให้เครื่องบินของกองกำลังอวกาศรัสเซีย (VKS) ประจำการที่ฐานทัพปาปัวในจังหวัดทางตะวันออกสุดของอินโดนีเซีย จากรายงานของสื่อ คาดว่ารัสเซียอาจต้องการให้เครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-95 ไปประจำการที่ฐานทัพอากาศ Manuhua ซึ่งตั้งอยู่ติดกับสนามบิน Frans Kaisiepo บนเกาะ Biak ของอินโดนีเซีย ในภูมิภาคปาปัว ซึ่งเป็นฐานทัพอากาศที่กองทัพอากาศอินโดนีเซียไม่ได้ใช้งานแล้ว และปล่อยทิ้งร้างไว้ ขณะเดียวกัน ออสเตรเลียถึงกับแสดงอาการร้อนรน และส่งคำถามไปยังรัฐบาลอินโดนีเซียถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งจากรายงานของสื่อออสเตรเลีย รัฐบาลจาการ์ตาได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าวแล้วเช่นกัน
    0 Comments 0 Shares 166 Views 0 Reviews
  • นอกจาก “แร่หายาก” 7 ชนิด ที่จีนใช้เป็นอาวุธในการตอบโต้ทรัมป์ จีนยังได้ประกาศยกเลิกการสั่งเนื้อวัวจากสหรัฐ และหันไปซื้อจากออสเตรเลียสูงถึง 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    แร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งจีนผลิตได้ประมาณ 70% ของโลก ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยแร่หายากทั้ง 7 ชนิด ได้แก่:

    👉Samarium (ซาแมเรียม) ใช้ในแม่เหล็ก (magnets), เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors), และการรักษามะเร็ง (cancer treatments)

    👉Gadolinium (แกโดลิเนียม) ใช้ในตัวแทนความคมชัดของ MRI (MRI contrast agents), การป้องกันรังสีนิวเคลียร์ (nuclear shielding), และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics)

    👉Terbium (เทอร์เบียม) ใช้ในฟอสเฟอร์ในระบบแสงสว่าง (phosphors in lighting), จอแสดงผล (displays), และการผลิตแม่เหล็ก (magnet production)

    👉Dysprosium (ดิสโพรเซียม) ใช้ในแม่เหล็กประสิทธิภาพสูงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (high-performance magnets for electric vehicles) และกังหันลม (wind turbines)

    👉Lutetium (ลูทีเซียม) ใช้ในการถ่ายภาพทางการแพทย์ (medical imaging), การรักษามะเร็ง (cancer therapy), และตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysts)

    👉Scandium (สแกนเดียม) ใช้ในเพิ่มความแข็งแรงในโลหะผสมอะลูมิเนียมสำหรับการบินและอวกาศ (enhances strength in aluminum alloys for aerospace) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics)

    👉Yttrium (อิตเทรียม) ใช้ในฟอสเฟอร์ในไฟ LED (phosphors in LEDs), เลเซอร์ (lasers), และตัวนำยิ่งยวด (superconductors)

    นอกจากนี้ จีนเพิ่งลงนามข้อตกลงกับออสเตรเลียในการนำเข้าเนื้อวัวมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญ แต่ราคาเนื้อวัวของออสเตรเลียมีราคาแพงกว่าเนื้อวัวที่นำเข้าจากสหรัฐ คงต้องติดตามดูต่อไปว่าจีนจะสามารถรักษาราคาเนื้อวัวในประเทศให้อนู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อประชาชนได้หรือไม่
    นอกจาก “แร่หายาก” 7 ชนิด ที่จีนใช้เป็นอาวุธในการตอบโต้ทรัมป์ จีนยังได้ประกาศยกเลิกการสั่งเนื้อวัวจากสหรัฐ และหันไปซื้อจากออสเตรเลียสูงถึง 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งจีนผลิตได้ประมาณ 70% ของโลก ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยแร่หายากทั้ง 7 ชนิด ได้แก่: 👉Samarium (ซาแมเรียม) ใช้ในแม่เหล็ก (magnets), เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (nuclear reactors), และการรักษามะเร็ง (cancer treatments) 👉Gadolinium (แกโดลิเนียม) ใช้ในตัวแทนความคมชัดของ MRI (MRI contrast agents), การป้องกันรังสีนิวเคลียร์ (nuclear shielding), และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics) 👉Terbium (เทอร์เบียม) ใช้ในฟอสเฟอร์ในระบบแสงสว่าง (phosphors in lighting), จอแสดงผล (displays), และการผลิตแม่เหล็ก (magnet production) 👉Dysprosium (ดิสโพรเซียม) ใช้ในแม่เหล็กประสิทธิภาพสูงสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (high-performance magnets for electric vehicles) และกังหันลม (wind turbines) 👉Lutetium (ลูทีเซียม) ใช้ในการถ่ายภาพทางการแพทย์ (medical imaging), การรักษามะเร็ง (cancer therapy), และตัวเร่งปฏิกิริยา (catalysts) 👉Scandium (สแกนเดียม) ใช้ในเพิ่มความแข็งแรงในโลหะผสมอะลูมิเนียมสำหรับการบินและอวกาศ (enhances strength in aluminum alloys for aerospace) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (electronics) 👉Yttrium (อิตเทรียม) ใช้ในฟอสเฟอร์ในไฟ LED (phosphors in LEDs), เลเซอร์ (lasers), และตัวนำยิ่งยวด (superconductors) นอกจากนี้ จีนเพิ่งลงนามข้อตกลงกับออสเตรเลียในการนำเข้าเนื้อวัวมูลค่า 2,500 ล้านเหรียญ แต่ราคาเนื้อวัวของออสเตรเลียมีราคาแพงกว่าเนื้อวัวที่นำเข้าจากสหรัฐ คงต้องติดตามดูต่อไปว่าจีนจะสามารถรักษาราคาเนื้อวัวในประเทศให้อนู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อประชาชนได้หรือไม่
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 232 Views 0 Reviews
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 Comments 0 Shares 349 Views 0 Reviews
  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Monash ในออสเตรเลียได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยกำจัดสารเคมี PFAS หรือที่เรียกว่า "สารเคมีตลอดกาล" ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    ✅ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่:
    - ทีมวิจัยได้ออกแบบเมมเบรนกราฟีนที่สามารถกรองสาร PFAS ออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดสาร PFAS ได้มากกว่า 90% ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เมื่อเทียบกับเมมเบรนแบบเดิมที่กำจัดได้เพียง 35%.
    - เมมเบรนนี้ใช้ความสัมพันธ์ทางเคมีเฉพาะเพื่อจับสาร PFAS แม้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน และยังคงรักษาการไหลของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

    ✅ ความสำคัญของ PFAS:
    - PFAS เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอน-ฟลูออรีนที่แข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้สารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนในน้ำใต้ดินและส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เช่น การพัฒนาที่ผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก และมะเร็ง.
    - สาร PFAS ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในกระบวนการผลิตชิป เช่น การใช้ในของเหลว photoresist และก๊าซในห้องแกะสลัก.

    ✅ การนำเทคโนโลยีไปใช้ในอนาคต:
    - Monash University มีความร่วมมือกับ NematiQ ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการผลิตกราฟีน เพื่อช่วยนำเมมเบรนนี้เข้าสู่ตลาดในระดับใหญ่.
    - เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานและการจัดการน้ำจากหลุมฝังกลบ

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/manufacturing/researchers-make-breakthrough-in-cleaning-up-the-forever-chemicals-used-in-chip-manufacturing
    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Monash ในออสเตรเลียได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยกำจัดสารเคมี PFAS หรือที่เรียกว่า "สารเคมีตลอดกาล" ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยเทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการลดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ✅ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่: - ทีมวิจัยได้ออกแบบเมมเบรนกราฟีนที่สามารถกรองสาร PFAS ออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถกำจัดสาร PFAS ได้มากกว่า 90% ซึ่งเป็นการปรับปรุงครั้งใหญ่เมื่อเทียบกับเมมเบรนแบบเดิมที่กำจัดได้เพียง 35%. - เมมเบรนนี้ใช้ความสัมพันธ์ทางเคมีเฉพาะเพื่อจับสาร PFAS แม้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน และยังคงรักษาการไหลของน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ✅ ความสำคัญของ PFAS: - PFAS เป็นสารเคมีที่มีพันธะคาร์บอน-ฟลูออรีนที่แข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้สารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนในน้ำใต้ดินและส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ เช่น การพัฒนาที่ผิดปกติ ภาวะมีบุตรยาก และมะเร็ง. - สาร PFAS ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในกระบวนการผลิตชิป เช่น การใช้ในของเหลว photoresist และก๊าซในห้องแกะสลัก. ✅ การนำเทคโนโลยีไปใช้ในอนาคต: - Monash University มีความร่วมมือกับ NematiQ ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการผลิตกราฟีน เพื่อช่วยนำเมมเบรนนี้เข้าสู่ตลาดในระดับใหญ่. - เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การบำบัดน้ำเสียจากโรงงานและการจัดการน้ำจากหลุมฝังกลบ https://www.tomshardware.com/tech-industry/manufacturing/researchers-make-breakthrough-in-cleaning-up-the-forever-chemicals-used-in-chip-manufacturing
    WWW.TOMSHARDWARE.COM
    Researchers make breakthrough in cleaning up the 'forever chemicals' used in chip manufacturing
    The semiconductor industry is among the worst offenders in PFAS use and pollution.
    0 Comments 0 Shares 123 Views 0 Reviews
  • รายงานจาก National Cyber Security Center (NCSC) ของสหราชอาณาจักร ร่วมกับหน่วยงานในออสเตรเลีย, แคนาดา, เยอรมนี, นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เผยว่าแอปพลิเคชันที่ดูเหมือนเป็นแอปทางศาสนาและวัฒนธรรม เช่น Audio Quran และ TibetOne ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแฝงสปายแวร์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลจีน

    🌐 รายละเอียดของแอปพลิเคชันที่แฝงสปายแวร์:
    - 📍 การรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์: สปายแวร์ที่ชื่อ BADBAZAAR และ MOONSHINE สามารถเข้าถึงข้อมูลตำแหน่ง, เสียง, วิดีโอ, ไฟล์ในอุปกรณ์, ข้อความ SMS และบันทึกการโทร
    - 📱 การปลอมตัวเป็นแอปพลิเคชันทางศาสนาและวัฒนธรรม: แอปเหล่านี้ถูกออกแบบให้ดูเหมือนแอปที่มีประโยชน์ เช่น การแชร์ภาพและบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมทิเบต

    ⚠️ ผลกระทบต่อชุมชนและองค์กร:
    - 🌏 การติดตามกิจกรรม: แอปพลิเคชันเหล่านี้ไม่ได้เพียงแค่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังใช้ในการติดตามกิจกรรมของกลุ่มองค์กรในสังคมพลเมือง
    - 🔒 การแพร่กระจาย: แอปถูกแชร์ผ่านฟอรัมที่ชุมชนเป้าหมายใช้งาน และต้องติดตั้งผ่านไฟล์ .apk เนื่องจากไม่สามารถผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยของ Google Play Store

    https://www.techradar.com/pro/security/spyware-combing-for-data-of-use-to-china-hidden-inside-religious-and-cultural-apps
    รายงานจาก National Cyber Security Center (NCSC) ของสหราชอาณาจักร ร่วมกับหน่วยงานในออสเตรเลีย, แคนาดา, เยอรมนี, นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ เผยว่าแอปพลิเคชันที่ดูเหมือนเป็นแอปทางศาสนาและวัฒนธรรม เช่น Audio Quran และ TibetOne ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแฝงสปายแวร์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลจีน 🌐 รายละเอียดของแอปพลิเคชันที่แฝงสปายแวร์: - 📍 การรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์: สปายแวร์ที่ชื่อ BADBAZAAR และ MOONSHINE สามารถเข้าถึงข้อมูลตำแหน่ง, เสียง, วิดีโอ, ไฟล์ในอุปกรณ์, ข้อความ SMS และบันทึกการโทร - 📱 การปลอมตัวเป็นแอปพลิเคชันทางศาสนาและวัฒนธรรม: แอปเหล่านี้ถูกออกแบบให้ดูเหมือนแอปที่มีประโยชน์ เช่น การแชร์ภาพและบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมทิเบต ⚠️ ผลกระทบต่อชุมชนและองค์กร: - 🌏 การติดตามกิจกรรม: แอปพลิเคชันเหล่านี้ไม่ได้เพียงแค่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังใช้ในการติดตามกิจกรรมของกลุ่มองค์กรในสังคมพลเมือง - 🔒 การแพร่กระจาย: แอปถูกแชร์ผ่านฟอรัมที่ชุมชนเป้าหมายใช้งาน และต้องติดตั้งผ่านไฟล์ .apk เนื่องจากไม่สามารถผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยของ Google Play Store https://www.techradar.com/pro/security/spyware-combing-for-data-of-use-to-china-hidden-inside-religious-and-cultural-apps
    0 Comments 0 Shares 171 Views 0 Reviews
  • Microsoft เปิดตัว Windows 365 Link ซึ่งเป็นอุปกรณ์ Thin Client ที่ออกแบบมาเพื่อให้การเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ Windows 365 เป็นไปอย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับองค์กร โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยและความเรียบง่ายเป็นสำคัญ

    ✅ อุปกรณ์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการเข้าถึงคลาวด์
    - Windows 365 Link เป็นอุปกรณ์ที่ ไม่มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลภายใน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึง Windows 365 Cloud PC จากระยะไกลได้ทันที
    - อุปกรณ์นี้สามารถ เล่นวิดีโอคุณภาพสูงในระหว่างการประชุม โดยประมวลผลบนเครื่องได้โดยตรง

    ✅ คุณสมบัติด้านความปลอดภัยสูงสุด
    - มาพร้อมเทคโนโลยี Secure Boot, Trusted Platform Module (TPM), BitLocker, และ Hypervisor Code Integrity ที่เปิดใช้งานแบบถาวรเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
    - การจัดการทำได้ผ่าน Microsoft Intune ทำให้การติดตั้งและควบคุมอุปกรณ์ Thin Client เป็นไปอย่างง่ายดาย

    ✅ ใช้งานในหลายประเทศ
    - Windows 365 Link พร้อมวางจำหน่ายแล้วใน สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, แคนาดา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์
    - ราคาในสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ $350 โดยเน้นการใช้งานสำหรับองค์กร ไม่ใช่ผู้บริโภคทั่วไป

    ✅ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการลดความซับซ้อนของระบบ IT
    - Thin Client นี้ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยองค์กรสามารถเลือกใช้อุปกรณ์นี้ควบคู่กับ Windows 365 Cloud PC ได้ทันที
    - นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึง Cloud PC ผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ หรือแอป Windows โดยไม่จำเป็นต้องรีบใช้อุปกรณ์ใหม่

    https://www.techspot.com/news/107421-microsoft-350-windows-365-link-cloud-client-now.html
    Microsoft เปิดตัว Windows 365 Link ซึ่งเป็นอุปกรณ์ Thin Client ที่ออกแบบมาเพื่อให้การเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ Windows 365 เป็นไปอย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับองค์กร โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยและความเรียบง่ายเป็นสำคัญ ✅ อุปกรณ์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการเข้าถึงคลาวด์ - Windows 365 Link เป็นอุปกรณ์ที่ ไม่มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลภายใน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึง Windows 365 Cloud PC จากระยะไกลได้ทันที - อุปกรณ์นี้สามารถ เล่นวิดีโอคุณภาพสูงในระหว่างการประชุม โดยประมวลผลบนเครื่องได้โดยตรง ✅ คุณสมบัติด้านความปลอดภัยสูงสุด - มาพร้อมเทคโนโลยี Secure Boot, Trusted Platform Module (TPM), BitLocker, และ Hypervisor Code Integrity ที่เปิดใช้งานแบบถาวรเพื่อเพิ่มความปลอดภัย - การจัดการทำได้ผ่าน Microsoft Intune ทำให้การติดตั้งและควบคุมอุปกรณ์ Thin Client เป็นไปอย่างง่ายดาย ✅ ใช้งานในหลายประเทศ - Windows 365 Link พร้อมวางจำหน่ายแล้วใน สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, แคนาดา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ - ราคาในสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ $350 โดยเน้นการใช้งานสำหรับองค์กร ไม่ใช่ผู้บริโภคทั่วไป ✅ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการลดความซับซ้อนของระบบ IT - Thin Client นี้ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยองค์กรสามารถเลือกใช้อุปกรณ์นี้ควบคู่กับ Windows 365 Cloud PC ได้ทันที - นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึง Cloud PC ผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ หรือแอป Windows โดยไม่จำเป็นต้องรีบใช้อุปกรณ์ใหม่ https://www.techspot.com/news/107421-microsoft-350-windows-365-link-cloud-client-now.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Microsoft's $350 Windows 365 Link cloud client is now available
    Microsoft announced the Windows 365 Link in November and is now beginning to offer the new device to customers in select markets. Link is the first custom...
    0 Comments 0 Shares 179 Views 0 Reviews
  • หน่วยข่าวกรองระดับโลกที่ประกอบด้วย สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ออกคำเตือนถึงภัยคุกคามด้านความมั่นคงไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Fast Flux DNS ซึ่งเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถซ่อนตำแหน่งของเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นอันตราย โดยเทคนิคนี้กำลังกลายเป็นช่องโหว่ในเครือข่ายขนาดใหญ่ และถูกระบุว่าเป็น ภัยคุกคามระดับความมั่นคงของชาติ

    ✅ Fast Flux DNS—เทคนิคที่แฮกเกอร์ใช้ปกปิดตำแหน่งเซิร์ฟเวอร์
    - Fast Flux ช่วยให้เซิร์ฟเวอร์ Command and Control (C2) เปลี่ยน DNS records อย่างรวดเร็ว
    - เทคนิคนี้ทำให้การติดตามตำแหน่งแหล่งมัลแวร์ทำได้ยาก และกลายเป็น ช่องว่างสำคัญในระบบเครือข่าย

    ✅ ความยากในการแยกแยะระหว่างการใช้งานจริงและภัยคุกคาม
    - พฤติกรรมบางอย่างใน Content Delivery Network (CDN) อาจมีลักษณะคล้าย Fast Flux
    - แนวทางป้องกันจำเป็นต้องใช้ Protective DNS services (PDNS) และการทำ Whitelist สำหรับบริการ CDN

    ✅ แนะนำมาตรการป้องกัน Fast Flux DNS
    - ใช้บริการ PDNS และระบบไซเบอร์ที่สามารถตรวจจับและบล็อกพฤติกรรม Fast Flux
    - วิเคราะห์ลักษณะ DNS query logs เพื่อค้นหาโดเมนที่มีความหลากหลายของ IP address หรือมี TTL (Time to Live) ต่ำผิดปกติ
    - ตรวจสอบ DNS resolution เพื่อค้นหาความไม่สอดคล้องในตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

    ✅ การฝึกอบรมเพื่อป้องกันภัยฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Fast Flux
    - เนื่องจากการโจมตี Fast Flux มักเชื่อมโยงกับฟิชชิ่ง การฝึกอบรมพนักงานให้รู้เท่าทันฟิชชิ่ง และตรวจสอบอีเมลหรือลิงก์ที่น่าสงสัย เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกัน

    ✅ ความจำเป็นที่ต้องพัฒนาความร่วมมือระดับนานาชาติ
    - ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ผู้ผลิตอุปกรณ์ไซเบอร์ และองค์กรต่าง ๆ ควรร่วมมือกันพัฒนาโซลูชันที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้

    https://www.csoonline.com/article/3954873/cyber-agencies-urge-organizations-to-collaborate-to-stop-fast-flux-dns-attacks.html
    หน่วยข่าวกรองระดับโลกที่ประกอบด้วย สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ออกคำเตือนถึงภัยคุกคามด้านความมั่นคงไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Fast Flux DNS ซึ่งเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถซ่อนตำแหน่งของเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นอันตราย โดยเทคนิคนี้กำลังกลายเป็นช่องโหว่ในเครือข่ายขนาดใหญ่ และถูกระบุว่าเป็น ภัยคุกคามระดับความมั่นคงของชาติ ✅ Fast Flux DNS—เทคนิคที่แฮกเกอร์ใช้ปกปิดตำแหน่งเซิร์ฟเวอร์ - Fast Flux ช่วยให้เซิร์ฟเวอร์ Command and Control (C2) เปลี่ยน DNS records อย่างรวดเร็ว - เทคนิคนี้ทำให้การติดตามตำแหน่งแหล่งมัลแวร์ทำได้ยาก และกลายเป็น ช่องว่างสำคัญในระบบเครือข่าย ✅ ความยากในการแยกแยะระหว่างการใช้งานจริงและภัยคุกคาม - พฤติกรรมบางอย่างใน Content Delivery Network (CDN) อาจมีลักษณะคล้าย Fast Flux - แนวทางป้องกันจำเป็นต้องใช้ Protective DNS services (PDNS) และการทำ Whitelist สำหรับบริการ CDN ✅ แนะนำมาตรการป้องกัน Fast Flux DNS - ใช้บริการ PDNS และระบบไซเบอร์ที่สามารถตรวจจับและบล็อกพฤติกรรม Fast Flux - วิเคราะห์ลักษณะ DNS query logs เพื่อค้นหาโดเมนที่มีความหลากหลายของ IP address หรือมี TTL (Time to Live) ต่ำผิดปกติ - ตรวจสอบ DNS resolution เพื่อค้นหาความไม่สอดคล้องในตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ✅ การฝึกอบรมเพื่อป้องกันภัยฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Fast Flux - เนื่องจากการโจมตี Fast Flux มักเชื่อมโยงกับฟิชชิ่ง การฝึกอบรมพนักงานให้รู้เท่าทันฟิชชิ่ง และตรวจสอบอีเมลหรือลิงก์ที่น่าสงสัย เป็นอีกหนึ่งวิธีป้องกัน ✅ ความจำเป็นที่ต้องพัฒนาความร่วมมือระดับนานาชาติ - ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, ผู้ผลิตอุปกรณ์ไซเบอร์ และองค์กรต่าง ๆ ควรร่วมมือกันพัฒนาโซลูชันที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ https://www.csoonline.com/article/3954873/cyber-agencies-urge-organizations-to-collaborate-to-stop-fast-flux-dns-attacks.html
    WWW.CSOONLINE.COM
    Cyber agencies urge organizations to collaborate to stop fast flux DNS attacks
    They call the tactic a 'national security threat' and a 'defensive gap in many networks.'
    0 Comments 0 Shares 227 Views 0 Reviews
  • ศาลออสเตรเลียตัดสินให้ Billy Mitchell ชนะคดีหมิ่นประมาท และ Karl Jobst ต้องจ่ายเงิน $230,000 หลังจากที่ Jobst อ้างว่า Mitchell เป็นสาเหตุที่ทำให้ YouTuber Apollo Legend เสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ศาลระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่า Apollo Legend ต้องจ่ายเงินให้ Mitchell ขณะที่ Mitchell เคยมีประวัติฟ้องร้อง Twin Galaxies และ Guinness World Records เพื่อคืนสถิติของเขา

    ข้อกล่าวหาของ Karl Jobst ต่อ Billy Mitchell
    - ในปี 2021 Jobst โพสต์วิดีโอชื่อ "The Biggest Conmen in Video Game History Strike Again!"
    - อ้างว่า YouTuber Apollo Legend (Benjamin Smith) ต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้ Mitchell จนเป็นหนี้สินและนำไปสู่การเสียชีวิตในปี 2020
    - Jobst ยังกล่าวว่า Mitchell "มีความสุขกับข่าวการเสียชีวิตของ Apollo Legend"

    คำตัดสินของศาล
    - ศาล Brisbane District Court ตัดสินให้ Mitchell ชนะคดี และได้รับเงิน AU$350,000 (ประมาณ $230,000)
    - ศาลระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่า Apollo Legend จ่ายเงินให้ Mitchell ในการไกล่เกลี่ยคดี
    - Jobst เคยแก้ไขวิดีโอหลายครั้งหลังจากถูกเตือน แต่ศาลเห็นว่า ยังมีเนื้อหาที่เป็นเท็จอยู่

    ปัญหาคดีเก่าของ Billy Mitchell
    - Mitchell เคยถูกกล่าวหาว่าใช้โปรแกรมจำลองเกม (MAME) แทนเครื่องอาร์เคดจริงเพื่อสร้างสถิติ Donkey Kong
    - เว็บไซต์ Twin Galaxies และ Guinness World Records ลบสถิติของเขาในปี 2018
    - Mitchell ฟ้องร้องทั้งสององค์กร และ Guinness World Records คืนสถิติให้เขาในปี 2020 ส่วน Twin Galaxies คืนสถิติในปี 2024 หลังมีการไกล่เกลี่ย

    ความเห็นจาก Karl Jobst และ Billy Mitchell
    - Jobst โพสต์บน X (Twitter) ว่า "ผมแพ้คดี ศาลเชื่อในคำให้การของ Mitchell และไม่มีอะไรช่วยผมได้แล้ว"
    - ขณะที่ Mitchell โพสต์ว่า "ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่ากลิ่นแห่งชัยชนะในอากาศยามเย็น"

    https://www.techspot.com/news/107368-youtuber-ordered-pay-king-kong-billy-mitchell-230000.html
    ศาลออสเตรเลียตัดสินให้ Billy Mitchell ชนะคดีหมิ่นประมาท และ Karl Jobst ต้องจ่ายเงิน $230,000 หลังจากที่ Jobst อ้างว่า Mitchell เป็นสาเหตุที่ทำให้ YouTuber Apollo Legend เสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ศาลระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่า Apollo Legend ต้องจ่ายเงินให้ Mitchell ขณะที่ Mitchell เคยมีประวัติฟ้องร้อง Twin Galaxies และ Guinness World Records เพื่อคืนสถิติของเขา ข้อกล่าวหาของ Karl Jobst ต่อ Billy Mitchell - ในปี 2021 Jobst โพสต์วิดีโอชื่อ "The Biggest Conmen in Video Game History Strike Again!" - อ้างว่า YouTuber Apollo Legend (Benjamin Smith) ต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้ Mitchell จนเป็นหนี้สินและนำไปสู่การเสียชีวิตในปี 2020 - Jobst ยังกล่าวว่า Mitchell "มีความสุขกับข่าวการเสียชีวิตของ Apollo Legend" คำตัดสินของศาล - ศาล Brisbane District Court ตัดสินให้ Mitchell ชนะคดี และได้รับเงิน AU$350,000 (ประมาณ $230,000) - ศาลระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่า Apollo Legend จ่ายเงินให้ Mitchell ในการไกล่เกลี่ยคดี - Jobst เคยแก้ไขวิดีโอหลายครั้งหลังจากถูกเตือน แต่ศาลเห็นว่า ยังมีเนื้อหาที่เป็นเท็จอยู่ ปัญหาคดีเก่าของ Billy Mitchell - Mitchell เคยถูกกล่าวหาว่าใช้โปรแกรมจำลองเกม (MAME) แทนเครื่องอาร์เคดจริงเพื่อสร้างสถิติ Donkey Kong - เว็บไซต์ Twin Galaxies และ Guinness World Records ลบสถิติของเขาในปี 2018 - Mitchell ฟ้องร้องทั้งสององค์กร และ Guinness World Records คืนสถิติให้เขาในปี 2020 ส่วน Twin Galaxies คืนสถิติในปี 2024 หลังมีการไกล่เกลี่ย ความเห็นจาก Karl Jobst และ Billy Mitchell - Jobst โพสต์บน X (Twitter) ว่า "ผมแพ้คดี ศาลเชื่อในคำให้การของ Mitchell และไม่มีอะไรช่วยผมได้แล้ว" - ขณะที่ Mitchell โพสต์ว่า "ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่ากลิ่นแห่งชัยชนะในอากาศยามเย็น" https://www.techspot.com/news/107368-youtuber-ordered-pay-king-kong-billy-mitchell-230000.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    YouTuber ordered to pay "King of Kong" Billy Mitchell $230,000 over defamation claims
    Mitchell has appeared in several documentaries related to his achievements in Donkey Kong and Pac-Man, including King of Kong in 2007. But in 2018, he was accused...
    0 Comments 0 Shares 247 Views 0 Reviews
  • แผนที่แสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับ 4.0 Magnitude ขึ้นไป ตั้งแต่ 1 มกราคม 1975 จนถึง 28 มีนาคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมียนมาวัดระดับได้ 7.7 Magnitude

    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โดยแผ่นเปลือกโลกหลัก เช่น แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) และแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่รุนแรง

    เมื่อปี 2004 (2547) เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 230,000 รายทั่วเอเชียและแอฟริกา

    ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ต้องรับมือกับแผ่นดินไหวมากที่สุดต่อปี รองลงมาคือเมียนมา เนื่องจากรอยเลื่อนและร่องลึกจำนวนมากที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศดังกล่าว

    ในขณะที่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มักไม่ประสบกับแผ่นดินไหวรุนแรง ความตื่นตระหนกที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศเหล่านี้หลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงประชาชนในประเทศกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    แผนที่แสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับ 4.0 Magnitude ขึ้นไป ตั้งแต่ 1 มกราคม 1975 จนถึง 28 มีนาคม 2025 ซึ่งเป็นวันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในเมียนมาวัดระดับได้ 7.7 Magnitude เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งของโลกที่มีแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด โดยแผ่นเปลือกโลกหลัก เช่น แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) และแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย (Australian Plate) เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิที่รุนแรง เมื่อปี 2004 (2547) เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 230,000 รายทั่วเอเชียและแอฟริกา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ต้องรับมือกับแผ่นดินไหวมากที่สุดต่อปี รองลงมาคือเมียนมา เนื่องจากรอยเลื่อนและร่องลึกจำนวนมากที่เคลื่อนตัวผ่านประเทศดังกล่าว ในขณะที่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม มักไม่ประสบกับแผ่นดินไหวรุนแรง ความตื่นตระหนกที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศเหล่านี้หลังจากแผ่นดินไหวรุนแรงในเมียนมา เมื่อ 28 มีนาคม แสดงให้เห็นถึงประชาชนในประเทศกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 343 Views 0 Reviews
  • ข่าวนี้นำเสนอภารกิจ Fram2 ของ SpaceX ที่ส่งนักบินอวกาศเอกชนสี่คนขึ้นสู่วงโคจรแบบ Polar Orbit ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่มนุษย์ยังไม่เคยเดินทางมาก่อน โดยใช้จรวด Falcon 9 ปล่อยจากศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา ภารกิจนี้จะใช้เวลา 3-5 วัน เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของการเดินทางในอวกาศต่อร่างกายมนุษย์

    ผู้นำภารกิจและแรงบันดาลใจ
    - ภารกิจนำโดย Chun Wang นักลงทุนจากมอลตาที่เกิดในจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทขุดเหมืองบิตคอยน์และเป็นผู้สนับสนุนหลักของเที่ยวบินนี้
    - ชื่อ Fram2 ได้รับแรงบันดาลใจจากเรือสำรวจขั้วโลก Fram ของนอร์เวย์ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสำรวจอาร์กติก

    ลูกเรือและเป้าหมายของภารกิจ
    - ลูกเรือประกอบด้วย Jannicke Mikkelsen ผู้กำกับภาพยนตร์จากนอร์เวย์, Rabea Rogge นักวิจัยด้านหุ่นยนต์และผู้เชี่ยวชาญขั้วโลกจากเยอรมนี และ Eric Philips นักผจญภัยชาวออสเตรเลียที่มีประสบการณ์เดินทางในภูมิภาคขั้วโลก
    - พวกเขาจะดำเนินการ 22 การทดลอง ที่เน้นเรื่องผลกระทบของภาวะไร้น้ำหนักต่อร่างกาย

    SpaceX กับการครองตลาดการบินอวกาศเอกชน
    - Fram2 ถือเป็นภารกิจนักบินอวกาศเอกชน ครั้งที่ 6 ของ SpaceX และเป็นครั้งแรกที่เดินทางในเส้นทาง วงโคจรขั้วโลก
    - บริษัทของ Elon Musk กำลังขยายอิทธิพลในการส่งนักบินอวกาศเอกชนขึ้นสู่อวกาศ โดยอาศัยเทคโนโลยี Crew Dragon ซึ่งเป็นยานอวกาศที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก NASA

    ต้นทุนการเดินทางและแนวโน้มของตลาด
    - ค่าใช้จ่ายต่อที่นั่งใน Crew Dragon อยู่ที่ประมาณ 55 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ภารกิจเหล่านี้เข้าถึงได้สำหรับนักลงทุนหรือรัฐบาลที่ต้องการขยายประสบการณ์ด้านอวกาศ
    - ในระยะหลัง ตลาดอวกาศเอกชนเริ่มขยายไปยังการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการท่องเที่ยว

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/01/private-spacex-crew-set-for-launch-to-novel-polar-orbit-around-earth
    ข่าวนี้นำเสนอภารกิจ Fram2 ของ SpaceX ที่ส่งนักบินอวกาศเอกชนสี่คนขึ้นสู่วงโคจรแบบ Polar Orbit ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่มนุษย์ยังไม่เคยเดินทางมาก่อน โดยใช้จรวด Falcon 9 ปล่อยจากศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา ภารกิจนี้จะใช้เวลา 3-5 วัน เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับผลกระทบของการเดินทางในอวกาศต่อร่างกายมนุษย์ ผู้นำภารกิจและแรงบันดาลใจ - ภารกิจนำโดย Chun Wang นักลงทุนจากมอลตาที่เกิดในจีน เขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทขุดเหมืองบิตคอยน์และเป็นผู้สนับสนุนหลักของเที่ยวบินนี้ - ชื่อ Fram2 ได้รับแรงบันดาลใจจากเรือสำรวจขั้วโลก Fram ของนอร์เวย์ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสำรวจอาร์กติก ลูกเรือและเป้าหมายของภารกิจ - ลูกเรือประกอบด้วย Jannicke Mikkelsen ผู้กำกับภาพยนตร์จากนอร์เวย์, Rabea Rogge นักวิจัยด้านหุ่นยนต์และผู้เชี่ยวชาญขั้วโลกจากเยอรมนี และ Eric Philips นักผจญภัยชาวออสเตรเลียที่มีประสบการณ์เดินทางในภูมิภาคขั้วโลก - พวกเขาจะดำเนินการ 22 การทดลอง ที่เน้นเรื่องผลกระทบของภาวะไร้น้ำหนักต่อร่างกาย SpaceX กับการครองตลาดการบินอวกาศเอกชน - Fram2 ถือเป็นภารกิจนักบินอวกาศเอกชน ครั้งที่ 6 ของ SpaceX และเป็นครั้งแรกที่เดินทางในเส้นทาง วงโคจรขั้วโลก - บริษัทของ Elon Musk กำลังขยายอิทธิพลในการส่งนักบินอวกาศเอกชนขึ้นสู่อวกาศ โดยอาศัยเทคโนโลยี Crew Dragon ซึ่งเป็นยานอวกาศที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก NASA ต้นทุนการเดินทางและแนวโน้มของตลาด - ค่าใช้จ่ายต่อที่นั่งใน Crew Dragon อยู่ที่ประมาณ 55 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ภารกิจเหล่านี้เข้าถึงได้สำหรับนักลงทุนหรือรัฐบาลที่ต้องการขยายประสบการณ์ด้านอวกาศ - ในระยะหลัง ตลาดอวกาศเอกชนเริ่มขยายไปยังการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากกว่าการท่องเที่ยว https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/01/private-spacex-crew-set-for-launch-to-novel-polar-orbit-around-earth
    WWW.THESTAR.COM.MY
    SpaceX launches private astronaut crew in Fram2 polar-orbiting mission
    WASHINGTON (Reuters) -Elon Musk's SpaceX on Monday launched a crew of four private astronauts led by a crypto entrepreneur on a mission to orbit Earth from pole to pole, a novel trajectory in which no humans have traveled before.
    0 Comments 0 Shares 261 Views 0 Reviews
  • โคเปนเฮเกนโต้สหรัฐฯระบุสมควรมีความเคารพต่อเดนมาร์กที่เป็นชาติพันธมิตรนาโตใกล้ชิด ยันเสริมความมั่นคงปกป้องกรีนแลนด์เพิ่มหลังรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ และสุภาพสตรีหมายเลข 2 ต้องโดนจำกัดบินเข้าได้แต่ฐานทัพอากาศสหรัฐฯบนกรีนแลนด์ส่วนทรัมป์ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหาร หลังแคนาดาหันไปจับมือออสเตรเลียลุยพัฒนาระบบเรดาร์ทหารป้องกันเขตอาร์กติกร่วมกับออสเตรเลีย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000030408
    โคเปนเฮเกนโต้สหรัฐฯระบุสมควรมีความเคารพต่อเดนมาร์กที่เป็นชาติพันธมิตรนาโตใกล้ชิด ยันเสริมความมั่นคงปกป้องกรีนแลนด์เพิ่มหลังรองประธานาธิบดี เจดี แวนซ์ และสุภาพสตรีหมายเลข 2 ต้องโดนจำกัดบินเข้าได้แต่ฐานทัพอากาศสหรัฐฯบนกรีนแลนด์ส่วนทรัมป์ไม่ตัดความเป็นไปได้ใช้กำลังทหาร หลังแคนาดาหันไปจับมือออสเตรเลียลุยพัฒนาระบบเรดาร์ทหารป้องกันเขตอาร์กติกร่วมกับออสเตรเลีย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000030408
    Like
    5
    0 Comments 0 Shares 1109 Views 0 Reviews
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.114 : Make Thailand Great Again มุมมองจาก ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม
    .
    รายการวันนี้มีความพิเศษ คือ คุณศุภชัยรายงานตรง มาจากเวทีการประชุมใหญ่ประจำปีของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่เกาะไห่หนาน หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า ไหหลำ ในประเทศจีน
    .
    สำหรับ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นโดยมี ประเทศจีน เป็นแกนนำ พร้อมด้วยความร่วมมือของ 26 ประเทศในเอเชีย และออสเตรเลีย โดยชื่อของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ก็มาจากชื่อตำบลป๋ออ๋าว ในมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นที่จัดการประชุมหลักเป็นประจำทุกปี
    .
    โดยเวทีการประชุมป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่คุณศุภชัยไปร่วมงานในขณะนี้นั้น ถูกเรียกกันว่าเป็น “การประชุมดาวอสแห่งเอเชีย” เพราะว่ามีบทบาทคล้ายกับเวที World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “เวทีดาวอส” ส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทัศนะ หรือ มุมมองของชาติตะวันตก แต่ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม จะให้ความสำคัญกับชาติเอเชียเป็นหลัก ......
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=5YsjpZNbVkI
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #BoaoForum #ป๋ออ่าวฟอรั่ม
    บูรพาไม่แพ้ Ep.114 : Make Thailand Great Again มุมมองจาก ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม . รายการวันนี้มีความพิเศษ คือ คุณศุภชัยรายงานตรง มาจากเวทีการประชุมใหญ่ประจำปีของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่เกาะไห่หนาน หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า ไหหลำ ในประเทศจีน . สำหรับ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม เป็นการประชุมระหว่างประเทศ ที่จัดขึ้นโดยมี ประเทศจีน เป็นแกนนำ พร้อมด้วยความร่วมมือของ 26 ประเทศในเอเชีย และออสเตรเลีย โดยชื่อของ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ก็มาจากชื่อตำบลป๋ออ๋าว ในมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นที่จัดการประชุมหลักเป็นประจำทุกปี . โดยเวทีการประชุมป๋ออ๋าว ฟอรั่ม ที่คุณศุภชัยไปร่วมงานในขณะนี้นั้น ถูกเรียกกันว่าเป็น “การประชุมดาวอสแห่งเอเชีย” เพราะว่ามีบทบาทคล้ายกับเวที World Economic Forum ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย “เวทีดาวอส” ส่วนใหญ่จะหารือกันเรื่องของเศรษฐกิจโลกในทัศนะ หรือ มุมมองของชาติตะวันตก แต่ ป๋ออ๋าว ฟอรั่ม จะให้ความสำคัญกับชาติเอเชียเป็นหลัก ...... . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=5YsjpZNbVkI . #บูรพาไม่แพ้ #BoaoForum #ป๋ออ่าวฟอรั่ม
    Like
    1
    0 Comments 1 Shares 423 Views 0 Reviews
  • กทม. จับมือ สอท.ออสเตรเลีย จัดสัมมนาภูมิภาค โครงการ RUCaS
    https://www.thai-tai.tv/news/17850/
    กทม. จับมือ สอท.ออสเตรเลีย จัดสัมมนาภูมิภาค โครงการ RUCaS https://www.thai-tai.tv/news/17850/
    0 Comments 0 Shares 89 Views 0 Reviews
  • CIA อยู่เบื้องหลังลอบสังหาร JFK อิสราเอล-อังกฤษ-ออสซี่ เกี่ยวโยง : คนเคาะข่าว 25-03-68
    : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ
    ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์

    #คนเคาะข่าว #JFK #ลอบสังหารJFK #CIA #หน่วยข่าวกรอง #อิสราเอล #อังกฤษ #ออสเตรเลีย #ข่าวต่างประเทศ #ทฤษฎีสมคบคิด #Geopolitics #ทนงขันทอง #นงวดีถนิมมาลย์ #ThaiTimes #เบื้องหลังการเมือง #วิเคราะห์ข่าว #เอกสารลับ #การเมืองโลก
    CIA อยู่เบื้องหลังลอบสังหาร JFK อิสราเอล-อังกฤษ-ออสซี่ เกี่ยวโยง : คนเคาะข่าว 25-03-68 : ทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญข่าวต่างประเทศ ดำเนินรายการโดย นงวดี ถนิมมาลย์ #คนเคาะข่าว #JFK #ลอบสังหารJFK #CIA #หน่วยข่าวกรอง #อิสราเอล #อังกฤษ #ออสเตรเลีย #ข่าวต่างประเทศ #ทฤษฎีสมคบคิด #Geopolitics #ทนงขันทอง #นงวดีถนิมมาลย์ #ThaiTimes #เบื้องหลังการเมือง #วิเคราะห์ข่าว #เอกสารลับ #การเมืองโลก
    Like
    4
    0 Comments 1 Shares 659 Views 16 1 Reviews
  • PsiQuantum บริษัทสตาร์ทอัพด้านควอนตัมจากสหรัฐฯ กำลังระดมทุนกว่า 750 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาควอนตัมชิปที่สามารถพลิกโฉมวงการเทคโนโลยี ด้วยความร่วมมือกับโรงงาน GlobalFoundries และรัฐบาลจากหลายประเทศ พวกเขามุ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้พร้อมใช้งานภายในปี 2029 หากสำเร็จ นี่จะเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปทำไม่ได้ เช่น การพัฒนายาใหม่และแบตเตอรี่ที่ล้ำสมัย

    ข้อดีของควอนตัมคอมพิวติ้ง:
    - ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปต้องใช้เวลาหลายพันหรือหลายล้านปี เช่น การพยากรณ์ปฏิสัมพันธ์ของอะตอมและโมเลกุลที่ช่วยพัฒนาแบตเตอรี่และยาใหม่.

    โครงการที่ร่วมมือกับรัฐบาล:
    - PsiQuantum กำลังสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ในสองสถานที่ ได้แก่ บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย และ ชิคาโก สหรัฐฯ ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งสองแห่ง.

    ความท้าทายในการพัฒนาเทคโนโลยี:
    - การสร้างควอนตัมชิปในระดับสูงจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลและการแก้ไขปัญหาด้านความผิดพลาดของชิปควอนตัมที่มีอยู่ ซึ่งยังถือเป็นอุปสรรคหลักในวงการควอนตัม.

    อนาคตของควอนตัมคอมพิวเตอร์:
    - PsiQuantum เชื่อว่าจะสามารถสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงภายในปี 2029 ในขณะที่ Google คาดว่าจะเห็นแอปพลิเคชันควอนตัมที่ใช้งานจริงได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า.

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/25/exclusive-quantum-computing-startup-psiquantum-raising-at-least-750-million-at-6-billion-valuation-sources-say
    PsiQuantum บริษัทสตาร์ทอัพด้านควอนตัมจากสหรัฐฯ กำลังระดมทุนกว่า 750 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาควอนตัมชิปที่สามารถพลิกโฉมวงการเทคโนโลยี ด้วยความร่วมมือกับโรงงาน GlobalFoundries และรัฐบาลจากหลายประเทศ พวกเขามุ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้พร้อมใช้งานภายในปี 2029 หากสำเร็จ นี่จะเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปทำไม่ได้ เช่น การพัฒนายาใหม่และแบตเตอรี่ที่ล้ำสมัย ข้อดีของควอนตัมคอมพิวติ้ง: - ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปต้องใช้เวลาหลายพันหรือหลายล้านปี เช่น การพยากรณ์ปฏิสัมพันธ์ของอะตอมและโมเลกุลที่ช่วยพัฒนาแบตเตอรี่และยาใหม่. โครงการที่ร่วมมือกับรัฐบาล: - PsiQuantum กำลังสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ในสองสถานที่ ได้แก่ บริสเบน ประเทศออสเตรเลีย และ ชิคาโก สหรัฐฯ ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งสองแห่ง. ความท้าทายในการพัฒนาเทคโนโลยี: - การสร้างควอนตัมชิปในระดับสูงจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาลและการแก้ไขปัญหาด้านความผิดพลาดของชิปควอนตัมที่มีอยู่ ซึ่งยังถือเป็นอุปสรรคหลักในวงการควอนตัม. อนาคตของควอนตัมคอมพิวเตอร์: - PsiQuantum เชื่อว่าจะสามารถสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงภายในปี 2029 ในขณะที่ Google คาดว่าจะเห็นแอปพลิเคชันควอนตัมที่ใช้งานจริงได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า. https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/03/25/exclusive-quantum-computing-startup-psiquantum-raising-at-least-750-million-at-6-billion-valuation-sources-say
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Exclusive-Quantum computing startup PsiQuantum raising at least $750 million, sources say
    SAN FRANCISCO (Reuters) -Quantum computing startup PsiQuantum is raising at least $750 million at a $6 billion pre-money valuation, according to two people familiar with the matter.
    0 Comments 0 Shares 262 Views 0 Reviews
  • 46 ปี สิ้น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์ วีรสตรีอุบลราชธานี แม่คนที่สองของเชลยศึก 🌺

    ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของ “ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์” วีรสตรีแห่งอุบลราชธานี ผู้เป็นเสมือนแม่คนที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลก ครั้งที่สอง บทเรียนแห่งความเมตตาและความกล้าหาญ ที่ควรค่าแก่การจารึกในประวัติศาสตร์

    🌏 เรื่องราวที่โลกต้องไม่ลืม ✨ ถ้าจะพูดถึงสงครามโลก ครั้งที่สอง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความโหดร้าย การสูญเสีย และความพินาศของชีวิตมนุษย์นับล้านคน แต่ในความโหดร้ายนั้น...กลับมีความงดงามของมนุษยธรรม และน้ำใจที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เรื่องเล่าของ "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" วีรสตรีแห่งเมืองอุบลราชธานี คือหนึ่งในเรื่องราวที่โลกต้องจารึก ✍️

    ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้มีอาวุธใด ๆ แต่เธอมี “หัวใจ” ที่ยิ่งใหญ่ เธอเป็น “แม่คนที่สอง” ของเชลยศึกสัมพันธมิตร ที่ถูกกักขังในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยืนหยัดช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าความตายอยู่ไม่ไกลจากตัวเอง และครอบครัวเลยแม้แต่น้อย...

    🕊️ ย้อนรำลึกเหตุการณ์เมื่อ 46 ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 โลกได้สูญเสีย “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” แห่งอุบลราชธานี "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" ในวัย 86 ปี เหล่าทหารสัมพันธมิตรจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา, ฮอลแลนด์, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างร่วมไว้อาลัยด้วยความอาลัยรัก ❤️ เพราะยาไหลคือคนที่เคยให้ชีวิตใหม่ แก่พวกเขา

    "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" เป็นหญิงชาวอุบลราชธานีธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาในหัวใจ ✨ ถูกกล่าวขานว่าเป็น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” เพราะในยามที่ เชลยศึกสัมพันธมิตรหลายพันชีวิต ถูกกักขังอย่างโหดร้ายในจังหวัดอุบลราชธานี ย่าไหลและชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ กลับไม่ละทิ้งมนุษยธรรม นำอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องนุ่งห่ม และแม้แต่การช่วยเหลือหลบหนี มาให้กับเชลยเหล่านั้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 🌾

    🕊️ ความกล้าหาญท่ามกลางความโหดร้าย 🗡️ ย้อนกลับไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 - 2488 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดประเทศไทย และกักขังเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี พวกเขาถูกทรมาน, อดอยาก และเผชิญโรคภัยต่าง ๆ ทหารญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยม เช่น หากจับได้ว่าใครขโมยน้ำมัน จะถูกกรอกน้ำมันจนตาย หรือขโมยตะปู ก็จะถูกตอกตะปูเข้าขา 😨

    แม้จะรู้ว่าความช่วยเหลือ อาจนำมาซึ่งความตาย แต่ย่าไหลก็ยังคงพายเรือฝ่าฝนฟ้าคะนอง นำเชลยศึกบางคน ที่อ่อนแอป่วยไข้ไปหายารักษา บางคืนถึงกับพาเชลยหนีไปตามแม่น้ำ โดยให้พวกเขาเกาะข้างเรือ ลอยไปในความมืด... ย่าไหลกล่าวไว้ว่า “เราคือข้าของแผ่นดิน จำไว้นะลูก เราต้องมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่ต้องหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน” 💖

    🌏 อนุสาวรีย์แห่งความดีที่คนทั้งโลกต้องรู้ เพื่อรำลึกถึงความเสียสละ และความเมตตาอันยิ่งใหญ่ ชาวเชลยศึกสัมพันธมิตร จึงร่วมกันสร้าง “อนุสาวรีย์แห่งความดี” (Monument of Merit) ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 🏛️ โดยมีการจัดงานรำลึกทุกปีในวันที่ 11 เดือน 11 เวลา 11:11 น. เพื่อยกย่องน้ำใจของชาวอุบลฯ และย่าไหลที่ไม่เลือกฝ่าย แต่เลือกช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์

    🏅พิธีเชิดชูเกียรติ และรางวัลแห่งคุณงามความดี หลังสงครามสิ้นสุดในปี 2488 เหล่าทหารสัมพันธมิตร ได้เชิญย่าไหลไปยังค่ายทหาร ที่สนามบินอุบลราชธานี เพื่อแสดงความขอบคุณแ ละมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ รวมถึงสิ่งของและเงินช่วยเหลือ เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจอันประเสริฐ 🙏

    ❤️วีรสตรีที่ไม่ได้ถืออาวุธ แต่ถือหัวใจแห่งเมตตา ต่างจากวีรสตรีที่เราคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ แต่เธอคือแม่พระที่ “ให้ชีวิตใหม่” ในยามที่คนหนึ่งไม่มีแม้แต่ความหวัง ในการมีชีวิตรอด... ย่าไหลใช้เพียง “หัวใจ” และ “มือเปล่า” เพื่อหยิบยื่นอาหาร ยารักษาโรค และเสื้อผ้าให้พวกเขา แม้จะเสี่ยงตายก็ไม่หวั่นเกรง 🌿

    คุณธรรมที่ส่งต่อผ่านสายเลือด และจิตวิญญาณ สิ่งที่ย่าไหลทำ ไม่ได้เกิดจากการอยากเป็นวีรสตรี แต่เป็นความเชื่อ และการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ “เราคือข้าของแผ่นดิน” คือคำสอนที่แม่ถ่ายทอดสู่ย่าไหล และย่าไหลก็ถ่ายทอดต่อให้ลูกหลานเช่นกัน ✨

    🌾 มรดกทางจิตวิญญาณที่ยังคงอยู่จนถึงวันนี้ เรื่องราวของย่าไหลก ลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง เชลยศึกและทายาท ยังคงเดินทางกลับมาอุบลราชธานีทุกปี เพื่อแสดงความเคารพต่อย่าไหล และสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างชาวอุบลราชธานีและนานาชาติ 🕊️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 191130 มี.ค. 2568

    #แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่ #ย่าไหลอุไรวรรณ #อนุสาวรีย์แห่งความดี #วีรสตรีอุบล #ช่วยเหลือเชลยศึก #ประวัติศาสตร์ไทย #อุบลราชธานี #สงครามโลกครั้งที่2 #มนุษยธรรม #แรงบันดาลใจ
    46 ปี สิ้น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์ วีรสตรีอุบลราชธานี แม่คนที่สองของเชลยศึก 🌺 ย้อนรำลึกถึงเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของ “ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์” วีรสตรีแห่งอุบลราชธานี ผู้เป็นเสมือนแม่คนที่สอง ของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลก ครั้งที่สอง บทเรียนแห่งความเมตตาและความกล้าหาญ ที่ควรค่าแก่การจารึกในประวัติศาสตร์ 🌏 เรื่องราวที่โลกต้องไม่ลืม ✨ ถ้าจะพูดถึงสงครามโลก ครั้งที่สอง คนส่วนใหญ่มักนึกถึงความโหดร้าย การสูญเสีย และความพินาศของชีวิตมนุษย์นับล้านคน แต่ในความโหดร้ายนั้น...กลับมีความงดงามของมนุษยธรรม และน้ำใจที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้น เรื่องเล่าของ "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" วีรสตรีแห่งเมืองอุบลราชธานี คือหนึ่งในเรื่องราวที่โลกต้องจารึก ✍️ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ ไม่ได้มีอาวุธใด ๆ แต่เธอมี “หัวใจ” ที่ยิ่งใหญ่ เธอเป็น “แม่คนที่สอง” ของเชลยศึกสัมพันธมิตร ที่ถูกกักขังในสงครามมหาเอเชียบูรพา ยืนหยัดช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าความตายอยู่ไม่ไกลจากตัวเอง และครอบครัวเลยแม้แต่น้อย... 🕊️ ย้อนรำลึกเหตุการณ์เมื่อ 46 ปี ที่ผ่านมา เมื่อวันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 โลกได้สูญเสีย “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” แห่งอุบลราชธานี "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" ในวัย 86 ปี เหล่าทหารสัมพันธมิตรจากหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ, อเมริกา, แคนาดา, ฮอลแลนด์, ออสเตรเลีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างร่วมไว้อาลัยด้วยความอาลัยรัก ❤️ เพราะยาไหลคือคนที่เคยให้ชีวิตใหม่ แก่พวกเขา "ย่าไหล-อุไรวรรณ ศิริโสตร์" เป็นหญิงชาวอุบลราชธานีธรรมดา แต่ไม่ธรรมดาในหัวใจ ✨ ถูกกล่าวขานว่าเป็น “แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่” เพราะในยามที่ เชลยศึกสัมพันธมิตรหลายพันชีวิต ถูกกักขังอย่างโหดร้ายในจังหวัดอุบลราชธานี ย่าไหลและชาวบ้านกลุ่มเล็ก ๆ กลับไม่ละทิ้งมนุษยธรรม นำอาหาร, ยารักษาโรค, เครื่องนุ่งห่ม และแม้แต่การช่วยเหลือหลบหนี มาให้กับเชลยเหล่านั้น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ 🌾 🕊️ ความกล้าหาญท่ามกลางความโหดร้าย 🗡️ ย้อนกลับไปในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 - 2488 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดประเทศไทย และกักขังเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี พวกเขาถูกทรมาน, อดอยาก และเผชิญโรคภัยต่าง ๆ ทหารญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่โหดเหี้ยม เช่น หากจับได้ว่าใครขโมยน้ำมัน จะถูกกรอกน้ำมันจนตาย หรือขโมยตะปู ก็จะถูกตอกตะปูเข้าขา 😨 แม้จะรู้ว่าความช่วยเหลือ อาจนำมาซึ่งความตาย แต่ย่าไหลก็ยังคงพายเรือฝ่าฝนฟ้าคะนอง นำเชลยศึกบางคน ที่อ่อนแอป่วยไข้ไปหายารักษา บางคืนถึงกับพาเชลยหนีไปตามแม่น้ำ โดยให้พวกเขาเกาะข้างเรือ ลอยไปในความมืด... ย่าไหลกล่าวไว้ว่า “เราคือข้าของแผ่นดิน จำไว้นะลูก เราต้องมีเมตตา ช่วยเหลือผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก โดยไม่ต้องหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน” 💖 🌏 อนุสาวรีย์แห่งความดีที่คนทั้งโลกต้องรู้ เพื่อรำลึกถึงความเสียสละ และความเมตตาอันยิ่งใหญ่ ชาวเชลยศึกสัมพันธมิตร จึงร่วมกันสร้าง “อนุสาวรีย์แห่งความดี” (Monument of Merit) ตั้งอยู่ที่ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 🏛️ โดยมีการจัดงานรำลึกทุกปีในวันที่ 11 เดือน 11 เวลา 11:11 น. เพื่อยกย่องน้ำใจของชาวอุบลฯ และย่าไหลที่ไม่เลือกฝ่าย แต่เลือกช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ 🏅พิธีเชิดชูเกียรติ และรางวัลแห่งคุณงามความดี หลังสงครามสิ้นสุดในปี 2488 เหล่าทหารสัมพันธมิตร ได้เชิญย่าไหลไปยังค่ายทหาร ที่สนามบินอุบลราชธานี เพื่อแสดงความขอบคุณแ ละมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ รวมถึงสิ่งของและเงินช่วยเหลือ เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจอันประเสริฐ 🙏 ❤️วีรสตรีที่ไม่ได้ถืออาวุธ แต่ถือหัวใจแห่งเมตตา ต่างจากวีรสตรีที่เราคุ้นเคยในประวัติศาสตร์ ย่าไหลไม่ได้เป็นนักรบ แต่เธอคือแม่พระที่ “ให้ชีวิตใหม่” ในยามที่คนหนึ่งไม่มีแม้แต่ความหวัง ในการมีชีวิตรอด... ย่าไหลใช้เพียง “หัวใจ” และ “มือเปล่า” เพื่อหยิบยื่นอาหาร ยารักษาโรค และเสื้อผ้าให้พวกเขา แม้จะเสี่ยงตายก็ไม่หวั่นเกรง 🌿 คุณธรรมที่ส่งต่อผ่านสายเลือด และจิตวิญญาณ สิ่งที่ย่าไหลทำ ไม่ได้เกิดจากการอยากเป็นวีรสตรี แต่เป็นความเชื่อ และการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ “เราคือข้าของแผ่นดิน” คือคำสอนที่แม่ถ่ายทอดสู่ย่าไหล และย่าไหลก็ถ่ายทอดต่อให้ลูกหลานเช่นกัน ✨ 🌾 มรดกทางจิตวิญญาณที่ยังคงอยู่จนถึงวันนี้ เรื่องราวของย่าไหลก ลายเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลัง เชลยศึกและทายาท ยังคงเดินทางกลับมาอุบลราชธานีทุกปี เพื่อแสดงความเคารพต่อย่าไหล และสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างชาวอุบลราชธานีและนานาชาติ 🕊️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 191130 มี.ค. 2568 #แม่ผู้ชุบชีวิตใหม่ #ย่าไหลอุไรวรรณ #อนุสาวรีย์แห่งความดี #วีรสตรีอุบล #ช่วยเหลือเชลยศึก #ประวัติศาสตร์ไทย #อุบลราชธานี #สงครามโลกครั้งที่2 #มนุษยธรรม #แรงบันดาลใจ
    0 Comments 0 Shares 877 Views 0 Reviews
  • นี่เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งเกี่ยวกับความสำเร็จทางการแพทย์ครั้งสำคัญครับ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ในออสเตรเลียได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการติดตั้ง "หัวใจเทียมไทเทเนียม" (BiVACOR Total Artificial Heart) ช่วยให้ผู้ป่วยชายวัย 40 ปีมีชีวิตอยู่ได้ถึง 100 วันก่อนจะได้รับการปลูกถ่ายหัวใจจริงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    หัวใจเทียมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ โดยใช้ การลอยด้วยแม่เหล็ก (magnetic levitation) ซึ่งเหมือนกับเทคโนโลยีของรถไฟหัวกระสุน เพื่อลดการสึกหรอและทำงานแทนหัวใจทั้งสองห้องที่ล้มเหลว มันถูกออกแบบให้ใช้ไทเทเนียมเนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนการกัดกร่อน และเข้ากันได้ดีกับร่างกายมนุษย์

    การผ่าตัดที่กินเวลา 6 ชั่วโมงนี้ดำเนินการที่โรงพยาบาล St. Vincent's ในซิดนีย์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย Artificial Heart Frontiers Program นำโดย Monash University โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจำนวนมากทั่วโลก

    น่าสนใจที่อุปกรณ์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยต่ออายุขณะรอการปลูกถ่ายหัวใจ แต่ยังอาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการปลูกถ่ายได้ด้วย ในสหรัฐฯ มีการทดลองในเฟสเริ่มต้น (Early Feasibility Study) โดยติดตั้งให้กับผู้ป่วย 5 ราย ซึ่งอุปกรณ์สามารถสนับสนุนชีวิตของพวกเขาได้ในระยะเวลาหลายสัปดาห์ และการทดลองนี้กำลังขยายจำนวนผู้เข้าร่วม

    https://www.techspot.com/news/107125-man-lives-100-days-artificial-titanium-heart-world.html
    นี่เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งเกี่ยวกับความสำเร็จทางการแพทย์ครั้งสำคัญครับ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ในออสเตรเลียได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการติดตั้ง "หัวใจเทียมไทเทเนียม" (BiVACOR Total Artificial Heart) ช่วยให้ผู้ป่วยชายวัย 40 ปีมีชีวิตอยู่ได้ถึง 100 วันก่อนจะได้รับการปลูกถ่ายหัวใจจริงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หัวใจเทียมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ โดยใช้ การลอยด้วยแม่เหล็ก (magnetic levitation) ซึ่งเหมือนกับเทคโนโลยีของรถไฟหัวกระสุน เพื่อลดการสึกหรอและทำงานแทนหัวใจทั้งสองห้องที่ล้มเหลว มันถูกออกแบบให้ใช้ไทเทเนียมเนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนการกัดกร่อน และเข้ากันได้ดีกับร่างกายมนุษย์ การผ่าตัดที่กินเวลา 6 ชั่วโมงนี้ดำเนินการที่โรงพยาบาล St. Vincent's ในซิดนีย์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย Artificial Heart Frontiers Program นำโดย Monash University โครงการนี้มีเป้าหมายพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจำนวนมากทั่วโลก น่าสนใจที่อุปกรณ์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยต่ออายุขณะรอการปลูกถ่ายหัวใจ แต่ยังอาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการปลูกถ่ายได้ด้วย ในสหรัฐฯ มีการทดลองในเฟสเริ่มต้น (Early Feasibility Study) โดยติดตั้งให้กับผู้ป่วย 5 ราย ซึ่งอุปกรณ์สามารถสนับสนุนชีวิตของพวกเขาได้ในระยะเวลาหลายสัปดาห์ และการทดลองนี้กำลังขยายจำนวนผู้เข้าร่วม https://www.techspot.com/news/107125-man-lives-100-days-artificial-titanium-heart-world.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Man lives 100 days with artificial titanium heart in world-first medical success
    The patient, a man in his 40s from New South Wales, received the BiVACOR Total Artificial Heart (TAH) during a six-hour procedure at St. Vincent's Hospital in...
    0 Comments 0 Shares 306 Views 0 Reviews
  • ปิดตำนาน เริงสวาทสีกา คาดาดฟ้า เรือเดินสมุทร “ยันตระ” เสียชีวิตที่อเมริกา หลังปลอมพาสปอร์ต หนีคดีจนหมดอายุความ 🚢⚖️

    🔵 อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน ✨

    🔵 จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย

    ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี 🧘‍♂️

    "วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น
    ✅ วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี
    ✅ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย
    ✅ วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

    บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง ✨

    🔵 คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย 📂

    ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง
    🚢 เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์

    🏡 กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด

    🚐 เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

    📞 บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง

    👧 ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา

    💳 หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

    🔵 มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย ❌

    แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า

    🦎 "จิ้งเขียว"
    🦹‍♂️ "สมียันดะ"
    🧘‍♂️ "ยันดะ"

    🔵 ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง

    📜 ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย

    ⏳ ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง

    🔵 กลับมาเยือนเมืองไทย
    🗓️ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก

    🏠 ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง

    📍 จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์

    บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา 🕊️

    🔵 เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ

    🧎‍♂️ หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ 👉 แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ 💬

    🔵 สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร"
    1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่
    2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก
    3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน
    4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย
    5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ
    6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

    🔵 ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย 💔✨

    👉 เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568

    🔵 #ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
    ปิดตำนาน เริงสวาทสีกา คาดาดฟ้า เรือเดินสมุทร “ยันตระ” เสียชีวิตที่อเมริกา หลังปลอมพาสปอร์ต หนีคดีจนหมดอายุความ 🚢⚖️ 🔵 อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน ✨ 🔵 จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี 🧘‍♂️ "วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น ✅ วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี ✅ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย ✅ วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง ✨ 🔵 คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย 📂 ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง 🚢 เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์ 🏡 กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด 🚐 เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม 📞 บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง 👧 ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา 💳 หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 🔵 มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย ❌ แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า 🦎 "จิ้งเขียว" 🦹‍♂️ "สมียันดะ" 🧘‍♂️ "ยันดะ" 🔵 ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง 📜 ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย ⏳ ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง 🔵 กลับมาเยือนเมืองไทย 🗓️ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก 🏠 ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง 📍 จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์ บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา 🕊️ 🔵 เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ 🧎‍♂️ หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ 👉 แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ 💬 🔵 สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร" 1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่ 2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก 3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน 4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย 5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ 6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 🔵 ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย 💔✨ 👉 เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568 🔵 #ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
    0 Comments 0 Shares 1050 Views 0 Reviews
  • บริษัท Cortical Labs ในออสเตรเลียได้เปิดตัว CL1 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ชีวภาพตัวแรกของโลกที่ผสมผสานเซลล์สมองมนุษย์เข้ากับเทคโนโลยีซิลิคอนแบบดั้งเดิม CL1 ถูกเปิดตัวครั้งแรกในงาน Mobile World Congress ที่บาร์เซโลนา และถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ของ AI และ Machine Learning ที่มีความใกล้เคียงกับสมองของมนุษย์

    CL1 ใช้ชิปซิลิคอนที่มีเซลล์สมองมนุษย์เพาะเลี้ยงอยู่บนพื้นผิว เซลล์สมองเหล่านี้สามารถตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายที่ประมวลผลข้อมูลในลักษณะเดียวกับสมองมนุษย์ สิ่งที่น่าสนใจคือ ระบบนี้สามารถสื่อสารสองทางได้ โดยใช้สัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์สมอง และเก็บข้อมูลการตอบสนองเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อ

    เพื่อให้เซลล์สมองเหล่านี้ยังคงทำงานได้ดี CL1 มาพร้อมระบบช่วยชีวิตที่ควบคุมอุณหภูมิ การแลกเปลี่ยนก๊าซ และเงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ

    CL1 ถูกออกแบบมาเพื่อเรียนรู้และปรับตัว เช่นเดียวกับสมองมนุษย์ ตัวอย่างที่เคยมีการทดลอง เช่น การฝึกเซลล์สมองให้เล่นวิดีโอเกมพื้นฐาน สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า คอมพิวเตอร์ชีวภาพสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านที่ AI แบบเดิมยังไม่สมบูรณ์ เช่น การจดจำรูปแบบและการตัดสินใจในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน

    นอกจากนี้ ความสามารถของเซลล์สมองในการปรับตัวทำให้เกิดศักยภาพใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้งาน เช่น การพัฒนาหุ่นยนต์ที่ฉลาดยิ่งขึ้น หรือระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน

    ปัญหาและข้อควรระวัง
    - ความซับซ้อนในการผลิต: การสร้างและดูแลระบบ CL1 ต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อนและยังไม่สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้
    - ปัญหาด้านจริยธรรม: แม้ว่าเซลล์สมองที่ใช้จะถูกเพาะเลี้ยงในห้องแล็บและไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีนี้อาจต้องการกรอบกฎหมายและจริยธรรมที่ชัดเจนในอนาคต เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ชีวภาพมนุษย์

    CL1 จะพร้อมจำหน่ายตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยมีราคาอยู่ที่ประมาณ $35,000 เหมาะสำหรับองค์กรและสถาบันวิจัยที่ต้องการทดสอบหรือสำรวจการใช้งานคอมพิวเตอร์ชีวภาพในเชิงลึก

    CL1 ถือเป็นก้าวใหม่ที่น่าตื่นเต้นในวงการเทคโนโลยีชีวภาพและ AI ซึ่งอาจช่วยพัฒนาอนาคตของการเรียนรู้และการประมวลผลข้อมูล หากคุณสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CL1 และความเป็นไปได้ในอนาคตของเทคโนโลยีนี้

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/worlds-first-body-in-a-box-biological-computer-uses-human-brain-cells-with-silicon-based-computing
    บริษัท Cortical Labs ในออสเตรเลียได้เปิดตัว CL1 ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ชีวภาพตัวแรกของโลกที่ผสมผสานเซลล์สมองมนุษย์เข้ากับเทคโนโลยีซิลิคอนแบบดั้งเดิม CL1 ถูกเปิดตัวครั้งแรกในงาน Mobile World Congress ที่บาร์เซโลนา และถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ของ AI และ Machine Learning ที่มีความใกล้เคียงกับสมองของมนุษย์ CL1 ใช้ชิปซิลิคอนที่มีเซลล์สมองมนุษย์เพาะเลี้ยงอยู่บนพื้นผิว เซลล์สมองเหล่านี้สามารถตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายที่ประมวลผลข้อมูลในลักษณะเดียวกับสมองมนุษย์ สิ่งที่น่าสนใจคือ ระบบนี้สามารถสื่อสารสองทางได้ โดยใช้สัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์สมอง และเก็บข้อมูลการตอบสนองเพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อ เพื่อให้เซลล์สมองเหล่านี้ยังคงทำงานได้ดี CL1 มาพร้อมระบบช่วยชีวิตที่ควบคุมอุณหภูมิ การแลกเปลี่ยนก๊าซ และเงื่อนไขที่จำเป็นอื่น ๆ CL1 ถูกออกแบบมาเพื่อเรียนรู้และปรับตัว เช่นเดียวกับสมองมนุษย์ ตัวอย่างที่เคยมีการทดลอง เช่น การฝึกเซลล์สมองให้เล่นวิดีโอเกมพื้นฐาน สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า คอมพิวเตอร์ชีวภาพสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านที่ AI แบบเดิมยังไม่สมบูรณ์ เช่น การจดจำรูปแบบและการตัดสินใจในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้ ความสามารถของเซลล์สมองในการปรับตัวทำให้เกิดศักยภาพใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้งาน เช่น การพัฒนาหุ่นยนต์ที่ฉลาดยิ่งขึ้น หรือระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน ปัญหาและข้อควรระวัง - ความซับซ้อนในการผลิต: การสร้างและดูแลระบบ CL1 ต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อนและยังไม่สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ - ปัญหาด้านจริยธรรม: แม้ว่าเซลล์สมองที่ใช้จะถูกเพาะเลี้ยงในห้องแล็บและไม่มีสติสัมปชัญญะ แต่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีนี้อาจต้องการกรอบกฎหมายและจริยธรรมที่ชัดเจนในอนาคต เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ชีวภาพมนุษย์ CL1 จะพร้อมจำหน่ายตั้งแต่เดือนมิถุนายน โดยมีราคาอยู่ที่ประมาณ $35,000 เหมาะสำหรับองค์กรและสถาบันวิจัยที่ต้องการทดสอบหรือสำรวจการใช้งานคอมพิวเตอร์ชีวภาพในเชิงลึก CL1 ถือเป็นก้าวใหม่ที่น่าตื่นเต้นในวงการเทคโนโลยีชีวภาพและ AI ซึ่งอาจช่วยพัฒนาอนาคตของการเรียนรู้และการประมวลผลข้อมูล หากคุณสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CL1 และความเป็นไปได้ในอนาคตของเทคโนโลยีนี้ https://www.tomshardware.com/tech-industry/worlds-first-body-in-a-box-biological-computer-uses-human-brain-cells-with-silicon-based-computing
    WWW.TOMSHARDWARE.COM
    World's first 'body in a box' biological computer uses human brain cells with silicon-based computing
    Cortical Labs said the CL1 will be available from June, priced at around $35,000.
    0 Comments 0 Shares 394 Views 0 Reviews
  • มีการค้นพบมัลแวร์ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Eleven11bot ซึ่งติดตั้งไปยังอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) กว่า 86,000 เครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้องวงจรปิดและ Network Video Recorders (NVRs) เพื่อทำการโจมตี DDoS (Distributed Denial of Service)

    ผู้เชี่ยวชาญจาก Nokia ได้ตรวจพบ Eleven11bot และแชร์ข้อมูลนี้กับแพลตฟอร์มการติดตามภัยคุกคาม GreyNoise Jérôme Meyer นักวิจัยความปลอดภัยของ Nokia กล่าวว่า Eleven11bot เป็นหนึ่งในบ็อตเน็ตที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขาเคยเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมาจากอุปกรณ์ IoT ที่ถูกเจาะระบบ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกล้องวงจรปิดและ NVRs

    บ็อตเน็ต Eleven11bot นี้ถูกใช้เพื่อโจมตีให้บริการโทรคมนาคมและเซิร์ฟเวอร์เกมออนไลน์หลายแห่ง โดยในวันนี้ แพลตฟอร์มการติดตามภัยคุกคาม The Shadowserver Foundation รายงานว่าพบอุปกรณ์ที่ติดเชื้อจาก Eleven11bot กว่า 86,400 เครื่องในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เม็กซิโก แคนาดา และออสเตรเลีย

    การโจมตีจาก Eleven11bot นั้นมีปริมาณข้อมูลหลายร้อยล้านแพ็คเก็ตต่อวินาที และมักจะดำเนินไปหลายวัน โดย GreyNoise ได้บันทึก IP 1,400 แห่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบ็อตเน็ตนี้ในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์จริงไม่ใช่ IP ปลอม

    มัลแวร์นี้แพร่กระจายโดยการใช้ช่องโหว่ของรหัสผ่านที่อ่อนแอหรือรหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์ IoT ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีการสแกนพอร์ต Telnet และ SSH ที่เปิดอยู่ในเครือข่ายเพื่อหาช่องทางในการเจาะระบบ

    GreyNoise ได้เผยแพร่รายชื่อ IP ที่เกี่ยวข้องกับ Eleven11bot และแนะนำให้ผู้ดูแลระบบเพิ่มรายการนี้ในบล็อกลิสต์ของพวกเขา และเฝ้าระวังการพยายามเข้าสู่ระบบที่น่าสงสัย

    เพื่อป้องกันการโจมตีนี้ ขอแนะนำให้ผู้ใช้งานตรวจสอบให้อุปกรณ์ IoT ของพวกเขาใช้เฟิร์มแวร์เวอร์ชันล่าสุดและปิดฟีเจอร์การเข้าถึงระยะไกลหากไม่จำเป็น ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีผู้ดูแลระบบให้แข็งแรงและไม่ซ้ำกับค่าเริ่มต้น นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานยังได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตหรือไม่ และหากอุปกรณ์ถึงจุดสิ้นสุดของการสนับสนุน (EOL) ก็ควรเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น

    https://www.bleepingcomputer.com/news/security/new-eleven11bot-botnet-infects-86-000-devices-for-ddos-attacks/
    มีการค้นพบมัลแวร์ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Eleven11bot ซึ่งติดตั้งไปยังอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) กว่า 86,000 เครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้องวงจรปิดและ Network Video Recorders (NVRs) เพื่อทำการโจมตี DDoS (Distributed Denial of Service) ผู้เชี่ยวชาญจาก Nokia ได้ตรวจพบ Eleven11bot และแชร์ข้อมูลนี้กับแพลตฟอร์มการติดตามภัยคุกคาม GreyNoise Jérôme Meyer นักวิจัยความปลอดภัยของ Nokia กล่าวว่า Eleven11bot เป็นหนึ่งในบ็อตเน็ตที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขาเคยเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมาจากอุปกรณ์ IoT ที่ถูกเจาะระบบ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกล้องวงจรปิดและ NVRs บ็อตเน็ต Eleven11bot นี้ถูกใช้เพื่อโจมตีให้บริการโทรคมนาคมและเซิร์ฟเวอร์เกมออนไลน์หลายแห่ง โดยในวันนี้ แพลตฟอร์มการติดตามภัยคุกคาม The Shadowserver Foundation รายงานว่าพบอุปกรณ์ที่ติดเชื้อจาก Eleven11bot กว่า 86,400 เครื่องในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เม็กซิโก แคนาดา และออสเตรเลีย การโจมตีจาก Eleven11bot นั้นมีปริมาณข้อมูลหลายร้อยล้านแพ็คเก็ตต่อวินาที และมักจะดำเนินไปหลายวัน โดย GreyNoise ได้บันทึก IP 1,400 แห่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบ็อตเน็ตนี้ในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์จริงไม่ใช่ IP ปลอม มัลแวร์นี้แพร่กระจายโดยการใช้ช่องโหว่ของรหัสผ่านที่อ่อนแอหรือรหัสผ่านที่เป็นค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์ IoT ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีการสแกนพอร์ต Telnet และ SSH ที่เปิดอยู่ในเครือข่ายเพื่อหาช่องทางในการเจาะระบบ GreyNoise ได้เผยแพร่รายชื่อ IP ที่เกี่ยวข้องกับ Eleven11bot และแนะนำให้ผู้ดูแลระบบเพิ่มรายการนี้ในบล็อกลิสต์ของพวกเขา และเฝ้าระวังการพยายามเข้าสู่ระบบที่น่าสงสัย เพื่อป้องกันการโจมตีนี้ ขอแนะนำให้ผู้ใช้งานตรวจสอบให้อุปกรณ์ IoT ของพวกเขาใช้เฟิร์มแวร์เวอร์ชันล่าสุดและปิดฟีเจอร์การเข้าถึงระยะไกลหากไม่จำเป็น ควรเปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีผู้ดูแลระบบให้แข็งแรงและไม่ซ้ำกับค่าเริ่มต้น นอกจากนี้ควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานยังได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตหรือไม่ และหากอุปกรณ์ถึงจุดสิ้นสุดของการสนับสนุน (EOL) ก็ควรเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น https://www.bleepingcomputer.com/news/security/new-eleven11bot-botnet-infects-86-000-devices-for-ddos-attacks/
    WWW.BLEEPINGCOMPUTER.COM
    New Eleven11bot botnet infects 86,000 devices for DDoS attacks
    A new botnet malware named 'Eleven11bot' has infected over 86,000 IoT devices, primarily security cameras and network video recorders (NVRs), to conduct DDoS attacks.
    0 Comments 0 Shares 382 Views 0 Reviews
  • ออสเตรเลียพร้อมพิจารณาส่งทหารรักษาสันติภาพไปยูเครน

    นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบาเนซี กล่าวว่า ออสเตรเลียยินดีที่จะพิจารณาส่งทหารไปเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติในยูเครน

    แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการร้องขออย่างเป็นทางการ แต่อัลบาเนซีเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของออสเตรเลียที่จะยืนหยัดเคียงข้างเคียฟและต่อต้านการกระทำที่ “ผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม” ของรัสเซีย

    นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์ ที่ออสเตรเลียให้คำมั่นกับยูเครนถึงความช่วยเหลือด้านต่างๆ

    ที่มา: The Guardian
    ออสเตรเลียพร้อมพิจารณาส่งทหารรักษาสันติภาพไปยูเครน นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบาเนซี กล่าวว่า ออสเตรเลียยินดีที่จะพิจารณาส่งทหารไปเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติในยูเครน แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการร้องขออย่างเป็นทางการ แต่อัลบาเนซีเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของออสเตรเลียที่จะยืนหยัดเคียงข้างเคียฟและต่อต้านการกระทำที่ “ผิดกฎหมายและผิดศีลธรรม” ของรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงิน 1,500 ล้านดอลลาร์ ที่ออสเตรเลียให้คำมั่นกับยูเครนถึงความช่วยเหลือด้านต่างๆ ที่มา: The Guardian
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 271 Views 0 Reviews
  • Idemitsu Kosan บริษัทน้ำมันอันดับสองของญี่ปุ่น วางแผนจะสร้างโรงงานผลิตลิเทียมซัลไฟด์ (Lithium Sulphide) ขนาดใหญ่ที่โรงกลั่นน้ำมันในจังหวัดชิบะ ใกล้กรุงโตเกียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแบตเตอรี่ Solid-State สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของ Toyota

    โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Idemitsu และ Toyota เพื่อการค้าแบตเตอรี่รุ่นถัดไปและสนับสนุนเป้าหมายของ Toyota ในการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่สถานะของแข็งภายในปี 2027-2028 โดยแบตเตอรี่ Solid-State นี้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นแบตเตอรี่ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น มีระยะเวลาใช้งานยาวนานขึ้น และมีการชาร์จไฟที่เร็วกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบเดิม

    Idemitsu วางแผนจะสร้างโรงงานใหม่ภายในเดือนมิถุนายน 2027 ด้วยงบประมาณประมาณ 21.3 พันล้านเยน (ประมาณ 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งโรงงานนี้จะมีความสามารถในการผลิตลิเทียมซัลไฟด์จำนวน 1,000 เมตริกตันต่อปี เพียงพอสำหรับแบตเตอรี่สถานะของแข็งของรถยนต์ไฟฟ้า 50,000-60,000 คัน

    Tetsuji Mishina เจ้าหน้าที่บริหารของ Idemitsu กล่าวว่าบริษัทกำลังพิจารณาการลงทุนในโรงงานนำร่องขนาดใหญ่สำหรับอิเล็กโทรไลต์แข็ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแบตเตอรี่ Solid-State และคาดว่าจะตัดสินใจในปีงบประมาณ 2025

    นอกจากนี้ Idemitsu ยังมองหาการจัดหาลิเทียมที่มั่นคงจากแหล่งในออสเตรเลียและแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลก Mishina ยังกล่าวว่า "ความท้าทายสำคัญในการยอมรับแบตเตอรี่ Solid-State ทั่วโลกคือการลดต้นทุนของอิเล็กโทรไลต์แข็ง"

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/27/japan039s-idemitsu-to-build-lithium-sulphide-plant-to-help-support-toyota039s-ev-plans
    Idemitsu Kosan บริษัทน้ำมันอันดับสองของญี่ปุ่น วางแผนจะสร้างโรงงานผลิตลิเทียมซัลไฟด์ (Lithium Sulphide) ขนาดใหญ่ที่โรงกลั่นน้ำมันในจังหวัดชิบะ ใกล้กรุงโตเกียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแบตเตอรี่ Solid-State สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของ Toyota โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Idemitsu และ Toyota เพื่อการค้าแบตเตอรี่รุ่นถัดไปและสนับสนุนเป้าหมายของ Toyota ในการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่สถานะของแข็งภายในปี 2027-2028 โดยแบตเตอรี่ Solid-State นี้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นแบตเตอรี่ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น มีระยะเวลาใช้งานยาวนานขึ้น และมีการชาร์จไฟที่เร็วกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบเดิม Idemitsu วางแผนจะสร้างโรงงานใหม่ภายในเดือนมิถุนายน 2027 ด้วยงบประมาณประมาณ 21.3 พันล้านเยน (ประมาณ 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งโรงงานนี้จะมีความสามารถในการผลิตลิเทียมซัลไฟด์จำนวน 1,000 เมตริกตันต่อปี เพียงพอสำหรับแบตเตอรี่สถานะของแข็งของรถยนต์ไฟฟ้า 50,000-60,000 คัน Tetsuji Mishina เจ้าหน้าที่บริหารของ Idemitsu กล่าวว่าบริษัทกำลังพิจารณาการลงทุนในโรงงานนำร่องขนาดใหญ่สำหรับอิเล็กโทรไลต์แข็ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแบตเตอรี่ Solid-State และคาดว่าจะตัดสินใจในปีงบประมาณ 2025 นอกจากนี้ Idemitsu ยังมองหาการจัดหาลิเทียมที่มั่นคงจากแหล่งในออสเตรเลียและแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลก Mishina ยังกล่าวว่า "ความท้าทายสำคัญในการยอมรับแบตเตอรี่ Solid-State ทั่วโลกคือการลดต้นทุนของอิเล็กโทรไลต์แข็ง" https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/02/27/japan039s-idemitsu-to-build-lithium-sulphide-plant-to-help-support-toyota039s-ev-plans
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Japan's Idemitsu to build lithium sulphide plant to help support Toyota's EV plans
    ANEGASAKI, Japan (Reuters) - Japan's No.2 oil refiner, Idemitsu Kosan plans to build a large-scale plant for lithium sulphide, a key material for all-solid-state batteries, at its Chiba refinery, near Tokyo, the company said on Thursday.
    0 Comments 0 Shares 385 Views 0 Reviews
More Results